กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (29 สิงหาคม 2544) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าว กรณีนางสาว Lisa Marie Smith ชาวออสเตรเลียซึ่งถือหนังสือเดินทางอังกฤษ และถูกจับเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ พร้อมของกลาง คือ ยางกัญชา 17 ห่อ (น้ำหนัก 3,790 กรัม) และอีเฟดรีนเม็ด (ephedrine tablet) จำนวน 565 เม็ด โดยได้รับการประกันตัวไปเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 ด้วยหลักทรัพย์ 1.5 ล้านบาท และได้หลบหนีไปสหราชอาณาจักร
ทางการไทยได้ดำเนินการขอให้ทางการสหราชอาณาจักรจับกุมและส่งตัว นางสาว Smith ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนเมื่อปี พ.ศ. 2541 ตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษตั้งแต่ปีพ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ซึ่งมีการกำหนดความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนในลักษณะระบุรายชื่อความผิดแต่เรื่องยาเสพติดมิได้รวมอยู่ในรายชื่อความผิดดังกล่าว ทางการ สหราชอาณาจักรจึงได้ขอให้พนักงานอัยการของไทยจัดทำคำแถลงยืนยันว่าความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นความผิดที่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ตามกฎหมายไทย และหากรัฐบาลสหราชอาณาจักรมีคำร้องขอให้ส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนในความผิดคล้ายคลึงกัน จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมายไทย
ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 โดยใจความสำคัญระบุว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่มีโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปีเป็นความผิดที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ตามกฎหมายไทย และรัฐบาลไทยจะให้การ ประติบัติต่างตอบแทนแก่รัฐบาลอังกฤษในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ หากฝ่ายอังกฤษเห็นชอบด้วยก็ให้ถือว่าความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดดังกล่าวเป็นความผิดที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กันได้ตาม กฏหมายของทั้งสองประเทศ และประเทศทั้งสองมีพันธกรณีที่จะต้องพิจารณาดำเนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (29 สิงหาคม 2544) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าว กรณีนางสาว Lisa Marie Smith ชาวออสเตรเลียซึ่งถือหนังสือเดินทางอังกฤษ และถูกจับเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ พร้อมของกลาง คือ ยางกัญชา 17 ห่อ (น้ำหนัก 3,790 กรัม) และอีเฟดรีนเม็ด (ephedrine tablet) จำนวน 565 เม็ด โดยได้รับการประกันตัวไปเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 ด้วยหลักทรัพย์ 1.5 ล้านบาท และได้หลบหนีไปสหราชอาณาจักร
ทางการไทยได้ดำเนินการขอให้ทางการสหราชอาณาจักรจับกุมและส่งตัว นางสาว Smith ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนเมื่อปี พ.ศ. 2541 ตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษตั้งแต่ปีพ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ซึ่งมีการกำหนดความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนในลักษณะระบุรายชื่อความผิดแต่เรื่องยาเสพติดมิได้รวมอยู่ในรายชื่อความผิดดังกล่าว ทางการ สหราชอาณาจักรจึงได้ขอให้พนักงานอัยการของไทยจัดทำคำแถลงยืนยันว่าความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นความผิดที่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ตามกฎหมายไทย และหากรัฐบาลสหราชอาณาจักรมีคำร้องขอให้ส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนในความผิดคล้ายคลึงกัน จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมายไทย
ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 โดยใจความสำคัญระบุว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่มีโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปีเป็นความผิดที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ตามกฎหมายไทย และรัฐบาลไทยจะให้การ ประติบัติต่างตอบแทนแก่รัฐบาลอังกฤษในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ หากฝ่ายอังกฤษเห็นชอบด้วยก็ให้ถือว่าความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดดังกล่าวเป็นความผิดที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กันได้ตาม กฏหมายของทั้งสองประเทศ และประเทศทั้งสองมีพันธกรณีที่จะต้องพิจารณาดำเนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-