ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศกรอบความตกลงนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความริเริ่มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปลายปี 2542 ซึ่งผู้นำได้ตกลงกันให้มีการจัดตั้งเขตเสรีด้านการค้า บริการ และการลงทุน สำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยให้มีการร่างกรอบความตกลงขึ้นมาใหม่
สาระสำคัญของกรอบความตกลง ได้แก่ การดำเนินมาตรการที่สำคัญ 5 ด้านดังนี้
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การพัฒนามาตรการอำนวยความสะดวกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. การเปิดเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. การพัฒนาสังคมแห่งเทคโนโลยี
5. การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในหน่วยงานภาครัฐ
ประโยชน์ที่ได้รับจากความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน มีดังนี้
ทำให้อาเซียนก้าวทันระบบเศรษฐกิจใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของการค้าและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. พัฒนาอาเซียนให้เป็นสังคมแห่งความรู้และเทคโนโลยี
3. เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และถ่ายทอดเทคโนโลยี
4. ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันด้านเทคโนโลยีทั้งในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
5.การให้บริการภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการจะช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งสร้างความโปร่งใสในภาครัฐด้วย ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
ขณะนี้ อาเซียนได้มีการวางแผนที่จะดำเนินการในสาระความตกลงข้างต้น โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบการดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์รับผิดชอบกลุ่มการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สิงคโปร์รับผิดชอบกลุ่มความช่วยเหลือด้านการอำนวยความสะดวกในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อินโดนีเซียรับผิดชอบกลุ่มเสนอแนะมาตรฐานด้านโทรคมนาคม ประเทศไทยรับผิดชอบกลุ่มการพัฒนาสังคมแห่งเทคโนโลยี และมาเลเซีย รับผิดชอบการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ อาเซียนดำเนินการให้มีการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักในหมู่ประชากรอาเซียน อันจะช่วยให้การดำเนินการตามความตกลง e-ASEAN เป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น--จบ--
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-
สาระสำคัญของกรอบความตกลง ได้แก่ การดำเนินมาตรการที่สำคัญ 5 ด้านดังนี้
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การพัฒนามาตรการอำนวยความสะดวกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. การเปิดเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. การพัฒนาสังคมแห่งเทคโนโลยี
5. การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในหน่วยงานภาครัฐ
ประโยชน์ที่ได้รับจากความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน มีดังนี้
ทำให้อาเซียนก้าวทันระบบเศรษฐกิจใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของการค้าและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. พัฒนาอาเซียนให้เป็นสังคมแห่งความรู้และเทคโนโลยี
3. เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และถ่ายทอดเทคโนโลยี
4. ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันด้านเทคโนโลยีทั้งในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
5.การให้บริการภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการจะช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งสร้างความโปร่งใสในภาครัฐด้วย ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
ขณะนี้ อาเซียนได้มีการวางแผนที่จะดำเนินการในสาระความตกลงข้างต้น โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบการดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์รับผิดชอบกลุ่มการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สิงคโปร์รับผิดชอบกลุ่มความช่วยเหลือด้านการอำนวยความสะดวกในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อินโดนีเซียรับผิดชอบกลุ่มเสนอแนะมาตรฐานด้านโทรคมนาคม ประเทศไทยรับผิดชอบกลุ่มการพัฒนาสังคมแห่งเทคโนโลยี และมาเลเซีย รับผิดชอบการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ อาเซียนดำเนินการให้มีการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักในหมู่ประชากรอาเซียน อันจะช่วยให้การดำเนินการตามความตกลง e-ASEAN เป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น--จบ--
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-