แผน : แผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก เพื่อวางทิศทางก่อนกำหนดนโยบายและมาตรการสำหรับสินค้าเกษตรแต่ละชนิดเป็นรายปี ประกอบด้วยสินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ซึ่งครอบคลุมกลุ่มสินค้าผลิตเพื่อส่งออก (เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา สับปะรด กาแฟ ลำไย ทุเรียน กล้วยไม้ และกุ้งกุลาดำ) กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อใช้ในประเทศ (เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน) และกลุ่มสินค้าผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ (เช่น ถั่วเหลือง) โดยได้นำแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2544 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบในหลักการของแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก และมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์รายสินค้าเป็นเชิงลึกต่อไป
สำหรับกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร ที่ทั้ง 3 กระทรวงได้ร่วมกันจัดทำ รวมทั้งสิ้น 12 สินค้า ประกอบด้วยกลยุทธ์ 4 ด้าน ดังนี้
กลยุทธ์ด้านการผลิต ประกอบด้วย 10 กลยุทธ์ ดังนี้ ปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่สินค้าที่มีศักยภาพ
กำหนดเขตเศรษฐกิจ (Agro-Economic-Zone ) กระจายผลผลิตให้ออกสม่ำเสมอ เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต พัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงระบบส่งน้ำและการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ
พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม - จัดการสินค้าคงเหลือ (Stock Management ) ให้มีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพและวิจัยหลังการเก็บเกี่ยว
ส่งเสริมองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยสู่ตลาดโลกเชิงพาณิชย์ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตที่เน้นการใช้ฐานทรัพยากรมาเป็น การผลิตที่เน้นการใช้ฐานความรู้ (Knowledge Base ) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า 2. กลยุทธ์ด้านการแปรรูป ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ ดังนี้ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล
วิจัยและพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย
ให้มีองค์กรทำหน้าที่บ่มเพาะ ( Incubator Institution ) การนำผลวิจัยไปสู่การปฏิบัติเชิงพาณิชย์
ส่งเสริมและขยายการแปรรูปสินค้าเกษตรทั้งในรูปอาหารและไม่ใช่อาหาร
เร่งรัดการวางแผนระบบมาตรฐานให้กับโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหารของไทย
จัดตั้งองค์กรสรรหาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม (Acquiring technology institution)
3. กลยุทธ์ด้านการตลาด
ตลาดในประเทศ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ดังนี้
กระตุ้นการใช้ภายในประเทศ จัดระบบการซื้อขายสินค้าเกษตรใหม่ให้เป็นไปตามชั้นคุณภาพ นำเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้เพื่อกระจายสินค้า สร้างเครือข่ายพันธมิตรการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้จำหน่าย พัฒนาและปรับปรุงระบบการเก็บเกี่ยวและการขนส่งสินค้าเกษตรเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง ตลาดต่างประเทศ ประกอบด้วย 11 กลยุทธ์ ดังนี้
สนับสนุนและเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น แป้งมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุด (Low Cost Product) เพิ่มขีดความสามารถในการเจรจาต่อรองทางการค้า สร้างกลุ่มพันธมิตรทางการค้า ปรับปรุงกลยุทธ์ในการกำหนดราคา (Pricing Strategies) ให้เหมาะสมกับแต่ละสินค้าเกษตรเพื่อการแข่งขันในการส่งออก สนับสนุนการจัดตั้งบริษัทธุรกิจการค้าข้ามชาติ (Transnational Company) เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Markets) พัฒนาระบบการค้าต่างตอบแทน (Country Trade) และในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Account Trade สร้างภาพลักษณ์สินค้าเกษตรไทย (Country Image) สนับสนุนและสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน (Product Differentiation) สนับสนุนการขยายตลาดใหม่และรักษาตลาดเดิม การประชาสัมพันธ์ 4. กลยุทธ์ด้านการบริหารการจัดการ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ดังนี้
ให้มีการจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stake Holders)โดยปลูกจิตสำนึกให้องค์กรต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม ปรับปรุงคณะกรรมการที่กำกับดูแลสินค้าเกษตรซึ่งหลายคณะให้เป็นเอกภาพ เช่น คณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น และคณะกรรมการนโยบายอาหาร ซึ่งดูแลกากถั่วเหลือง เป็นต้น
สนับสนุนเกษตรกรและโรงงานผู้ผลิตให้สามารถเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด (Value Chain Management) โดยลดขั้นตอนของตัวแทนจัดจำหน่ายให้น้อยลง
บริหารการจัดการต้องยึดหลักของธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม
ตั้งกองทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาการผลิตการแปรรูปและดูแลด้านตลาดสำหรับสินค้าที่สำคัญ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 21-27 พ.ค. 2544--
-สส-
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก เพื่อวางทิศทางก่อนกำหนดนโยบายและมาตรการสำหรับสินค้าเกษตรแต่ละชนิดเป็นรายปี ประกอบด้วยสินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ซึ่งครอบคลุมกลุ่มสินค้าผลิตเพื่อส่งออก (เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา สับปะรด กาแฟ ลำไย ทุเรียน กล้วยไม้ และกุ้งกุลาดำ) กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อใช้ในประเทศ (เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน) และกลุ่มสินค้าผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ (เช่น ถั่วเหลือง) โดยได้นำแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2544 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบในหลักการของแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก และมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์รายสินค้าเป็นเชิงลึกต่อไป
สำหรับกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร ที่ทั้ง 3 กระทรวงได้ร่วมกันจัดทำ รวมทั้งสิ้น 12 สินค้า ประกอบด้วยกลยุทธ์ 4 ด้าน ดังนี้
กลยุทธ์ด้านการผลิต ประกอบด้วย 10 กลยุทธ์ ดังนี้ ปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่สินค้าที่มีศักยภาพ
กำหนดเขตเศรษฐกิจ (Agro-Economic-Zone ) กระจายผลผลิตให้ออกสม่ำเสมอ เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต พัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงระบบส่งน้ำและการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ
พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม - จัดการสินค้าคงเหลือ (Stock Management ) ให้มีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพและวิจัยหลังการเก็บเกี่ยว
ส่งเสริมองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทยสู่ตลาดโลกเชิงพาณิชย์ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตที่เน้นการใช้ฐานทรัพยากรมาเป็น การผลิตที่เน้นการใช้ฐานความรู้ (Knowledge Base ) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า 2. กลยุทธ์ด้านการแปรรูป ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ ดังนี้ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล
วิจัยและพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย
ให้มีองค์กรทำหน้าที่บ่มเพาะ ( Incubator Institution ) การนำผลวิจัยไปสู่การปฏิบัติเชิงพาณิชย์
ส่งเสริมและขยายการแปรรูปสินค้าเกษตรทั้งในรูปอาหารและไม่ใช่อาหาร
เร่งรัดการวางแผนระบบมาตรฐานให้กับโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหารของไทย
จัดตั้งองค์กรสรรหาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม (Acquiring technology institution)
3. กลยุทธ์ด้านการตลาด
ตลาดในประเทศ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ดังนี้
กระตุ้นการใช้ภายในประเทศ จัดระบบการซื้อขายสินค้าเกษตรใหม่ให้เป็นไปตามชั้นคุณภาพ นำเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาใช้เพื่อกระจายสินค้า สร้างเครือข่ายพันธมิตรการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้จำหน่าย พัฒนาและปรับปรุงระบบการเก็บเกี่ยวและการขนส่งสินค้าเกษตรเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง ตลาดต่างประเทศ ประกอบด้วย 11 กลยุทธ์ ดังนี้
สนับสนุนและเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น แป้งมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีต้นทุนต่ำที่สุด (Low Cost Product) เพิ่มขีดความสามารถในการเจรจาต่อรองทางการค้า สร้างกลุ่มพันธมิตรทางการค้า ปรับปรุงกลยุทธ์ในการกำหนดราคา (Pricing Strategies) ให้เหมาะสมกับแต่ละสินค้าเกษตรเพื่อการแข่งขันในการส่งออก สนับสนุนการจัดตั้งบริษัทธุรกิจการค้าข้ามชาติ (Transnational Company) เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Markets) พัฒนาระบบการค้าต่างตอบแทน (Country Trade) และในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Account Trade สร้างภาพลักษณ์สินค้าเกษตรไทย (Country Image) สนับสนุนและสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน (Product Differentiation) สนับสนุนการขยายตลาดใหม่และรักษาตลาดเดิม การประชาสัมพันธ์ 4. กลยุทธ์ด้านการบริหารการจัดการ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ดังนี้
ให้มีการจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stake Holders)โดยปลูกจิตสำนึกให้องค์กรต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม ปรับปรุงคณะกรรมการที่กำกับดูแลสินค้าเกษตรซึ่งหลายคณะให้เป็นเอกภาพ เช่น คณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น และคณะกรรมการนโยบายอาหาร ซึ่งดูแลกากถั่วเหลือง เป็นต้น
สนับสนุนเกษตรกรและโรงงานผู้ผลิตให้สามารถเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด (Value Chain Management) โดยลดขั้นตอนของตัวแทนจัดจำหน่ายให้น้อยลง
บริหารการจัดการต้องยึดหลักของธรรมาภิบาล เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม
ตั้งกองทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาการผลิตการแปรรูปและดูแลด้านตลาดสำหรับสินค้าที่สำคัญ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 21-27 พ.ค. 2544--
-สส-