1. สถานการณ์การผลิต สหรัฐให้การรับรองประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่าสหรัฐ
รายงานข่าวจากกรมการค้าต่างประเทศแจ้งว่า ได้รับรายงานจาก สำนักงานพาณิชย์ต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน สรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ ได้ให้การรับรองว่าประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่าสหรัฐฯ หรือจับกุ้งโดยไม่เป็นอันตรายต่อเต่าทะเลภายใต้กฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลของสหรัฐ มีผลให้ไทยสามารถส่งกุ้งทุกชนิดรวมทั้งกุ้งทะเลไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ได้โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกในแต่ละเที่ยว และคาดว่าในปีนี้ไทยมีโอกาสส่งออกกุ้งได้เพิ่มขึ้นจากปี 2542 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตกุ้งในทวีปอเมริกาใต้ เช่น เอกวาดอร์ เปรู ปานามา ประสบปัญหาโรคระบาดตัวแดงดวงขาวตั้งแต่กลางปี 2542 และคาดว่าจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (30 พค.-5 มิย. 2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,480.07 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 634.09 ตัน สัตว์น้ำจืด 845.98 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.13 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.82 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.86 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 86.25 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 89.93 ตัน1. สถานการณ์การตลาด ซาอุดิอาระเบียยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทย
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แจ้งว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยแล้วหลังจากที่คูเวตและซาอุดิอาระเบีย ได้ห้ามนำเข้าก่อนหน้านี้ที่อ้างว่าน้ำมัน ถั่วเหลืองที่ใช้ในการผสมในปลาทูน่ากระป๋องที่ส่งออกไปจากไทยมีส่วนผสมของ ถั่วเหลืองที่มีการตัดแต่งทางพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) มาใช้ในการผลิต ทั้งนี้ ในการยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยครั้งนี้ ซาอุดิอาระเบียมีเงื่อนไขว่าต้องผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ทางการซาอุดิอาระเบียกำหนด โดยต้องมีใบรับรองสุขอนามัยออกโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และต้องผ่านการรับรองจากสถานทูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตในปีแรก 4 ครั้ง หากผลการตรวจสอบปีแรกผ่านในปีต่อไปจะลดการตรวจสอบเหลือเพียงปีละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีการแก้ไขปัญหาไปแล้วทาง ซาอุดิอาระเบีย ได้มีหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ให้นำคณะผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปยัง ซาอุดิอาระเบีย เพื่อชี้แจงกรณี ดังกล่าว ซึ่งตนได้นำคณะผู้แทนไทยไปเจรจาเมื่อวันที่ 1 พค.ที่ผ่านมา
สำหรับคูเวตได้ออกประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.96 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 307.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 330.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 23.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 442.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 430.71 บาท ของสัปดาห์ 12.15 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.15 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.88 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเบอร์ 3 (ระหว่างวันที่ 12-16 มิย.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.70 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 12 - 18 มิ.ย. 2543--
-สส-
รายงานข่าวจากกรมการค้าต่างประเทศแจ้งว่า ได้รับรายงานจาก สำนักงานพาณิชย์ต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน สรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ ได้ให้การรับรองว่าประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่าสหรัฐฯ หรือจับกุ้งโดยไม่เป็นอันตรายต่อเต่าทะเลภายใต้กฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลของสหรัฐ มีผลให้ไทยสามารถส่งกุ้งทุกชนิดรวมทั้งกุ้งทะเลไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ได้โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกในแต่ละเที่ยว และคาดว่าในปีนี้ไทยมีโอกาสส่งออกกุ้งได้เพิ่มขึ้นจากปี 2542 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตกุ้งในทวีปอเมริกาใต้ เช่น เอกวาดอร์ เปรู ปานามา ประสบปัญหาโรคระบาดตัวแดงดวงขาวตั้งแต่กลางปี 2542 และคาดว่าจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (30 พค.-5 มิย. 2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,480.07 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 634.09 ตัน สัตว์น้ำจืด 845.98 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.13 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.82 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.86 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 86.25 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 89.93 ตัน1. สถานการณ์การตลาด ซาอุดิอาระเบียยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทย
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แจ้งว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยแล้วหลังจากที่คูเวตและซาอุดิอาระเบีย ได้ห้ามนำเข้าก่อนหน้านี้ที่อ้างว่าน้ำมัน ถั่วเหลืองที่ใช้ในการผสมในปลาทูน่ากระป๋องที่ส่งออกไปจากไทยมีส่วนผสมของ ถั่วเหลืองที่มีการตัดแต่งทางพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) มาใช้ในการผลิต ทั้งนี้ ในการยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยครั้งนี้ ซาอุดิอาระเบียมีเงื่อนไขว่าต้องผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ทางการซาอุดิอาระเบียกำหนด โดยต้องมีใบรับรองสุขอนามัยออกโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และต้องผ่านการรับรองจากสถานทูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตในปีแรก 4 ครั้ง หากผลการตรวจสอบปีแรกผ่านในปีต่อไปจะลดการตรวจสอบเหลือเพียงปีละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีการแก้ไขปัญหาไปแล้วทาง ซาอุดิอาระเบีย ได้มีหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ให้นำคณะผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปยัง ซาอุดิอาระเบีย เพื่อชี้แจงกรณี ดังกล่าว ซึ่งตนได้นำคณะผู้แทนไทยไปเจรจาเมื่อวันที่ 1 พค.ที่ผ่านมา
สำหรับคูเวตได้ออกประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.96 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 307.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 330.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 23.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 442.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 430.71 บาท ของสัปดาห์ 12.15 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.15 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.94 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.88 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเบอร์ 3 (ระหว่างวันที่ 12-16 มิย.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.70 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 12 - 18 มิ.ย. 2543--
-สส-