ประเทศเซเนกัลจัดว่าอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาและประชาชนส่วนใหญ่ยังยากจน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกาแล้ว เซเนกัลยังเป็นประเทศที่น่าสนใจในแง่ของการค้าและการลงทุนจากประเทศไทย เซเน-กัลเป็นประเทศที่มีการพัฒนาตัวเองตลอดมา ประกอบกับจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2000 จัดได้ว่าเซเนกัลเป็นตลาดใหญ่ประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกที่สามารถรองรับสินค้าจากประเทศไทยได้อีกมาก โดยเฉพาะเป็นตลาดข้าวที่สำคัญของไทยมาโดยตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา รวมไปถึงสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่นับวันจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น
เศรษฐกิจของเซเนกัลต้องประสบกับการถดถอยตลอดระยะเวลาทศวรรษที่ผ่านมา คือ ปี ค.ศ. 1980 จนถึงต้นปี ทศวรรษ ค.ศ. 1990 สาเหตุสำคัญมาจากความแห้งแล้งและพื้นที่ประเทศอยู่ติดทะเลทรายและประเทศไม่มีทรัพยากรเพียงพอ ผลผลิตมวลรวมของประเทศลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 3.8 ในช่วงปี ค.ศ. 1979 - 1983 เหลือเพียงร้อยละ 2.6 ในช่วงปี ค.ศ. 1984 - 1988 และเหลือเพียงร้อยละ 1.7 ในช่วงปี ค.ศ. 1989/1992 มีผลให้รัฐบาลต้องเร่งปรับโครงสร้างทางสังคม โดยพยายามลดภาระความต้องการการนำเข้า เช่น อาหาร โภชนาการ น้ำดื่ม สาธารณสุข การเคหะ การศึกษา และหันมาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การปรับกลไกทางเศรษฐกิจมหภาพและการลดค่าเงิน FCFA มีผลให้เศรษฐกิจเซเนกัลเริ่มฟื้นตัว และมีการขยายตัวเป็นครั้งแรกจากร้อยละ 2 ในปี ค.ศ. 1994 เป็นร้อยละ 4.8 ในปี ค.ศ. 1995 และเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 5 ในปี 1996 (และยังรักษาระดับการเติบโต/ปีร้อยละ 5 ในปัจจุบัน) รัฐบาลสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อจากร้อยละ 32 ในปี ค.ศ. 1994 เหลือเพียงร้อยละ 8 ในปี ค.ศ. 1995 (5)
เกษตรกรรมเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเซเนกัล แต่ความสำคัญของการเกษตรต่อรายได้ที่เป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) มีค่าลดลงตลอดจากร้อยละ 25 ในปี ค.ศ. 1960 เหลือเพียงร้อยละ 22.2 ในปี ค.ศ. 1988 กำลังแรงงานของประเทศร้อยละ 70 อยู่ในภาคเกษตรกรรม พื้นที่การเพาะปลูกร้อยละ 40 ใช้เพื่อการปลูกถั่วลิสง ได้มีความพยยามปลูกพืชทดแทนที่ก่อให้เกิดรายได้ด้วยเช่นกัน ฝ้าย พืชผักเพื่อการส่งออกทดแทนการปลูกข้าวฟ่างและข้าวเดือย ซึ่งยังจำเป็นและใช้เพื่อการบริโภค อย่างไรก็ตาม การเพาะปลูกส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยฝนธรรมชาติชวย รวมทั้งแหล่งน้ำซึ่งถูกกระทบโดยตรงต่อความแห้งแล้งของภูมิอากาศเขตทะเลทรายซึ่งเซเนกัลตั้งอยู่ภายใต้เขตพื้นที่ดังกล่าว (Sahelion Region) ทำให้การเพาะปลูกทำได้ในลักษณะจำกัดเพียงบางพื้นที่ของประเทศเท่านั้น
ในปี ค.ศ. 2000 ชาวเซเนกัลมีรายได้ต่อหัว (GDP) ประมาณ 530 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประชากรจำนวน 1 ใน 3 ของประเทศเป็นผู้ที่อ่านออกเขียนได้และพยายามพัฒนาตนเอง รายได้หลักของประเทศได้จากการท่องเที่ยว การส่งออกฟอสเฟต ถั่วลิสง อาหารทะเลแช่แข็งจำพวกปลา ปลาหมึก และปลาทูนา ปลาซาดีน เป็นต้น
เซเนกัลเป็นประเทศที่มีความมั่งคงทางด้านการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกรวมทั้งการให้ความสำคัญด้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับของประเทศนับตั้งแต่การลดค่าเงินสกุลฟรังก์-เซฟาลงร้อยละ 50 ในปี ค.ศ. 1994 ช่วยส่งเสริมให้มีการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจของเซเนกัล
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ (ค.ศ. 1995 - 2000) เซเนกัลมีการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงมากขึ้น ภาระหนี้ของประเทศลดลง ภาวะเงินเฟ้อของประเทศอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 ต่อปี และรายได้ต่อหัวของประชาชาติขยับตัวสูงขึ้นในปี ค.ศ. 1998 เซเนกัลเริ่มทดลองให้มีโครงการใช้เงินกองทุนระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) เพื่อดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศในขั้นที่สองต่อไป การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนี้เองทำให้เงินทุนของประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระยะเวลา 3 ปี (ค.ศ. 1998-2000) ผลสืบเนื่องจากโครงการดังกล่าวทำให้เซเนกัลสามารถดำเนินการปฏิรูปการทำงานของข้าราชการพลเรือน การพัฒนาการค้าแบบเสรี ลดอัตราภาษี ปรับปรุงสภาพการเงิน รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนให้เอกชนสามารถเข้าร่วมถือครองรัฐวิสาหกิจหลายอย่าง ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐเป็นผู้ถือครองแต่ผู้เดียว
อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของเซเนกัลยังไม่จัดอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แม้ว่าจะมีการพัฒนาไปได้ในระดับหนึ่ง เซเนกัลยังคงประสบปัญหาเรื่องการทำงานล่าช้า (Red Tape) ในระบบราชการ ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น รวมไปถึงระบบกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศที่ยังขาดความโปร่งใสและคล่องตัวเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศรัฐบาลเซเนกัลให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ตามสถานการณ์ปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจในเซเนกัลรวมถึงการกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานของภาคเอกชนจะไม่ขึ้นต่อรัฐบาลโดยตรง แต่พรรคสังคมนิยมที่เป็นผู้บริหารรัฐบาลชุดก่อนได้ให้ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสภาแรงงานของเซเนกัล (Labour Federation) ส่งผลให้การเจรจาเรื่องอัตราค่าจ้างแรงงานเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งปรากฏให้เห็นว่าในปี ค.ศ. 1999 เซเนกัลได้มีการปรับปรุงค่าจ้างแรงงานของทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งบาทบาทดังกล่าวรัฐบาลปัจจุบันได้แถลงการณ์ที่จะให้มีการดำเนินงานในรูปแบบนี้ต่อไป เห็นได้จากการเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจของรัฐบาลเซเนกัลมีการควบคุมราคาสินค้าส่งออกที่สำคัญของเซเนกัล เช่น ราคาถั่วลิสง และราคาฝ้าย รวมไปถึงราคาสินค้าที่ใช้บริโภคประเภทอื่น ๆ ภายในประเทศ เช่น ข้าว ขนมปัง แป้งสาลี เป็นต้น
ในส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมนั้น เซเนกัลเริ่มที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการกิจการต่าง ๆ ของประเทศ โดยรัฐบาลถือหุ้นประมาณร้อยละ 30 ซึ่งแต่ก่อนรัฐบาลเซเนกัลเป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว อาทิเช่นการขายกิจการการผลิตน้ำประปา (SONEES) ให้ภาคเอกชนในปี ค.ศ. 1995 การขายกิจการการสื่อสารโทรคมนาคม (SONATEL) ให้ภาคเอกชนในปี ค.ศ. 1997 และล่าสุดหน่วยงานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าของเซเนกัล (SENELEC) ได้รับการถ่ายโอนให้ภาคเอกชนบริหารงานต่อไปในปี ค.ศ. 1999 มีผลให้ประสิทธิภาพการทำงานด้านบริการต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีประโยชน์โดยตรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
นอกจากนั้น เซเนกัลยังมีโครงการอื่น ๆ อีก ซึ่งรัฐบาลยังดำเนินการอยู่ แต่คาดว่าจะมีการขายกิจการให้ภาคเอกชนดำเนินการต่อไปในไม่ช้า เช่น โครงการผลิตน้ำมันถั่วลิสง และน้ำมันพืช (SONACOS) รถโดยสารประจำทางที่ใช้ในการขนส่งในกรุงดาการ์ (SOTRAC) และรถไฟในเซเนกัล (SNCS)
ในเรื่องของระบบการเงินของประเทศ เซเนกัลใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟา (Franc CFA) เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกาตะวันตกอีก 7 ประเทศ ซึ่งในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟานี้จะมีธนาคารกลางของแอฟริกาตะวันตก (BCEAO) เป็นผู้ควบคุมเรื่องนโยบายการเงินของภูมิภาคและภาวะเงินเฟ้อ นอกเหนือจากนี้แล้วธนาคารพาณิชย์ของเซเนกัลดำเนินการโดยภาคเอกชนทั้งสิ้น
การค้า
ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐ
1. ไทยและเซเนกัลได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2523 และในระยะแรกเซเนกัลกำหนดให้ไทยอยู่ภายใต้เขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูตเซเนกัล ณ กรุงปักกิ่ง ต่อมาได้มีการตั้งทูตสัญจร (Ambassadeur Itinerant) ดูแลกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีถิ่นที่อยู่ ณ กรุงดาการ์
2. ไทยและเซเนกัลได้จัดทำความตกลงทางการค้าระหว่างกันเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2524 และแลกเปลี่ยนการให้สัตยาบันสารระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2526
สำหรับเอกชนไทยและเซเนกัลไม่มีความตกลงทางการค้าระหว่างกัน
ภาวะการค้ากับประเทศไทย
การส่งออก ในปีหนึ่งไทยส่งออกไปเซเนกัลมีมูลค่าประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ยานพาหนะและอุปกรณ์ ตาข่ายจับปลา หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน
สำหรับการนำเข้า ไทยนำเข้าจากเซเนกัลมีมูลค่าปีหนึ่ง ๆ ประมาณ 50 ล้านบาท โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ปลาหมึกสดแช่เย็น กุ้งแช่แข็ง เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หนังดิบและหนังฟอก ผลิตภัณฑ์โลหะแล้ว และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. รัฐบาลเซเนกัลไม่ได้ผูกขาดการนำเข้าข้าวคุณภาพต่ำ แต่ราคาขายข้าวไทยในตลาดเซเนกัลมีราคาสูงกว่าข้าวจากประเทศอื่นอยู่เล็กน้อย แม้กระนั้นข้าวไทยก็ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคพื้นเมืองอย่างกว้างขวางในด้านคุณภาพและรสดี
2. เซเนกัลมีการเก็บภาษีนำเข้าหลายประเภท ได้แก่ ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าสิ่งทอ ภาษีการคลัง เป็นต้น ซึ่งเป็นภาระแก่ผู้ส่งออกไทย และเป็นเหตุให้มีการลักลอบนำเข้าสินค้าซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการค้าปกติ
3. เซเนกัลเป็นสมาชิกของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งชาติแอฟริกา (ECOWAS) และมีการลดหย่อนภาษีการ- ค้าระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้สินค้าไทยบางประเภทไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่เซเนกัลนำเข้าจากกลุ่มประเทศสมาชิก เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ และพลาสติกจากโกตดิวัวร์ สิ่งทอจากไนจีเรีย เป็นต้น
4. ภาคเอกชนไทยประสบปัญหาด้านการค้าซึ่งไม่อาจติดต่อค้าขายโดยตรงได้เนื่องจากนักธุรกิจชาวเซเนกัลไม่มีเงินทุนเพียงพอในการเปิด L/C ในการสั่งซื้อสินค้าโดยเฉพาะข้าว ทำให้ต้องมีการสั่งผ่านพ่อค้าคนกลางในยุโรปตลอดมาทำให้ราคาข้าวในตลาดเซเนกัลสูงกว่าที่ควรจะเป็น
อย่างไรก็ตาม เริ่มมีแนวโน้มที่จะมีการผ่อนปรนระหว่างกันเพื่อให้มีการซื้อขายโดยตรงเกิดขึ้น โดยเฉพาะในภาคธุรกิจการค้า นอกเหนือจากตลาดข้าวซึ่งยังต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากนักธุรกิจสองฝ่ายมีโอกาสไปมาหาสู่กันและได้สร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันขึ้น คาดว่าในอนาคตการค้าขายโดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางจะเริ่มเป็นรูปร่างขึ้นได้ในสินค้าหลาย ๆ ประเภท
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดาการ์ ภายใต้โครงการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ จัดนำนักธุรกิจจากเซเนกัล แกมเบีย และบูร์กินาฟาโซ รวม 3 คณะ พร้อมด้วยนักธุรกิจรวม 32 คน ไปเยือนประเทศไทยในช่วงปี ค.ศ. 1999 - 2000 เป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อการค้าระหว่างกันโดยตรงมากยิ่งขึ้น
การลงทุน
รัฐบาลเซเนกัลให้ความสำคัญการลงทุนภายในประเทศทั้งจากชาวเซเนกัลและการลงทุนจากต่างชาติ โดยรัฐ-บาลปัจจุบันได้อำนวยความสะดวกและลดปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ให้แก่นักลงทุนชาวต่างประเทศ
กิจกรรมด้านการลงทุนที่ต่างชาติสามารถเข้ามาดำเนินการในเซเนกัลแยกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. การลงทุนที่เกี่ยวกับการเกษตร การประมง และการปศุสัตว์
2. การลงทุนที่เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิต
3. การลงทุนด้านการค้นคว้าวิจัยและแปรรูปสินค้าแร่ต่าง ๆ
4. การลงทุนที่เกี่ยวกับด้านวัฒนธรรม เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ในการศึกษา
5. การให้บริการการดูแลสุขภาพ การศึกษา และการปรับปรุงเครื่องมือในการประกอบอุตสาหกรรม
6. การให้บริการด้านเครื่องมือการเกษตรและการดำเนินการด้านวิศวกรรม
7. การลงทุนด้านสถาบันการเงินและการธนาคาร
8. การลงทุนในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อการค้า (โดยการก่อสร้างอาคารพาณิชย์นั้นจะต้องมีมูลค่าเกินกว่า 400 ล้านฟรังก์เซฟาขึ้นไป)
การลงทุนของต่างชาติซึ่งเซเนกัลกำลังต้องการ
1. การลงทุนตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อการบริโภค รวมทั้งการผลิตอาหารสัตว์
2. การลงทุนตั้งโรงงานเก็บรักษาอาหารและผลไม้ (เพราะปัจจุบันนี้เมื่อหมดฤดูกาลผลไม้ของเซเนกัล เช่น มะม่วง มะละกอ เซเนกัลยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะแปรรูปผลไม้เป็นอย่างอื่น
3. การลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่ม (Textile)
4. การลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และเทคโนโลยีระดับสูง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
5. การลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องใช้จำพวกพลาสติก เช่น ภาชนะพลาสติก เก้าอี้พลาสติก
ข้อกำหนดทั่วไปในการลงทุนในเซเนกัลของคนต่างชาติ
1. มูลค่าของการลงทุนในเซเนกัลต้องมีมูลค่าอย่างน้อยที่สุด 5 ล้านฟรังก์เซฟาขึ้นไป
2. ต้องมีการจ้างแรงงานของคนท้องถิ่นอย่างน้อยที่สุด 3 คนขึ้นไป
3. การลงทุนในเซเนกัลจะต้องได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสถาบันการเงินที่กำหนดอย่างน้อยร้อยละ 20 สำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก และร้อยละ 30 สำหรับบริษัทขนาดใหญ่
การเสนอเรื่องเพื่อดำเนินการขอลงทุนในเซเนกัล โดยทั่วไปการยื่นเรื่องเพื่อขอความเห็นชอบในการลงทุนในเซเนกัลจะใช้เวลาอย่างมากที่สุดประมาณ 30 วัน โดยจะต้องเตรียมเอกสารข้อมูลดังนี้.-
1. หนังสือขออนุมัติการลงทุนในเซเนกัล
2. เอกสารด้านการเงิน
3. การจดทะเบียนซึ่งทำไว้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา
ผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการลงทุนในเซเนกัล เพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุนของต่างชาติในเซเนกัลรัฐบาลเซเนกัลเห็นชอบให้มีการโอนเงินทุนเข้าออกระหว่างประเทศโดยเสรี และเท่าเทียมกัน (โดยไม่มีการแบ่งแยกระหว่างบุคคลผู้ถือสัญชาติเซเนกัลหรือชาวต่างชาติ ผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนพึงได้รับจะสัมพันธ์กับการลงทุนและการจ้างแรงงานในประเทศ รวมถึงภาษีที่จะต้องเสียให้แก่เซเนกัล ซึ่งจะคิดตามขนาดของบริษัทที่ลงทุนว่าเป็นการลงทุนของบริษัทขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่
ช่วงเวลาในการลงทุนในเซเนกัล ข้อตกลงที่อนุมัติให้มีการลงทุนในเซเนกัลในแต่ละครั้งผู้ลงทุนจะใช้เวลาดำเนินงานการลงทุนแต่ละโครงการแตกต่างกันไปตั้งแต่ 5 ปีถึง 12 ปีก่อนที่จะทำเรื่องขออนุมัติเพื่อดำเนินการลงทุนใหม่ในเซเนกัลต่อไป ช่วงระยะเวลาในการลงทุนแต่ละครั้งจะถูกจำแนกตามเขตพื้นที่ดังนี้.-
1). 5 ปีสำหรับพื้นที่ในเขต Dakar Pekine และ Rufisque-Bargny
2). 7 ปีสำหรับพื้นที่นอกเมืองหลวง Sangalham Sebikotane และ Thies
3). 10 ปีสำหรับพื้นที่ในเขต Diourbel Louga และ Kaolack
4). 12 ปีสำหรับพื้นที่ในเขต Fatick Kolda Tambacounda Ziguinchor และ Saint-Louis
เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนให้เกิดขึ้นในเซเนกัลและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะมาลงทุนในเซเนกัล รัฐบาลเซเนกัลได้จัดตั้งหน่วยงานที่สำคัญ 3 หน่วยภายในประเทศขึ้นมาเพื่อเป็นการประสานงานและให้ข้อมูลนักลงทุนโดยตรง ได้แก่
1. หน่วยงานช่องทางเดียว (Guichet Unique)
2. พื้นที่อุตสาหกรรมของดาการ์ (La Zone Franche Industrielle de Dakar)
3. สถาบันแห่งชาติเพื่อการศึกษาและส่งเสริมอุตสาหกรรม (Societe Nationale d'Etudes et de Promotion Industrielle - SONEPI) การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจของแอฟริกาตะวันตกที่ใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟา(UEMOA) และความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ ECOWAS (CEDEAO) เซเนกัลเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจของแอฟริกาตะวันตกที่ใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟา (Union Economique et Monetaire Ouest Africaine-UEMOA) รวม 8 ประเทศ ได้แก่ เบนิน บูร์กินาฟาโซ โกตดิวัวร์ กิเนบิสเซา มาลี ไนเจอร์ เซเนกัลและโตโก UEMOA จัดตั้งขึ้นในปีค.ศ.1994 ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ความร่วมมือและผนึกกำลังเพื่อความเป็นเอกภาพของการใช้ระบบเงินตราเดียว คือ เงินสกุลฟรังก์เซฟาในกลุ่มอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีประชากร รวม 8 ประเทศประมาณ 70 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรโดยรวมในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก สำนักงานใหญ่ของ UEMOA ตั้งอยู่ ณ กรุงวากาดูกู ประเทศบูร์กินาฟาโซ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ กลุ่มประเทศทั้ง 8 ที่เป็นสมาชิก UEMOA เป็นสมาชิกแยกย่อยออกไปจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ ECOWAS หรือ Economic Community of West African States ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่กรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรีย รวม 15 ประเทศ ได้แก่ เบนิน บูร์กินาฟาโซ กานา กินีบิสซา เคปเวิร์ด โกตดิวัวร์ แกมเบียน กินี (โกนากรี) ไนจีเรีย เซเนกัล เซียร์ราลีโอน โตโก ไลบีเรีย มาลี ไนเจอร์นั้นเอง เพราะในขณะที่ ECOWAS เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐ- กิจของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกโดยรวมโดยไม่คำนึงถึงสกุลของเงินตราที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน (เช่น แกมเบียใช้เงินสกุลดาลัสซี่) แต่ UEMOA เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟาซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่กับเงินฟรังก์ฝรั่งเศสในอัตรา 100 FCFA/1 ฟรังก์ฝรั่งเศส ทำให้กลุ่ม ECOWAS มีเงินตราที่ใช้แตกต่างกันถึง 8 สกุล
วัตถุประสงค์ของ UEMOA คือ
1. ผนึกกำลังทางเศรษฐกิจ และการเงินของประเทศในรัฐสมาชิกในการใช้ระบบเงินตราสกุลเดียวกันเพื่อให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคและเพื่อความเป็นเอกภาพทางเศรษฐกิจ
2. การจัดตั้งสถาบันที่แน่นอนในการสอดส่อง การเปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกในระดับพหุภาพ
3. เป็นการสร้างตลาดเดียวร่วมกัน (Marche Commun) เพื่อให้การเคลื่อนย้ายของประชาชน ทรัพย์สิน การ-บริการ เงินทุน และกฎหมายที่ใช้อยู่ในหมู่รัฐสมาชิกเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน เช่น การกำหนดอัตราภาษีที่ใช้กับประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม UEMOA ในอัตราเดียวกัน (TEC) และการมีกฎหมายทางการค้าที่ใช้ร่วมกันของรัฐสมาชิก
4. การประสานการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจในกลุ่มรัฐสมาชิกให้สอดคล้องกันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปรับปรุงด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม การขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค การสื่อสาร ทรัพยากรมนุษย์ พลังงาน อุตสาหกรรม เหมืองแร่ และหัตถกรรม
5. การกำหนดระบบทางกฎหมายโดยเฉพาะเรื่องภาษีให้เป็นระบบเดียวกันเพื่อให้การดำเนินงานของตลาดร่วมดำเนินไปด้วยดี
การเข้าร่วมเป็นสมาชิก UEMOA ทำให้เซเนกัลสามารถขยายการค้าไปยังประเทศกลุ่มสมาชิกได้สะดวก เนื่องจากเป้าหมายหลักของ UEMOA ที่ตั้งไว้ คือ ระบบภาษีของรัฐสมาชิกจะลดลงเป็นลำดับจนกระทั่งถึง 0% ในปี ค.ศ. 2003 การลดอัตราภาษีจนถึง 0% นี้ เป็นแผนงานระยะ 4 ปี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2003 นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มประเทศสมาชิกในอัตราเดียวกัน (TEC - Tarif Exterieur Commun) จากความตกลงของ UEMOA ในเรื่องของ TEC ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 กำหนดให้ลดภาษีศุลกากรจากร้อยละ 15.2 เหลือร้อยละ 12.2 ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาสินค้าซึ่งนำเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิกมีราคาใกล้เคียงกัน
นอกเหนือไปจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิก UEMOA ซึ่งมีประชากรรวมมากกว่า 70 ล้านคนแล้ว เซเนกัลยังเป็นสมาชิกในกลุ่มประเทศ ECOWAS (CEDEAO) ซึ่งมีประชากรมากกว่า 200 ล้านคนอีกด้วย องค์การทั้งสองนี้แม้จะเป็นองค์กรอิสระจากกัน แต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ การสร้างประชาคมเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประชาคมทั้งสองมีความเกี่ยวพันกันใกล้ชิด กล่าวคือ สมาชิกของ UEMOA ทุกประเทศต่างก็เป็นสมาชิกใน ECOWAS นอกจากนี้ ในปัจจุบัน (21 กันยายน ค.ศ. 2000) นาย Alpha Oumar Konare ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมาลียังได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานของการประชุมระดับประมุขและผู้นำรัฐบาล ซึ่งเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของทั้งสององค์การในขณะเดียวกันด้วย ดังนั้น องค์การทั้งสองจึงต่างกันในสาระสำคัญที่ว่าประเทศสมาชิก UEMOA ใช้เงินสกุลเดียวกัน คือ ฟรังก์เซฟา (FCFA) ส่วนประเทศที่เหลืออีก 7 ประเทศใช้เงินตราสกุลของตนเอง ในอนาคตประชาคมทั้งสองมีแนวโน้มรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยใช้เงินสกุลเดียวกันได้ ปัญหาของ ECOWAS ที่มีสมาชิก 15 ประเทศ และมีเงินตราต่างกันถึง 8 สกุลก็จะหมดไป หรือกล่าวอีกในหนึ่งก็คือ การรวมสองประชาคมในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกให้เป็นประชาคมเดียวกัน ซึ่งจะทำให้แอฟริกาตะวันตกเป็นตลาดที่ใหญ่มีประชากรมากกว่า 200 ล้านคน นับเป็นร้อยละ 30 ของประชากรทั้งทวีปแอฟริกา เหมาะสำหรับเป็นตลาดวัตถุดิบและการส่งออกสินค้าไทย นอกจากนี้ ยังเป็นภูมิภาคที่เหมาะที่จะขยายฐานการผลิตของไทยมายังภูมิภาคนี้ด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ UEMOA ซึ่งนอกจากจะได้รับสิทธิพิเศษในการส่งสินค้าไปขายในกลุ่มประชาคมยุโรปตาม Convention de Lome (1975) และตาม Accord de Cotonou (23 มิถุนายน 2000) ซึ่งขยายสิทธิพิเศษตาม Convention de Lome ที่ให้แก่กลุ่มประเทศ ACP (Afrique Caraibes Pacifique) ต่อออกไปอีก 20 ปีแล้ว ยังได้รับความสะดวกในแง่ที่กลุ่มประเทศ UEMOA ใช้เงินสกุลเดียวกันซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เมื่อเทียบกับเงินฟรังก์ฝรั่งเศส (100 FCFA = 1 FF) มีการกำหนดอัตราภาษีเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายแรงงานและเงินทุนโดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งได้รับสิทธิพิเศษในการส่งสินค้าไปขายยังประเทศสมาชิกโดยไม่มีการกีดกันด้านภาษีหรือโควต้า นอกจากนี้ การขยายฐานการผลิตของไทยมายังประเทศแอฟริกาตะวันตกโดยเฉพาะที่เซเนกัล ซึ่งอยู่ตะวันตกสุดของทวีปแอฟริกา การระบายสินค้าส่งไปยังอเมริกาและยุโรปจะทำได้สะดวกเพราะมีท่าเรือน้ำลึกอยู่แล้ว และจะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับการขนส่งทางทะเลจากแอฟริกาไปยังทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ-ใต้
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/2544 วันที่ 15 มกราคม 2544--
-อน-
เศรษฐกิจของเซเนกัลต้องประสบกับการถดถอยตลอดระยะเวลาทศวรรษที่ผ่านมา คือ ปี ค.ศ. 1980 จนถึงต้นปี ทศวรรษ ค.ศ. 1990 สาเหตุสำคัญมาจากความแห้งแล้งและพื้นที่ประเทศอยู่ติดทะเลทรายและประเทศไม่มีทรัพยากรเพียงพอ ผลผลิตมวลรวมของประเทศลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 3.8 ในช่วงปี ค.ศ. 1979 - 1983 เหลือเพียงร้อยละ 2.6 ในช่วงปี ค.ศ. 1984 - 1988 และเหลือเพียงร้อยละ 1.7 ในช่วงปี ค.ศ. 1989/1992 มีผลให้รัฐบาลต้องเร่งปรับโครงสร้างทางสังคม โดยพยายามลดภาระความต้องการการนำเข้า เช่น อาหาร โภชนาการ น้ำดื่ม สาธารณสุข การเคหะ การศึกษา และหันมาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การปรับกลไกทางเศรษฐกิจมหภาพและการลดค่าเงิน FCFA มีผลให้เศรษฐกิจเซเนกัลเริ่มฟื้นตัว และมีการขยายตัวเป็นครั้งแรกจากร้อยละ 2 ในปี ค.ศ. 1994 เป็นร้อยละ 4.8 ในปี ค.ศ. 1995 และเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 5 ในปี 1996 (และยังรักษาระดับการเติบโต/ปีร้อยละ 5 ในปัจจุบัน) รัฐบาลสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อจากร้อยละ 32 ในปี ค.ศ. 1994 เหลือเพียงร้อยละ 8 ในปี ค.ศ. 1995 (5)
เกษตรกรรมเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเซเนกัล แต่ความสำคัญของการเกษตรต่อรายได้ที่เป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) มีค่าลดลงตลอดจากร้อยละ 25 ในปี ค.ศ. 1960 เหลือเพียงร้อยละ 22.2 ในปี ค.ศ. 1988 กำลังแรงงานของประเทศร้อยละ 70 อยู่ในภาคเกษตรกรรม พื้นที่การเพาะปลูกร้อยละ 40 ใช้เพื่อการปลูกถั่วลิสง ได้มีความพยยามปลูกพืชทดแทนที่ก่อให้เกิดรายได้ด้วยเช่นกัน ฝ้าย พืชผักเพื่อการส่งออกทดแทนการปลูกข้าวฟ่างและข้าวเดือย ซึ่งยังจำเป็นและใช้เพื่อการบริโภค อย่างไรก็ตาม การเพาะปลูกส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยฝนธรรมชาติชวย รวมทั้งแหล่งน้ำซึ่งถูกกระทบโดยตรงต่อความแห้งแล้งของภูมิอากาศเขตทะเลทรายซึ่งเซเนกัลตั้งอยู่ภายใต้เขตพื้นที่ดังกล่าว (Sahelion Region) ทำให้การเพาะปลูกทำได้ในลักษณะจำกัดเพียงบางพื้นที่ของประเทศเท่านั้น
ในปี ค.ศ. 2000 ชาวเซเนกัลมีรายได้ต่อหัว (GDP) ประมาณ 530 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประชากรจำนวน 1 ใน 3 ของประเทศเป็นผู้ที่อ่านออกเขียนได้และพยายามพัฒนาตนเอง รายได้หลักของประเทศได้จากการท่องเที่ยว การส่งออกฟอสเฟต ถั่วลิสง อาหารทะเลแช่แข็งจำพวกปลา ปลาหมึก และปลาทูนา ปลาซาดีน เป็นต้น
เซเนกัลเป็นประเทศที่มีความมั่งคงทางด้านการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกรวมทั้งการให้ความสำคัญด้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับของประเทศนับตั้งแต่การลดค่าเงินสกุลฟรังก์-เซฟาลงร้อยละ 50 ในปี ค.ศ. 1994 ช่วยส่งเสริมให้มีการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจของเซเนกัล
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ (ค.ศ. 1995 - 2000) เซเนกัลมีการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงมากขึ้น ภาระหนี้ของประเทศลดลง ภาวะเงินเฟ้อของประเทศอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 ต่อปี และรายได้ต่อหัวของประชาชาติขยับตัวสูงขึ้นในปี ค.ศ. 1998 เซเนกัลเริ่มทดลองให้มีโครงการใช้เงินกองทุนระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) เพื่อดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศในขั้นที่สองต่อไป การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนี้เองทำให้เงินทุนของประเทศเพิ่มขึ้นประมาณ 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระยะเวลา 3 ปี (ค.ศ. 1998-2000) ผลสืบเนื่องจากโครงการดังกล่าวทำให้เซเนกัลสามารถดำเนินการปฏิรูปการทำงานของข้าราชการพลเรือน การพัฒนาการค้าแบบเสรี ลดอัตราภาษี ปรับปรุงสภาพการเงิน รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนให้เอกชนสามารถเข้าร่วมถือครองรัฐวิสาหกิจหลายอย่าง ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐเป็นผู้ถือครองแต่ผู้เดียว
อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของเซเนกัลยังไม่จัดอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แม้ว่าจะมีการพัฒนาไปได้ในระดับหนึ่ง เซเนกัลยังคงประสบปัญหาเรื่องการทำงานล่าช้า (Red Tape) ในระบบราชการ ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น รวมไปถึงระบบกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศที่ยังขาดความโปร่งใสและคล่องตัวเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศรัฐบาลเซเนกัลให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ตามสถานการณ์ปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจในเซเนกัลรวมถึงการกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานของภาคเอกชนจะไม่ขึ้นต่อรัฐบาลโดยตรง แต่พรรคสังคมนิยมที่เป็นผู้บริหารรัฐบาลชุดก่อนได้ให้ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสภาแรงงานของเซเนกัล (Labour Federation) ส่งผลให้การเจรจาเรื่องอัตราค่าจ้างแรงงานเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งปรากฏให้เห็นว่าในปี ค.ศ. 1999 เซเนกัลได้มีการปรับปรุงค่าจ้างแรงงานของทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งบาทบาทดังกล่าวรัฐบาลปัจจุบันได้แถลงการณ์ที่จะให้มีการดำเนินงานในรูปแบบนี้ต่อไป เห็นได้จากการเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจของรัฐบาลเซเนกัลมีการควบคุมราคาสินค้าส่งออกที่สำคัญของเซเนกัล เช่น ราคาถั่วลิสง และราคาฝ้าย รวมไปถึงราคาสินค้าที่ใช้บริโภคประเภทอื่น ๆ ภายในประเทศ เช่น ข้าว ขนมปัง แป้งสาลี เป็นต้น
ในส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมนั้น เซเนกัลเริ่มที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการกิจการต่าง ๆ ของประเทศ โดยรัฐบาลถือหุ้นประมาณร้อยละ 30 ซึ่งแต่ก่อนรัฐบาลเซเนกัลเป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว อาทิเช่นการขายกิจการการผลิตน้ำประปา (SONEES) ให้ภาคเอกชนในปี ค.ศ. 1995 การขายกิจการการสื่อสารโทรคมนาคม (SONATEL) ให้ภาคเอกชนในปี ค.ศ. 1997 และล่าสุดหน่วยงานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าของเซเนกัล (SENELEC) ได้รับการถ่ายโอนให้ภาคเอกชนบริหารงานต่อไปในปี ค.ศ. 1999 มีผลให้ประสิทธิภาพการทำงานด้านบริการต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีประโยชน์โดยตรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
นอกจากนั้น เซเนกัลยังมีโครงการอื่น ๆ อีก ซึ่งรัฐบาลยังดำเนินการอยู่ แต่คาดว่าจะมีการขายกิจการให้ภาคเอกชนดำเนินการต่อไปในไม่ช้า เช่น โครงการผลิตน้ำมันถั่วลิสง และน้ำมันพืช (SONACOS) รถโดยสารประจำทางที่ใช้ในการขนส่งในกรุงดาการ์ (SOTRAC) และรถไฟในเซเนกัล (SNCS)
ในเรื่องของระบบการเงินของประเทศ เซเนกัลใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟา (Franc CFA) เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกาตะวันตกอีก 7 ประเทศ ซึ่งในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟานี้จะมีธนาคารกลางของแอฟริกาตะวันตก (BCEAO) เป็นผู้ควบคุมเรื่องนโยบายการเงินของภูมิภาคและภาวะเงินเฟ้อ นอกเหนือจากนี้แล้วธนาคารพาณิชย์ของเซเนกัลดำเนินการโดยภาคเอกชนทั้งสิ้น
การค้า
ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐ
1. ไทยและเซเนกัลได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2523 และในระยะแรกเซเนกัลกำหนดให้ไทยอยู่ภายใต้เขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูตเซเนกัล ณ กรุงปักกิ่ง ต่อมาได้มีการตั้งทูตสัญจร (Ambassadeur Itinerant) ดูแลกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีถิ่นที่อยู่ ณ กรุงดาการ์
2. ไทยและเซเนกัลได้จัดทำความตกลงทางการค้าระหว่างกันเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2524 และแลกเปลี่ยนการให้สัตยาบันสารระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2526
สำหรับเอกชนไทยและเซเนกัลไม่มีความตกลงทางการค้าระหว่างกัน
ภาวะการค้ากับประเทศไทย
การส่งออก ในปีหนึ่งไทยส่งออกไปเซเนกัลมีมูลค่าประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ยานพาหนะและอุปกรณ์ ตาข่ายจับปลา หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน
สำหรับการนำเข้า ไทยนำเข้าจากเซเนกัลมีมูลค่าปีหนึ่ง ๆ ประมาณ 50 ล้านบาท โดยมีสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ปลาหมึกสดแช่เย็น กุ้งแช่แข็ง เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หนังดิบและหนังฟอก ผลิตภัณฑ์โลหะแล้ว และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. รัฐบาลเซเนกัลไม่ได้ผูกขาดการนำเข้าข้าวคุณภาพต่ำ แต่ราคาขายข้าวไทยในตลาดเซเนกัลมีราคาสูงกว่าข้าวจากประเทศอื่นอยู่เล็กน้อย แม้กระนั้นข้าวไทยก็ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคพื้นเมืองอย่างกว้างขวางในด้านคุณภาพและรสดี
2. เซเนกัลมีการเก็บภาษีนำเข้าหลายประเภท ได้แก่ ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าสิ่งทอ ภาษีการคลัง เป็นต้น ซึ่งเป็นภาระแก่ผู้ส่งออกไทย และเป็นเหตุให้มีการลักลอบนำเข้าสินค้าซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการค้าปกติ
3. เซเนกัลเป็นสมาชิกของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งชาติแอฟริกา (ECOWAS) และมีการลดหย่อนภาษีการ- ค้าระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้สินค้าไทยบางประเภทไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่เซเนกัลนำเข้าจากกลุ่มประเทศสมาชิก เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ และพลาสติกจากโกตดิวัวร์ สิ่งทอจากไนจีเรีย เป็นต้น
4. ภาคเอกชนไทยประสบปัญหาด้านการค้าซึ่งไม่อาจติดต่อค้าขายโดยตรงได้เนื่องจากนักธุรกิจชาวเซเนกัลไม่มีเงินทุนเพียงพอในการเปิด L/C ในการสั่งซื้อสินค้าโดยเฉพาะข้าว ทำให้ต้องมีการสั่งผ่านพ่อค้าคนกลางในยุโรปตลอดมาทำให้ราคาข้าวในตลาดเซเนกัลสูงกว่าที่ควรจะเป็น
อย่างไรก็ตาม เริ่มมีแนวโน้มที่จะมีการผ่อนปรนระหว่างกันเพื่อให้มีการซื้อขายโดยตรงเกิดขึ้น โดยเฉพาะในภาคธุรกิจการค้า นอกเหนือจากตลาดข้าวซึ่งยังต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากนักธุรกิจสองฝ่ายมีโอกาสไปมาหาสู่กันและได้สร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันขึ้น คาดว่าในอนาคตการค้าขายโดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางจะเริ่มเป็นรูปร่างขึ้นได้ในสินค้าหลาย ๆ ประเภท
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดาการ์ ภายใต้โครงการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ จัดนำนักธุรกิจจากเซเนกัล แกมเบีย และบูร์กินาฟาโซ รวม 3 คณะ พร้อมด้วยนักธุรกิจรวม 32 คน ไปเยือนประเทศไทยในช่วงปี ค.ศ. 1999 - 2000 เป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อการค้าระหว่างกันโดยตรงมากยิ่งขึ้น
การลงทุน
รัฐบาลเซเนกัลให้ความสำคัญการลงทุนภายในประเทศทั้งจากชาวเซเนกัลและการลงทุนจากต่างชาติ โดยรัฐ-บาลปัจจุบันได้อำนวยความสะดวกและลดปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ให้แก่นักลงทุนชาวต่างประเทศ
กิจกรรมด้านการลงทุนที่ต่างชาติสามารถเข้ามาดำเนินการในเซเนกัลแยกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. การลงทุนที่เกี่ยวกับการเกษตร การประมง และการปศุสัตว์
2. การลงทุนที่เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิต
3. การลงทุนด้านการค้นคว้าวิจัยและแปรรูปสินค้าแร่ต่าง ๆ
4. การลงทุนที่เกี่ยวกับด้านวัฒนธรรม เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ในการศึกษา
5. การให้บริการการดูแลสุขภาพ การศึกษา และการปรับปรุงเครื่องมือในการประกอบอุตสาหกรรม
6. การให้บริการด้านเครื่องมือการเกษตรและการดำเนินการด้านวิศวกรรม
7. การลงทุนด้านสถาบันการเงินและการธนาคาร
8. การลงทุนในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อการค้า (โดยการก่อสร้างอาคารพาณิชย์นั้นจะต้องมีมูลค่าเกินกว่า 400 ล้านฟรังก์เซฟาขึ้นไป)
การลงทุนของต่างชาติซึ่งเซเนกัลกำลังต้องการ
1. การลงทุนตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อการบริโภค รวมทั้งการผลิตอาหารสัตว์
2. การลงทุนตั้งโรงงานเก็บรักษาอาหารและผลไม้ (เพราะปัจจุบันนี้เมื่อหมดฤดูกาลผลไม้ของเซเนกัล เช่น มะม่วง มะละกอ เซเนกัลยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะแปรรูปผลไม้เป็นอย่างอื่น
3. การลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่ม (Textile)
4. การลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และเทคโนโลยีระดับสูง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
5. การลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องใช้จำพวกพลาสติก เช่น ภาชนะพลาสติก เก้าอี้พลาสติก
ข้อกำหนดทั่วไปในการลงทุนในเซเนกัลของคนต่างชาติ
1. มูลค่าของการลงทุนในเซเนกัลต้องมีมูลค่าอย่างน้อยที่สุด 5 ล้านฟรังก์เซฟาขึ้นไป
2. ต้องมีการจ้างแรงงานของคนท้องถิ่นอย่างน้อยที่สุด 3 คนขึ้นไป
3. การลงทุนในเซเนกัลจะต้องได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสถาบันการเงินที่กำหนดอย่างน้อยร้อยละ 20 สำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก และร้อยละ 30 สำหรับบริษัทขนาดใหญ่
การเสนอเรื่องเพื่อดำเนินการขอลงทุนในเซเนกัล โดยทั่วไปการยื่นเรื่องเพื่อขอความเห็นชอบในการลงทุนในเซเนกัลจะใช้เวลาอย่างมากที่สุดประมาณ 30 วัน โดยจะต้องเตรียมเอกสารข้อมูลดังนี้.-
1. หนังสือขออนุมัติการลงทุนในเซเนกัล
2. เอกสารด้านการเงิน
3. การจดทะเบียนซึ่งทำไว้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา
ผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการลงทุนในเซเนกัล เพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุนของต่างชาติในเซเนกัลรัฐบาลเซเนกัลเห็นชอบให้มีการโอนเงินทุนเข้าออกระหว่างประเทศโดยเสรี และเท่าเทียมกัน (โดยไม่มีการแบ่งแยกระหว่างบุคคลผู้ถือสัญชาติเซเนกัลหรือชาวต่างชาติ ผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนพึงได้รับจะสัมพันธ์กับการลงทุนและการจ้างแรงงานในประเทศ รวมถึงภาษีที่จะต้องเสียให้แก่เซเนกัล ซึ่งจะคิดตามขนาดของบริษัทที่ลงทุนว่าเป็นการลงทุนของบริษัทขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่
ช่วงเวลาในการลงทุนในเซเนกัล ข้อตกลงที่อนุมัติให้มีการลงทุนในเซเนกัลในแต่ละครั้งผู้ลงทุนจะใช้เวลาดำเนินงานการลงทุนแต่ละโครงการแตกต่างกันไปตั้งแต่ 5 ปีถึง 12 ปีก่อนที่จะทำเรื่องขออนุมัติเพื่อดำเนินการลงทุนใหม่ในเซเนกัลต่อไป ช่วงระยะเวลาในการลงทุนแต่ละครั้งจะถูกจำแนกตามเขตพื้นที่ดังนี้.-
1). 5 ปีสำหรับพื้นที่ในเขต Dakar Pekine และ Rufisque-Bargny
2). 7 ปีสำหรับพื้นที่นอกเมืองหลวง Sangalham Sebikotane และ Thies
3). 10 ปีสำหรับพื้นที่ในเขต Diourbel Louga และ Kaolack
4). 12 ปีสำหรับพื้นที่ในเขต Fatick Kolda Tambacounda Ziguinchor และ Saint-Louis
เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนให้เกิดขึ้นในเซเนกัลและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะมาลงทุนในเซเนกัล รัฐบาลเซเนกัลได้จัดตั้งหน่วยงานที่สำคัญ 3 หน่วยภายในประเทศขึ้นมาเพื่อเป็นการประสานงานและให้ข้อมูลนักลงทุนโดยตรง ได้แก่
1. หน่วยงานช่องทางเดียว (Guichet Unique)
2. พื้นที่อุตสาหกรรมของดาการ์ (La Zone Franche Industrielle de Dakar)
3. สถาบันแห่งชาติเพื่อการศึกษาและส่งเสริมอุตสาหกรรม (Societe Nationale d'Etudes et de Promotion Industrielle - SONEPI) การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจของแอฟริกาตะวันตกที่ใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟา(UEMOA) และความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ ECOWAS (CEDEAO) เซเนกัลเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจของแอฟริกาตะวันตกที่ใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟา (Union Economique et Monetaire Ouest Africaine-UEMOA) รวม 8 ประเทศ ได้แก่ เบนิน บูร์กินาฟาโซ โกตดิวัวร์ กิเนบิสเซา มาลี ไนเจอร์ เซเนกัลและโตโก UEMOA จัดตั้งขึ้นในปีค.ศ.1994 ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ความร่วมมือและผนึกกำลังเพื่อความเป็นเอกภาพของการใช้ระบบเงินตราเดียว คือ เงินสกุลฟรังก์เซฟาในกลุ่มอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีประชากร รวม 8 ประเทศประมาณ 70 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรโดยรวมในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก สำนักงานใหญ่ของ UEMOA ตั้งอยู่ ณ กรุงวากาดูกู ประเทศบูร์กินาฟาโซ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ กลุ่มประเทศทั้ง 8 ที่เป็นสมาชิก UEMOA เป็นสมาชิกแยกย่อยออกไปจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ ECOWAS หรือ Economic Community of West African States ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่กรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรีย รวม 15 ประเทศ ได้แก่ เบนิน บูร์กินาฟาโซ กานา กินีบิสซา เคปเวิร์ด โกตดิวัวร์ แกมเบียน กินี (โกนากรี) ไนจีเรีย เซเนกัล เซียร์ราลีโอน โตโก ไลบีเรีย มาลี ไนเจอร์นั้นเอง เพราะในขณะที่ ECOWAS เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐ- กิจของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกโดยรวมโดยไม่คำนึงถึงสกุลของเงินตราที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน (เช่น แกมเบียใช้เงินสกุลดาลัสซี่) แต่ UEMOA เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้เงินสกุลฟรังก์เซฟาซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่กับเงินฟรังก์ฝรั่งเศสในอัตรา 100 FCFA/1 ฟรังก์ฝรั่งเศส ทำให้กลุ่ม ECOWAS มีเงินตราที่ใช้แตกต่างกันถึง 8 สกุล
วัตถุประสงค์ของ UEMOA คือ
1. ผนึกกำลังทางเศรษฐกิจ และการเงินของประเทศในรัฐสมาชิกในการใช้ระบบเงินตราสกุลเดียวกันเพื่อให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคและเพื่อความเป็นเอกภาพทางเศรษฐกิจ
2. การจัดตั้งสถาบันที่แน่นอนในการสอดส่อง การเปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกในระดับพหุภาพ
3. เป็นการสร้างตลาดเดียวร่วมกัน (Marche Commun) เพื่อให้การเคลื่อนย้ายของประชาชน ทรัพย์สิน การ-บริการ เงินทุน และกฎหมายที่ใช้อยู่ในหมู่รัฐสมาชิกเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน เช่น การกำหนดอัตราภาษีที่ใช้กับประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม UEMOA ในอัตราเดียวกัน (TEC) และการมีกฎหมายทางการค้าที่ใช้ร่วมกันของรัฐสมาชิก
4. การประสานการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจในกลุ่มรัฐสมาชิกให้สอดคล้องกันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปรับปรุงด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม การขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค การสื่อสาร ทรัพยากรมนุษย์ พลังงาน อุตสาหกรรม เหมืองแร่ และหัตถกรรม
5. การกำหนดระบบทางกฎหมายโดยเฉพาะเรื่องภาษีให้เป็นระบบเดียวกันเพื่อให้การดำเนินงานของตลาดร่วมดำเนินไปด้วยดี
การเข้าร่วมเป็นสมาชิก UEMOA ทำให้เซเนกัลสามารถขยายการค้าไปยังประเทศกลุ่มสมาชิกได้สะดวก เนื่องจากเป้าหมายหลักของ UEMOA ที่ตั้งไว้ คือ ระบบภาษีของรัฐสมาชิกจะลดลงเป็นลำดับจนกระทั่งถึง 0% ในปี ค.ศ. 2003 การลดอัตราภาษีจนถึง 0% นี้ เป็นแผนงานระยะ 4 ปี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2003 นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มประเทศสมาชิกในอัตราเดียวกัน (TEC - Tarif Exterieur Commun) จากความตกลงของ UEMOA ในเรื่องของ TEC ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 กำหนดให้ลดภาษีศุลกากรจากร้อยละ 15.2 เหลือร้อยละ 12.2 ซึ่งจะมีผลทำให้ราคาสินค้าซึ่งนำเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิกมีราคาใกล้เคียงกัน
นอกเหนือไปจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิก UEMOA ซึ่งมีประชากรรวมมากกว่า 70 ล้านคนแล้ว เซเนกัลยังเป็นสมาชิกในกลุ่มประเทศ ECOWAS (CEDEAO) ซึ่งมีประชากรมากกว่า 200 ล้านคนอีกด้วย องค์การทั้งสองนี้แม้จะเป็นองค์กรอิสระจากกัน แต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ การสร้างประชาคมเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประชาคมทั้งสองมีความเกี่ยวพันกันใกล้ชิด กล่าวคือ สมาชิกของ UEMOA ทุกประเทศต่างก็เป็นสมาชิกใน ECOWAS นอกจากนี้ ในปัจจุบัน (21 กันยายน ค.ศ. 2000) นาย Alpha Oumar Konare ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมาลียังได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานของการประชุมระดับประมุขและผู้นำรัฐบาล ซึ่งเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของทั้งสององค์การในขณะเดียวกันด้วย ดังนั้น องค์การทั้งสองจึงต่างกันในสาระสำคัญที่ว่าประเทศสมาชิก UEMOA ใช้เงินสกุลเดียวกัน คือ ฟรังก์เซฟา (FCFA) ส่วนประเทศที่เหลืออีก 7 ประเทศใช้เงินตราสกุลของตนเอง ในอนาคตประชาคมทั้งสองมีแนวโน้มรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยใช้เงินสกุลเดียวกันได้ ปัญหาของ ECOWAS ที่มีสมาชิก 15 ประเทศ และมีเงินตราต่างกันถึง 8 สกุลก็จะหมดไป หรือกล่าวอีกในหนึ่งก็คือ การรวมสองประชาคมในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกให้เป็นประชาคมเดียวกัน ซึ่งจะทำให้แอฟริกาตะวันตกเป็นตลาดที่ใหญ่มีประชากรมากกว่า 200 ล้านคน นับเป็นร้อยละ 30 ของประชากรทั้งทวีปแอฟริกา เหมาะสำหรับเป็นตลาดวัตถุดิบและการส่งออกสินค้าไทย นอกจากนี้ ยังเป็นภูมิภาคที่เหมาะที่จะขยายฐานการผลิตของไทยมายังภูมิภาคนี้ด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ UEMOA ซึ่งนอกจากจะได้รับสิทธิพิเศษในการส่งสินค้าไปขายในกลุ่มประชาคมยุโรปตาม Convention de Lome (1975) และตาม Accord de Cotonou (23 มิถุนายน 2000) ซึ่งขยายสิทธิพิเศษตาม Convention de Lome ที่ให้แก่กลุ่มประเทศ ACP (Afrique Caraibes Pacifique) ต่อออกไปอีก 20 ปีแล้ว ยังได้รับความสะดวกในแง่ที่กลุ่มประเทศ UEMOA ใช้เงินสกุลเดียวกันซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เมื่อเทียบกับเงินฟรังก์ฝรั่งเศส (100 FCFA = 1 FF) มีการกำหนดอัตราภาษีเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายแรงงานและเงินทุนโดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งได้รับสิทธิพิเศษในการส่งสินค้าไปขายยังประเทศสมาชิกโดยไม่มีการกีดกันด้านภาษีหรือโควต้า นอกจากนี้ การขยายฐานการผลิตของไทยมายังประเทศแอฟริกาตะวันตกโดยเฉพาะที่เซเนกัล ซึ่งอยู่ตะวันตกสุดของทวีปแอฟริกา การระบายสินค้าส่งไปยังอเมริกาและยุโรปจะทำได้สะดวกเพราะมีท่าเรือน้ำลึกอยู่แล้ว และจะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับการขนส่งทางทะเลจากแอฟริกาไปยังทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ-ใต้
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/2544 วันที่ 15 มกราคม 2544--
-อน-