ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2544 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 487 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 45 สำนักงาน) ลดลงจากเดือนก่อน 1 สำนักงาน จากการปิดสาขา ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมียอดเงินฝากคงค้าง248,075.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งยังคงไม่มั่นใจในการนำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีผลตอบแทนไม่แน่นอน และมีความเสี่ยงสูงกว่าการนำเงินฝากธนาคาร ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 184,269.2 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 และร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งที่ลดลงเนื่องจากมีการโอนทรัพย์ชำระหนี้ โดยเฉพาะกับลูกค้ารายใหญ่ ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 74.8 เป็นร้อยละ 74.3 ในเดือนนี้
สินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกรรมในภาคฯ ในเดือนนี้สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์เป็นสินเชื่อที่มีสัดส่วนสูงสุด คือร้อยละ 39.4 ของยอดสินเชื่อรวม มียอดคงค้าง 72,578.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า รองลงมาได้แก่ สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (สัดส่วนร้อยละ 19.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 35,245.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.9 สินเชื่ออุตสาหกรรม (สัดส่วนร้อยละ 14.7) ยอดสินเชื่อคงค้าง 27,048.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง (สัดส่วนร้อยละ 9.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 16,993.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.5 สินเชื่อเพื่อการบริการ (สัดส่วนร้อยละ 7.3) ยอดสินเชื่อคงค้าง 13,600.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.2 และสินเชื่อเพื่อการเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 4.5) ยอดสินเชื่อคงค้าง 8,192.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 128.1 รองลงมา ได้แก่ มุกดาหาร ร้อยละ 101.8 และอำนาจเจริญ ร้อยละ 86.5 ในขณะที่จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคฯคิดเป็นร้อยละ 59.3
สินเชื่ออุตสาหกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ สินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในภาคฯ เดือนนี้มีการอนุมัติสินเชื่อ 218.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคฯ จากข้อมูลเบื้องต้นมีการอนุมัติสินเชื่อ 121.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 16.2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อประเภทที่มีการปล่อยสินเชื่อมาก ได้แก่ ร้านค้าของชำ อู่ซ่อมรถ วิสาหกิจชุมชน 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล หอพัก และธุรกิจการค้าชายแดน
สำหรับแนวโน้มสินเชื่ออุตสาหกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,835.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงตามภาวะการเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศที่นำเข้าแรงงานจากภาคฯ รายใหญ่ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย ต่างได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้มีการจำกัดโควต้าการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมียอดเงินฝากคงค้าง248,075.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งยังคงไม่มั่นใจในการนำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีผลตอบแทนไม่แน่นอน และมีความเสี่ยงสูงกว่าการนำเงินฝากธนาคาร ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 184,269.2 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 และร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งที่ลดลงเนื่องจากมีการโอนทรัพย์ชำระหนี้ โดยเฉพาะกับลูกค้ารายใหญ่ ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 74.8 เป็นร้อยละ 74.3 ในเดือนนี้
สินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกรรมในภาคฯ ในเดือนนี้สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์เป็นสินเชื่อที่มีสัดส่วนสูงสุด คือร้อยละ 39.4 ของยอดสินเชื่อรวม มียอดคงค้าง 72,578.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า รองลงมาได้แก่ สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (สัดส่วนร้อยละ 19.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 35,245.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.9 สินเชื่ออุตสาหกรรม (สัดส่วนร้อยละ 14.7) ยอดสินเชื่อคงค้าง 27,048.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง (สัดส่วนร้อยละ 9.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 16,993.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.5 สินเชื่อเพื่อการบริการ (สัดส่วนร้อยละ 7.3) ยอดสินเชื่อคงค้าง 13,600.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.2 และสินเชื่อเพื่อการเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 4.5) ยอดสินเชื่อคงค้าง 8,192.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 128.1 รองลงมา ได้แก่ มุกดาหาร ร้อยละ 101.8 และอำนาจเจริญ ร้อยละ 86.5 ในขณะที่จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคฯคิดเป็นร้อยละ 59.3
สินเชื่ออุตสาหกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ สินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในภาคฯ เดือนนี้มีการอนุมัติสินเชื่อ 218.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคฯ จากข้อมูลเบื้องต้นมีการอนุมัติสินเชื่อ 121.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 16.2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อประเภทที่มีการปล่อยสินเชื่อมาก ได้แก่ ร้านค้าของชำ อู่ซ่อมรถ วิสาหกิจชุมชน 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล หอพัก และธุรกิจการค้าชายแดน
สำหรับแนวโน้มสินเชื่ออุตสาหกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,835.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงตามภาวะการเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศที่นำเข้าแรงงานจากภาคฯ รายใหญ่ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย ต่างได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้มีการจำกัดโควต้าการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-