กรุงเทพฯ--24 ก.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ออสเตรเลีย ครั้งที่ 20 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย โดยมี นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และ Mr. John Dauth รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและการค้า เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีประธานสภาธุรกิจไทย-ออสเตรเลีย ของทั้งสองฝ่าย เข้าแถลงความสัมพันธ์ทางการค้าของภาคเอกชน และนำผู้แทนธุรกิจต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมด้วย
ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
1. สภาวะเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน ออสเตรเลียได้แจ้งให้ทราบว่า จากการปฏิรูปเศรษฐกิจ ขณะนี้เศรษฐกิจของออสเตรเลียอยู่ในภาวะที่ดีมาก อัตราการขยายตัวของ GDP ดีที่สุดในรอบ 10 ปี ตลอดจนตัวเลขทางเศรษฐกิจมหภาคอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับการค้าสองฝ่ายในปีที่ผ่านมาขยายตัวถึงร้อยละ 24 โดยออสเตรเลียสามารถส่งออกมาไทยเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 12 แต่ยังคงขาดดุลการค้าไทยอยู่
2. ปัญหาการเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียสำหรับสินค้าไทย
2.1 ไก่ต้มสุก
ฝ่ายไทยได้ขอให้ออสเตรเลียให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ตามที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเคยรับกับฝ่ายไทยที่จะพิจารณาในเรื่องนี้ และขอให้
ยอมรับผลการทดลอง ซึ่งฝ่ายไทยได้จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษเพื่อหาข้อพิสูจน์หักล้างมาตรฐานที่ออสเตรเลียกำหนดในการควบคุมเรือ IBVD ตลอดจนขอให้พิจารณาเปิดตลาดเป็ด ทั้งนี้ฝ่ายไทยได้ยื่นข้อมูลด้านโรคของฝ่ายไทยให้พิจารณาด้วย ในเรื่องดังกล่าวออสเตรเลียรับที่จะพิจารณา หากฝ่ายไทยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจะพิจารณาเปิดตลาดเป็ดหลังจากเปิดตลาดไก่ ซึ่งฝ่ายไทยได้ยืนยันขอให้มีการพิจารณาในเรื่องเป็ดโดยไม่ต้องรอเรื่องไก่ซึ่งยืดเยื้อมานาน
2.2 ผลไม้เมืองร้อน
ฝ่ายไทยได้สอบถามความคืบหน้าการเปิดตลาดทุเรียน ซึ่งออสเตรเลียแจ้งว่าคณะกรรมการฯ ได้ยื่นผลการพิจารณาการอุทธรณ์ให้รัฐมนตรีพิจารณาแล้ว คาดว่าจะมีการประกาศเปิดตลาดในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ไทยยังขอให้เปิดตลาดมังคุด ลิ้นจี่ ลำไย พร้อม ๆ กัน พร้อมทั้งได้ยื่นรายการโรคพืชให้ ซึ่งฝ่ายออสเตรเลียรับที่จะพิจารณาและแจ้งผลให้ทราบต่อไป
อนึ่ง ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบความกังวลของอาเซียนที่มีต่อการมีมาตรฐานทางสุขอนามัยที่เข้มงวดของออสเตรเลีย หากออสเตรเลียต้องการที่จะผลักดันให้มีการค้าเสรีระหว่าง AFTA-CER น่าจะมีการทบทวนท่าทีของออสเตรเลียในเรื่องนี้
2.3 กุ้งแช่แข็ง
ออสเตรเลียแจ้งว่าการจัดทำ Import Risk Analysis ยังไม่แล้วเสร็จ
2.4 AD/CVD
ฝ่ายออสเตรเลียแจ้งว่า Trade Measure Review Officer ได้ส่งผลการทบทวนการเรียกเก็บอากร AD ในสินค้าท่อเหล็กของไทย และให้รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและศุลกากรพิจารณาแล้ว โดยเสนอว่าควรให้ศุลกากรทบทวนการเรียกเก็บอากร AD จาก 3 ผู้ส่งออกไทยใหม่ โดยใช้ข้อมูลที่ได้มีการอุทธรณ์ ทั้งนี้ได้มีการพบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมภายในมีผลมาจากการส่งออกของประเทศอื่น
3. ปัญหาของออสเตรเลียในการเข้าสู่ตลาดไทย
3.1 สินค้านม
ฝ่ายออสเตรเลียแสดงความกังวลต่อการจัดสรรโควตานมผงขาดมันเนยที่มีความล่าช้าการขอขยายเวลาการใช้ local content และขอให้ไทยลดภาษีเนยแข็ง จากร้อยละ 45 เหลือ 30 ตามที่ผูกพันกับ WTO ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่าการที่เกษตรกรโคนมประสบปัญหาวิกฤต ทำให้รัฐบาลต้องตัดสินใจขอขยายเวลาการใช้ local content และปรับปรุงอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งก่อน สำหรับการจัดสรรโควตาจำเป็นต้องจัดสรร 2 ครั้งต่อปี เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ไทยได้ขยายจำนวนที่เปิดให้นำเข้าด้วยอัตราภาษีที่ต่ำกว่าที่ผูกพัน จึงน่าจะเป็นการชดเชยกันไว้สำหรับภาษีเนยแข็งนั้น เนื่องจากไม่ใช้สินค้าที่คนส่วนใหญ่ในประเทศบริโภค และรัฐเห็นว่าเป็นทางหารายได้เข้ารัฐ มิใช่มีเจตนาจะกีดกันทางการค้า
3.2 ความล่าช้าในการขอใบรับรองจาก อย.
ฝ่ายไทยได้ขอให้ออสเตรเลียทำหนังสืออธิบายปัญหาและหยิบยกกรณีปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะประสานให้มีการพบกับ อย. ของไทยเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป
3.3 อัตราภาษีสูงในสินค้า
ชิ้นส่วนรถยนต์ ไวน์ ผลไม้ confectionary ฝ่ายออสเตรเลียเห็นว่า การลดภาษีในสินค้าดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของไทย
4. ความร่วมมือระหว่างกันในด้าน
4.1 E-Commerce
ฝ่ายไทยได้ยื่นโครงการที่ขอให้ออสเตรเลียสนับสนุนศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2 โครงการ และแจ้งถึงความคืบหน้าในการพัฒนา E-Commerce ของกลุ่มประเทศอาเซียน ตลอดจนการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับ paperless trading (ซึ่งเป็นข้อเสนอของออสเตรเลียใน SEOM)
4.2 MOU ด้านการเกษตร
ฝ่ายไทยแจ้งว่า กระทรวงเกษตรไทยเห็นชอบในหลักการกับการที่จะดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมตาม MOU และยินดีที่ออสเตรเลียจะจัดคณะเดินทางมาหารือในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
4.3 กฎหมายธุรกิจต่างด้าว
ฝ่ายไทยแจ้งความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้กฎหมายใหม่ว่าได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเรียบร้อยแล้ว และมีการร่างกฎกระทรวง 8 ฉบับ ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาในรายละเอียด คาดว่าภายใน 1 เดือน จะมีการประกาศบังคับใช้ได้ ทั้งนี้ธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับการยกเว้นให้ต่างชาติทำได้คาดว่าจะมี 14 รายการ
สำหรับความล่าช้าในการจัดทำ working permit และ VISA นั้น กรมแรงงานได้แจ้งให้ทราบว่าได้มีการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการและหากไม่สามารถแล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่ต้องชี้แจงให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
5. สภาพแวดล้อมต่อการดำเนินธุรกิจ
5.1 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ออสเตรเลียมีความสนใจที่จะลงทุนในรัฐวิสาหกิจที่กำลังจะมีการแปรรูปของไทย โดยเฉพาะด้านการสื่อสาร พลังงาน น้ำ และการขนส่ง ซึ่งฝ่ายไทยได้มอบเอกสารชี้แจงรายละเอียดและความคืบหน้าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย
5.2 ธุรกิจประกันภัย
ฝ่ายไทยได้แจ้งความคืบหน้าการปรับปรุง พรบ.การประกันชีวิตและการประกันวินาศภัย
5.3 อุตสาหกรรมน้ำตาล
บริษัท CRS ได้แสดงความเห็นว่าไทยควรมีการปฏิรูปอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งผู้แทนบริษัทอ้อยและน้ำตาลเห็นว่าข้อ เสนอของบริษัทฯ ในผลการศึกษาที่เคยเสนอ ดร.ศุภชัยฯ นั้น เป็นความคิดที่ดีและมีประโยชน์มาก และยินดีจะจัดให้ CRS ได้พบปะภาคเอกชนไทย
5.4 GM Food Labeling
ฝ่ายไทยได้สอบถามรายละเอียดการออกกฎหมายบังคับให้สินค้าอาหารต้องติดฉลากว่ามีส่วนผสมที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรมหรือไม่ และแสดงความเห็นว่า ออสเตรเลียควรให้เวลาประเทศคู่ค้าในการปรับตัวมากกว่า 1 ปี ก่อนที่จะบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว
6. ความร่วมมือการค้าพหุภาคีและภูมิภาค
6.1 การเจรจารอบใหม่ภายใต้ WTO
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันถึงประเด็นที่ควรมีการเจรจา และยินดีที่กลุ่ม CAIRNS มีความเห็นสอดคล้องกัน โดยเฉพาะการเห็นควรให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกว่า การเจรจารอบใหม่จะสำเร็จได้หากประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
6.2 AFTA-CER
ฝ่ายไทยแสดงความเห็นว่า ASEAN มีความกังวลมากในเรื่อง SPS ของออสเตรเลียซึ่งเป็น non-tariff barier ที่สำคัญ ซึ่งออสเตรเลียรับที่จะไปพิจารณา ทั้งนี้ออสเตรเลียต้องการให้เรื่องนี้เป็นปัญหาต่อไป
6.3 APEC
ทั้งสองฝ่ายยินดีกับความสำเร็จของการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เมืองดาร์วิน ที่ผ่านมา และแจ้งความคืบหน้าโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย
7. การประชุม Joint Ministeral Meeting และ Joint Trade Committee ครั้งต่อไป
ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าควรจะจัดการประชุม JMM ครั้งที่ 3 ในปี 2001 โดยออสเตรเลียจะเป็นเจ้าภาพ และการประชุม JTC ครั้งที่ 21 ในปี 2002 โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ออสเตรเลีย ครั้งที่ 20 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย โดยมี นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และ Mr. John Dauth รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและการค้า เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีประธานสภาธุรกิจไทย-ออสเตรเลีย ของทั้งสองฝ่าย เข้าแถลงความสัมพันธ์ทางการค้าของภาคเอกชน และนำผู้แทนธุรกิจต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมด้วย
ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
1. สภาวะเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน ออสเตรเลียได้แจ้งให้ทราบว่า จากการปฏิรูปเศรษฐกิจ ขณะนี้เศรษฐกิจของออสเตรเลียอยู่ในภาวะที่ดีมาก อัตราการขยายตัวของ GDP ดีที่สุดในรอบ 10 ปี ตลอดจนตัวเลขทางเศรษฐกิจมหภาคอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับการค้าสองฝ่ายในปีที่ผ่านมาขยายตัวถึงร้อยละ 24 โดยออสเตรเลียสามารถส่งออกมาไทยเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 12 แต่ยังคงขาดดุลการค้าไทยอยู่
2. ปัญหาการเข้าสู่ตลาดออสเตรเลียสำหรับสินค้าไทย
2.1 ไก่ต้มสุก
ฝ่ายไทยได้ขอให้ออสเตรเลียให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ตามที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเคยรับกับฝ่ายไทยที่จะพิจารณาในเรื่องนี้ และขอให้
ยอมรับผลการทดลอง ซึ่งฝ่ายไทยได้จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษเพื่อหาข้อพิสูจน์หักล้างมาตรฐานที่ออสเตรเลียกำหนดในการควบคุมเรือ IBVD ตลอดจนขอให้พิจารณาเปิดตลาดเป็ด ทั้งนี้ฝ่ายไทยได้ยื่นข้อมูลด้านโรคของฝ่ายไทยให้พิจารณาด้วย ในเรื่องดังกล่าวออสเตรเลียรับที่จะพิจารณา หากฝ่ายไทยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจะพิจารณาเปิดตลาดเป็ดหลังจากเปิดตลาดไก่ ซึ่งฝ่ายไทยได้ยืนยันขอให้มีการพิจารณาในเรื่องเป็ดโดยไม่ต้องรอเรื่องไก่ซึ่งยืดเยื้อมานาน
2.2 ผลไม้เมืองร้อน
ฝ่ายไทยได้สอบถามความคืบหน้าการเปิดตลาดทุเรียน ซึ่งออสเตรเลียแจ้งว่าคณะกรรมการฯ ได้ยื่นผลการพิจารณาการอุทธรณ์ให้รัฐมนตรีพิจารณาแล้ว คาดว่าจะมีการประกาศเปิดตลาดในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ไทยยังขอให้เปิดตลาดมังคุด ลิ้นจี่ ลำไย พร้อม ๆ กัน พร้อมทั้งได้ยื่นรายการโรคพืชให้ ซึ่งฝ่ายออสเตรเลียรับที่จะพิจารณาและแจ้งผลให้ทราบต่อไป
อนึ่ง ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบความกังวลของอาเซียนที่มีต่อการมีมาตรฐานทางสุขอนามัยที่เข้มงวดของออสเตรเลีย หากออสเตรเลียต้องการที่จะผลักดันให้มีการค้าเสรีระหว่าง AFTA-CER น่าจะมีการทบทวนท่าทีของออสเตรเลียในเรื่องนี้
2.3 กุ้งแช่แข็ง
ออสเตรเลียแจ้งว่าการจัดทำ Import Risk Analysis ยังไม่แล้วเสร็จ
2.4 AD/CVD
ฝ่ายออสเตรเลียแจ้งว่า Trade Measure Review Officer ได้ส่งผลการทบทวนการเรียกเก็บอากร AD ในสินค้าท่อเหล็กของไทย และให้รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและศุลกากรพิจารณาแล้ว โดยเสนอว่าควรให้ศุลกากรทบทวนการเรียกเก็บอากร AD จาก 3 ผู้ส่งออกไทยใหม่ โดยใช้ข้อมูลที่ได้มีการอุทธรณ์ ทั้งนี้ได้มีการพบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมภายในมีผลมาจากการส่งออกของประเทศอื่น
3. ปัญหาของออสเตรเลียในการเข้าสู่ตลาดไทย
3.1 สินค้านม
ฝ่ายออสเตรเลียแสดงความกังวลต่อการจัดสรรโควตานมผงขาดมันเนยที่มีความล่าช้าการขอขยายเวลาการใช้ local content และขอให้ไทยลดภาษีเนยแข็ง จากร้อยละ 45 เหลือ 30 ตามที่ผูกพันกับ WTO ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่าการที่เกษตรกรโคนมประสบปัญหาวิกฤต ทำให้รัฐบาลต้องตัดสินใจขอขยายเวลาการใช้ local content และปรับปรุงอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งก่อน สำหรับการจัดสรรโควตาจำเป็นต้องจัดสรร 2 ครั้งต่อปี เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ไทยได้ขยายจำนวนที่เปิดให้นำเข้าด้วยอัตราภาษีที่ต่ำกว่าที่ผูกพัน จึงน่าจะเป็นการชดเชยกันไว้สำหรับภาษีเนยแข็งนั้น เนื่องจากไม่ใช้สินค้าที่คนส่วนใหญ่ในประเทศบริโภค และรัฐเห็นว่าเป็นทางหารายได้เข้ารัฐ มิใช่มีเจตนาจะกีดกันทางการค้า
3.2 ความล่าช้าในการขอใบรับรองจาก อย.
ฝ่ายไทยได้ขอให้ออสเตรเลียทำหนังสืออธิบายปัญหาและหยิบยกกรณีปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะประสานให้มีการพบกับ อย. ของไทยเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป
3.3 อัตราภาษีสูงในสินค้า
ชิ้นส่วนรถยนต์ ไวน์ ผลไม้ confectionary ฝ่ายออสเตรเลียเห็นว่า การลดภาษีในสินค้าดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของไทย
4. ความร่วมมือระหว่างกันในด้าน
4.1 E-Commerce
ฝ่ายไทยได้ยื่นโครงการที่ขอให้ออสเตรเลียสนับสนุนศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2 โครงการ และแจ้งถึงความคืบหน้าในการพัฒนา E-Commerce ของกลุ่มประเทศอาเซียน ตลอดจนการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับ paperless trading (ซึ่งเป็นข้อเสนอของออสเตรเลียใน SEOM)
4.2 MOU ด้านการเกษตร
ฝ่ายไทยแจ้งว่า กระทรวงเกษตรไทยเห็นชอบในหลักการกับการที่จะดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมตาม MOU และยินดีที่ออสเตรเลียจะจัดคณะเดินทางมาหารือในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
4.3 กฎหมายธุรกิจต่างด้าว
ฝ่ายไทยแจ้งความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้กฎหมายใหม่ว่าได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเรียบร้อยแล้ว และมีการร่างกฎกระทรวง 8 ฉบับ ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาในรายละเอียด คาดว่าภายใน 1 เดือน จะมีการประกาศบังคับใช้ได้ ทั้งนี้ธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับการยกเว้นให้ต่างชาติทำได้คาดว่าจะมี 14 รายการ
สำหรับความล่าช้าในการจัดทำ working permit และ VISA นั้น กรมแรงงานได้แจ้งให้ทราบว่าได้มีการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการและหากไม่สามารถแล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่ต้องชี้แจงให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
5. สภาพแวดล้อมต่อการดำเนินธุรกิจ
5.1 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ออสเตรเลียมีความสนใจที่จะลงทุนในรัฐวิสาหกิจที่กำลังจะมีการแปรรูปของไทย โดยเฉพาะด้านการสื่อสาร พลังงาน น้ำ และการขนส่ง ซึ่งฝ่ายไทยได้มอบเอกสารชี้แจงรายละเอียดและความคืบหน้าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย
5.2 ธุรกิจประกันภัย
ฝ่ายไทยได้แจ้งความคืบหน้าการปรับปรุง พรบ.การประกันชีวิตและการประกันวินาศภัย
5.3 อุตสาหกรรมน้ำตาล
บริษัท CRS ได้แสดงความเห็นว่าไทยควรมีการปฏิรูปอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งผู้แทนบริษัทอ้อยและน้ำตาลเห็นว่าข้อ เสนอของบริษัทฯ ในผลการศึกษาที่เคยเสนอ ดร.ศุภชัยฯ นั้น เป็นความคิดที่ดีและมีประโยชน์มาก และยินดีจะจัดให้ CRS ได้พบปะภาคเอกชนไทย
5.4 GM Food Labeling
ฝ่ายไทยได้สอบถามรายละเอียดการออกกฎหมายบังคับให้สินค้าอาหารต้องติดฉลากว่ามีส่วนผสมที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรมหรือไม่ และแสดงความเห็นว่า ออสเตรเลียควรให้เวลาประเทศคู่ค้าในการปรับตัวมากกว่า 1 ปี ก่อนที่จะบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว
6. ความร่วมมือการค้าพหุภาคีและภูมิภาค
6.1 การเจรจารอบใหม่ภายใต้ WTO
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันถึงประเด็นที่ควรมีการเจรจา และยินดีที่กลุ่ม CAIRNS มีความเห็นสอดคล้องกัน โดยเฉพาะการเห็นควรให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกว่า การเจรจารอบใหม่จะสำเร็จได้หากประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
6.2 AFTA-CER
ฝ่ายไทยแสดงความเห็นว่า ASEAN มีความกังวลมากในเรื่อง SPS ของออสเตรเลียซึ่งเป็น non-tariff barier ที่สำคัญ ซึ่งออสเตรเลียรับที่จะไปพิจารณา ทั้งนี้ออสเตรเลียต้องการให้เรื่องนี้เป็นปัญหาต่อไป
6.3 APEC
ทั้งสองฝ่ายยินดีกับความสำเร็จของการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เมืองดาร์วิน ที่ผ่านมา และแจ้งความคืบหน้าโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย
7. การประชุม Joint Ministeral Meeting และ Joint Trade Committee ครั้งต่อไป
ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าควรจะจัดการประชุม JMM ครั้งที่ 3 ในปี 2001 โดยออสเตรเลียจะเป็นเจ้าภาพ และการประชุม JTC ครั้งที่ 21 ในปี 2002 โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-