ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความต้องการใช้ดอกไม้มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมีความผูกพันใกล้ชิดกับการตกแต่งด้วยดอกไม้ใบไม้มาเป็นเวลาช้านาน ในปัจจุบันอุตสาหกรรมไม้ตัดดอก (Cut Flowers) ของญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากเนเธอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นสามารถปลูกไม้ตัดดอกได้เพียงบางชนิดเท่านั้น และไม้ตัดดอกที่ปลูกได้ในประเทศก็ไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงยังต้องนำเข้าไม้ตัดดอกจากต่างประเทศ โดยในปี 2543 ญี่ปุ่นนำเข้าไม้ตัดดอกเป็นจำนวนมากถึง 19,796 ตัน คิดเป็นมูลค่า 17.8 พันล้านเยน (ประมาณ 6.6 พันล้านบาท) ประเทศที่ครองส่วนแบ่งตลาดไม้ตัดดอกในญี่ปุ่นมากที่สุดคือเนเธอร์แลนด์ รองลงมาคือ ไทย นิวซีแลนด์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าญี่ปุ่นมีแนวโน้มสั่งซื้อไม้ตัดดอกจากประเทศในแถบเอเชียเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีคุณภาพดีและราคาถูกกว่าไม้ตัดดอกจากยุโรป
ในปัจจุบันญี่ปุ่นอนุญาตให้นำเข้าไม้ตัดดอกได้ โดยยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้า แต่ต้องผ่านการตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการกักกันพืช (Plant Quarantine Law) ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น สาระสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบไม้ตัดดอกนำเข้าที่ผู้ส่งออกควรทราบมีดังนี้
1. ไม้ตัดดอกที่ห้ามนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการกักกันพืชของญี่ปุ่น ประกอบด้วย
- ไม้ตัดดอกที่เป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น เพลี้ยไฟฝ้าย บั่วกล้วยไม้ หนอนกระทู้หอม ฯลฯ
- ไม้ตัดดอกที่มีดิน (Soil) ปะปน
- ไม้ตัดดอกที่ถูกห่อหรือบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุต้องห้าม เช่น ฟางข้าว เป็นต้น
ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่าไม้ตัดดอกเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาด ไม้ตัดดอกดังกล่าวจะถูกนำไปรมควัน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อไม้ตัดดอกบางชนิด และอาจทำให้ไม้ตัดดอกดังกล่าวไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ส่วนไม้ตัดดอกที่มีดินปะปนหรือถูกห่อด้วยวัสดุต้องห้ามจะต้องถูกส่งกลับหรือถูกทำลาย โดยไม่อนุญาตให้นำเข้าไปในญี่ปุ่นโดยเด็ดขาด ดังนั้น ผู้ส่งออกควรตรวจสอบสินค้าอย่างเข้มงวดก่อนส่งออกไปจำหน่ายในญี่ปุ่นเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
2. การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Plant Quarantine Certificate) ก่อนการส่งออก ผู้ส่งออกไม้ตัดดอกสามารถขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย โดย กระทรวงเกษตรฯ จะตรวจสอบสินค้าทั้งหมด ณ ด่านตรวจสินค้าดอนเมือง หรือที่กระทรวงเกษตรฯ ก่อนออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้แก่ผู้ส่งออก
3. การตรวจสอบก่อนการนำเข้า (Import Inspection)
ไม้ตัดดอกที่ได้รับใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศผู้ส่งออกแล้วต้องผ่านการตรวจสอบก่อนการนำเข้าในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ผู้นำเข้ายื่นคำขอตรวจสอบก่อนการนำเข้า (Import Inspection Application) ต่อเจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่น ซึ่งจะตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่กำหนดให้ผู้นำเข้าต้องยื่นพร้อมคำขอตรวจสอบการนำเข้า อาทิ ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) และใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Nation of Origin Statement) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบสินค้าก่อนการนำเข้า (Import Inspection) เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะทำการสุ่มตรวจสินค้า โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบใดๆ ทั้งสิ้น
ขั้นตอนที่ 3 ผลการตรวจสอบ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- กรณีที่พบว่าไม้ตัดดอกเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาด เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะดำเนินการ ดังนี้
- หากเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาดที่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีรมควัน เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะทำการรมควันไม้ตัดดอกดังกล่าวก่อนออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้ และอนุญาตให้นำเข้าไม้ตัดดอกดังกล่าวเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นได้
- หากเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาดที่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีรมควัน เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะส่งไม้ตัดดอกดังกล่าวกลับคืนประเทศผู้ส่งออกหรือนำไปทำลายและห้ามนำเข้าไปในญี่ปุ่นโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
- กรณีที่ไม่พบว่าเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาด เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้และอนุญาตให้นำเข้าไม้ตัดดอกดังกล่าวเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นได้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2544--
-อน-
ในปัจจุบันญี่ปุ่นอนุญาตให้นำเข้าไม้ตัดดอกได้ โดยยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้า แต่ต้องผ่านการตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการกักกันพืช (Plant Quarantine Law) ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น สาระสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบไม้ตัดดอกนำเข้าที่ผู้ส่งออกควรทราบมีดังนี้
1. ไม้ตัดดอกที่ห้ามนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการกักกันพืชของญี่ปุ่น ประกอบด้วย
- ไม้ตัดดอกที่เป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น เพลี้ยไฟฝ้าย บั่วกล้วยไม้ หนอนกระทู้หอม ฯลฯ
- ไม้ตัดดอกที่มีดิน (Soil) ปะปน
- ไม้ตัดดอกที่ถูกห่อหรือบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุต้องห้าม เช่น ฟางข้าว เป็นต้น
ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่าไม้ตัดดอกเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาด ไม้ตัดดอกดังกล่าวจะถูกนำไปรมควัน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อไม้ตัดดอกบางชนิด และอาจทำให้ไม้ตัดดอกดังกล่าวไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ส่วนไม้ตัดดอกที่มีดินปะปนหรือถูกห่อด้วยวัสดุต้องห้ามจะต้องถูกส่งกลับหรือถูกทำลาย โดยไม่อนุญาตให้นำเข้าไปในญี่ปุ่นโดยเด็ดขาด ดังนั้น ผู้ส่งออกควรตรวจสอบสินค้าอย่างเข้มงวดก่อนส่งออกไปจำหน่ายในญี่ปุ่นเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
2. การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Plant Quarantine Certificate) ก่อนการส่งออก ผู้ส่งออกไม้ตัดดอกสามารถขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย โดย กระทรวงเกษตรฯ จะตรวจสอบสินค้าทั้งหมด ณ ด่านตรวจสินค้าดอนเมือง หรือที่กระทรวงเกษตรฯ ก่อนออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้แก่ผู้ส่งออก
3. การตรวจสอบก่อนการนำเข้า (Import Inspection)
ไม้ตัดดอกที่ได้รับใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศผู้ส่งออกแล้วต้องผ่านการตรวจสอบก่อนการนำเข้าในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ผู้นำเข้ายื่นคำขอตรวจสอบก่อนการนำเข้า (Import Inspection Application) ต่อเจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่น ซึ่งจะตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่กำหนดให้ผู้นำเข้าต้องยื่นพร้อมคำขอตรวจสอบการนำเข้า อาทิ ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) และใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Nation of Origin Statement) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบสินค้าก่อนการนำเข้า (Import Inspection) เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะทำการสุ่มตรวจสินค้า โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบใดๆ ทั้งสิ้น
ขั้นตอนที่ 3 ผลการตรวจสอบ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- กรณีที่พบว่าไม้ตัดดอกเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาด เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะดำเนินการ ดังนี้
- หากเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาดที่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีรมควัน เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะทำการรมควันไม้ตัดดอกดังกล่าวก่อนออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้ และอนุญาตให้นำเข้าไม้ตัดดอกดังกล่าวเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นได้
- หากเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาดที่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีรมควัน เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะส่งไม้ตัดดอกดังกล่าวกลับคืนประเทศผู้ส่งออกหรือนำไปทำลายและห้ามนำเข้าไปในญี่ปุ่นโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
- กรณีที่ไม่พบว่าเป็นโรคพืชหรือมีแมลงศัตรูพืชระบาด เจ้าหน้าที่ Plant Quarantine ของญี่ปุ่นจะออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้และอนุญาตให้นำเข้าไม้ตัดดอกดังกล่าวเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นได้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2544--
-อน-