กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ในระยะหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของไทยกับสหรัฐฯมีความสัมพันธ์ต่อกันในระดับสูง ดังจะเห็นได้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างแข็งแกร่งในปี 2543 ช่วยให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวขึ้น โดยภาคการค้าระหว่างประเทศของไทย ทางด้านการส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากสหรัฐฯเป็นตลาดที่ช่วยรองรับสินค้าส่งออกของไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับ 1 ของไทย จากสถิติการค้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ไทยส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 21.3 ของมูลการส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่า 13,651 ล้านเหรียญสรอ. เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 อย่างไรก็ดี ในปี 2544 ว่าที่ประธานาธิบดี George W. Bush จากพรรครีพับริคกันจะขึ้นบริหารประเทศแทนที่รัฐบาลเดิมของประธานาธิบดีคลินตัน โดยมีนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากรัฐบาลชุดเดิม โดยเฉพาะนโยบายการลดภาษีและท่าทีของสหรัฐฯต่อการเจรจาการค้ารอบใหม่ ซึ่งแน่นอนว่านโยบายเหล่านั้นย่อมจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมและเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1. การลดภาษีจำนวน 1.3 ล้านล้านเหรียญสรอ. ในระยะเวลา 10 ปี I> > จากการคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2544 จะอยู่ในภาวะชะลอตัว ประกอบกับการที่ The Congressional Budget Office ของสหรัฐฯ ได้ประมาณการการเกินดุลของงบประมาณว่าจะสูงถึง 6 ล้านล้านเหรียญสรอ. ในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลขประมาณการครั้งล่าสุดที่ระดับ 4.6 ล้านล้านเหรียญสรอ. นั้น นับเป็นตัวบ่งชี้ที่สนับสนุนนโยบายการลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งในภาพรวมแล้วการลดภาษีย่อมเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งผลต่ออุปสงค์การนำเข้าจากไทย แต่หากพิจารณาในรายละเอียด ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการลดภาษีจะดำเนินการเมื่อไร และเป็นการลดในส่วนของภาษีนิติบุคคลหรือภาษีบุคคลธรรมดา และหากเป็นการลดภาษีบุคคลธรรมดา จะเน้นการลดในกลุ่มใดระหว่างผู้มีรายได้สูงหรือรายได้ต่ำ ผลกระทบต่อไทยจะให้ภาพที่แตกต่างออกไป เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของไทยไปยังสหรัฐฯนั้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แผงวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่นเครื่องประดับอัญมณี สิ่งทอคุณภาพดี เครื่องรับโทรทัศน์ อาหารทะเลแปรรูป เป็นต้น ดังนั้น หากการลดภาษีตกอยู่ในภาคธุรกิจก็ย่อมจะสนับสนุนให้เกิดการลงทุน และเพิ่มอุปสงค์ต่อสินค้าไทยจำพวกสินค้าทุน หากการลดภาษีตกอยู่ในส่วนผู้มีรายได้สูง การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่หากการลดภาษีตกอยู่กับผู้มีรายได้ต่ำ ผลดีต่อการส่งออกไทยก็คาดว่าจะมีไม่มากนัก
2. ท่าทีการค้าของสหรัฐฯ ต่อการเจรจาการค้ารอบใหม่
คาดว่าแรงกดดันในการผูกเรื่องแรงงานกับการค้าของสหรัฐฯจะบรรเทาลง เนื่องจากฐานเสียงของพรรครีพับริคกันไม่ได้มาจากสหภาพแรงงาน อย่างไรก็ดี เป็นที่สังเกตุว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯขยายตัวย่างสูง การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐฯต่อไทยมีน้อยมาก ซึ่งเป็นไปได้ว่าหากเศรษฐกิจอ่อนตัวลงอาจจะมีแรงกดดันให้สหรัฐฯนำมาตรการ ดังกล่าวมาปฏิบัติมากขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ในระยะหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของไทยกับสหรัฐฯมีความสัมพันธ์ต่อกันในระดับสูง ดังจะเห็นได้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างแข็งแกร่งในปี 2543 ช่วยให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวขึ้น โดยภาคการค้าระหว่างประเทศของไทย ทางด้านการส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากสหรัฐฯเป็นตลาดที่ช่วยรองรับสินค้าส่งออกของไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับ 1 ของไทย จากสถิติการค้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ไทยส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 21.3 ของมูลการส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่า 13,651 ล้านเหรียญสรอ. เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 อย่างไรก็ดี ในปี 2544 ว่าที่ประธานาธิบดี George W. Bush จากพรรครีพับริคกันจะขึ้นบริหารประเทศแทนที่รัฐบาลเดิมของประธานาธิบดีคลินตัน โดยมีนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากรัฐบาลชุดเดิม โดยเฉพาะนโยบายการลดภาษีและท่าทีของสหรัฐฯต่อการเจรจาการค้ารอบใหม่ ซึ่งแน่นอนว่านโยบายเหล่านั้นย่อมจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมและเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1. การลดภาษีจำนวน 1.3 ล้านล้านเหรียญสรอ. ในระยะเวลา 10 ปี I> > จากการคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2544 จะอยู่ในภาวะชะลอตัว ประกอบกับการที่ The Congressional Budget Office ของสหรัฐฯ ได้ประมาณการการเกินดุลของงบประมาณว่าจะสูงถึง 6 ล้านล้านเหรียญสรอ. ในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลขประมาณการครั้งล่าสุดที่ระดับ 4.6 ล้านล้านเหรียญสรอ. นั้น นับเป็นตัวบ่งชี้ที่สนับสนุนนโยบายการลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งในภาพรวมแล้วการลดภาษีย่อมเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งผลต่ออุปสงค์การนำเข้าจากไทย แต่หากพิจารณาในรายละเอียด ซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการลดภาษีจะดำเนินการเมื่อไร และเป็นการลดในส่วนของภาษีนิติบุคคลหรือภาษีบุคคลธรรมดา และหากเป็นการลดภาษีบุคคลธรรมดา จะเน้นการลดในกลุ่มใดระหว่างผู้มีรายได้สูงหรือรายได้ต่ำ ผลกระทบต่อไทยจะให้ภาพที่แตกต่างออกไป เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของไทยไปยังสหรัฐฯนั้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แผงวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่นเครื่องประดับอัญมณี สิ่งทอคุณภาพดี เครื่องรับโทรทัศน์ อาหารทะเลแปรรูป เป็นต้น ดังนั้น หากการลดภาษีตกอยู่ในภาคธุรกิจก็ย่อมจะสนับสนุนให้เกิดการลงทุน และเพิ่มอุปสงค์ต่อสินค้าไทยจำพวกสินค้าทุน หากการลดภาษีตกอยู่ในส่วนผู้มีรายได้สูง การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่หากการลดภาษีตกอยู่กับผู้มีรายได้ต่ำ ผลดีต่อการส่งออกไทยก็คาดว่าจะมีไม่มากนัก
2. ท่าทีการค้าของสหรัฐฯ ต่อการเจรจาการค้ารอบใหม่
คาดว่าแรงกดดันในการผูกเรื่องแรงงานกับการค้าของสหรัฐฯจะบรรเทาลง เนื่องจากฐานเสียงของพรรครีพับริคกันไม่ได้มาจากสหภาพแรงงาน อย่างไรก็ดี เป็นที่สังเกตุว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯขยายตัวย่างสูง การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐฯต่อไทยมีน้อยมาก ซึ่งเป็นไปได้ว่าหากเศรษฐกิจอ่อนตัวลงอาจจะมีแรงกดดันให้สหรัฐฯนำมาตรการ ดังกล่าวมาปฏิบัติมากขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-