กรุงเทพฯ--19 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่มีรายงานข่าวในสื่อมวลชนไทยเกี่ยวกับการลงทุนของกลุ่ม bin Laden และ ขบวนการทาลิบัน
กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งภูมิหลังและท่าทีของไทยต่อขบวนการทาลิบัน ดังนี้
1. ภูมิหลัง
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 1996 กลุ่มกองกำลังทาลิบัน (Taleban) ได้เข้ายึดกรุงคาบูล เมืองหลวงอัฟกานิสถานจากการควบคุมของกองกำลังของนาย Burhanuddin Rabbani อดีต ประธานาธิบดีอัฟกานิสถานที่ดำรงตำแหน่งหลังจากการถอนกำลังทหารของอดีตสหภาพโซเวียตใน ปี 1992 ซึ่งต่อมากลุ่มกองกำลัง Teleban ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้นปกครองอัฟกานิสถาน โดยมีนาย Mullah Mohammad Omar เป็นผู้นำ
- ปัจจุบัน สงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มรัฐบาลชั่วคราวกับกลุ่ม United Front ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรของอดีตประธานาธิบดี Rabbani ได้ดำเนินมานานกว่าสองทศวรรษ โดยขณะนี้กลุ่มรัฐบาลชั่วคราวได้ครอบครองพื้นที่เกือบทั้งประเทศ (90 ประเทศ) และได้ประกาศใช้กฎหมาย อิสลามแบบเข้มงวดในการปกครองประเทศ
- หลายฝ่ายพยายามที่จะนำกลุ่มขัดแย้งทั้งสองมาเจรจาเพื่อยุติสงครามกลางเมือง องค์การสหประชาชาติร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านของอัฟกานิสถาน ได้พยายามจัดการเจรจาสันติภาพขึ้นที่กรุง Ashkabad ประเทศ Turkmenistan เมื่อเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มขัดแย้งทั้งสองสามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การหยุดยิง การแลกเปลี่ยนนักโทษ และการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต ปากีสถานและ Uzbekistan ก็พยายามเป็นผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ไขปัญหาในอัฟกานิสสถาน แต่ความพยายามดังกล่าวต้องประสบกับภาวะชะงักงัน เนื่องจากกลุ่มขัดแย้งทั้งสองไม่มีท่าทีที่จะประนีประนอมให้แก่กัน
- เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542 สหรัฐอเมริกาประกาศมาตรการคว่ำบาตรทาง เศรษฐกิจและการเงินต่อกลุ่มกองกำลัง Taleban แต่ฝ่ายเดียว โดยโยงกับการที่นาย Osama bin Laden ผู้ซึ่งอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ลอบวางระเบิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศเคนยา และแทนซาเนียเมื่อปี 2541 ได้หลบซ่อนอยู่ในพื้นที่ควบคุมของกลุ่มกองกำลัง Taleban ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2542 คณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้มีข้อมติที่ 1267 (1999) ให้ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรด้านการเดินทางและการเงินต่อกลุ่มกองกำลัง Teleban ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2542 เนื่องจากกลุ่ม Taleban ไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการส่งตัวนาย Bin Laden ให้ไปดำเนินคดีในสหรัฐฯ
2. อัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของกลุ่มทาลิบัน
- อัฟกานิสถานในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่รุนแรงซึ่งมีผล กระทบต่อประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ กลุ่มทาลิบันยังมีข้อขัดแย้งกับรัสเซียเป็นระยะ ๆ เกี่ยวกับกรณีการให้การสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงในเชคเซน และมีปัญหากับ Uzbekistan ในเรื่องการรุกล้ำเข้ามาในเขตน่านฟ้าของอัฟกานิสถาน ทั้งยังประสบกับภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ส่งความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าวเป็นระยะ ๆ ปัจจุบัน สถานการณ์การสู้รบในอัฟกานิสถานยังไม่สิ้นสุด และยังคง ดำเนินต่อไป ตราบใดที่กลุ่ม Teleban และกลุ่ม United Front ยังไม่สามารถหาทางประนีประนอมระหว่างกันได้
- อนึ่ง อัฟกานิสถานปัจจุบันเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเฮโรอีนรายใหญ่และ เชื่อว่ายังคงให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้ก่อการร้ายหลาย ๆ กลุ่มอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีผลกระทบและภัยคุกคาม ต่อประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นเดือนเมษายน 2543 รัฐบาลทาลิบันได้ทำลายพื้นที่เพาะปลูกฝิ่นจำนวน 160 เฮคเตอร์ ตามที่ได้ให้คำสัญญากับองค์การ สหประชาชาติที่ลดการผลิตฝิ่นลงถึงใน 1 ใน 3 ของการผลิตทั้งหมด
3. สถานะล่าสุด
- เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2543 กองกำลังทาลิบันได้แถลงว่า ขณะนี้รัฐบาล ทาลิบันได้ออกมาตราการต่าง ๆ กับนาย Osama bin Laden พร้อมกับกล่าวว่า รัฐบาลทาลิบันพร้อมที่จะเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพื่อแก้ไขปัญหา แถลงการณ์ดังกล่าวนี้ได้มีขึ้นหลังจากที่ การที่สหรัฐฯ และรัสเซียประกาศทีจะร่วมมือกันจัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาอัฟกานิสถาน เนื่องจากรัสเซียมีความเชื่อว่า กลุ่มทาลิบันมีส่วนช่วยฝึกนักรบฝึกนักรบมูจาฮิดีนเพื่อให้ไปสู้รบใน Chehnya และ เอเชียกลางในขณะที่สหรัฐฯ ต้องการตัวนาย Osama bin Laden
- กองกำลังทาลิบันเรียกร้องประชาคมโลกให้รับรองรัฐบาลทาลิบันและประสงค์ ที่จะขอที่นั่งของอัฟกานิสถานในองค์การสหประชาชาติคืนจากฝ่ายอดีตประธานาธิบดี Rabbani
- ตุลาคม 2542 คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 1267 (1999) ให้คว่ำบาตรการเดินทางและการเงินต่อกลุ่มกองกำลัง Teleban เนื่องจากไม่ส่งมอบ นาย bin Laden ไปดำเนินคดีในสหรัฐฯ
- 19 ธันวาคม 2543 คณะมนตรีความมั่นคงฯมีข้อมติที่ 1333 (2000) ให้สมาชิก UN ทุกประเทศดำเนินการดังนี้
1. คว่ำบาตรอาวุธยุทโธปกรณ์ทุกชนิดต่อ Taleban
2. ให้ทุกประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ Taleban ลดจำนวนเจ้าหน้าที่ การทูตและปิดสำนักงานตัวแทน Taleban ที่ตั้งในประเทศให้หมดรวมทั้ง สำนักงานสายการบิน Ariana Afghan Airlines
3. ห้ามให้เครื่องบินที่บินไป-มาจากเขตควบคุมของ Taleban ลงจอด
4. ระงับการเคลื่อนย้ายทุนทรัพย์สิน ทางการเงินของนาย Osama bin Laden พรรคพวกและองค์กรในเครือข่าย
5. ป้องกันการขาย จัดหา เคลื่อนย้ายน้ำยา acetic anhydride ซึ่งใช้ในการผลิต เฮโรอีนให้แก่บุคคลในเขตควบคุมของ Taleban เพราะรายได้จากการค้า ยาเสพติดได้ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมก่อการร้าย
6. องค์กรและหน่วยงานบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมสำหรับอัฟกานิสถานจะได้ รับการยกเว้นมาตรการคว่ำบาตรทางการบินและการส่งสินค้า โดยมีคณะ กรรมการผู้ดูแลการคว่ำบาตรอัฟกานิสถานของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เป็นผู้ควบคุมดูแลบัญชีรายชื่อและการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้
7. ข้อมตินี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 มกราคม 2544 โดยคณะมนตรีความมั่นคง จะทบทวนภายในหนึ่งปี หากกลุ่ม Taleban ได้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องใน การส่งตัวนาย bin Laden มาดำเนินคดี
- ประเทศไทยมีพันธะผูกพันตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ และกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อมติมา โดยตลอด โดยล่าสุดได้เสนอ ครม.อนุมัติเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 และได้มีหนังสือแจ้งการ ดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ ที่ 133/2000 แก่ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการ สมช. ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการในส่วนที่ เกี่ยวข้องแล้ว
- ในปัจจุบันประเทศไทยยังระงับความสัมพันธ์ทางการทูตกับอัฟกานิสถานและ ไม่ให้การรับรองแก่กลุ่ม Taleban
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่มีรายงานข่าวในสื่อมวลชนไทยเกี่ยวกับการลงทุนของกลุ่ม bin Laden และ ขบวนการทาลิบัน
กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งภูมิหลังและท่าทีของไทยต่อขบวนการทาลิบัน ดังนี้
1. ภูมิหลัง
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 1996 กลุ่มกองกำลังทาลิบัน (Taleban) ได้เข้ายึดกรุงคาบูล เมืองหลวงอัฟกานิสถานจากการควบคุมของกองกำลังของนาย Burhanuddin Rabbani อดีต ประธานาธิบดีอัฟกานิสถานที่ดำรงตำแหน่งหลังจากการถอนกำลังทหารของอดีตสหภาพโซเวียตใน ปี 1992 ซึ่งต่อมากลุ่มกองกำลัง Teleban ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้นปกครองอัฟกานิสถาน โดยมีนาย Mullah Mohammad Omar เป็นผู้นำ
- ปัจจุบัน สงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มรัฐบาลชั่วคราวกับกลุ่ม United Front ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรของอดีตประธานาธิบดี Rabbani ได้ดำเนินมานานกว่าสองทศวรรษ โดยขณะนี้กลุ่มรัฐบาลชั่วคราวได้ครอบครองพื้นที่เกือบทั้งประเทศ (90 ประเทศ) และได้ประกาศใช้กฎหมาย อิสลามแบบเข้มงวดในการปกครองประเทศ
- หลายฝ่ายพยายามที่จะนำกลุ่มขัดแย้งทั้งสองมาเจรจาเพื่อยุติสงครามกลางเมือง องค์การสหประชาชาติร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านของอัฟกานิสถาน ได้พยายามจัดการเจรจาสันติภาพขึ้นที่กรุง Ashkabad ประเทศ Turkmenistan เมื่อเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มขัดแย้งทั้งสองสามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การหยุดยิง การแลกเปลี่ยนนักโทษ และการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคต ปากีสถานและ Uzbekistan ก็พยายามเป็นผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ไขปัญหาในอัฟกานิสสถาน แต่ความพยายามดังกล่าวต้องประสบกับภาวะชะงักงัน เนื่องจากกลุ่มขัดแย้งทั้งสองไม่มีท่าทีที่จะประนีประนอมให้แก่กัน
- เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542 สหรัฐอเมริกาประกาศมาตรการคว่ำบาตรทาง เศรษฐกิจและการเงินต่อกลุ่มกองกำลัง Taleban แต่ฝ่ายเดียว โดยโยงกับการที่นาย Osama bin Laden ผู้ซึ่งอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ลอบวางระเบิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศเคนยา และแทนซาเนียเมื่อปี 2541 ได้หลบซ่อนอยู่ในพื้นที่ควบคุมของกลุ่มกองกำลัง Taleban ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2542 คณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้มีข้อมติที่ 1267 (1999) ให้ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรด้านการเดินทางและการเงินต่อกลุ่มกองกำลัง Teleban ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2542 เนื่องจากกลุ่ม Taleban ไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการส่งตัวนาย Bin Laden ให้ไปดำเนินคดีในสหรัฐฯ
2. อัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของกลุ่มทาลิบัน
- อัฟกานิสถานในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่รุนแรงซึ่งมีผล กระทบต่อประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ กลุ่มทาลิบันยังมีข้อขัดแย้งกับรัสเซียเป็นระยะ ๆ เกี่ยวกับกรณีการให้การสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงในเชคเซน และมีปัญหากับ Uzbekistan ในเรื่องการรุกล้ำเข้ามาในเขตน่านฟ้าของอัฟกานิสถาน ทั้งยังประสบกับภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ส่งความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าวเป็นระยะ ๆ ปัจจุบัน สถานการณ์การสู้รบในอัฟกานิสถานยังไม่สิ้นสุด และยังคง ดำเนินต่อไป ตราบใดที่กลุ่ม Teleban และกลุ่ม United Front ยังไม่สามารถหาทางประนีประนอมระหว่างกันได้
- อนึ่ง อัฟกานิสถานปัจจุบันเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเฮโรอีนรายใหญ่และ เชื่อว่ายังคงให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้ก่อการร้ายหลาย ๆ กลุ่มอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีผลกระทบและภัยคุกคาม ต่อประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นเดือนเมษายน 2543 รัฐบาลทาลิบันได้ทำลายพื้นที่เพาะปลูกฝิ่นจำนวน 160 เฮคเตอร์ ตามที่ได้ให้คำสัญญากับองค์การ สหประชาชาติที่ลดการผลิตฝิ่นลงถึงใน 1 ใน 3 ของการผลิตทั้งหมด
3. สถานะล่าสุด
- เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2543 กองกำลังทาลิบันได้แถลงว่า ขณะนี้รัฐบาล ทาลิบันได้ออกมาตราการต่าง ๆ กับนาย Osama bin Laden พร้อมกับกล่าวว่า รัฐบาลทาลิบันพร้อมที่จะเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพื่อแก้ไขปัญหา แถลงการณ์ดังกล่าวนี้ได้มีขึ้นหลังจากที่ การที่สหรัฐฯ และรัสเซียประกาศทีจะร่วมมือกันจัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาอัฟกานิสถาน เนื่องจากรัสเซียมีความเชื่อว่า กลุ่มทาลิบันมีส่วนช่วยฝึกนักรบฝึกนักรบมูจาฮิดีนเพื่อให้ไปสู้รบใน Chehnya และ เอเชียกลางในขณะที่สหรัฐฯ ต้องการตัวนาย Osama bin Laden
- กองกำลังทาลิบันเรียกร้องประชาคมโลกให้รับรองรัฐบาลทาลิบันและประสงค์ ที่จะขอที่นั่งของอัฟกานิสถานในองค์การสหประชาชาติคืนจากฝ่ายอดีตประธานาธิบดี Rabbani
- ตุลาคม 2542 คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 1267 (1999) ให้คว่ำบาตรการเดินทางและการเงินต่อกลุ่มกองกำลัง Teleban เนื่องจากไม่ส่งมอบ นาย bin Laden ไปดำเนินคดีในสหรัฐฯ
- 19 ธันวาคม 2543 คณะมนตรีความมั่นคงฯมีข้อมติที่ 1333 (2000) ให้สมาชิก UN ทุกประเทศดำเนินการดังนี้
1. คว่ำบาตรอาวุธยุทโธปกรณ์ทุกชนิดต่อ Taleban
2. ให้ทุกประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ Taleban ลดจำนวนเจ้าหน้าที่ การทูตและปิดสำนักงานตัวแทน Taleban ที่ตั้งในประเทศให้หมดรวมทั้ง สำนักงานสายการบิน Ariana Afghan Airlines
3. ห้ามให้เครื่องบินที่บินไป-มาจากเขตควบคุมของ Taleban ลงจอด
4. ระงับการเคลื่อนย้ายทุนทรัพย์สิน ทางการเงินของนาย Osama bin Laden พรรคพวกและองค์กรในเครือข่าย
5. ป้องกันการขาย จัดหา เคลื่อนย้ายน้ำยา acetic anhydride ซึ่งใช้ในการผลิต เฮโรอีนให้แก่บุคคลในเขตควบคุมของ Taleban เพราะรายได้จากการค้า ยาเสพติดได้ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมก่อการร้าย
6. องค์กรและหน่วยงานบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมสำหรับอัฟกานิสถานจะได้ รับการยกเว้นมาตรการคว่ำบาตรทางการบินและการส่งสินค้า โดยมีคณะ กรรมการผู้ดูแลการคว่ำบาตรอัฟกานิสถานของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เป็นผู้ควบคุมดูแลบัญชีรายชื่อและการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้
7. ข้อมตินี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 มกราคม 2544 โดยคณะมนตรีความมั่นคง จะทบทวนภายในหนึ่งปี หากกลุ่ม Taleban ได้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องใน การส่งตัวนาย bin Laden มาดำเนินคดี
- ประเทศไทยมีพันธะผูกพันตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ และกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อมติมา โดยตลอด โดยล่าสุดได้เสนอ ครม.อนุมัติเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 และได้มีหนังสือแจ้งการ ดำเนินการตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ ที่ 133/2000 แก่ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการ สมช. ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการในส่วนที่ เกี่ยวข้องแล้ว
- ในปัจจุบันประเทศไทยยังระงับความสัมพันธ์ทางการทูตกับอัฟกานิสถานและ ไม่ให้การรับรองแก่กลุ่ม Taleban
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-