เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกได้แจ้งเรื่องผู้แทน รัสเซียได้หารือทวิภาคีด้านสินค้าและบริการกับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกว่าจะยกเลิกการปรับขึ้นภาษีตามฤดูกาลของสินค้าน้ำตาล แต่จะใช้เป็นรูปแบบของการเปิดประมูลปริมาณนำเข้า ในรูปแบบของโควตาภาษี
อย่างไรก็ตามรัสเซียยังคงมีมาตรการปกป้องสินค้าน้ำตาลโดยกำหนดอัตราภาษีนำเข้า สินค้าน้ำตาลในระดับสูง เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความสำคัญในทางเกษตร/อุตสาหกรรมภายใน รวมทั้งมีความ อ่อนไหวทางการเมืองสูง
การกำหนดอัตราภาษี (Tariff) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป อัตราภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าน้ำตาลดิบภายใต้ปริมาณโควตาภาษีที่กำหนดคือ 3.65 ล้านตัน จะมีอัตราภาษีร้อยละ 5 ในส่วนของการ นำเข้าสินค้าน้ำตาลที่เกินกว่าปริมาณโควตาที่กำหนดอัตราภาษีจะเพิ่มเป็นร้อยละ 40 หรืออัตราไม่น้อยกว่า 120 Euro ต่อตัน (ในปี 2544 นี้ อัตราภาษีนำเข้าสำหรับน้ำตาลในโควตาอัตราร้อยละ 5 แต่ปริมาณที่เกินโควตาจะเป็นอัตราร้อยละ 30 หรืออัตราไม่ต่ำกว่า 90 Euro ต่อตัน) และตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2545 รัสเซียยังได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าตามฤดูกาล (Seasonal Tariff) เพิ่มเติมสำหรับการนำเข้าน้ำตาลเป็นอัตราร้อยละ 50 หรืออัตราไม่น้อยกว่า 150 Euro ต่อตัน เพิ่มขึ้นด้วย
จากการหารือสองฝ่ายของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกกับฝ่ายรัสเซียที่นครเจนีวา เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2544 ฝ่ายไทยได้ขอความชัดเจนในเรื่องของการประมูลโควตาน้ำตาลในรูปของโควตาภาษี ซึ่งฝ่ายรัสเซียได้แจ้งว่าในระยะเวลาที่ผ่านมาได้ใช้ระบบการประมูลโควตาให้กับผู้นำเข้าภายใน อย่างไรก็ตามระบบการประมูลที่ผ่านมา ยังมีปัญหาและรัสเซียอยู่ในระหว่างการพิจารณาในเรื่องการปรับเปลี่ยนระบบการนำเข้าใหม่ อาทิการพิจารณาตามหลักประวัติการนำเข้าหรือระบบ First-come First-serve เป็นต้น
ปัจจุบันรัสเซียนำเข้าน้ำตาลจากประเทศผู้ส่งออกสำคัญ อาทิ บราซิล คิวบา กัวเตมาลา โคลัมเบีย เอลซัลวาดอร์ สวาซีแลนด์ และไทย ฯลฯ และในระยะที่ผ่านมาน้ำตาลยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญเป็นอันดับ 1 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซีย ดังนั้นมาตรการดังกล่าวของรัสเซียย่อมจะต้องส่งผลกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับรัสเซียอย่างแน่นอน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ สิงหาคม 2544--
-ปส-
อย่างไรก็ตามรัสเซียยังคงมีมาตรการปกป้องสินค้าน้ำตาลโดยกำหนดอัตราภาษีนำเข้า สินค้าน้ำตาลในระดับสูง เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความสำคัญในทางเกษตร/อุตสาหกรรมภายใน รวมทั้งมีความ อ่อนไหวทางการเมืองสูง
การกำหนดอัตราภาษี (Tariff) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป อัตราภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าน้ำตาลดิบภายใต้ปริมาณโควตาภาษีที่กำหนดคือ 3.65 ล้านตัน จะมีอัตราภาษีร้อยละ 5 ในส่วนของการ นำเข้าสินค้าน้ำตาลที่เกินกว่าปริมาณโควตาที่กำหนดอัตราภาษีจะเพิ่มเป็นร้อยละ 40 หรืออัตราไม่น้อยกว่า 120 Euro ต่อตัน (ในปี 2544 นี้ อัตราภาษีนำเข้าสำหรับน้ำตาลในโควตาอัตราร้อยละ 5 แต่ปริมาณที่เกินโควตาจะเป็นอัตราร้อยละ 30 หรืออัตราไม่ต่ำกว่า 90 Euro ต่อตัน) และตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2545 รัสเซียยังได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าตามฤดูกาล (Seasonal Tariff) เพิ่มเติมสำหรับการนำเข้าน้ำตาลเป็นอัตราร้อยละ 50 หรืออัตราไม่น้อยกว่า 150 Euro ต่อตัน เพิ่มขึ้นด้วย
จากการหารือสองฝ่ายของคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกกับฝ่ายรัสเซียที่นครเจนีวา เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2544 ฝ่ายไทยได้ขอความชัดเจนในเรื่องของการประมูลโควตาน้ำตาลในรูปของโควตาภาษี ซึ่งฝ่ายรัสเซียได้แจ้งว่าในระยะเวลาที่ผ่านมาได้ใช้ระบบการประมูลโควตาให้กับผู้นำเข้าภายใน อย่างไรก็ตามระบบการประมูลที่ผ่านมา ยังมีปัญหาและรัสเซียอยู่ในระหว่างการพิจารณาในเรื่องการปรับเปลี่ยนระบบการนำเข้าใหม่ อาทิการพิจารณาตามหลักประวัติการนำเข้าหรือระบบ First-come First-serve เป็นต้น
ปัจจุบันรัสเซียนำเข้าน้ำตาลจากประเทศผู้ส่งออกสำคัญ อาทิ บราซิล คิวบา กัวเตมาลา โคลัมเบีย เอลซัลวาดอร์ สวาซีแลนด์ และไทย ฯลฯ และในระยะที่ผ่านมาน้ำตาลยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญเป็นอันดับ 1 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซีย ดังนั้นมาตรการดังกล่าวของรัสเซียย่อมจะต้องส่งผลกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับรัสเซียอย่างแน่นอน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ สิงหาคม 2544--
-ปส-