ข่าวในประเทศ
1. ค่าเงินบาทในปัจจุบันยังเป็นระดับที่สามารถจัดการได้ ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้ ธปท.สามารถจัดการและดูแลได้ เนื่องจากหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนลดลงเหลือประมาณ 4 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงน้อย รวมทั้งเงินบาทที่อ่อนค่ายังส่งผลดีต่อการส่งออกให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับ 23 ประเทศคู่แข่งยังอยู่ในระดับต่ำ การที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้ ธปท.ปรับนโยบายดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเพื่อดูแลค่าเงินบาทเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในภาวะปัจจุบัน เพราะเศรษฐกิจยังอ่อนแอ ประเทศที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ เศรษฐกิจของประเทศนั้นต้องขยายตัวอย่างร้อนแรง มีการจ้างงานและการใช้กำลังการผลิตในอัตราสูง ส่วนการแทรกแซงเงินบาทยังไม่มีความจำเป็นต้องทำ เพราะจะเป็นเพียงการซื้อเวลา แต่ไม่สามารถรักษาระดับราคาได้ (ไทยโพสต์ 19)
2. ก.คลังเปิดเผยยอดหนี้ภาครัฐในเดือน ก.ค.43 โฆษก ก.คลังเปิดเผยว่า ยอดหนี้ภาครัฐ ณ สิ้นเดือน ก.ค.43 มีจำนวน 2,731,649 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 51-52 ของจีดีพี โดยจำแนกได้ดังนี้ (1) หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำนวน 1,078,027 ล.บาท แยกเป็นหนี้ต่างประเทศ 386,742 ล.บาท หนี้ในประเทศ 691,285 ล.บาท (2) หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มิใช่สถาบันการเงินมีจำนวน 879,680 ล.บาท แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 750,398 ล.บาท หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 129,282 ล.บาท (3) หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีจำนวน 77,941 ล.บาท สำหรับภาระหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดชำระในเดือน ก.ค.เป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศจำนวน 2,188 ล.บาท และหนี้เงินกู้ในประเทศ 359.39 ล.บาท ส่วนภาระหนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดชำระในเดือน ส.ค.มีจำนวน 75.21 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 19)
3. ธปท.กำลังพิจารณาแนวทางบริหารจัดการทุนสำรองฯ ผู้ว่การ ธปท.กล่าวว่า ธปท.กำลังพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่จำนวน 3.2 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ที่ต้องมีภาระทยอยจ่ายคืนไอเอ็มเอฟ ภายใน 3 ปี โดยงวดแรกต้องชำระคืนในเดือน พ.ย.43 จำนวน 200-300 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งทุนสำรองฯที่มีอยู่ขณะนี้เพียงพอชำระคืน แต่ ธปท.ต้องพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการต่อไปในอนาคตด้วย โดยเจ้าหน้าที่กำลังอยู่ระหว่างการประเมินตัวเลขรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ย เงินปันผลจากทรัพย์สินที่ถืออยู่ ขณะเดียวกัน นายพิสิฐ ลี้อาธรรม รมช.คลังกล่าวว่า แม้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย และ พ.ร.บ.เงินตรา ซึ่งมีเรื่องการรวมบัญชีทุนสำรองยังไม่สามารถเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่เชื่อว่า ธปท.จะไม่มีปัญหาเรื่องการชำระหนี้คืนไอเอ็มเอฟ (มติชน 19)
4. ก.คลังอนุมัติให้ บง.ธนชาติจัดตั้งธนาคารฯ บง.ธนชาติแจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า ได้รับแจ้งจาก ก.คลังเมื่อวันที่ 17 ต.ค.อนุญาตให้บริษัทฯ จัดตั้งธนาคารที่จำกัดขอบเขตการดำเนินธุรกิจ โดยร่วมกับ บง.เอกชาติ- ธนชาติ บค.กรุงเทพเคหะ, สินเคหะการ และ บค.วานิช นอกจากนี้ ก.คลังยังเห็นชอบให้บริษัทดำเนินการโอนกิจการของสถาบันการเงินอื่นดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนตามแผนการจัดตั้งธนาคารฯ โดยบริษัทฯ ต้องดำเนินการรวมหรือรับโอนทรัพย์สินและหนี้สินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 มิ.ย.44 (มติชน 19)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวม ของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)โดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากราคาพลังงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.8 และถ้าไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่มีความผันผวน ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เป็นแกน (Core CPI ) ในเดือน ก.ย. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค. 43 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า ทั้ง CPI โดยรวม และ CPI ที่เป็นแกนในเดือน ก.ย. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ ร้อยละ 0.2 ตามลำดับ จากรายงานครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าเงินเฟ้อกำลังสูงขึ้น ท่ามกลางตลาดหุ้นที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและสร้างความหวั่นวิตกแก่ตลาดเงิน (รอยเตอร์ 18)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 5.8 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 19 ต.ค.43 ก.พาณิชย์ญี่ปุ่น รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ามูลค่า 1.296 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น และเศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าเพิ่มสูงกว่าการส่งออก โดยในเดือน ก.ย.43 การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 อยู่ที่มูลค่า 3.381 ล้านล้านเยน เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 อยู่ที่มูลค่า 4.676 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 เช่นกัน ทั้งนี้ ในเดือน ก.ย.43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ากับ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ลดลงร้อยละ 0.5 อยู่ที่มูลค่า 756.3 พัน ล.เยน เกินดุลฯ กับสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงร้อยละ 3.2 อยู่ที่มูลค่า 318.8 พัน ล.เยน แต่เกินดุลฯ กับเอเชียเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ที่มูลค่า 463.3 พัน ล.เยน สำหรับยอดการเกินดุลฯ ระหว่างเดือน เม.ย.-ก.ย.43 ซึ่งเป็นช่วงครึ่งแรกของปี งปม. 43/44 มีมูลค่า 5.8292 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 (รอยเตอร์ 19)
3. การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 อยู่ที่จำนวน 1.53 ล.หลังต่อปี เทียบกับเดือน ส.ค. 43 ที่ลดลงร้อยละ 0.1 อยู่ที่จำนวน 1.525 ล. หลัง และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์แห่งวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า จะมีจำนวน 1.545 ล. หลัง ทั้งนี้ การสร้างที่อยู่อาศัยในเดือนดังกล่าว เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเกื้อหนุนสัญญาณต่างๆที่บ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยได้ชะลอตัวลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ย. 43 คำขออนุญาตก่อสร้าง เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย อยู่ที่จำนวน 1.506 ล. หลัง เทียบกับจำนวน 1.486 ล. หลังในเดือน ส.ค. 43 (รอยเตอร์ 18)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 18 ต.ค. 43 43.570 (43.319)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 18 ต.ค. 43 ซื้อ 43.3825 (43.0744) ขาย 43.6912 (43.3828)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,550) ขาย 5,650 (5,650)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.39 (30.13)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ค่าเงินบาทในปัจจุบันยังเป็นระดับที่สามารถจัดการได้ ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้ ธปท.สามารถจัดการและดูแลได้ เนื่องจากหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนลดลงเหลือประมาณ 4 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงน้อย รวมทั้งเงินบาทที่อ่อนค่ายังส่งผลดีต่อการส่งออกให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับ 23 ประเทศคู่แข่งยังอยู่ในระดับต่ำ การที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้ ธปท.ปรับนโยบายดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเพื่อดูแลค่าเงินบาทเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในภาวะปัจจุบัน เพราะเศรษฐกิจยังอ่อนแอ ประเทศที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ เศรษฐกิจของประเทศนั้นต้องขยายตัวอย่างร้อนแรง มีการจ้างงานและการใช้กำลังการผลิตในอัตราสูง ส่วนการแทรกแซงเงินบาทยังไม่มีความจำเป็นต้องทำ เพราะจะเป็นเพียงการซื้อเวลา แต่ไม่สามารถรักษาระดับราคาได้ (ไทยโพสต์ 19)
2. ก.คลังเปิดเผยยอดหนี้ภาครัฐในเดือน ก.ค.43 โฆษก ก.คลังเปิดเผยว่า ยอดหนี้ภาครัฐ ณ สิ้นเดือน ก.ค.43 มีจำนวน 2,731,649 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 51-52 ของจีดีพี โดยจำแนกได้ดังนี้ (1) หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำนวน 1,078,027 ล.บาท แยกเป็นหนี้ต่างประเทศ 386,742 ล.บาท หนี้ในประเทศ 691,285 ล.บาท (2) หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มิใช่สถาบันการเงินมีจำนวน 879,680 ล.บาท แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน 750,398 ล.บาท หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน 129,282 ล.บาท (3) หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีจำนวน 77,941 ล.บาท สำหรับภาระหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดชำระในเดือน ก.ค.เป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศจำนวน 2,188 ล.บาท และหนี้เงินกู้ในประเทศ 359.39 ล.บาท ส่วนภาระหนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดชำระในเดือน ส.ค.มีจำนวน 75.21 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 19)
3. ธปท.กำลังพิจารณาแนวทางบริหารจัดการทุนสำรองฯ ผู้ว่การ ธปท.กล่าวว่า ธปท.กำลังพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่จำนวน 3.2 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ที่ต้องมีภาระทยอยจ่ายคืนไอเอ็มเอฟ ภายใน 3 ปี โดยงวดแรกต้องชำระคืนในเดือน พ.ย.43 จำนวน 200-300 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งทุนสำรองฯที่มีอยู่ขณะนี้เพียงพอชำระคืน แต่ ธปท.ต้องพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการต่อไปในอนาคตด้วย โดยเจ้าหน้าที่กำลังอยู่ระหว่างการประเมินตัวเลขรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ย เงินปันผลจากทรัพย์สินที่ถืออยู่ ขณะเดียวกัน นายพิสิฐ ลี้อาธรรม รมช.คลังกล่าวว่า แม้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย และ พ.ร.บ.เงินตรา ซึ่งมีเรื่องการรวมบัญชีทุนสำรองยังไม่สามารถเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่เชื่อว่า ธปท.จะไม่มีปัญหาเรื่องการชำระหนี้คืนไอเอ็มเอฟ (มติชน 19)
4. ก.คลังอนุมัติให้ บง.ธนชาติจัดตั้งธนาคารฯ บง.ธนชาติแจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า ได้รับแจ้งจาก ก.คลังเมื่อวันที่ 17 ต.ค.อนุญาตให้บริษัทฯ จัดตั้งธนาคารที่จำกัดขอบเขตการดำเนินธุรกิจ โดยร่วมกับ บง.เอกชาติ- ธนชาติ บค.กรุงเทพเคหะ, สินเคหะการ และ บค.วานิช นอกจากนี้ ก.คลังยังเห็นชอบให้บริษัทดำเนินการโอนกิจการของสถาบันการเงินอื่นดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนตามแผนการจัดตั้งธนาคารฯ โดยบริษัทฯ ต้องดำเนินการรวมหรือรับโอนทรัพย์สินและหนี้สินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 มิ.ย.44 (มติชน 19)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวม ของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)โดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากราคาพลังงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.8 และถ้าไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่มีความผันผวน ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เป็นแกน (Core CPI ) ในเดือน ก.ย. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค. 43 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า ทั้ง CPI โดยรวม และ CPI ที่เป็นแกนในเดือน ก.ย. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ ร้อยละ 0.2 ตามลำดับ จากรายงานครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าเงินเฟ้อกำลังสูงขึ้น ท่ามกลางตลาดหุ้นที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคและสร้างความหวั่นวิตกแก่ตลาดเงิน (รอยเตอร์ 18)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 5.8 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 19 ต.ค.43 ก.พาณิชย์ญี่ปุ่น รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ามูลค่า 1.296 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น และเศรษฐกิจภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าเพิ่มสูงกว่าการส่งออก โดยในเดือน ก.ย.43 การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 อยู่ที่มูลค่า 3.381 ล้านล้านเยน เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 อยู่ที่มูลค่า 4.676 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 เช่นกัน ทั้งนี้ ในเดือน ก.ย.43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ากับ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ลดลงร้อยละ 0.5 อยู่ที่มูลค่า 756.3 พัน ล.เยน เกินดุลฯ กับสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงร้อยละ 3.2 อยู่ที่มูลค่า 318.8 พัน ล.เยน แต่เกินดุลฯ กับเอเชียเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ที่มูลค่า 463.3 พัน ล.เยน สำหรับยอดการเกินดุลฯ ระหว่างเดือน เม.ย.-ก.ย.43 ซึ่งเป็นช่วงครึ่งแรกของปี งปม. 43/44 มีมูลค่า 5.8292 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 (รอยเตอร์ 19)
3. การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 อยู่ที่จำนวน 1.53 ล.หลังต่อปี เทียบกับเดือน ส.ค. 43 ที่ลดลงร้อยละ 0.1 อยู่ที่จำนวน 1.525 ล. หลัง และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์แห่งวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า จะมีจำนวน 1.545 ล. หลัง ทั้งนี้ การสร้างที่อยู่อาศัยในเดือนดังกล่าว เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเกื้อหนุนสัญญาณต่างๆที่บ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยได้ชะลอตัวลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ย. 43 คำขออนุญาตก่อสร้าง เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย อยู่ที่จำนวน 1.506 ล. หลัง เทียบกับจำนวน 1.486 ล. หลังในเดือน ส.ค. 43 (รอยเตอร์ 18)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 18 ต.ค. 43 43.570 (43.319)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 18 ต.ค. 43 ซื้อ 43.3825 (43.0744) ขาย 43.6912 (43.3828)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,550) ขาย 5,650 (5,650)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.39 (30.13)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-