เศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลกในปี 2542 ขยายตัวหลังจากชะลอตัวเมื่อปีก่อน โดยผลผลิตทาง ภาคเกษตรของพืชหลักที่สำคัญเพิ่มขึ้นจากปีก่อนได้แก่ ข้าวนาปี อ้อย และมันสำปะหลัง จากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย และปริมาณน้ำที่มากเพียงพอต่อการเพาะปลูก ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบ ที่เพิ่มขึ้นตามภาวะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ต่ำลง รวมทั้งมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ประชาชนเพิ่มการใช้จ่ายมากขึ้น รวมทั้งภาคบริการที่ขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยว ภาคการ ก่อสร้างแม้ว่ายังคงลดลงแต่ลดในอัตราที่ต่ำลงจากปีก่อนจากโครงการก่อสร้างภาครัฐเป็นสำคัญ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา ภาคการเงิน เงินฝากลดลงจากปีก่อนผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลง ขณะที่การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง รายจ่ายของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล
ภาคเกษตร ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี จากภาวะอากาศเอื้ออำนวย อีกทั้งปริมาณน้ำฝนมีการกระจายตัวดี ส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดของจังหวัดเพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อน โดยผลผลิต ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อนร้อยละ 1.4 เป็น 582,588 เมตริกตัน ขณะที่ผลผลิต อ้อยและมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ มีเพียงผลผลิต ข้าวโพด ที่ลดลงร้อยละ 4.5 เนื่องจากราคาในช่วงก่อน ฤดูกาลเพาะปลูกไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก สำหรับภาวะน้ำท่วมในช่วงไตรมาส 4 นั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรไม่มาก เนื่องจากเป็นช่วงที่พืชสำคัญทำการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว อีกทั้งพื้นที่เสียหายส่วนใหญ่ไม่ใช่พื้นที่ทำการเพาะปลูก แต่จะส่งผลกระทบทางด้านคุณภาพของผลผลิตโดยเฉพาะข้าวเปลือกและ ข้าวโพดจะทำให้มีความชื้นสูง ทางด้านราคาพืชผลเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 30.0 แต่ยังใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า
นอกภาคเกษตร เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจหลายตัวของจังหวัดพิษณุโลกเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น และเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะ ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่ผลิตได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 27.3 เป็น 84,097 เมตริกตัน ตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งปัญหาสภาพคล่องของโรงงานน้ำตาลเริ่มผ่อนคลายลง หลังจากที่โรงงานน้ำตาลเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ ส่วนภาคบริการ เริ่มขยายตัวดีขึ้นหลังจากที่เพิ่มในอัตราชะลอตัวลงปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ อีกทั้งในปีนี้ทางจังหวัดพิษณุโลกมีการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนรณรงค์การท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีการจัดงานขึ้นหลายครั้ง เช่น งานมหกรรมอาหารและของดีเมืองพิษณุโลก ตลอดจนงานประจำปีที่ทางการท่องเที่ยวร่วมกับทางจังหวัดได้แก่ งานกาชาด งานสงกรานต์ และงานวันลอยกระทง ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างมาก การจัดสัมมนาภาครัฐก็เพิ่มขึ้นส่งผลให้การท่องเที่ยวในปีนี้ขยายตัว มากขึ้น การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำและมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาล ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.1 เหลือ 223 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.6 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.4 ปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนของจังหวัดยังคงซบเซา เนื่องจากในปีนี้ไม่มีกิจการใดๆ ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน หลังจากเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปีก่อน ขณะเดียวกันการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่มี 49 แห่ง มีมูลค่าเพียง 434 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 25.8 และร้อยละ 58.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว และร้อยละ 18.4 ปีก่อนตามลำดับ การก่อสร้าง ยังคงลดลงแต่ลดในอัตราที่ต่ำลงจากปีก่อน โดยพื้นที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 56.0 เหลือเพียง 30,581 ตารางเมตร เนื่องจากมีเงินทุนหมุนเวียนจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ (โครงการมิยาซาวา) เข้ามาพยุงไม่ให้ภาคการก่อสร้างหดตัวมากนัก ขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดพิษณุโลก) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เป็น 43,779 ล้านบาท จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยยอดเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เป็น 29,548 ล้านบาท และร้อยละ 6.5 เป็น 14,231 ล้านบาท ตามลำดับ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 17,164 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.5 ทั้งในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอก ตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่ ลดลงเป็นสำคัญ ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ ยังคงลดลง อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวด การปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับลูกค้าบางส่วนมีการถอน เงินฝากมาชำระหนี้ ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 สินเชื่อมียอดคงค้าง 15,302 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.9 โดยลดลงมากจากการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจเหมืองแร่ สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง ทางด้าน ปริมาณการใช้เช็ค ลดลง ต่อเนื่องจากปีก่อนทั้งในส่วนเช็คคืนและเช็คเรียกเก็บ แต่สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 2.7 เหลือร้อยละ 2.0 เนื่องจากภาคธุรกิจนิยมใช้ระบบเงินสดกันเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดในการใช้เช็คของภาคธุรกิจ
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 2,037 ราย วงเงิน 5,137.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,971 ราย วงเงิน 4,103.0 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 204 ราย วงเงิน 1,945.1 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,833 ราย เป็นเงิน 3,192.3 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดพิษณุโลก ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 11,205 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 10,837 ล้านบาทปีก่อน ตามนโยบายการเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ จากรายจ่ายของ รัฐบาลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เป็น 12,052 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 13.9 โดยเฉพาะภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนของเงินได้ดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ เมื่อรวมเงินนอกงบประมาณทำให้เกินดุลเงินสด 3,779 ล้านบาท สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดพิษณุโลก วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 1,063.8 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 784.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.8 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี จากภาวะอากาศเอื้ออำนวย อีกทั้งปริมาณน้ำฝนมีการกระจายตัวดี ส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดของจังหวัดเพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อน โดยผลผลิต ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อนร้อยละ 1.4 เป็น 582,588 เมตริกตัน ขณะที่ผลผลิต อ้อยและมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ มีเพียงผลผลิต ข้าวโพด ที่ลดลงร้อยละ 4.5 เนื่องจากราคาในช่วงก่อน ฤดูกาลเพาะปลูกไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก สำหรับภาวะน้ำท่วมในช่วงไตรมาส 4 นั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรไม่มาก เนื่องจากเป็นช่วงที่พืชสำคัญทำการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว อีกทั้งพื้นที่เสียหายส่วนใหญ่ไม่ใช่พื้นที่ทำการเพาะปลูก แต่จะส่งผลกระทบทางด้านคุณภาพของผลผลิตโดยเฉพาะข้าวเปลือกและ ข้าวโพดจะทำให้มีความชื้นสูง ทางด้านราคาพืชผลเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากปีก่อน ประมาณร้อยละ 30.0 แต่ยังใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า
นอกภาคเกษตร เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจหลายตัวของจังหวัดพิษณุโลกเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น และเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะ ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายที่ผลิตได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 27.3 เป็น 84,097 เมตริกตัน ตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งปัญหาสภาพคล่องของโรงงานน้ำตาลเริ่มผ่อนคลายลง หลังจากที่โรงงานน้ำตาลเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ ส่วนภาคบริการ เริ่มขยายตัวดีขึ้นหลังจากที่เพิ่มในอัตราชะลอตัวลงปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ อีกทั้งในปีนี้ทางจังหวัดพิษณุโลกมีการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนรณรงค์การท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีการจัดงานขึ้นหลายครั้ง เช่น งานมหกรรมอาหารและของดีเมืองพิษณุโลก ตลอดจนงานประจำปีที่ทางการท่องเที่ยวร่วมกับทางจังหวัดได้แก่ งานกาชาด งานสงกรานต์ และงานวันลอยกระทง ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างมาก การจัดสัมมนาภาครัฐก็เพิ่มขึ้นส่งผลให้การท่องเที่ยวในปีนี้ขยายตัว มากขึ้น การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำและมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาล ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.1 เหลือ 223 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.6 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.4 ปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนของจังหวัดยังคงซบเซา เนื่องจากในปีนี้ไม่มีกิจการใดๆ ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน หลังจากเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปีก่อน ขณะเดียวกันการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่มี 49 แห่ง มีมูลค่าเพียง 434 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 25.8 และร้อยละ 58.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว และร้อยละ 18.4 ปีก่อนตามลำดับ การก่อสร้าง ยังคงลดลงแต่ลดในอัตราที่ต่ำลงจากปีก่อน โดยพื้นที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 56.0 เหลือเพียง 30,581 ตารางเมตร เนื่องจากมีเงินทุนหมุนเวียนจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ (โครงการมิยาซาวา) เข้ามาพยุงไม่ให้ภาคการก่อสร้างหดตัวมากนัก ขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดพิษณุโลก) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เป็น 43,779 ล้านบาท จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยยอดเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เป็น 29,548 ล้านบาท และร้อยละ 6.5 เป็น 14,231 ล้านบาท ตามลำดับ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 17,164 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.5 ทั้งในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอก ตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่ ลดลงเป็นสำคัญ ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ ยังคงลดลง อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวด การปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับลูกค้าบางส่วนมีการถอน เงินฝากมาชำระหนี้ ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 สินเชื่อมียอดคงค้าง 15,302 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.9 โดยลดลงมากจากการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจเหมืองแร่ สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง ทางด้าน ปริมาณการใช้เช็ค ลดลง ต่อเนื่องจากปีก่อนทั้งในส่วนเช็คคืนและเช็คเรียกเก็บ แต่สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 2.7 เหลือร้อยละ 2.0 เนื่องจากภาคธุรกิจนิยมใช้ระบบเงินสดกันเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดในการใช้เช็คของภาคธุรกิจ
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 2,037 ราย วงเงิน 5,137.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,971 ราย วงเงิน 4,103.0 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 204 ราย วงเงิน 1,945.1 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,833 ราย เป็นเงิน 3,192.3 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดพิษณุโลก ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 11,205 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 10,837 ล้านบาทปีก่อน ตามนโยบายการเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ จากรายจ่ายของ รัฐบาลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เป็น 12,052 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 13.9 โดยเฉพาะภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนของเงินได้ดอกเบี้ยที่ลดลงตามอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ เมื่อรวมเงินนอกงบประมาณทำให้เกินดุลเงินสด 3,779 ล้านบาท สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดพิษณุโลก วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 1,063.8 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 784.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.8 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-