การเพิ่มมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนภายใต้ Contract Farming โดย.กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 4, 2005 16:16 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

          Contract Farming   คืออะไร
Contract farming แปลตรงตัวว่า การทำฟาร์มสัญญา ซึ่งหมายถึง การเลี้ยงปศุสัตว์หรือเพาะปลูกพืชที่มีการทำสัญญาซื้อขายกัน โดยส่วนใหญ่จะมีการกำหนดราคาผลผลิตไว้ตายตัว ซึ่งเรียกว่า ฟาร์มประกันราคา หรือ “ฟาร์มประกัน” ในการทำสัญญาฟาร์มประกัน มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกเป็นฝ่ายฟาร์ม เรียกว่า “ฟาร์มประกัน” ซึ่งก็คือฝ่ายเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม ส่วนฝ่ายที่สองเป็นคู่สัญญาที่สัญญาจะซื้อผลผลิตกลับคืน ในราคาประกัน เรียกว่า “ ผู้รับประกัน” ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปบริษัท เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเบทาโกร บริษัทแหลมทองสหการ เป็นต้น
ในการจัดทำ Contract farming ในประเทศไทยได้มีการดำเนินการไม่น้อยกว่า 30 ปี เป็นการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่
ผลดี
มีปริมาณผลผลิตที่ป้อนอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ผู้ส่งออกสามารถวางแผนการตลาด ล่วงหน้าได้
ผลเสีย
จะต้องมีวิธีการวางแผน การดำเนินการที่ดีและมีคู่สัญญาฟาร์มประกันราคาจำนวนมาก เพียงพอ จึงจะได้กำไรและประสบความสำเร็จ
แนวความคิดในการทำ Contract Farming กับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนภายใต้กรอบ ACMECS
เป็นนโยบายร่วมในการส่งเสริม การผลิต การค้า และการลงทุนภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ( Ayeyawady —Chao Phraya —Mekong Economic Cooperation Strategy:ACMECS ) ที่มุ่งเน้นการช่วยตัวเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเพิ่มขีด ดวามสามารถทางการแข่งขัน สร้างฐานการผลิตชายแดนระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ด้านการเกษตร/ อุตสาหกรรม และการบริการ สร้างงานและลดช่องว่างรายได้ของชาวไทยและประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานผิดกฎหมาย ลดปัญหายาเสพติด สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนของไทย มีส่วนร่วมเข้าไปส่งเสริมการผลิตและรับซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน ในระบบ Contract Farming และส่งออกมายังไทยภายใต้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร AISP สำหรับสินค้าเกษตร 8 รายการ ประกอบด้วย ถั่วเหลือง ข้าว มันฝรั่ง โพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ละหุ่ง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง ยูคาลิปตัส สำหรับลาวได้สิทธิพิเศษ เพิ่มในการส่งออกสินค้าเกษตรอีก 1 รายการคือ ลูกเดือย
หลักการที่สำคัญ
1. ภาคเอกชนไทยที่ให้ความสนใจในการจัดทำ Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยประสานกับจังหวัด หอการค้า สภาหอการค้าไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงเกษตร หน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดก็ได้
ขั้นตอนในการดำเนินงาน
เจรจาทำความตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านกำหนดพื้นที่เป้าหมายการเพาะปลูกให้ชัดเจน
กำหนดพืชเป้าหมาย ประสานนักลงทุนทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นเข้าลงทุนในพื้นที่ที่กำหนด
นำคณะผู้แทนการค้าเดินทางไปทำสัญญา Contract Farming
ติดตามความก้าวหน้า และประสานให้เกิดผลทางปฏิบัติ
2. รายละเอียดของจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ดังนี้
กัมพูชา จันทบุรี ตราด สระแก้ว บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี
ลาว เขตติดต่อกับจังหวัดชายแดน 11 จังหวัด คือ หนองคาย, มุกดาหาร, อุบลราชธานี, นครพนม, เลย, น่าน, พะเยา, อุตรดิตถ์, เชียงราย, พิษณุโลก และอำนาจเจริญ (จังหวัดอุบลราชธานี มีแนว ชายแดนติดกับประเทศลาวและกัมพูชา )
พม่า เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี
การใช้สิทธิ ประเทศผู้ส่งออกจะต้องใช้แบบฟอร์ม AISP ในการส่งออกทุกครั้ง เพื่อประโยชน์สำหรับผู้นำเข้าในการลดหย่อนภาษี สำหรับการส่งสินค้าออกที่มีมูลค่าการค้าต่ำกว่า 200 US$ ไม่ต้องใช้แบบฟอร์ม AISP
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ