กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (26 กันยายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Strategic and International Studies- ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจัดสัมมนาเรื่อง " Thailand and OSCE: The Way towards a Future Cooperation" ในวันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน 2543 เวลา 08.30 น. -17.15 น. ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา โดยมี ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้กล่าวเปิดการสัมมนาซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความคุ้นเคยของการดำเนินงานขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe — OSCE) ให้แก่สาธารณชนไทยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้แทนประเทศสมาชิก OSCE กับฝ่ายไทยเพื่อเป็นการปูทางในการที่ไทยจะเข้าร่วมเป็น "หุ้นส่วนของความร่วมมือ" (Partners for Cooperation ) ของ OSCE และในการสัมมนาครั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเลขาธิการของ OSCE มาร่วมบรรยายภาพรวมของการดำเนินงานของ OSCE ด้านการเสริมสร้างความมั่นคงในยุโรป และมีผู้แทนจากประเทศสมาชิก OSCE นักวิชาการของไทยรวมทั้งผู้แทนระดับสูงของกระทรวงฯ ร่วมอภิปรายในการสัมมนาด้วย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนามีทั้งผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน นักวิชาการ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ ด้วย
OSCE เป็นองค์การทางความมั่นคงองค์การหนึ่งในยุโรปที่ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความมั่นคงแบบบูรณาการ (comprehensive security) ซึ่งประกอบด้วยความมั่นคงด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยดำเนินการตามแนวทางการทูตเชิงป้องกัน (preventive diplomacy) การป้องกันการเกิดวิกฤติการณ์ (crisis prevention) การจัดการกับวิกฤติการณ์ (crisis management) และการ ฟื้นฟูสถานการณ์ภายหลังการเกิดวิกฤติการณ์ (post conflict rehabilitation) ซึ่งเป็นแนวทางที่ไทยให้ความสำคัญในการเสริมสร้างเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
OSCE เป็นองค์การที่พัฒนามาจากการประชุมว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Conference on Security and Cooperation in Europe-CSCE) ซึ่งเกิดจากการที่สหภาพโซเวียตเรียกร้องให้มีการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างฝ่ายตะวันตกและฝ่ายตะวันออกตั้งแต่ปี 2514 และต่อมาในการประชุมระดับผู้นำ OSCE ที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี มีการเปลี่ยนชื่อ CSCE เป็น OSCE ในปัจจุบัน OSCE ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 54 ประเทศ (ดังแนบ)
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมสัมมนาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และกรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ภายในวันที่ 26 กันยายน 2543 ที่กองยุโรป 1 กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา หมายเลขโทรศัพท์ 643-5145 และ 643-5147 หมายเลขโทรสาร 643-5140 และ 643-5146
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (26 กันยายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Strategic and International Studies- ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจัดสัมมนาเรื่อง " Thailand and OSCE: The Way towards a Future Cooperation" ในวันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน 2543 เวลา 08.30 น. -17.15 น. ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา โดยมี ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้กล่าวเปิดการสัมมนาซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความคุ้นเคยของการดำเนินงานขององค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe — OSCE) ให้แก่สาธารณชนไทยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างผู้แทนประเทศสมาชิก OSCE กับฝ่ายไทยเพื่อเป็นการปูทางในการที่ไทยจะเข้าร่วมเป็น "หุ้นส่วนของความร่วมมือ" (Partners for Cooperation ) ของ OSCE และในการสัมมนาครั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเลขาธิการของ OSCE มาร่วมบรรยายภาพรวมของการดำเนินงานของ OSCE ด้านการเสริมสร้างความมั่นคงในยุโรป และมีผู้แทนจากประเทศสมาชิก OSCE นักวิชาการของไทยรวมทั้งผู้แทนระดับสูงของกระทรวงฯ ร่วมอภิปรายในการสัมมนาด้วย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนามีทั้งผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน นักวิชาการ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ ด้วย
OSCE เป็นองค์การทางความมั่นคงองค์การหนึ่งในยุโรปที่ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความมั่นคงแบบบูรณาการ (comprehensive security) ซึ่งประกอบด้วยความมั่นคงด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยดำเนินการตามแนวทางการทูตเชิงป้องกัน (preventive diplomacy) การป้องกันการเกิดวิกฤติการณ์ (crisis prevention) การจัดการกับวิกฤติการณ์ (crisis management) และการ ฟื้นฟูสถานการณ์ภายหลังการเกิดวิกฤติการณ์ (post conflict rehabilitation) ซึ่งเป็นแนวทางที่ไทยให้ความสำคัญในการเสริมสร้างเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
OSCE เป็นองค์การที่พัฒนามาจากการประชุมว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Conference on Security and Cooperation in Europe-CSCE) ซึ่งเกิดจากการที่สหภาพโซเวียตเรียกร้องให้มีการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างฝ่ายตะวันตกและฝ่ายตะวันออกตั้งแต่ปี 2514 และต่อมาในการประชุมระดับผู้นำ OSCE ที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี มีการเปลี่ยนชื่อ CSCE เป็น OSCE ในปัจจุบัน OSCE ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 54 ประเทศ (ดังแนบ)
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมสัมมนาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และกรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ภายในวันที่ 26 กันยายน 2543 ที่กองยุโรป 1 กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา หมายเลขโทรศัพท์ 643-5145 และ 643-5147 หมายเลขโทรสาร 643-5140 และ 643-5146
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-