ลู่ทางการค้าการลงทุนในแอฟริกาบริเวณใต้ทะเลทรายซาฮาร่า แบ่งตามภูมิภาคได้ดังนี้แอฟริกาตอนใต้
ภูมิภาคนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อไทยมากที่สุดเพราะเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่และมีวัตถุดิบมาก ประชาชนมีรายได้และอำนาจซื้อมากกว่าภูมิภาคอื่น สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปจำหน่ายคือ ข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ กลุ่มประเทศเป้าหมายที่มึศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งภาคธุรกิจเอกชนไทยมีลู่ทางเข้าไปเจาะตลาดได้แก่ แอฟริกาใต้ มอริเชียส สวาซิแลนด์ แซมเบีย บอตสวานา นามิเบีย ซิมบับเว แองโกลา และมาดากัสการ์แอฟริกาตะวันตก
มีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับไทยเป็นอันดับสองรองจากแอฟริกาตอนใต้ เป็นตลาดสินค้าขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมากแต่ยังยากจน ภูมิภาคนี้มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ทำให้เป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของไทย อาทิ น้ำมันในไนจีเรีย แร่ธาตุประเภทอัญมณี เงินแท่งและทองคำในกานา ป่าไม้ในไลบีเรีย เส้นใยในการทอในเบนิน โกตดิวัวร์ เซเนกัล และโตโก
สินค้าส่งออกสำคัญที่ไทยส่งไปจำหน่ายได้แก่ ข้าว (เบนินเป็นประเทศที่นำเข้าข้าวจากไทยมากที่สุดในทวีปแอฟริกา ปีละ 350,000 - 400, 000 ตัน) เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วนผ้าผืน คาดว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้าระบบเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกจะเจริญมากขึ้น ทำให้โอกาสการแสวงหาลู่ทางการค้าการลงทุนในภูมิภาคนี้ของไทยจะมากขึ้นเช่นกัน กลุ่มประเทศเป้าหมายที่ภาคเอกชนไทยมีลู่ทางเข้าไปเจาะตลาดได้แก่ ไนจีเรีย กานา เบนิน โตโก มาลี โกตดิวัวร์ เซเนกัล กินีบิสเซา และไลบีเรียแอฟริกาตะวันออก
เป็นแหล่งวัตถุดิบประเภทแร่ธาตุ เช่น เพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ผลิตภัณฑ์ประมง กิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับภูมิภาคนี้ยังมีปริมาณน้อย เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องระเบียบข้อบังคับการค้าการลงทุนและขาดข้อมูลข่าวสารธุรกิจ
สินค้าส่งออกสำคัญที่ไทยส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำตาลทราย รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก กลุ่มประเทศเป้าหมายที่ควรเข้าไปเจาะตลาดคือ เคนยา แทนซาเนีย เซเชลล์ และยูกันดาแอฟริกากลาง
มีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับไทยเป็นอันดับสุดท้ายเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ แร่ธาตุประเภทอัญมณี เพชร พลอย เงินแท่งและทองคำในสาธารธรัฐคองโก ไม้ซุงและไม้แปรรูปในแคเมอรูนและกาบอง เส้นใยใช้ในการทอในแคเมอรูน
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปจำหน่ายได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป กลุ่มประเทศเป้าหมายที่ควรเข้าไปเจาะตลาดคือ แคเมอรูน กาบอง และสาธารณรัฐคองโก
ปัญหาและอุปสรรคด้านการค้า-การลงทุนระหว่างไทยกับแอฟริกา
-ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
-ความไม่น่าเชื่อถือทางการเงินและความเสี่ยงในการได้รับชำระเงินค่าสินค้า
-การขาดข้อมูลข่าวสารธุรกิจ
-ประเทศในแอฟริกาหลายประเทศยังยากจนและมีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำให้มีปัญหาในการเรียกเก็บเงิน นอกจากนี้ผู้ซื้อสินค้าในแอฟริกามักจะขอเทอมการชำระเงินที่ยาว ทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่ประสงค์ทำการค้าด้วย
-การจำกัดการนำเข้าสินค้าของบางประเทศในแอฟริกา เช่น ไนจีเรีย มีการเก็บภาษีนำเข้าข้าวในอัตรา 100% หรือแอฟริกาใต้ที่กำหนด อัตราภาษีนำเข้าสูง
-แอฟริกาอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย โดยเฉพาะแอฟริกากลางและตะวันตกซึ่งไม่มีเครือข่ายการโทรคมนาคมขนส่งโดยตรงระหว่างกันทำให้การขนส่งสินค้าต้องใช้เวลานาน
จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอาจทำให้ผู้ส่งออกไทย ไม่มั่นใจที่จะขยายตลาดส่งออกไปยังแอฟริกา ปัจจุบันกรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ส่งออกในการขยายตลาดส่งออกไปยังภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยยังมีบริการประกันการส่งออกเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อภายหลังการส่งออก โดยคุ้มครองความเสี่ยงทั้งทางการค้าและการเมือง หากผู้ส่งออกต้องการคำแนะนำหรือคำปรึกษา กรุณาติดต่อส่วนรับประกันการส่งออก 3 โทร. 271-3700 ต่อ 1732-1735--จบ--
-อน-
ภูมิภาคนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อไทยมากที่สุดเพราะเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่และมีวัตถุดิบมาก ประชาชนมีรายได้และอำนาจซื้อมากกว่าภูมิภาคอื่น สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปจำหน่ายคือ ข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ กลุ่มประเทศเป้าหมายที่มึศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งภาคธุรกิจเอกชนไทยมีลู่ทางเข้าไปเจาะตลาดได้แก่ แอฟริกาใต้ มอริเชียส สวาซิแลนด์ แซมเบีย บอตสวานา นามิเบีย ซิมบับเว แองโกลา และมาดากัสการ์แอฟริกาตะวันตก
มีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับไทยเป็นอันดับสองรองจากแอฟริกาตอนใต้ เป็นตลาดสินค้าขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมากแต่ยังยากจน ภูมิภาคนี้มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ทำให้เป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของไทย อาทิ น้ำมันในไนจีเรีย แร่ธาตุประเภทอัญมณี เงินแท่งและทองคำในกานา ป่าไม้ในไลบีเรีย เส้นใยในการทอในเบนิน โกตดิวัวร์ เซเนกัล และโตโก
สินค้าส่งออกสำคัญที่ไทยส่งไปจำหน่ายได้แก่ ข้าว (เบนินเป็นประเทศที่นำเข้าข้าวจากไทยมากที่สุดในทวีปแอฟริกา ปีละ 350,000 - 400, 000 ตัน) เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วนผ้าผืน คาดว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้าระบบเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกจะเจริญมากขึ้น ทำให้โอกาสการแสวงหาลู่ทางการค้าการลงทุนในภูมิภาคนี้ของไทยจะมากขึ้นเช่นกัน กลุ่มประเทศเป้าหมายที่ภาคเอกชนไทยมีลู่ทางเข้าไปเจาะตลาดได้แก่ ไนจีเรีย กานา เบนิน โตโก มาลี โกตดิวัวร์ เซเนกัล กินีบิสเซา และไลบีเรียแอฟริกาตะวันออก
เป็นแหล่งวัตถุดิบประเภทแร่ธาตุ เช่น เพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ผลิตภัณฑ์ประมง กิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับภูมิภาคนี้ยังมีปริมาณน้อย เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องระเบียบข้อบังคับการค้าการลงทุนและขาดข้อมูลข่าวสารธุรกิจ
สินค้าส่งออกสำคัญที่ไทยส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำตาลทราย รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก กลุ่มประเทศเป้าหมายที่ควรเข้าไปเจาะตลาดคือ เคนยา แทนซาเนีย เซเชลล์ และยูกันดาแอฟริกากลาง
มีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับไทยเป็นอันดับสุดท้ายเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ แร่ธาตุประเภทอัญมณี เพชร พลอย เงินแท่งและทองคำในสาธารธรัฐคองโก ไม้ซุงและไม้แปรรูปในแคเมอรูนและกาบอง เส้นใยใช้ในการทอในแคเมอรูน
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปจำหน่ายได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป กลุ่มประเทศเป้าหมายที่ควรเข้าไปเจาะตลาดคือ แคเมอรูน กาบอง และสาธารณรัฐคองโก
ปัญหาและอุปสรรคด้านการค้า-การลงทุนระหว่างไทยกับแอฟริกา
-ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
-ความไม่น่าเชื่อถือทางการเงินและความเสี่ยงในการได้รับชำระเงินค่าสินค้า
-การขาดข้อมูลข่าวสารธุรกิจ
-ประเทศในแอฟริกาหลายประเทศยังยากจนและมีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทำให้มีปัญหาในการเรียกเก็บเงิน นอกจากนี้ผู้ซื้อสินค้าในแอฟริกามักจะขอเทอมการชำระเงินที่ยาว ทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่ประสงค์ทำการค้าด้วย
-การจำกัดการนำเข้าสินค้าของบางประเทศในแอฟริกา เช่น ไนจีเรีย มีการเก็บภาษีนำเข้าข้าวในอัตรา 100% หรือแอฟริกาใต้ที่กำหนด อัตราภาษีนำเข้าสูง
-แอฟริกาอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย โดยเฉพาะแอฟริกากลางและตะวันตกซึ่งไม่มีเครือข่ายการโทรคมนาคมขนส่งโดยตรงระหว่างกันทำให้การขนส่งสินค้าต้องใช้เวลานาน
จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอาจทำให้ผู้ส่งออกไทย ไม่มั่นใจที่จะขยายตลาดส่งออกไปยังแอฟริกา ปัจจุบันกรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ส่งออกในการขยายตลาดส่งออกไปยังภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยยังมีบริการประกันการส่งออกเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อภายหลังการส่งออก โดยคุ้มครองความเสี่ยงทั้งทางการค้าและการเมือง หากผู้ส่งออกต้องการคำแนะนำหรือคำปรึกษา กรุณาติดต่อส่วนรับประกันการส่งออก 3 โทร. 271-3700 ต่อ 1732-1735--จบ--
-อน-