นายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะอดีตอัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงปักกิ่ง ได้เสนอแนะให้ไทยใช้วิธีการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศกับจีนเป็นกลยุทธ์นำในการปูพื้นเจาะตลาดสินค้าเข้าจีน
นายพิษณุ เหรียญมหาสาร กล่าวว่าในโอกาสที่จีนกำลังจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ภายในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้านั้น สิ่งที่ไทยต้องเตรียมตัวล่วงหน้าคือ การขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและทางเศรษฐกิจกับจีนให้แนบแน่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเร่งขยายการลงทุนกับจีนเป็นสำคัญ ซึ่งไทยจะมัวแต่รีรอต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เนื่องจากไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ ได้ก้าวรุดหน้าด้านการเข้าไปลงทุนในจีนอย่างรวดเร็วยิ่ง กล่าวคือ ในปี 2543 ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์มีการลงทุนในจีนจำนวน 15,500 2,600 และ 2,173 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าการลงทุนในจีนของไทยมีเพียงประมาณ 204 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น
นายพิษณุ เหรียญมหาสาร กล่าวถึงการร่วมลงทุนในจีนว่า จะต้องเน้นการร่วมลงทุนไทย-จีน ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค สำหรับตลาดจีนซึ่งมีประชาชนกว่า 1,300 ล้านคน เป็นอันดับแรก และบางส่วนสำหรับส่งเข้าตลาดที่ 3 ทั้งนี้ ให้เน้นผลิตสินค้าที่ไทยยังได้เปรียบด้านเทคโนโลยีการผลิต เช่น อาหาร น้ำตาล เครื่องนุ่งห่มที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูง เป็นสินค้าระดับบนสำหรับลูกค้าคนจีนที่มีฐานะร่ำรวย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของประชากรจีน หรือกว่า 100 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจรุดหน้า ได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง และเมืองพัฒนาในมณฑลริมทะเลต่าง ๆ นอกจากนี้ ควรเน้นผลิตสินค้าที่มีการใช้สึกหรอตลอดเวลา ได้แก่ อะไหล่รถยนต์ โดยเน้นการผลิตสินค้าคุณภาพ (high-end products) ซึ่งขณะนี้ได้รับการยอมรับจากจีนว่าอะไหล่รถยนต์จากไทยมีคุณภาพได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดจีน
นายพิษณุ เหรียญมหาสาร กล่าวในที่สุดว่า อันที่จริงแล้ว เรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีน จัดได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ที่สนิทแนบแน่นที่สุดในโลก เพราะมีชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น นักลงทุนไทยต้องรีบฉวยโอกาสนำความแนบแน่นดังกล่าวมาปรับให้กลายเป็นความได้เปรียบของไทยที่จะฉกฉวยให้เกิดการสร้างผลประโยชน์ร่วมจากการลงทุนให้แก่ไทย-จีนต่อไป ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอคำปรึกษาและข้อเสนอแนะได้จากสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปักกิ่ง สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ กรุงปักกิ่ง หรือแม้แต่สำนักงานพาณิชย์ของสถานเอกอัครราชทูตจีน ประจำกรุงเทพฯ ทั้งนี้ เพื่อความรอบคอบและเชื่อมั่นในการลงทุนกับจีนต่อไป
--กรมการค้าต่างประเทศ มิถุนายน 2547--
-อน-
นายพิษณุ เหรียญมหาสาร กล่าวว่าในโอกาสที่จีนกำลังจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ภายในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้านั้น สิ่งที่ไทยต้องเตรียมตัวล่วงหน้าคือ การขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและทางเศรษฐกิจกับจีนให้แนบแน่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเร่งขยายการลงทุนกับจีนเป็นสำคัญ ซึ่งไทยจะมัวแต่รีรอต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เนื่องจากไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ ได้ก้าวรุดหน้าด้านการเข้าไปลงทุนในจีนอย่างรวดเร็วยิ่ง กล่าวคือ ในปี 2543 ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์มีการลงทุนในจีนจำนวน 15,500 2,600 และ 2,173 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าการลงทุนในจีนของไทยมีเพียงประมาณ 204 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น
นายพิษณุ เหรียญมหาสาร กล่าวถึงการร่วมลงทุนในจีนว่า จะต้องเน้นการร่วมลงทุนไทย-จีน ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค สำหรับตลาดจีนซึ่งมีประชาชนกว่า 1,300 ล้านคน เป็นอันดับแรก และบางส่วนสำหรับส่งเข้าตลาดที่ 3 ทั้งนี้ ให้เน้นผลิตสินค้าที่ไทยยังได้เปรียบด้านเทคโนโลยีการผลิต เช่น อาหาร น้ำตาล เครื่องนุ่งห่มที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูง เป็นสินค้าระดับบนสำหรับลูกค้าคนจีนที่มีฐานะร่ำรวย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของประชากรจีน หรือกว่า 100 ล้านคน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจรุดหน้า ได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง และเมืองพัฒนาในมณฑลริมทะเลต่าง ๆ นอกจากนี้ ควรเน้นผลิตสินค้าที่มีการใช้สึกหรอตลอดเวลา ได้แก่ อะไหล่รถยนต์ โดยเน้นการผลิตสินค้าคุณภาพ (high-end products) ซึ่งขณะนี้ได้รับการยอมรับจากจีนว่าอะไหล่รถยนต์จากไทยมีคุณภาพได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดจีน
นายพิษณุ เหรียญมหาสาร กล่าวในที่สุดว่า อันที่จริงแล้ว เรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีน จัดได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ที่สนิทแนบแน่นที่สุดในโลก เพราะมีชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น นักลงทุนไทยต้องรีบฉวยโอกาสนำความแนบแน่นดังกล่าวมาปรับให้กลายเป็นความได้เปรียบของไทยที่จะฉกฉวยให้เกิดการสร้างผลประโยชน์ร่วมจากการลงทุนให้แก่ไทย-จีนต่อไป ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอคำปรึกษาและข้อเสนอแนะได้จากสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปักกิ่ง สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ กรุงปักกิ่ง หรือแม้แต่สำนักงานพาณิชย์ของสถานเอกอัครราชทูตจีน ประจำกรุงเทพฯ ทั้งนี้ เพื่อความรอบคอบและเชื่อมั่นในการลงทุนกับจีนต่อไป
--กรมการค้าต่างประเทศ มิถุนายน 2547--
-อน-