อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปี 2544 มีแนวโน้มชะลอลงจากไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ตามการหดตัวของการ ส่งออก ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงการผลิต การลงทุนและการใช้จ่ายภาคเอกชน ขณะที่ภาครัฐระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เพราะต้องการควบคุมการก่อหนี้ภาครัฐไม่ให้สูงเกิน อย่างไรก็ตามรายได้จากการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ดีช่วยให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล แรงกดดันด้านระดับราคายังอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ สำหรับแนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองคาดว่าจะใกล้เคียงกับในไตรมาสนี้
ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวใน ไตรมาสแรก ได้แก่
1. ภาวะเศรษฐกิจโลก การค้าโลกชะลอตัวมาก โดยเฉพาะสหรัฐ และญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
2. แนวโน้มการจ้างงานโน้มลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการใช้จ่าย
สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่
1. รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นตามผลผลิต พืชผลหลัก ช่วยชดเชยกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ ถดถอยลงเนื่องจากระดับราคาสินค้าในประเทศ ปรับตัวสูงขึ้น
2. รายได้จากการท่องเที่ยวขยายตัวสูง ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3
3. ภาวะการเงินปรับตัวดีขึ้น สินเชื่อธนาคารพาณิชย์แม้ว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกันผลประกอบการเบื้องต้นของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น
4. การปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างสถาบันการเงินมีความต่อเนื่อง และชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
การผลิตชะลอลง เห็นได้จาก ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปีก่อน เนื่องจากมูลค่าสินค้าออก ลดลง ดังนั้นการผลิตเพื่อการส่งออกจึงถูกจำกัด บทบาทลง โดยเฉพาะสาขาอิเล็กทรอนิคส์ (-14.4%) หมวดสินค้าที่มีการผลิตขยายตัวดี ได้แก่ หมวดยานยนต์ (19.6%) และหมวดเครื่องประดับ (6.8%) อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม ลดลงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 56.5 ของกำลังการผลิต ทั้งหมด ส่วนดัชนีผลผลิตพืชผลหลักขยายตัวร้อยละ 8.2 ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.0 ช่วยเพิ่มกำลังซื้อแก่ การบริโภค
ความต้องการภายในประเทศชะลอตัว ระดับดัชนีการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน แต่อัตราขยายตัวยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปัจจัยลบได้แก่ จำนวน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมลดต่อเนื่อง รายได้จากดอกเบี้ยลดลง ประกอบกับความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจลดลง อัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจาก เครื่องชี้การลงทุนส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัว ชะลอลง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุน
รัฐบาลยังคงมีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้จะมีข้อจำกัดด้านภาระหนี้ ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุล 33 พันล้านบาทในไตรมาสแรกปีนี้ (ไตรมาสสองตามปีงบประมาณ) รายจ่าย(ไม่รวม การจ่ายดอกเบี้ยแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ส่วนรายได้ลดลงร้อยละ 5.6 ในช่วงเดียวกัน
แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทั้ง ต่างประเทศและในประเทศช่วยลดแรงกดดันของภาระหนี้รัฐบาลลง
ดุลการค้าเกินดุลลดลง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการส่งออกลดลง ร้อยละ 1.3 ตามความต้องการในตลาดโลกที่ลดลง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งมีสัดส่วน การส่งออกของไทยรวมกันถึงร้อยละ 36.4 ของ การส่งออกรวม ส่วนการนำเข้าชะลอลงเช่นกัน แต่ยังคงขยายตัวอยู่ในอัตราสูงกว่าการส่งออก คือ ร้อยละ 11.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ในขณะที่สินค้าที่นำเข้ามาผลิตเพื่อ ส่งออกชะลอตัวลงตามการค้าโลก
ดุลการชำระเงินเกินดุลเล็กน้อย โดยเกินดุล 250 ล้านดอลลาร์ สรอ. แม้การชำระคืน เงินกู้ของภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยกว่าปีก่อน ทำให้รายรับในรูปเงินตราต่างประเทศใกล้เคียงกับความต้องการชำระหนี้ต่างประเทศ ส่วนเงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ มีจำนวน 32.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่าประมาณ 2.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
หนี้ต่างประเทศลดลงต่อเนื่อง ตามการชำระหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชน ลดลงเหลือ 45.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นในภาครัฐร้อยละ 57.7 ของหนี้ต่างประเทศรวม ธนาคารแห่งประเทศได้ชำระเงินกู้ของกองทุน การเงินระหว่างประเทศจำนวน 300 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ ส่งผลให้ยอด คงค้างหนี้ต่างประเทศรวมลดลงเหลือ 78.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สภาพคล่องในตลาดการเงินยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลต่อเนื่องให้อัตราดอกเบี้ยในตลาด สินเชื่อปรับตัวลดลง ลดภาระให้แก่ลูกหนี้บางส่วน ขณะที่ขบวนการปรับโครงสร้างหนี้ยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับลดลงร้อยละ 0.375 จากสิ้นปี 2543 เหลือร้อยละ 7.375 ต่อปีในเดือนมีนาคมและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนปรับลดลงร้อย 0.5 เหลือร้อยละ 2.5 ต่อปี ในช่วง เดียวกัน
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไม่มีผลในการกระตุ้นความต้องการสินเชื่อโดยรวมมากนัก เนื่องจาก แนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับธุรกิจบางแห่ง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่สามารถระดมทุนโดยตรงในประเทศได้มากขึ้น
ณ. สิ้นไตรมาสแรก ปี 2544 ยอดสินเชื่อ คงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมการตัดหนี้สูญและการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปบริษัทบริหาร สินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ขยายตัวร้อยละ 0.9 และภาคเอกชนที่มิใช่สถาบันการเงินมีการออกตราสารหนี้ทั้งสิ้นประมาณ 29.6 พันล้านบาท ขณะที่ยอดเงินฝาก ในระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 6.4
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบสถาบันการเงินลดลงมากจากการโอนสินทรัพย์ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ. สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีมูลค่าเท่ากับ 857.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.8 ของยอดสินเชื่อรวมโดย ลดลง 1,237.2 พันล้านบาทจากสิ้นปีก่อน
ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าสินเชื่อยังขยายตัวต่ำ ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรเบื้องต้น 1,896 ล้านบาทเทียบกับที่ขาดทุน 38,409.6 ล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ได้กันสำรองครบแล้วในปีก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายสินเชื่อได้มากขึ้นในอนาคต
อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน แม้ว่าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้ามากนัก เนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารและ เครื่องดื่มยังลดลงต่อเนื่อง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้พิจารณาในการดำเนินนโยบายการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เนื่องจากความต้องการภายในประเทศยังมีไม่มาก
อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงเล็กน้อย ในไตรมาสแรกปีนี้ โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยเท่ากับ 43.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับ ณ สิ้นปีก่อน ตามค่าเงินเยนและค่าเงินในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวใน ไตรมาสแรก ได้แก่
1. ภาวะเศรษฐกิจโลก การค้าโลกชะลอตัวมาก โดยเฉพาะสหรัฐ และญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
2. แนวโน้มการจ้างงานโน้มลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการใช้จ่าย
สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่
1. รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นตามผลผลิต พืชผลหลัก ช่วยชดเชยกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ ถดถอยลงเนื่องจากระดับราคาสินค้าในประเทศ ปรับตัวสูงขึ้น
2. รายได้จากการท่องเที่ยวขยายตัวสูง ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3
3. ภาวะการเงินปรับตัวดีขึ้น สินเชื่อธนาคารพาณิชย์แม้ว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกันผลประกอบการเบื้องต้นของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น
4. การปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างสถาบันการเงินมีความต่อเนื่อง และชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
การผลิตชะลอลง เห็นได้จาก ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปีก่อน เนื่องจากมูลค่าสินค้าออก ลดลง ดังนั้นการผลิตเพื่อการส่งออกจึงถูกจำกัด บทบาทลง โดยเฉพาะสาขาอิเล็กทรอนิคส์ (-14.4%) หมวดสินค้าที่มีการผลิตขยายตัวดี ได้แก่ หมวดยานยนต์ (19.6%) และหมวดเครื่องประดับ (6.8%) อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม ลดลงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 56.5 ของกำลังการผลิต ทั้งหมด ส่วนดัชนีผลผลิตพืชผลหลักขยายตัวร้อยละ 8.2 ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.0 ช่วยเพิ่มกำลังซื้อแก่ การบริโภค
ความต้องการภายในประเทศชะลอตัว ระดับดัชนีการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน แต่อัตราขยายตัวยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปัจจัยลบได้แก่ จำนวน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมลดต่อเนื่อง รายได้จากดอกเบี้ยลดลง ประกอบกับความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจลดลง อัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจาก เครื่องชี้การลงทุนส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัว ชะลอลง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุน
รัฐบาลยังคงมีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้จะมีข้อจำกัดด้านภาระหนี้ ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุล 33 พันล้านบาทในไตรมาสแรกปีนี้ (ไตรมาสสองตามปีงบประมาณ) รายจ่าย(ไม่รวม การจ่ายดอกเบี้ยแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ส่วนรายได้ลดลงร้อยละ 5.6 ในช่วงเดียวกัน
แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทั้ง ต่างประเทศและในประเทศช่วยลดแรงกดดันของภาระหนี้รัฐบาลลง
ดุลการค้าเกินดุลลดลง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการส่งออกลดลง ร้อยละ 1.3 ตามความต้องการในตลาดโลกที่ลดลง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งมีสัดส่วน การส่งออกของไทยรวมกันถึงร้อยละ 36.4 ของ การส่งออกรวม ส่วนการนำเข้าชะลอลงเช่นกัน แต่ยังคงขยายตัวอยู่ในอัตราสูงกว่าการส่งออก คือ ร้อยละ 11.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ในขณะที่สินค้าที่นำเข้ามาผลิตเพื่อ ส่งออกชะลอตัวลงตามการค้าโลก
ดุลการชำระเงินเกินดุลเล็กน้อย โดยเกินดุล 250 ล้านดอลลาร์ สรอ. แม้การชำระคืน เงินกู้ของภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยกว่าปีก่อน ทำให้รายรับในรูปเงินตราต่างประเทศใกล้เคียงกับความต้องการชำระหนี้ต่างประเทศ ส่วนเงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ มีจำนวน 32.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่าประมาณ 2.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
หนี้ต่างประเทศลดลงต่อเนื่อง ตามการชำระหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชน ลดลงเหลือ 45.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นในภาครัฐร้อยละ 57.7 ของหนี้ต่างประเทศรวม ธนาคารแห่งประเทศได้ชำระเงินกู้ของกองทุน การเงินระหว่างประเทศจำนวน 300 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ ส่งผลให้ยอด คงค้างหนี้ต่างประเทศรวมลดลงเหลือ 78.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สภาพคล่องในตลาดการเงินยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลต่อเนื่องให้อัตราดอกเบี้ยในตลาด สินเชื่อปรับตัวลดลง ลดภาระให้แก่ลูกหนี้บางส่วน ขณะที่ขบวนการปรับโครงสร้างหนี้ยังคงดำเนินการต่อไปเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับลดลงร้อยละ 0.375 จากสิ้นปี 2543 เหลือร้อยละ 7.375 ต่อปีในเดือนมีนาคมและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนปรับลดลงร้อย 0.5 เหลือร้อยละ 2.5 ต่อปี ในช่วง เดียวกัน
อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไม่มีผลในการกระตุ้นความต้องการสินเชื่อโดยรวมมากนัก เนื่องจาก แนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับธุรกิจบางแห่ง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่สามารถระดมทุนโดยตรงในประเทศได้มากขึ้น
ณ. สิ้นไตรมาสแรก ปี 2544 ยอดสินเชื่อ คงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมการตัดหนี้สูญและการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปบริษัทบริหาร สินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ขยายตัวร้อยละ 0.9 และภาคเอกชนที่มิใช่สถาบันการเงินมีการออกตราสารหนี้ทั้งสิ้นประมาณ 29.6 พันล้านบาท ขณะที่ยอดเงินฝาก ในระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 6.4
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบสถาบันการเงินลดลงมากจากการโอนสินทรัพย์ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ. สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีมูลค่าเท่ากับ 857.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.8 ของยอดสินเชื่อรวมโดย ลดลง 1,237.2 พันล้านบาทจากสิ้นปีก่อน
ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าสินเชื่อยังขยายตัวต่ำ ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรเบื้องต้น 1,896 ล้านบาทเทียบกับที่ขาดทุน 38,409.6 ล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ได้กันสำรองครบแล้วในปีก่อน ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายสินเชื่อได้มากขึ้นในอนาคต
อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน แม้ว่าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้ามากนัก เนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารและ เครื่องดื่มยังลดลงต่อเนื่อง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้พิจารณาในการดำเนินนโยบายการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เนื่องจากความต้องการภายในประเทศยังมีไม่มาก
อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงเล็กน้อย ในไตรมาสแรกปีนี้ โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยเท่ากับ 43.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับ ณ สิ้นปีก่อน ตามค่าเงินเยนและค่าเงินในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-