บทสรุปสำหรับนักลงทุน
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูป เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร (Agro-Industry) ที่ช่วยสนับสนุนภาคเกษตรทั้งการเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารต่าง ๆ ตลอดจนเป็นแหล่งรองรับผลผลิตพืชไร่ที่สำคัญ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบถึงกว่าร้อยละ 90 ของต้นทุนการผลิต ในที่นี้ศึกษาเฉพาะอาหารสำหรับสัตว์บก ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด และสุกร ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญ เนื่องจากมีการผลิตมากที่สุด และใช้วัตถุดิบหลักเหมือนกัน เพียงแต่เปลี่ยนแปลงสัดส่วนวัตถุดิบตามสูตรอาหารสัตว์แต่ละชนิดเท่านั้น
ความต้องการอาหารสัตว์ในประเทศขึ้นอยู่กับปริมาณการเลี้ยงสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่เนื้อ และสุกรที่มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 76 ของปริมาณการเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด ขณะที่การส่งออกและนำเข้าอาหารสัตว์มีสัดส่วนน้อยมากเพียงร้อยละ 1-2 เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ในประเทศซึ่งเป็นตลาดหลัก ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศในแถบเอเชีย ขณะที่มีตลาดนำเข้าหลักมาจากสหรัฐฯ ในช่วงปี 2538-2542 มูลค่าตลาดอาหารสัตว์ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.6 ต่อปี จาก 73,338 ล้านบาทในปี 2538 เป็น 58,139 ล้านบาทในปี 2542 ตามปริมาณการเลี้ยงสัตว์ในประเทศที่ลดลงโดยเฉพาะสุกร กอปรกับราคาอาหารสัตว์ปรับตัวลดลงด้วย ขณะเดียวกันมูลค่าส่งออกก็ลดลงด้วย
แนวโน้มในปี 2543-2544 คาดว่าปริมาณการใช้อาหารสัตว์ในประเทศจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.8 ต่อปี เป็น 7.5 และ 7.6 ล้านตัน ตามลำดับ ตามปริมาณการเลี้ยงสัตว์ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคาดว่าราคาจำหน่ายอาหารสัตว์ในปี 2543 จะลดลงเล็กน้อย ตามราคาวัตถุดิบที่ลดลง แต่ในปี 2544 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าตลาดอาหารสัตว์ในประเทศในปี 2543-2544 จะปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 1.9 และ 2.4 เป็น 57,863 และ 59,232 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในช่วงปี 2543-2544 คาดว่ามูลค่าส่งออกจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 7.6 ต่อปี เป็น 1,197 และ 1,147 ล้านบาทในปี 2543-2544 ตามลำดับ ตามปริมาณและราคาที่ลดลง เช่นเดียวกับมูลค่าการนำเข้าที่คาดว่าจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 22.7 ต่อปี เป็น 1,875 และ 1,800 ล้านบาท ในปี 2543-2544 ตามลำดับ ดังนั้น ความต้องการรวมอาหารสัตว์ทั้งหมดทั้งจากการใช้ในประเทศและการส่งออกในปี 2543-2544 จะอยู่ที่ 7.57 และ 7.62 ล้านตัน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 เฉลี่ยร้อยละ 1.4 ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 59,060 และ 60,379 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 เฉลี่ยร้อยละ 1.9 ต่อปี
ในการลงทุนประกอบกิจการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป ขนาดกำลังการผลิต 30,000 ตัน/เดือน จะใช้เงินลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 350 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียน 50-60 ล้านบาท/เดือน โดยโครงสร้างต้นทุนการผลิตเป็นค่าวัตถุดิบถึงร้อยละ 95 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด รองลงมา คือ ค่าแรงงาน และค่าโสหุ้ยการผลิต ร้อยละ 1.5 และ 3.5 ตามลำดับ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูป เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร (Agro-Industry) ที่ช่วยสนับสนุนภาคเกษตรทั้งการเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารต่าง ๆ ตลอดจนเป็นแหล่งรองรับผลผลิตพืชไร่ที่สำคัญ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบถึงกว่าร้อยละ 90 ของต้นทุนการผลิต ในที่นี้ศึกษาเฉพาะอาหารสำหรับสัตว์บก ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด และสุกร ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญ เนื่องจากมีการผลิตมากที่สุด และใช้วัตถุดิบหลักเหมือนกัน เพียงแต่เปลี่ยนแปลงสัดส่วนวัตถุดิบตามสูตรอาหารสัตว์แต่ละชนิดเท่านั้น
ความต้องการอาหารสัตว์ในประเทศขึ้นอยู่กับปริมาณการเลี้ยงสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่เนื้อ และสุกรที่มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 76 ของปริมาณการเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด ขณะที่การส่งออกและนำเข้าอาหารสัตว์มีสัดส่วนน้อยมากเพียงร้อยละ 1-2 เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ในประเทศซึ่งเป็นตลาดหลัก ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศในแถบเอเชีย ขณะที่มีตลาดนำเข้าหลักมาจากสหรัฐฯ ในช่วงปี 2538-2542 มูลค่าตลาดอาหารสัตว์ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.6 ต่อปี จาก 73,338 ล้านบาทในปี 2538 เป็น 58,139 ล้านบาทในปี 2542 ตามปริมาณการเลี้ยงสัตว์ในประเทศที่ลดลงโดยเฉพาะสุกร กอปรกับราคาอาหารสัตว์ปรับตัวลดลงด้วย ขณะเดียวกันมูลค่าส่งออกก็ลดลงด้วย
แนวโน้มในปี 2543-2544 คาดว่าปริมาณการใช้อาหารสัตว์ในประเทศจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.8 ต่อปี เป็น 7.5 และ 7.6 ล้านตัน ตามลำดับ ตามปริมาณการเลี้ยงสัตว์ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคาดว่าราคาจำหน่ายอาหารสัตว์ในปี 2543 จะลดลงเล็กน้อย ตามราคาวัตถุดิบที่ลดลง แต่ในปี 2544 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าตลาดอาหารสัตว์ในประเทศในปี 2543-2544 จะปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 1.9 และ 2.4 เป็น 57,863 และ 59,232 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในช่วงปี 2543-2544 คาดว่ามูลค่าส่งออกจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 7.6 ต่อปี เป็น 1,197 และ 1,147 ล้านบาทในปี 2543-2544 ตามลำดับ ตามปริมาณและราคาที่ลดลง เช่นเดียวกับมูลค่าการนำเข้าที่คาดว่าจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 22.7 ต่อปี เป็น 1,875 และ 1,800 ล้านบาท ในปี 2543-2544 ตามลำดับ ดังนั้น ความต้องการรวมอาหารสัตว์ทั้งหมดทั้งจากการใช้ในประเทศและการส่งออกในปี 2543-2544 จะอยู่ที่ 7.57 และ 7.62 ล้านตัน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 เฉลี่ยร้อยละ 1.4 ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 59,060 และ 60,379 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 เฉลี่ยร้อยละ 1.9 ต่อปี
ในการลงทุนประกอบกิจการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป ขนาดกำลังการผลิต 30,000 ตัน/เดือน จะใช้เงินลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 350 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียน 50-60 ล้านบาท/เดือน โดยโครงสร้างต้นทุนการผลิตเป็นค่าวัตถุดิบถึงร้อยละ 95 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด รองลงมา คือ ค่าแรงงาน และค่าโสหุ้ยการผลิต ร้อยละ 1.5 และ 3.5 ตามลำดับ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--