บทสรุปสำหรับนักลงทุน
ปลาร้าแปรรูปในลักษณะผงหรือเป็นก้อน เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ปรุงอาหาร การขนส่งและเพื่อขยายการบริโภคในกลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่คุ้นเคยกับการบริโภคปลาร้าสดซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบในอาหารไทยประเภทน้ำพริก ผู้บริโภคยังไม่คุ้นเคยกับการใช้ปลาร้าสดปรุงอาหาร ดังนั้นการแปรรูปปลาร้าให้เป็นผงหรือก้อนจึงเป็นการเพิ่มความสะดวกและความสะอาดในการบริโภคมากขึ้นอนาคตของปลาร้าแปรรูปมีอยู่อย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมอาหารไทยโดยเฉพาะอาหารอีสานและอาหารประเภทน้ำพริก โดยเฉพาะผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจในด้านสุขอนามัย ซึ่งปลาร้าแปรรูปผงและก้อนจะให้ความเชื่อมั่นในด้านความสะอาดปลอดภัยในการบริโภคสูงนอกจากนี้ยังสามารถพกพาไปบริโภคในระหว่างการเดินทางได้ จึงสามารถขยายตลาดไปในด้านการส่งออกได้มากขึ้นจากเดิมที่มีการส่งออกปลาร้าหมักในรูปแบบต่างๆมาแล้ว ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกมาอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันมีผู้ผลิตปลาร้าเพื่อการส่งออกอยู่หลายราย แต่ผู้ผลิตในลักษณะปลาร้าแปรรูปชนิดผงและก้อนในระดับอุตสาหกรรมเพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กมีเงินลงทุนในการดำเนินธุรกิจที่ 2,080,000 บาท ซึ่งทำการผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดระดับบน คือ กระจายสินค้าในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งการออกงานแสดงสินค้าอาหารเพื่อมุ่งหวังด้านตลาดส่งออก นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตในระดับกลุ่มแม่บ้านต่างๆ เพื่อวางขายในระดับท้องถิ่น เนื่องจากปลาร้าผงและปลาร้าก้อนสามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดปีเพราะวัตถุดิบ คือปลาร้าสามารถหาได้ตลอดทั้งปีทั่วประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย ผู้ผลิตจึงไม่มีความกังวลด้านการขาดแคลนวัตถุดิบ ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ก็เป็นเครื่องจักรที่ไม่ซับซ้อน ได้แก่ เครื่องผสม เครื่องบด เครื่องอบ และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถจัดหาได้ภายในประเทศทั้งหมด ส่วนบุคลากรที่ใช้เป็นเพียงแรงงานธรรมดาเพียง 4-5 คน ก็สามารถดำเนินการได้
การลงทุนในระดับอุตสาหกรรมควรมีเงินลงทุนประมาณ 2-3 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในทรัพย์สินถาวร คือเครื่องจักรยานพาหนะและอุปกรณ์สำนักงานประมาณ 60 % และเงินลงทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจประมาณ 40 % ซึ่งส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิต ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ หีบห่อ แรงงาน และค่าสาธารณูปโภคประมาณ 80 % และอีก 20 % เป็นค่าใช้จ่ายในการตลาดและการขายกรณีผลิตและจำหน่าย 500 กิโลกรัม/เดือน ราคาจำหน่าย 25 บาท/ซอง(ขนาด 20 กรัม)โดยมีกำไรเฉลี่ยต่อซองประมาณ 7% ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 3-4 ปี จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน 7.9 % โดยได้รับผลตอบแทนสุทธิที่เท่ากันโดยตลอดทุกปี (ระยะเวลาโครงการ 5 ปี)
ผู้สนใจลงทุนสามารถรับทราบข้อมูลด้านวิชาการและเทคนิคในการผลิตได้ที่กรมวิทยา-ศาสตร์บริการ หรือสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
ปลาร้าแปรรูปในลักษณะผงหรือเป็นก้อน เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ปรุงอาหาร การขนส่งและเพื่อขยายการบริโภคในกลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่คุ้นเคยกับการบริโภคปลาร้าสดซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบในอาหารไทยประเภทน้ำพริก ผู้บริโภคยังไม่คุ้นเคยกับการใช้ปลาร้าสดปรุงอาหาร ดังนั้นการแปรรูปปลาร้าให้เป็นผงหรือก้อนจึงเป็นการเพิ่มความสะดวกและความสะอาดในการบริโภคมากขึ้นอนาคตของปลาร้าแปรรูปมีอยู่อย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมอาหารไทยโดยเฉพาะอาหารอีสานและอาหารประเภทน้ำพริก โดยเฉพาะผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจในด้านสุขอนามัย ซึ่งปลาร้าแปรรูปผงและก้อนจะให้ความเชื่อมั่นในด้านความสะอาดปลอดภัยในการบริโภคสูงนอกจากนี้ยังสามารถพกพาไปบริโภคในระหว่างการเดินทางได้ จึงสามารถขยายตลาดไปในด้านการส่งออกได้มากขึ้นจากเดิมที่มีการส่งออกปลาร้าหมักในรูปแบบต่างๆมาแล้ว ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกมาอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันมีผู้ผลิตปลาร้าเพื่อการส่งออกอยู่หลายราย แต่ผู้ผลิตในลักษณะปลาร้าแปรรูปชนิดผงและก้อนในระดับอุตสาหกรรมเพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กมีเงินลงทุนในการดำเนินธุรกิจที่ 2,080,000 บาท ซึ่งทำการผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดระดับบน คือ กระจายสินค้าในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งการออกงานแสดงสินค้าอาหารเพื่อมุ่งหวังด้านตลาดส่งออก นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตในระดับกลุ่มแม่บ้านต่างๆ เพื่อวางขายในระดับท้องถิ่น เนื่องจากปลาร้าผงและปลาร้าก้อนสามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดปีเพราะวัตถุดิบ คือปลาร้าสามารถหาได้ตลอดทั้งปีทั่วประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย ผู้ผลิตจึงไม่มีความกังวลด้านการขาดแคลนวัตถุดิบ ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ก็เป็นเครื่องจักรที่ไม่ซับซ้อน ได้แก่ เครื่องผสม เครื่องบด เครื่องอบ และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถจัดหาได้ภายในประเทศทั้งหมด ส่วนบุคลากรที่ใช้เป็นเพียงแรงงานธรรมดาเพียง 4-5 คน ก็สามารถดำเนินการได้
การลงทุนในระดับอุตสาหกรรมควรมีเงินลงทุนประมาณ 2-3 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในทรัพย์สินถาวร คือเครื่องจักรยานพาหนะและอุปกรณ์สำนักงานประมาณ 60 % และเงินลงทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจประมาณ 40 % ซึ่งส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิต ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ หีบห่อ แรงงาน และค่าสาธารณูปโภคประมาณ 80 % และอีก 20 % เป็นค่าใช้จ่ายในการตลาดและการขายกรณีผลิตและจำหน่าย 500 กิโลกรัม/เดือน ราคาจำหน่าย 25 บาท/ซอง(ขนาด 20 กรัม)โดยมีกำไรเฉลี่ยต่อซองประมาณ 7% ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 3-4 ปี จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน 7.9 % โดยได้รับผลตอบแทนสุทธิที่เท่ากันโดยตลอดทุกปี (ระยะเวลาโครงการ 5 ปี)
ผู้สนใจลงทุนสามารถรับทราบข้อมูลด้านวิชาการและเทคนิคในการผลิตได้ที่กรมวิทยา-ศาสตร์บริการ หรือสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--