ข่าวในประเทศ
1. การปรับลดดอกเบี้ยของ ธพ.จะทำให้ธุรกิจขยายตัวและส่งผลถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงกรณีที่ ธพ.ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงอีกร้อยละ 0.25 ว่า จะทำให้ ธพ.สามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น ช่วยให้ธุรกิจขยายกิจการ และเมื่อธุรกิจดีขึ้น ธนาคารย่อมต้องการปล่อยสินเชื่อและแข่งขันระดมเงินฝาก ในที่สุดดอกเบี้ยเงินฝากจะเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของ ธพ.ไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 43 พบว่าอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.28 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.07 เนื่องจาก ธพ.ไทยลดดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ โดยขณะนี้มีดอกเบี้ยรับที่ระดับร้อยละ 4.48 และดอกเบี้ยจ่ายร้อยละ 3.20 ส่วน ธพ.ต่างประเทศมีส่วนต่างดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ระดับร้อยละ 3.97 ต่ำกว่าไตรมาสแรกที่ระดับร้อยละ 4.10 (มติชน 7)
2. เศรษฐกิจขณะนี้ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อ 5 ก.ย.43 ว่า คณะกรรมการฯ ยังคงมองว่าในขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงไม่ฟื้นตัว แต่ปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ แม้ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการกลับเข้าสู่ภาวะปกติก็ตาม แต่คณะกรรมการฯ มองในประเด็นเพื่อการบริหารงาน ซึ่งต้องพิจารณาว่าภาวะตลาดและเศรษฐกิจในขณะนี้ต้องการอย่างไร และต้องสร้างอะไรให้เกิดขึ้นในอนาคต เพราะหากต้องการให้เศรษฐกิจดีขึ้นก็ต้องเร่งวางโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้น ที่จะสามารถทำให้เศรษฐกิจในระยะอีก 5-10 ปีข้างหน้าดีขึ้นกว่าขณะนี้ และมีเสถียรภาพดีขึ้น เพื่อเป็นการฟื้นตัวแบบยั่งยืน (ไทยรัฐ 7)
3. ธปท.เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจในเดือน ก.ค.43 รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจประจำเดือน ก.ค.43 อยู่ที่ระดับ 46.4 ลดลงจากเดือน มิ.ย.43 ที่อยู่ที่ระดับ 50.3 สาเหตุใหญ่มาจากองค์ประกอบต่างๆ ลดต่ำลง โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านผลประกอบการที่ด้อยลง แต่ต้นทุนในการดำเนินงานสูงขึ้น ขณะที่อำนาจซื้อของประชาชนลดลง ทั้งนี้ ดัชนีผลประกอบการในเดือน ก.ค.43 อยู่ที่ระดับ 47.3 ลดลงจากเดือน มิ.ย.ที่อยู่ที่ระดับ 54.1 อำนาจซื้อของประชาชนอยู่ที่ระดับ 43.3 ลดลงจากระดับ 51 ดัชนีการลงทุนอยู่ที่ระดับ 50.7 ขณะที่เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 51.6 ส่วนองค์ประกอบด้านการจ้างงานมีดัชนีที่ระดับ 50.2 ลดลงจากระดับ 52.2 ดัชนีขององค์ประกอบด้านต้นทุนอยู่ที่ระดับ 38.5 เทียบกับเดือน มิ.ย.43 ที่อยู่ที่ระดับ 41 ส่วนองค์ประกอบด้านการส่งออกมีดัชนีที่ระดับ 49.3 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 52.9 (เดลินิวส์ 7)
4. หนี้ต่างประเทศจะเป็นปัญหาต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประธานคณะกรรมการบริหาร ธ.กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะต้องยืดเยื้อออกไปอีก 5-8 ปี หากยังมีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ต่างประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง ปัจจุบันความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศเริ่มลดลง รวมถึงการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดก็เริ่มลดลงเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูแลการชำระหนี้ให้สมดุลกับยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (แนวหน้า 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. ประสิทธิภาพแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ประสิทธิภาพแรงงานนอกภาคเกษตรกรรม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่อปีจากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ สูงกว่าไตรมาสแรกของปี 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 นอกจากนั้นยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 42 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุด ตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 26 และยังเพิ่มขึ้นสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ขณะเดียวกัน ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย ซึ่งใช้ติดตามสัญญาณเงินเฟ้อ และเป็นส่วนประกอบสำคัญมากที่สุดของต้นทุนผลผลิต ลดลงร้อยละ 0.4 ลดลงอย่างมากจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.1 จากรายงานครั้งนี้ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้ขยายตัว (รอยเตอร์ 6)
2. การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่2 ปี 43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 7 ก.ย.43 จากการสำรวจบริษัทญี่ปุ่น 19,358 บริษัท ที่มีทุนตั้งแต่ 10 ล.เยนขึ้นไป โดยไม่รวมสถาบันการเงินและบริษัทประกัน ก.คลังญี่ปุ่นรายงานว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนทางด้านโรงงานและเครื่องมืออุปกรณ์ของบริษัทญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 และเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบปีต่อปี แต่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 5.5-14.0 โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 43 บริษัทอุตสาหกรรมการผลิตใช้จ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรกของปี 43 ส่วนบริษัทที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิต ใช้จ่ายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันของปี 42 เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้ การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนถือเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับที่ 2 ในระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (รอยเตอร์ 7)
3. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 6 ก.ย.43 ก.คลังเยอรมนี รายงานว่า เดือน ก.ค.43 คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีรวม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.43 และเทียบกับการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า คำสั่งซื้อฯ จะลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค.43 การส่งออกของเยอรมนียังได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินยูโรอย่างต่อเนื่อง โดยคำสั่งซื้อฯ เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน มิ.ย.43 ขณะที่คำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศลดลงร้อยละ 0.8 จากที่ลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน มิ.ย.43 (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.ย. 43 41.237 (41.256)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 6 ก.ย.43
ซื้อ 41.0283 (41.0712) ขาย 41.3341 (41.3652)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,350) ขาย 5,400 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.75 (30.75)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การปรับลดดอกเบี้ยของ ธพ.จะทำให้ธุรกิจขยายตัวและส่งผลถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงกรณีที่ ธพ.ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงอีกร้อยละ 0.25 ว่า จะทำให้ ธพ.สามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น ช่วยให้ธุรกิจขยายกิจการ และเมื่อธุรกิจดีขึ้น ธนาคารย่อมต้องการปล่อยสินเชื่อและแข่งขันระดมเงินฝาก ในที่สุดดอกเบี้ยเงินฝากจะเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของ ธพ.ไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 43 พบว่าอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.28 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.07 เนื่องจาก ธพ.ไทยลดดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ โดยขณะนี้มีดอกเบี้ยรับที่ระดับร้อยละ 4.48 และดอกเบี้ยจ่ายร้อยละ 3.20 ส่วน ธพ.ต่างประเทศมีส่วนต่างดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ระดับร้อยละ 3.97 ต่ำกว่าไตรมาสแรกที่ระดับร้อยละ 4.10 (มติชน 7)
2. เศรษฐกิจขณะนี้ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อ 5 ก.ย.43 ว่า คณะกรรมการฯ ยังคงมองว่าในขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงไม่ฟื้นตัว แต่ปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ แม้ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการกลับเข้าสู่ภาวะปกติก็ตาม แต่คณะกรรมการฯ มองในประเด็นเพื่อการบริหารงาน ซึ่งต้องพิจารณาว่าภาวะตลาดและเศรษฐกิจในขณะนี้ต้องการอย่างไร และต้องสร้างอะไรให้เกิดขึ้นในอนาคต เพราะหากต้องการให้เศรษฐกิจดีขึ้นก็ต้องเร่งวางโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้น ที่จะสามารถทำให้เศรษฐกิจในระยะอีก 5-10 ปีข้างหน้าดีขึ้นกว่าขณะนี้ และมีเสถียรภาพดีขึ้น เพื่อเป็นการฟื้นตัวแบบยั่งยืน (ไทยรัฐ 7)
3. ธปท.เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจในเดือน ก.ค.43 รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจประจำเดือน ก.ค.43 อยู่ที่ระดับ 46.4 ลดลงจากเดือน มิ.ย.43 ที่อยู่ที่ระดับ 50.3 สาเหตุใหญ่มาจากองค์ประกอบต่างๆ ลดต่ำลง โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านผลประกอบการที่ด้อยลง แต่ต้นทุนในการดำเนินงานสูงขึ้น ขณะที่อำนาจซื้อของประชาชนลดลง ทั้งนี้ ดัชนีผลประกอบการในเดือน ก.ค.43 อยู่ที่ระดับ 47.3 ลดลงจากเดือน มิ.ย.ที่อยู่ที่ระดับ 54.1 อำนาจซื้อของประชาชนอยู่ที่ระดับ 43.3 ลดลงจากระดับ 51 ดัชนีการลงทุนอยู่ที่ระดับ 50.7 ขณะที่เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 51.6 ส่วนองค์ประกอบด้านการจ้างงานมีดัชนีที่ระดับ 50.2 ลดลงจากระดับ 52.2 ดัชนีขององค์ประกอบด้านต้นทุนอยู่ที่ระดับ 38.5 เทียบกับเดือน มิ.ย.43 ที่อยู่ที่ระดับ 41 ส่วนองค์ประกอบด้านการส่งออกมีดัชนีที่ระดับ 49.3 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 52.9 (เดลินิวส์ 7)
4. หนี้ต่างประเทศจะเป็นปัญหาต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประธานคณะกรรมการบริหาร ธ.กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะต้องยืดเยื้อออกไปอีก 5-8 ปี หากยังมีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ต่างประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง ปัจจุบันความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศเริ่มลดลง รวมถึงการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดก็เริ่มลดลงเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูแลการชำระหนี้ให้สมดุลกับยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (แนวหน้า 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. ประสิทธิภาพแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ประสิทธิภาพแรงงานนอกภาคเกษตรกรรม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่อปีจากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ สูงกว่าไตรมาสแรกของปี 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 นอกจากนั้นยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 42 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุด ตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 26 และยังเพิ่มขึ้นสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ขณะเดียวกัน ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย ซึ่งใช้ติดตามสัญญาณเงินเฟ้อ และเป็นส่วนประกอบสำคัญมากที่สุดของต้นทุนผลผลิต ลดลงร้อยละ 0.4 ลดลงอย่างมากจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.1 จากรายงานครั้งนี้ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้ขยายตัว (รอยเตอร์ 6)
2. การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่2 ปี 43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 7 ก.ย.43 จากการสำรวจบริษัทญี่ปุ่น 19,358 บริษัท ที่มีทุนตั้งแต่ 10 ล.เยนขึ้นไป โดยไม่รวมสถาบันการเงินและบริษัทประกัน ก.คลังญี่ปุ่นรายงานว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนทางด้านโรงงานและเครื่องมืออุปกรณ์ของบริษัทญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 และเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบปีต่อปี แต่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 5.5-14.0 โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 43 บริษัทอุตสาหกรรมการผลิตใช้จ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรกของปี 43 ส่วนบริษัทที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิต ใช้จ่ายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันของปี 42 เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้ การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนถือเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับที่ 2 ในระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (รอยเตอร์ 7)
3. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 6 ก.ย.43 ก.คลังเยอรมนี รายงานว่า เดือน ก.ค.43 คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีรวม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.43 และเทียบกับการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า คำสั่งซื้อฯ จะลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค.43 การส่งออกของเยอรมนียังได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินยูโรอย่างต่อเนื่อง โดยคำสั่งซื้อฯ เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน มิ.ย.43 ขณะที่คำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศลดลงร้อยละ 0.8 จากที่ลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน มิ.ย.43 (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ก.ย. 43 41.237 (41.256)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 6 ก.ย.43
ซื้อ 41.0283 (41.0712) ขาย 41.3341 (41.3652)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,350) ขาย 5,400 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.75 (30.75)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-