ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนพฤษภาคมและแนวโน้มระยะสั้นภาคใต้
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมที่จัดทำจากผลการสำรวจประจำเดือนพฤษภาคม 2543 โดยส่วนวิชาการ สำนักงานภาคใต้ สรุปผลจากแบบสำรวจ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนพฤษภาคม ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 9 เดือน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนพฤษภาคม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยที่ร้อยละ 50.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง และเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และเป็นช่วงเปิดภาคเรียน ทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง นอกจากนี้ภาวะราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนสูง และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะสัตว์น้ำ เนื่องจากทางการห้ามจับในช่วงฤดูการวางไข่ในฝั่งอ่าวไทยและปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนและฐานะการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ทำให้ต้องชะลอการลงทุนและบางส่วนจำเป็นต้องลดการ จ้างงาน สำหรับการส่งออกเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ทำให้ราคาสินค้าของไทยถูกลง ส่งผลให้ตลาดจากต่างประเทศเริ่มทะยอยมีคำสั่งซื้อเข้ามา
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจที่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ลดปริมาณการสำรองวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลงมาก ส่งผลให้ภาระต้นทุนด้านการจัดเก็บลดลง โดยดัชนีปริมาณวัตถุดิบและสินค้าคงคลังมีค่าเท่ากับร้อยละ 59.2 และ 57.3 ตามลำดับ
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศสถานการณ์ยังคงรุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 38.8 และ 36.4 ตามลำดับ
2.3 ภาวะการเงินเดือนพฤษภาคม อยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ เนื่องจากปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ชะลอการให้เครดิตแก่ลูกค้า ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ลดต่ำลงจนอยู่ในระดับที่ดี โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.8
2.4 แนวโน้มตลาดเงินช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน มีแนวโน้มที่ดีตามดัชนีอัตราดอกเบี้ย และการอ่อนตัวของค่าเงินบาท สำหรับสภาพคล่องของตลาดเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 49.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมที่จัดทำจากผลการสำรวจประจำเดือนพฤษภาคม 2543 โดยส่วนวิชาการ สำนักงานภาคใต้ สรุปผลจากแบบสำรวจ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนพฤษภาคม ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 9 เดือน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนพฤษภาคม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยที่ร้อยละ 50.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง และเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และเป็นช่วงเปิดภาคเรียน ทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง นอกจากนี้ภาวะราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนสูง และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะสัตว์น้ำ เนื่องจากทางการห้ามจับในช่วงฤดูการวางไข่ในฝั่งอ่าวไทยและปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนและฐานะการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ทำให้ต้องชะลอการลงทุนและบางส่วนจำเป็นต้องลดการ จ้างงาน สำหรับการส่งออกเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ทำให้ราคาสินค้าของไทยถูกลง ส่งผลให้ตลาดจากต่างประเทศเริ่มทะยอยมีคำสั่งซื้อเข้ามา
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจที่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ลดปริมาณการสำรองวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลงมาก ส่งผลให้ภาระต้นทุนด้านการจัดเก็บลดลง โดยดัชนีปริมาณวัตถุดิบและสินค้าคงคลังมีค่าเท่ากับร้อยละ 59.2 และ 57.3 ตามลำดับ
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศสถานการณ์ยังคงรุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 38.8 และ 36.4 ตามลำดับ
2.3 ภาวะการเงินเดือนพฤษภาคม อยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ เนื่องจากปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ชะลอการให้เครดิตแก่ลูกค้า ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ลดต่ำลงจนอยู่ในระดับที่ดี โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.8
2.4 แนวโน้มตลาดเงินช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน มีแนวโน้มที่ดีตามดัชนีอัตราดอกเบี้ย และการอ่อนตัวของค่าเงินบาท สำหรับสภาพคล่องของตลาดเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 49.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-