1. การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน แก๊สโซฮอล์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 อนุมัติในหลักการให้ใช้มาตรการภาษีสนับสนุนการผลิตและการใช้เอทานอลเป็น เชื้อเพลิง โดยกำหนดอัตราภาษีสำหรับน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในอัตราเท่ากับ 3.3165 บาทต่อลิตร
การปรับปรุงภาษีสรรพสามิตดังกล่าว จะส่งผลกระทบที่สำคัญ ดังนี้
น้ำมันแก๊สโซฮอล์จะมีภาระภาษีรวม (ภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่ม) น้อยกว่าภาระภาษีของน้ำมันเบนซินประมาณ 43 สตางค์ต่อลิตร
ในระยะแรกของการจำหน่าย คาดว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์จะสามารถทดแทนปริมาณจำหน่ายน้ำมันเบนซินได้ประมาณร้อยละ 10 จึงทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมกันประมาณ 300 ล้านบาท ต่อปี
ช่วยประหยัดเงินตรา ต่างประเทศจากการลดการนำเข้าสารเพิ่มค่า ออกเทน MTBE ได้ประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี
2. มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 กำหนดมาตรการบรรเทา ผลกระทบจากการที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เสนอ ดังนี้
2.1 กำหนดการจ่ายเงินชดเชยราคา น้ำมันเป็นรายสาขาแก่สาขาการเกษตร การประมง และการขนส่ง ดังนี้
สาขาเกษตร ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จ่ายชดเชยราคาน้ำมันดีเซลแก่เกษตรกรจำนวน 5.64 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 15 ลิตรต่อเดือน ในอัตราลิตรละ 3 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (1 มิถุนายน 2544 — 31 สิงหาคม 2544) โดยใช้งบของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวงเงินประมาณ 754 ล้านบาท
สาขาประมง ให้กรมประมงจ่ายชดเชยราคาน้ำมันดีเซลแก่เรือประมงขนาดเล็กที่มีความยาวไม่เกิน 14 เมตร ในอัตราชดเชยไม่เกิน ลิตรละ 3 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (วันที่ 1 มิถุนายน 2544 — 31 สิงหาคม 2544) โดยใช้งบของ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวงเงินประมาณ 321 ล้านบาท
สาขาขนส่ง
ให้กระทรวงคมนาคมช่วยเหลือ ชดเชยราคาน้ำมันดีเซลให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ จำนวนประมาณ 32,000 คัน ในอัตราเฉลี่ย 40 ลิตร/วัน/คัน อัตรา ลิตรละ 1.20 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2544 — 31 สิงหาคม 2544) โดยใช้ งบกลาง ในวงเงินประมาณ 140 ล้านบาท
ให้กระทรวงคมนาคมตรึงราคาสำหรับ รถโดยสาร ขสมก. รถไฟ และรถรับส่งสินค้าขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
2.2 กำหนดให้มีการทบทวน ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการจำหน่ายน้ำมัน เชื้อเพลิงแก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่อง ซึ่งมีการ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีระยะเวลาสิ้นสุดในปี 2544 หากเห็นว่ามีประโยชน์คุ้มค่าจึงจะพิจารณาขยายเวลาให้ดำเนินการต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 อนุมัติในหลักการให้ใช้มาตรการภาษีสนับสนุนการผลิตและการใช้เอทานอลเป็น เชื้อเพลิง โดยกำหนดอัตราภาษีสำหรับน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในอัตราเท่ากับ 3.3165 บาทต่อลิตร
การปรับปรุงภาษีสรรพสามิตดังกล่าว จะส่งผลกระทบที่สำคัญ ดังนี้
น้ำมันแก๊สโซฮอล์จะมีภาระภาษีรวม (ภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่ม) น้อยกว่าภาระภาษีของน้ำมันเบนซินประมาณ 43 สตางค์ต่อลิตร
ในระยะแรกของการจำหน่าย คาดว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์จะสามารถทดแทนปริมาณจำหน่ายน้ำมันเบนซินได้ประมาณร้อยละ 10 จึงทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมกันประมาณ 300 ล้านบาท ต่อปี
ช่วยประหยัดเงินตรา ต่างประเทศจากการลดการนำเข้าสารเพิ่มค่า ออกเทน MTBE ได้ประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี
2. มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 กำหนดมาตรการบรรเทา ผลกระทบจากการที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) เสนอ ดังนี้
2.1 กำหนดการจ่ายเงินชดเชยราคา น้ำมันเป็นรายสาขาแก่สาขาการเกษตร การประมง และการขนส่ง ดังนี้
สาขาเกษตร ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จ่ายชดเชยราคาน้ำมันดีเซลแก่เกษตรกรจำนวน 5.64 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 15 ลิตรต่อเดือน ในอัตราลิตรละ 3 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (1 มิถุนายน 2544 — 31 สิงหาคม 2544) โดยใช้งบของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวงเงินประมาณ 754 ล้านบาท
สาขาประมง ให้กรมประมงจ่ายชดเชยราคาน้ำมันดีเซลแก่เรือประมงขนาดเล็กที่มีความยาวไม่เกิน 14 เมตร ในอัตราชดเชยไม่เกิน ลิตรละ 3 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (วันที่ 1 มิถุนายน 2544 — 31 สิงหาคม 2544) โดยใช้งบของ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวงเงินประมาณ 321 ล้านบาท
สาขาขนส่ง
ให้กระทรวงคมนาคมช่วยเหลือ ชดเชยราคาน้ำมันดีเซลให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ จำนวนประมาณ 32,000 คัน ในอัตราเฉลี่ย 40 ลิตร/วัน/คัน อัตรา ลิตรละ 1.20 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2544 — 31 สิงหาคม 2544) โดยใช้ งบกลาง ในวงเงินประมาณ 140 ล้านบาท
ให้กระทรวงคมนาคมตรึงราคาสำหรับ รถโดยสาร ขสมก. รถไฟ และรถรับส่งสินค้าขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
2.2 กำหนดให้มีการทบทวน ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการจำหน่ายน้ำมัน เชื้อเพลิงแก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่อง ซึ่งมีการ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีระยะเวลาสิ้นสุดในปี 2544 หากเห็นว่ามีประโยชน์คุ้มค่าจึงจะพิจารณาขยายเวลาให้ดำเนินการต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-