กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในระหว่างการประชุมทบทวนสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non- Proliferation Treaty : NPT) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 24 เมษายน —19 พฤษภาคม 2543 ผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมฯ รวม 4 ครั้ง เพื่อแสดงท่าทีและผลประโยชน์ของไทย ดังนี้
1.เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2543 นายอัษฎา ชัยนาม เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมฯ ได้กล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมเต็มคณะ (Plenary) โดยกล่าวถึงความสำคัญของ NPT และการอนุวัติหลักการและจุดประสงค์ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมทบทวนและต่ออายุ NPT เมื่อปี 2538 และย้ำเน้นประเด็นที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของไทย ได้แก่ การละและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ การจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ การดำเนินการต่างๆ ในส่วนของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนแนวคิดของเลขาธิการสหประชาชาติในการจัดการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์
2. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2543 นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลงในคณะทำงานหลักที่ 3 ว่าด้วยเรื่องการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ โดยกล่าวถึงการที่ไทยให้การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และไทยได้บริจาคเงินสมทบกองทุนความร่วมมือและความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างครบถ้วนมาโดยตลอดเนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่ส่งเสริมพันธกรณีที่มีอยู่ และแม้ว่าเงินกองทุนเพื่อการนี้จะเป็นการบริจาคโดยสมัครใจ แต่ต้องถือว่าประเทศสมาชิกมีข้อผูกพันทางการเมืองที่จะต้องบริจาคสมทบ นอกจากนี้ไทยได้ย้ำสิทธิตามข้อ 4 ของ NPT ซึ่งประเทศที่ไม่มีนิวเคลียร์ที่เป็นสมาชิก NPT จะต้องได้รับความร่วมมือทางวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ทั้งนี้ระบอบการควบคุมการส่งออกของประเทศนิวเคลียร์และประเทศที่พัฒนาแล้ว จะต้องไม่ขัดขวางต่อสิทธิตามข้อ 4 ของ NPT และประเทศนิวเคลียร์ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบตามพันธกรณีของ NPT ในการป้องกันมิให้วัสดุนิวเคลียร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของตนตกไปอยู่ในความครอบครองของประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณี NPT มิใช่ผลักภาระการป้องกันนี้มายังประเทศที่ไม่มีนิวเคลียร์ที่ปฏิบัติตามพันธกรณี NPT อย่างเคร่งครัด
3. เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงในคณะกรรมการหลักที่ 2 ว่าด้วยเรื่องเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ โดยได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการของประเทศสมาชิก SEANWFZ และการติดต่อกับ IAEA เนื่องจากข้อบทของสนธิสัญญากรุงเทพฯ ให้ความสำคัญแก่บทบาทของ IAEA ในหลายแง่มุม นอกจากนี้ ได้ย้ำว่า เมื่อพิธีสารเพิ่มเติมความตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์แล้ว มาตรการควบคุมการส่งออกที่ไม่เหมาะสมก็ควรได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ ไทยเน้นว่าประเทศนิวเคลียร์จะต้องรับผิดชอบเรื่องการพิทักษ์ความปลอดภัยของอาวุธและวัสดุอุปกรณ์นิวเคลียร์ที่อยู่ในครอบครองเพื่อผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงของตนเอง โดยไม่ผลักภาระให้แก่ประเทศไม่มีนิวเคลียร์ซึ่งเป็นสมาชิก IAEA ที่เคารพพันธกรณี NPT และไม่ได้พัฒนาหรือมีโอกาสพัฒนาอาวุธดังกล่าวต้องช่วยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการพิทักษ์ความปลอดภัยดังกล่าวด้วย
4. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2543 นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงในคณะทำงานหลักที่ 1 ว่าด้วยเรื่องการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยไทยได้ย้ำสิทธิของประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ที่จะได้รับหลักประกันความปลอดภัยทางนิวเคลียร์จากประเทศนิวเคลียร์ว่า จะไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนี้ไทยย้ำถึงความสำคัญของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ที่มีต่อหลักการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์และเป้าหมายเรื่องโลกปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งไทยได้เรียกร้องให้ประเทศนิวเคลียร์มีความยืดหยุ่นมากในการเจรจาเรื่องการลงนามในพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญากรุงเทพฯ หรือ SEANWFZ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ในระหว่างการประชุมทบทวนสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non- Proliferation Treaty : NPT) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 24 เมษายน —19 พฤษภาคม 2543 ผู้แทนไทยได้กล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมฯ รวม 4 ครั้ง เพื่อแสดงท่าทีและผลประโยชน์ของไทย ดังนี้
1.เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2543 นายอัษฎา ชัยนาม เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมฯ ได้กล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมเต็มคณะ (Plenary) โดยกล่าวถึงความสำคัญของ NPT และการอนุวัติหลักการและจุดประสงค์ที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมทบทวนและต่ออายุ NPT เมื่อปี 2538 และย้ำเน้นประเด็นที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของไทย ได้แก่ การละและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ การจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ การดำเนินการต่างๆ ในส่วนของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนแนวคิดของเลขาธิการสหประชาชาติในการจัดการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์
2. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2543 นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลงในคณะทำงานหลักที่ 3 ว่าด้วยเรื่องการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ โดยกล่าวถึงการที่ไทยให้การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และไทยได้บริจาคเงินสมทบกองทุนความร่วมมือและความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างครบถ้วนมาโดยตลอดเนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่ส่งเสริมพันธกรณีที่มีอยู่ และแม้ว่าเงินกองทุนเพื่อการนี้จะเป็นการบริจาคโดยสมัครใจ แต่ต้องถือว่าประเทศสมาชิกมีข้อผูกพันทางการเมืองที่จะต้องบริจาคสมทบ นอกจากนี้ไทยได้ย้ำสิทธิตามข้อ 4 ของ NPT ซึ่งประเทศที่ไม่มีนิวเคลียร์ที่เป็นสมาชิก NPT จะต้องได้รับความร่วมมือทางวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ทั้งนี้ระบอบการควบคุมการส่งออกของประเทศนิวเคลียร์และประเทศที่พัฒนาแล้ว จะต้องไม่ขัดขวางต่อสิทธิตามข้อ 4 ของ NPT และประเทศนิวเคลียร์ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบตามพันธกรณีของ NPT ในการป้องกันมิให้วัสดุนิวเคลียร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของตนตกไปอยู่ในความครอบครองของประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณี NPT มิใช่ผลักภาระการป้องกันนี้มายังประเทศที่ไม่มีนิวเคลียร์ที่ปฏิบัติตามพันธกรณี NPT อย่างเคร่งครัด
3. เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงในคณะกรรมการหลักที่ 2 ว่าด้วยเรื่องเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ โดยได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการของประเทศสมาชิก SEANWFZ และการติดต่อกับ IAEA เนื่องจากข้อบทของสนธิสัญญากรุงเทพฯ ให้ความสำคัญแก่บทบาทของ IAEA ในหลายแง่มุม นอกจากนี้ ได้ย้ำว่า เมื่อพิธีสารเพิ่มเติมความตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์แล้ว มาตรการควบคุมการส่งออกที่ไม่เหมาะสมก็ควรได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ ไทยเน้นว่าประเทศนิวเคลียร์จะต้องรับผิดชอบเรื่องการพิทักษ์ความปลอดภัยของอาวุธและวัสดุอุปกรณ์นิวเคลียร์ที่อยู่ในครอบครองเพื่อผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงของตนเอง โดยไม่ผลักภาระให้แก่ประเทศไม่มีนิวเคลียร์ซึ่งเป็นสมาชิก IAEA ที่เคารพพันธกรณี NPT และไม่ได้พัฒนาหรือมีโอกาสพัฒนาอาวุธดังกล่าวต้องช่วยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการพิทักษ์ความปลอดภัยดังกล่าวด้วย
4. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2543 นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงในคณะทำงานหลักที่ 1 ว่าด้วยเรื่องการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยไทยได้ย้ำสิทธิของประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ที่จะได้รับหลักประกันความปลอดภัยทางนิวเคลียร์จากประเทศนิวเคลียร์ว่า จะไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนี้ไทยย้ำถึงความสำคัญของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ที่มีต่อหลักการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์และเป้าหมายเรื่องโลกปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งไทยได้เรียกร้องให้ประเทศนิวเคลียร์มีความยืดหยุ่นมากในการเจรจาเรื่องการลงนามในพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญากรุงเทพฯ หรือ SEANWFZ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-