บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) เป็นสถาบันการเงินในเครือของธนาคารโลก (World Bank Group) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2499 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่มีส่วนเกื้อหนุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบัน IFC มีสมาชิกรวม 174 ประเทศ โดยประเทศที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิก IFC จะต้องเป็นสมาชิกของธนาคารโลกก่อน
IFC ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคเอกชนในประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ทั้งทางด้านการเงิน เทคนิค และด้านการจัดการ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนา เงินกู้ที่ใช้ในการดำเนินงานของ IFC ส่วนใหญ่มาจากเงินค่าสมาชิก นอกจากนี้ยังมีรายได้สะสมจากการลงทุนของ IFC เงินกู้ยืมจากธนาคารโลกและสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่างๆ
รูปแบบของการให้ความช่วยเหลือของ IFC สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การให้กู้โดยตรง (Direct Loans) และการให้กู้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ (Syndicated Loans) โดยส่วนใหญ่เป็นการให้กู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน อาทิ ระยะเวลาผ่อนชำระคืนนาน 8-12 ปี และระยะเวลาปลอดหนี้ (Grace Period) เฉลี่ย 3 ปี เป็นต้น
2. การซื้อหุ้นในกิจการ (Equity Investment) IFC สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการลงทุนของ
ภาคเอกชนได้ผ่านการซื้อหุ้นในบริษัทเอกชน โดยไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน ส่วนใหญ่ IFC มักร่วมถือหุ้นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และมักถือหุ้นเฉลี่ย 8-15 ปี เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้แก่นักลงทุนท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งผู้ที่สนใจเข้าไปลงทุนหรือติดต่อค้าขายกับบริษัทเอกชนนั้นๆ
3. การให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ การให้ความช่วยเหลือประเภทนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะภาคเอกชนเท่านั้น แต่สามารถให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ภาครัฐบาลด้วย เช่น การให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการระดมเงินทุนจากตลาดการเงิน การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน การให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ เป็นต้น
หลักเกณฑ์ที่ IFC ใช้ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
บริษัทหรือผู้ประกอบการเอกชนท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิก IFC สามารถขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IFC ได้ โดยติดต่อกับหน่วยงานของ IFC อาทิ IFC Regional Department หรือ IFC Field Office ในภูมิภาคต่างๆ หรืออาจติดต่อกับ IFC Sector Department ที่สำนักงานใหญ่ สำหรับหลักเกณฑ์ที่ IFC ใช้ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ได้แก่
1. ต้องเป็นโครงการลงทุนของภาคเอกชน
2. ผู้ประกอบการมีความรู้ความชำนาญในการดำเนินธุรกิจหรือมีผู้บริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ
3. เป็นโครงการที่มีแนวโน้มว่าจะมีผลกำไรจากการประกอบการ มีการแผนการเงินที่เหมาะสม และมีตลาดรองรับสินค้าที่ผลิตได้
4. เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการลงทุน
5. นักลงทุนท้องถิ่นควรมีส่วนร่วมหรือโอกาสในการเข้าร่วมลงทุนด้วย
6. ต้องเป็นโครงการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดโดย IFC ประเทศที่ตั้งของโครงการลงทุนและธนาคารโลก
สำหรับในช่วงปีงบประมาณ 2543 (ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2542 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2543) IFC ได้อนุมัติความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ให้แก่ภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งสิ้น 259 โครงการ คิดเป็นเงิน 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนในภาคการเงิน รองลงมาคือโครงการลงทุนด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และโครงการลงทุนด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และเหมืองแร่ ภูมิภาคที่ได้รับความช่วยเหลือจาก IFC มากที่สุด คือ ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน รองลงมาคือประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา (Sub-Sahara Africa) เอเชียและแปซิฟิก ยุโรปและเอเชียกลาง ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ตามลำดับ
ประเทศไทยกับ IFC
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก IFC ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ภาคเอกชนไทยได้รับความช่วยเหลือจาก IFC เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2512 โดย IFC ได้มีส่วนร่วมในการปล่อยกู้และลงทุนกับภาคเอกชนไทยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 ภาคเอกชนไทยได้รับอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงินจาก IFC รวมทั้งสิ้น 51 โครงการ คิดเป็นเงิน 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ รองลงมาคือภาคการเงิน โครงการด้านสาธารณสุข โรงแรมและการท่องเที่ยว ตามลำดับ
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-
IFC ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคเอกชนในประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ทั้งทางด้านการเงิน เทคนิค และด้านการจัดการ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนา เงินกู้ที่ใช้ในการดำเนินงานของ IFC ส่วนใหญ่มาจากเงินค่าสมาชิก นอกจากนี้ยังมีรายได้สะสมจากการลงทุนของ IFC เงินกู้ยืมจากธนาคารโลกและสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่างๆ
รูปแบบของการให้ความช่วยเหลือของ IFC สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การให้กู้โดยตรง (Direct Loans) และการให้กู้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ (Syndicated Loans) โดยส่วนใหญ่เป็นการให้กู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน อาทิ ระยะเวลาผ่อนชำระคืนนาน 8-12 ปี และระยะเวลาปลอดหนี้ (Grace Period) เฉลี่ย 3 ปี เป็นต้น
2. การซื้อหุ้นในกิจการ (Equity Investment) IFC สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการลงทุนของ
ภาคเอกชนได้ผ่านการซื้อหุ้นในบริษัทเอกชน โดยไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน ส่วนใหญ่ IFC มักร่วมถือหุ้นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และมักถือหุ้นเฉลี่ย 8-15 ปี เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้แก่นักลงทุนท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งผู้ที่สนใจเข้าไปลงทุนหรือติดต่อค้าขายกับบริษัทเอกชนนั้นๆ
3. การให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ การให้ความช่วยเหลือประเภทนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะภาคเอกชนเท่านั้น แต่สามารถให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ภาครัฐบาลด้วย เช่น การให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการระดมเงินทุนจากตลาดการเงิน การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน การให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ เป็นต้น
หลักเกณฑ์ที่ IFC ใช้ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
บริษัทหรือผู้ประกอบการเอกชนท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิก IFC สามารถขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IFC ได้ โดยติดต่อกับหน่วยงานของ IFC อาทิ IFC Regional Department หรือ IFC Field Office ในภูมิภาคต่างๆ หรืออาจติดต่อกับ IFC Sector Department ที่สำนักงานใหญ่ สำหรับหลักเกณฑ์ที่ IFC ใช้ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ได้แก่
1. ต้องเป็นโครงการลงทุนของภาคเอกชน
2. ผู้ประกอบการมีความรู้ความชำนาญในการดำเนินธุรกิจหรือมีผู้บริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ
3. เป็นโครงการที่มีแนวโน้มว่าจะมีผลกำไรจากการประกอบการ มีการแผนการเงินที่เหมาะสม และมีตลาดรองรับสินค้าที่ผลิตได้
4. เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการลงทุน
5. นักลงทุนท้องถิ่นควรมีส่วนร่วมหรือโอกาสในการเข้าร่วมลงทุนด้วย
6. ต้องเป็นโครงการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดโดย IFC ประเทศที่ตั้งของโครงการลงทุนและธนาคารโลก
สำหรับในช่วงปีงบประมาณ 2543 (ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2542 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2543) IFC ได้อนุมัติความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ให้แก่ภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งสิ้น 259 โครงการ คิดเป็นเงิน 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนในภาคการเงิน รองลงมาคือโครงการลงทุนด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และโครงการลงทุนด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และเหมืองแร่ ภูมิภาคที่ได้รับความช่วยเหลือจาก IFC มากที่สุด คือ ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน รองลงมาคือประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา (Sub-Sahara Africa) เอเชียและแปซิฟิก ยุโรปและเอเชียกลาง ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ตามลำดับ
ประเทศไทยกับ IFC
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก IFC ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ภาคเอกชนไทยได้รับความช่วยเหลือจาก IFC เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2512 โดย IFC ได้มีส่วนร่วมในการปล่อยกู้และลงทุนกับภาคเอกชนไทยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 ภาคเอกชนไทยได้รับอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงินจาก IFC รวมทั้งสิ้น 51 โครงการ คิดเป็นเงิน 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ รองลงมาคือภาคการเงิน โครงการด้านสาธารณสุข โรงแรมและการท่องเที่ยว ตามลำดับ
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-