1.สถานการณ์สินค้า
1.1สินค้าที่มีปัญหา
ทุเรียน : มาตรการของรัฐไร้ผล ราคาทุเรียนยังตกต่ำ
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 ได้มีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 135.5 ล้านบาท เพื่อดำเนินการแทรกแซงตลาดทุเรียนภาคตะวันออก ปี 2543 กำหนดราคาเป้าหมายนำตลาด ทุเรียนพันธุ์หมอนทองกิโลกรัมละ 18 บาท พันธุ์ชะนีกิโลกรัมละ 11 บาท โดยให้กรมวิชาการเกษตรจำนวน 120 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียน นำไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรในราคานำตลาด แล้วไปแช่เยือกแข็งเพื่อรอการจำหน่ายต่อไป และนำไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการ/สถาบันเกษตรกรยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรในราคานำตลาดแล้วนำไปแปรรูปเป็นทุเรียนกวนและทุเรียนทอดกรอบ จำนวน 13.5 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรในราคานำตลาดเพื่อระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต จำนวน 2 ล้านบาท เป็นเงินจ่ายขาด เป็นค่าใช้จ่ายด้านสถานที่ ค่าสาธารณูปโภค การประชาสัมพันธ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำหรับดำเนินการระบายทุเรียนออกจากแหล่งผลิต โดยจัดตั้งศูนย์รวบรวมผลผลิต ณ แหล่งผลิตและศูนย์กระจาย ณ จังหวัดบริโภคปลายทาง นั้น
อย่างไรก็ตาม ราคาที่เกษตรกรขายได้ที่สวนในสัปดาห์นี้ สำหรับทุเรียนพันธุ์ชะนีขนาดคละกิโลกรัมละ 3-4 บาท พันธุ์หมอนทองคละกิโลกรัมละ 10-11 บาท ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 7.77 บาท และ 15.47 บาท ซึ่งไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตโดยพันธุ์ชะนีอยู่ที่ระดับกิโลกรัมละ 9.56 บาท และพันธุ์หมอนทองกิโลกรัมละ 12.23 บาท สาเหตุที่ราคาตกต่ำเนื่องจากคุณภาพผลผลิตไม่ดี เพราะสภาวะอากาศแปรปรวน ฝนตกชุก และอากาศร้อนจัดในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะพันธุ์ชะนี ทำให้คุณภาพเนื้อเป็นเต่าเผา และเนื้อเป็นแกนในผลเดียวกัน รวมทั้งรสชาติของเนื้อทุเรียนไม่หวานเหมือนเช่นที่ผ่านมา ประกอบกับในช่วงต้นฤดูเมษายนมีการตัดทุเรียนอ่อนเพื่อส่งออก ส่งผลให้ราคาทุเรียนในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะฮ่องกงและสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นตลาดรองรับที่สำคัญราคาได้ลดต่ำลงมากและอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 120 - 180 บาท เหลือเพียงกิโลกรัมละ 25-50 บาทในปัจจุบัน
แม้ว่า คชก. ได้มีมติให้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้น แต่เนื่องจากมีความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินจึงยังไม่สามารถปฏิบัติได้ ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
หอมหัวใหญ่ : ราคาหอมหัวใหญ่ตกต่ำ
ขณะนี้ ราคาหอมหัวใหญ่ที่เกษตรกรขายได้เดือนพฤษภาคมในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กิโลกรัมละ 5.00 บาท เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงระยะเวลาเดียวกัน กิโลกรัมละ 9.50 บาท ราคาลดลงร้อยละ 43.37 ขณะที่ผลผลิตคงเหลืออยู่ในมือเกษตรกร ประมาณ 13,000 ตัน จึงทำให้เกษตรกรเรียกร้องให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคาหอมหัวใหญ่ตกต่ำในปีนี้ โดยขอให้รัฐบาลแทรกแซงรับซื้อหอมหัวใหญ่ในราคากิโลกรัมละ 8.50 บาท รวมทั้งปราบปรามการลักลอบนำเข้าหอมหัวใหญ่จากต่างประเทศด้วย ในการแก้ไขปัญหานี้ คชก. ได้อนุมัติเงิน จำนวน 67 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ดำเนินการแทรกแซงตลาดหอมหัวใหญ่ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วจำนวน 43.875 ล้านบาท
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 22 - 28 พ.ค. 2543--
-อน-
1.1สินค้าที่มีปัญหา
ทุเรียน : มาตรการของรัฐไร้ผล ราคาทุเรียนยังตกต่ำ
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 ได้มีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 135.5 ล้านบาท เพื่อดำเนินการแทรกแซงตลาดทุเรียนภาคตะวันออก ปี 2543 กำหนดราคาเป้าหมายนำตลาด ทุเรียนพันธุ์หมอนทองกิโลกรัมละ 18 บาท พันธุ์ชะนีกิโลกรัมละ 11 บาท โดยให้กรมวิชาการเกษตรจำนวน 120 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียน นำไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรในราคานำตลาด แล้วไปแช่เยือกแข็งเพื่อรอการจำหน่ายต่อไป และนำไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการ/สถาบันเกษตรกรยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรในราคานำตลาดแล้วนำไปแปรรูปเป็นทุเรียนกวนและทุเรียนทอดกรอบ จำนวน 13.5 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรในราคานำตลาดเพื่อระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต จำนวน 2 ล้านบาท เป็นเงินจ่ายขาด เป็นค่าใช้จ่ายด้านสถานที่ ค่าสาธารณูปโภค การประชาสัมพันธ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำหรับดำเนินการระบายทุเรียนออกจากแหล่งผลิต โดยจัดตั้งศูนย์รวบรวมผลผลิต ณ แหล่งผลิตและศูนย์กระจาย ณ จังหวัดบริโภคปลายทาง นั้น
อย่างไรก็ตาม ราคาที่เกษตรกรขายได้ที่สวนในสัปดาห์นี้ สำหรับทุเรียนพันธุ์ชะนีขนาดคละกิโลกรัมละ 3-4 บาท พันธุ์หมอนทองคละกิโลกรัมละ 10-11 บาท ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 7.77 บาท และ 15.47 บาท ซึ่งไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตโดยพันธุ์ชะนีอยู่ที่ระดับกิโลกรัมละ 9.56 บาท และพันธุ์หมอนทองกิโลกรัมละ 12.23 บาท สาเหตุที่ราคาตกต่ำเนื่องจากคุณภาพผลผลิตไม่ดี เพราะสภาวะอากาศแปรปรวน ฝนตกชุก และอากาศร้อนจัดในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะพันธุ์ชะนี ทำให้คุณภาพเนื้อเป็นเต่าเผา และเนื้อเป็นแกนในผลเดียวกัน รวมทั้งรสชาติของเนื้อทุเรียนไม่หวานเหมือนเช่นที่ผ่านมา ประกอบกับในช่วงต้นฤดูเมษายนมีการตัดทุเรียนอ่อนเพื่อส่งออก ส่งผลให้ราคาทุเรียนในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะฮ่องกงและสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นตลาดรองรับที่สำคัญราคาได้ลดต่ำลงมากและอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 120 - 180 บาท เหลือเพียงกิโลกรัมละ 25-50 บาทในปัจจุบัน
แม้ว่า คชก. ได้มีมติให้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้น แต่เนื่องจากมีความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินจึงยังไม่สามารถปฏิบัติได้ ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
หอมหัวใหญ่ : ราคาหอมหัวใหญ่ตกต่ำ
ขณะนี้ ราคาหอมหัวใหญ่ที่เกษตรกรขายได้เดือนพฤษภาคมในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กิโลกรัมละ 5.00 บาท เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงระยะเวลาเดียวกัน กิโลกรัมละ 9.50 บาท ราคาลดลงร้อยละ 43.37 ขณะที่ผลผลิตคงเหลืออยู่ในมือเกษตรกร ประมาณ 13,000 ตัน จึงทำให้เกษตรกรเรียกร้องให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคาหอมหัวใหญ่ตกต่ำในปีนี้ โดยขอให้รัฐบาลแทรกแซงรับซื้อหอมหัวใหญ่ในราคากิโลกรัมละ 8.50 บาท รวมทั้งปราบปรามการลักลอบนำเข้าหอมหัวใหญ่จากต่างประเทศด้วย ในการแก้ไขปัญหานี้ คชก. ได้อนุมัติเงิน จำนวน 67 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ดำเนินการแทรกแซงตลาดหอมหัวใหญ่ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วจำนวน 43.875 ล้านบาท
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 22 - 28 พ.ค. 2543--
-อน-