สหรัฐฯ เปิดตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในช่วงที่ 3 ภายใต้ความตกลงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มขององค์การการค้าโลก (WTO) มีปริมาณเทียบเท่ากับสามพันล้านตารางเมตร หรือร้อยละ 18.11 ของปริมาณการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปี 2533 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2545
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 สหรัฐฯ ได้แจ้งรายการสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จะเปิดตลาดเพิ่มขึ้นตามที่ตกลงไว้กับ WTO ประกอบด้วย เส้นด้าย เส้นใย ร้อยละ 3.26 ผ้าผืน ร้อยละ 3.91เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าสำเร็จรูป ร้อยละ 2.55 และของทำด้วยสิ่งทอ ร้อยละ 8.40 แผนการเปิดตลาดดังกล่าวเป็นไปตามประกาศที่สหรัฐฯ เคยแจ้งไว้เมื่อปี 2538 ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกโควตาสิ่งทอจำนวน 42 รายการ (category) ที่ถูกกำหนดไว้ภายใต้ข้อตกลงสองฝ่ายกับประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย ประมาณร้อยละ 15.98 ของสินค้าทั้งหมดที่ถูกจำกัดโควตา โดยมีสินค้าที่ไทยถูกจำกัดโควตา 7 รายการ ได้แก่ 607 (เส้นด้าย), 369-D (ผ้าเช็ดจานทำด้วยฝ้าย), 669-P (กระสอบโพลีเอสเตอร์) 331/631 (ถุงมือ), 359H /659 H (หมวก), 347/348/847 (การเกง) และ 335/635/835 (เสื้อโค้ตสตรี) ทั้งนี้ ในการเปิดตลาดช่วงที่ 1 สหรัฐฯ ไม่ได้นำสินค้าที่ถูกจำกัดโควตามาเปิดตลาด และในช่วงที่ 2 สหรัฐฯ นำสินค้าที่ถูกจำกัดโควตามาเปิดตลาดเพียงร้อยละ 3.54 ของปริมาณสินค้าที่ถูกจำกัดโควตา
ความตกลงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายใต้องค์การการค้าโลกกำหนดให้ประเทศผู้นำเข้าสิ่งทอต้องเปิดตลาดโดยการยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าสิ่งทออย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใน 10 ปี เริ่มตั้งแต่ความตกลงองค์การการค้าโลกมีผลใช้บังคับ (ต้นปี 2538) และนับจากปี 2548 เป็นต้นไป การค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของโลกจะเปิดเสรีอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของ WTO และไม่มีมาตรการจำกัดการนำเข้าอีกต่อไป การดำเนินการแบ่งเป็น 2 ส่วนคือการขยายโควตาและการปลดปล่อยสินค้าเข้าสู่การเปิดเสรี และจะดำเนินการ 3 ช่วง โดยช่วงที่ 3 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ซึ่งประเทศผู้นำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต้องนำสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมาปลดปล่อยสู่เสรีในปริมาณอย่างต่ำร้อยละ 18 ของปริมาณการนำเข้าในปี 2533 และสำหรับสินค้าที่มีโควตาก็ต้องขยายโควตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ของอัตราเพิ่มขึ้นในช่วงที่ 2
สินค้าที่ไทยถูกจำกัดโควตา 7 รายการที่สหรัฐฯ จะเปิดตลาดช่วงที่ 3 นี้ สินค้าที่ถูกปลดปล่อยทั้งรายการได้แก่ 369-D, 607 และ 669-P ส่วนรายการที่ปลดปล่อยบางส่วน ได้แก่ 331/631 เฉพาะถุงมือผ้ายืด, 359 H/659 H เฉพาะรายการ 359 H, 335/635/835 เฉพาะรายการ 835 ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณที่ถูกจำกัดโควตา และ 347/348/847 ปลดปล่อยเฉพาะรายการ 847 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณที่ถูกจำกัดโควตา ซึ่งการเปิดตลาดของสหรัฐฯ ในช่วงที่ 3 นี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการของไทยสามารถส่งออกสินค้าที่ไทยเคยถูกจำกัดโควตาได้มากขึ้น โดยเฉพาะรายการ 369-D ซึ่งไทยมีอัตราการใช้โควตาถึงร้อยละ 100.07 และรายการ 347/348/847 มีอัตราการใช้โควตาร้อยละ 106.50 ซึ่งถึงแม้สหรัฐฯ จะปลดปล่อยสินค้าเพียงเฉพาะรายการ 847 แต่ก็เปิดโอกาสให้ไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้น สินค้าที่ได้รับประโยชน์รองลงมาได้แก่รายการ 669-P, 331/631 และ 835 มีอัตราการใช้โควตาร้อยละ 84-95 ส่วนสินค้าที่ถูกปลดปล่อยในช่วงที่ 3 ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับไทยมากนัก ได้แก่ รายการ 607 และ 359 H ซึ่งไทยมีอัตราการใช้โควตาเพียงร้อยละ 25-29 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การยกเลิกโควตาสินค้าก็อาจส่งผลทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย เนื่องจาก ผู้ประกอบการที่เคยได้รับโควตาก็จะไม่ได้รับโควตาอีกต่อไปและต้องทำการค้าโดยแข่งขันอย่างเสรี ขณะเดียวกัน ประเทศคู่แข่งที่เคยถูกจำกัดโควตาก็จะสามารถส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นโดยไม่ถูกจำกัดปริมาณโควตาเช่นกัน ดังนั้น การแข่งขันจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการส่งออกไปสหรัฐฯ จะขึ้นกับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
สหภาพยุโรปได้แจ้งรายการสินค้าที่จะปลดปล่อยสู่เสรีในช่วงที่ 3 ต่อองค์การการค้าโลก เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 โดยมีปริมาณร้อยละ 18.08 ของปริมาณการนำเข้าในปี 2533 หรือร้อยละ 21.8 ของมูลค่านำเข้าสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าของสหภาพยุโรป แผนการเปิดตลาดดังกล่าวจะเป็นการยกเลิกโควตาสิ่งทอจำนวน 37 รายการหรือเท่ากับ 1 ใน 5 ของสินค้าที่ปัจจุบันถูกจำกัดโควตา โดยสินค้าที่ไทยถูกจำกัดโควตาที่จะได้รับการยกเลิกได้แก่ รายการ 21 (เสื้ออาโนรัก ของบุรุษ สตรี เด็กชายและเด็กหญิง ไม่ทอแบบนิต), 24 (ชุดนอนยาว เสื้อคลุมแต่งตัว เสื้อคลุมอาบน้ำ ของบุรุษและเด็กชาย และของสตรีและเด็กหญิง ทำด้วยฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ วัตถุทออื่นๆ ถักแบบนิต) และ 73 (ชุดวอร์ม ทำด้วยฝ้าย เส้นใยสังเคราะห์ วัตถุทออื่นๆ ถักแบบนิต) ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอัตราการใช้โควตาไม่มาก คือประมาณร้อยละ 20-40 ดังนั้น การเปิดตลาดช่วงที่ 3 ของสหภาพยุโรปคงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับไทยมากนัก นอกจากนั้น คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้เสนอขออำนาจจากคณะมนตรีในการเจรจากับประเทศคู่ค้าสิ่งทอสำหรับการเปิดตลาดเพิ่มเติมให้แก่ประเทศคู่ค้า ซึ่งนโยบายของสหภาพยุโรปจากนี้ไปจะยึดหลักให้ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดของตนเป็นการตอบแทน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มีนาคม 2544--
-ปส-
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 สหรัฐฯ ได้แจ้งรายการสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จะเปิดตลาดเพิ่มขึ้นตามที่ตกลงไว้กับ WTO ประกอบด้วย เส้นด้าย เส้นใย ร้อยละ 3.26 ผ้าผืน ร้อยละ 3.91เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าสำเร็จรูป ร้อยละ 2.55 และของทำด้วยสิ่งทอ ร้อยละ 8.40 แผนการเปิดตลาดดังกล่าวเป็นไปตามประกาศที่สหรัฐฯ เคยแจ้งไว้เมื่อปี 2538 ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกโควตาสิ่งทอจำนวน 42 รายการ (category) ที่ถูกกำหนดไว้ภายใต้ข้อตกลงสองฝ่ายกับประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย ประมาณร้อยละ 15.98 ของสินค้าทั้งหมดที่ถูกจำกัดโควตา โดยมีสินค้าที่ไทยถูกจำกัดโควตา 7 รายการ ได้แก่ 607 (เส้นด้าย), 369-D (ผ้าเช็ดจานทำด้วยฝ้าย), 669-P (กระสอบโพลีเอสเตอร์) 331/631 (ถุงมือ), 359H /659 H (หมวก), 347/348/847 (การเกง) และ 335/635/835 (เสื้อโค้ตสตรี) ทั้งนี้ ในการเปิดตลาดช่วงที่ 1 สหรัฐฯ ไม่ได้นำสินค้าที่ถูกจำกัดโควตามาเปิดตลาด และในช่วงที่ 2 สหรัฐฯ นำสินค้าที่ถูกจำกัดโควตามาเปิดตลาดเพียงร้อยละ 3.54 ของปริมาณสินค้าที่ถูกจำกัดโควตา
ความตกลงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายใต้องค์การการค้าโลกกำหนดให้ประเทศผู้นำเข้าสิ่งทอต้องเปิดตลาดโดยการยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าสิ่งทออย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใน 10 ปี เริ่มตั้งแต่ความตกลงองค์การการค้าโลกมีผลใช้บังคับ (ต้นปี 2538) และนับจากปี 2548 เป็นต้นไป การค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของโลกจะเปิดเสรีอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของ WTO และไม่มีมาตรการจำกัดการนำเข้าอีกต่อไป การดำเนินการแบ่งเป็น 2 ส่วนคือการขยายโควตาและการปลดปล่อยสินค้าเข้าสู่การเปิดเสรี และจะดำเนินการ 3 ช่วง โดยช่วงที่ 3 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ซึ่งประเทศผู้นำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต้องนำสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมาปลดปล่อยสู่เสรีในปริมาณอย่างต่ำร้อยละ 18 ของปริมาณการนำเข้าในปี 2533 และสำหรับสินค้าที่มีโควตาก็ต้องขยายโควตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ของอัตราเพิ่มขึ้นในช่วงที่ 2
สินค้าที่ไทยถูกจำกัดโควตา 7 รายการที่สหรัฐฯ จะเปิดตลาดช่วงที่ 3 นี้ สินค้าที่ถูกปลดปล่อยทั้งรายการได้แก่ 369-D, 607 และ 669-P ส่วนรายการที่ปลดปล่อยบางส่วน ได้แก่ 331/631 เฉพาะถุงมือผ้ายืด, 359 H/659 H เฉพาะรายการ 359 H, 335/635/835 เฉพาะรายการ 835 ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณที่ถูกจำกัดโควตา และ 347/348/847 ปลดปล่อยเฉพาะรายการ 847 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณที่ถูกจำกัดโควตา ซึ่งการเปิดตลาดของสหรัฐฯ ในช่วงที่ 3 นี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการของไทยสามารถส่งออกสินค้าที่ไทยเคยถูกจำกัดโควตาได้มากขึ้น โดยเฉพาะรายการ 369-D ซึ่งไทยมีอัตราการใช้โควตาถึงร้อยละ 100.07 และรายการ 347/348/847 มีอัตราการใช้โควตาร้อยละ 106.50 ซึ่งถึงแม้สหรัฐฯ จะปลดปล่อยสินค้าเพียงเฉพาะรายการ 847 แต่ก็เปิดโอกาสให้ไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้น สินค้าที่ได้รับประโยชน์รองลงมาได้แก่รายการ 669-P, 331/631 และ 835 มีอัตราการใช้โควตาร้อยละ 84-95 ส่วนสินค้าที่ถูกปลดปล่อยในช่วงที่ 3 ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับไทยมากนัก ได้แก่ รายการ 607 และ 359 H ซึ่งไทยมีอัตราการใช้โควตาเพียงร้อยละ 25-29 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การยกเลิกโควตาสินค้าก็อาจส่งผลทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย เนื่องจาก ผู้ประกอบการที่เคยได้รับโควตาก็จะไม่ได้รับโควตาอีกต่อไปและต้องทำการค้าโดยแข่งขันอย่างเสรี ขณะเดียวกัน ประเทศคู่แข่งที่เคยถูกจำกัดโควตาก็จะสามารถส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นโดยไม่ถูกจำกัดปริมาณโควตาเช่นกัน ดังนั้น การแข่งขันจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการส่งออกไปสหรัฐฯ จะขึ้นกับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
สหภาพยุโรปได้แจ้งรายการสินค้าที่จะปลดปล่อยสู่เสรีในช่วงที่ 3 ต่อองค์การการค้าโลก เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 โดยมีปริมาณร้อยละ 18.08 ของปริมาณการนำเข้าในปี 2533 หรือร้อยละ 21.8 ของมูลค่านำเข้าสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าของสหภาพยุโรป แผนการเปิดตลาดดังกล่าวจะเป็นการยกเลิกโควตาสิ่งทอจำนวน 37 รายการหรือเท่ากับ 1 ใน 5 ของสินค้าที่ปัจจุบันถูกจำกัดโควตา โดยสินค้าที่ไทยถูกจำกัดโควตาที่จะได้รับการยกเลิกได้แก่ รายการ 21 (เสื้ออาโนรัก ของบุรุษ สตรี เด็กชายและเด็กหญิง ไม่ทอแบบนิต), 24 (ชุดนอนยาว เสื้อคลุมแต่งตัว เสื้อคลุมอาบน้ำ ของบุรุษและเด็กชาย และของสตรีและเด็กหญิง ทำด้วยฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ วัตถุทออื่นๆ ถักแบบนิต) และ 73 (ชุดวอร์ม ทำด้วยฝ้าย เส้นใยสังเคราะห์ วัตถุทออื่นๆ ถักแบบนิต) ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอัตราการใช้โควตาไม่มาก คือประมาณร้อยละ 20-40 ดังนั้น การเปิดตลาดช่วงที่ 3 ของสหภาพยุโรปคงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับไทยมากนัก นอกจากนั้น คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้เสนอขออำนาจจากคณะมนตรีในการเจรจากับประเทศคู่ค้าสิ่งทอสำหรับการเปิดตลาดเพิ่มเติมให้แก่ประเทศคู่ค้า ซึ่งนโยบายของสหภาพยุโรปจากนี้ไปจะยึดหลักให้ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดของตนเป็นการตอบแทน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มีนาคม 2544--
-ปส-