แท็ก
สหภาพยุโรป
ผลการรวมตัวของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้ตลาดของประเทศสมาชิกทั้ง 15 ประเทศ รวมเป็นตลาดเดียว ปราศจากอุปสรรค
กีดกั้นระหว่างกัน สามารถเคลื่อนย้ายประชากร สินค้า บริการ และเงินทุนอย่างเสรี สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุน
ในระยะยาวจะส่งผลให้ระบบการผลิต การตลาด ตลอดจนการบริหารงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดการประหยัดจากขนาดการผลิต (Economy
of scale) แนวโน้มต้นทุนในการผลิตสินค้าในสหภาพยุโรปจึงลดลง นอกจากจะเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกแล้ว ผลกระทบภายใน
สหภาพยุโรปเกิดการแข่งขันด้านราคา ทำให้รายได้แท้จริง (real income) ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น การบริโภคจะเพิ่มขึ้นจากผลทางด้านรายได้
(income effect) โดยอาจเป็นการเพิ่มการบริโภคสินค้าที่ผลิตภายในกลุ่มประเทศสมาชิกหรือสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศนอกกลุ่มตามผลทาง
ด้านการทดแทน (substitution effect) ถ้าเป็นกรณีของสินค้าประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ผู้บริโภคจะหันไปซื้อสินค้าที่ผลิตภายในสหภาพ
ยุโรปมากขึ้นและลดการซื้อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม เนื่องจากราคาโดยเปรียบเทียบของสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มลดลงมากกว่า
และกลุ่มประเทศสมาชิกนิยมค้าขายกันเองเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ไม่แข่งขันกับสินค้าในสหภาพยุโรป (หรือมีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่า)
โอกาสที่สินค้าดังกล่าวจะขยายตลาดได้ก็มีมากขึ้นเพราะสหภาพยุโรปเป็นตลาดขนาดใหญ่และไม่มีอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก
การพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินในสหภาพยุโรปยังทำให้กลุ่มประเทศนี้มีความเข้มแข็งและมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น
สหภาพยุโรปมีมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อหลักการค้าเสรี เช่น การใช้มาตรการป้องกันการทุ่มตลาด มาตรการด้านทรัพย์
สินทางปัญญา การกำหนดมาตรฐานสูงในด้านการผลิต การจัดการธุรกิจ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเคารพสิทธิมนุษยชน และสิทธิแรงงาน เพื่อ
ปกป้องผลประโยชน์ในด้านการค้าให้กับกลุ่มประเทศสมาชิก รวมทั้งใช้การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ที่ไม่เท่าเทียมกันแก่ประเทศคู่ค้า ซึ่ง
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศที่ส่งสินค้าเข้าสู่สหภาพยุโรป
2.2 ผลของการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก: การใช้เงินสกุลยูโร
กลุ่มประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (EMU) โดยสามารถนำเงินสกุลยูโรมาใช้
อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 (1999) หลังจากที่ได้เตรียมการและดำเนินการตามขั้นตอนภายใต้สนธิสัญญา Maastricht
(1992) มาเป็นเวลากว่า 7 ปี โดยมีกลุ่มประเทศสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี
ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์
โปรตุเกส และสเปน การเข้าร่วมใช้เงินสกุลยูโรโดยประเทศสมาชิกต้องผ่านเงื่อนไข (Convergence Criteria) ซึ่งเป็นเกณฑ์
เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามมีเพียง 2 ประเทศ ได้แก่ ลักเซมเบิร์ก และฟินแลนด์ เท่านั้นที่สามารถผ่านเงื่อนไขได้ครบ
ทั้ง 5 ข้อส่วนประเทศอื่นๆ มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขการเข้าร่วมใช้เงินสกุลยูโรลดหลั่นกันตามลำดับ
ประเทศในสหภาพยุโรปที่ยังไม่เข้าร่วมการใช้เงินสกุลยูโร ได้แก่ สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และสวีเดน ที่แม้ว่าจะมีคุณสมบัติครบ
ตามเงื่อนไข แต่ขอเลื่อนกำหนดเวลาการใช้เงินสกุลยูโรออกไปโดยอ้างเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ส่วนกรีซต้องการเข้าร่วมแต่ไม่
ผ่านเงื่อนไขเนื่องจากขาดดุลงบประมาณเกินที่กำหนด อย่างไรก็ตามคาดว่าสหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และสวีเดน คงจะเข้าร่วมการใช้เงินสกุล
ยูโรเช่นกันหากเงินสกุลยูโรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ส่วนกรีซยังต้องใช้เวลาเพื่อปรับระบบเศรษฐกิจให้เข้าตามเงื่อนไข คาดว่า
ภายในปี 2545 (2002) ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 15 ประเทศจะสามารถรวมตัวกันทางการเงินได้อย่างสมบูรณ์
สาเหตุที่ทำให้กลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 11 ประเทศ ยอมรับการใช้สกุลเงินเดียวกัน เนื่องจากต้องการพัฒนาความสามารถใน
การแข่งขันโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา การใช้เงินสกุลเดียวกันจะช่วยให้การรวมตัวทางเศรษฐ
ตารางที่ 5 อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินท้องถิ่นในกลุ่ม EMU เทียบกับสกุลเงินยูโร
สกุลเงิน ต่อ 1 ยูโร สกุลเงิน ต่อ 1 ยูโร
มาร์ค - เยอรมนี 1.9558 ชิลลิ่ง - ออสเตรีย 13.76
ฟรังก์ - ฝรั่งเศส 6.5596 เอสคูโด - โปรตุเกส 200.48
ลีร์ - อิตาลี 1936.3 มาร์ค - ฟินแลนด์ 5.9457
เปเซตา - สเปน 166.39 พันท์ - ไอร์แลนด์ 0.7876
กิลเดอร์ - เนเธอร์แลนด์ 2.2037 ฟรังค์ - ลักเซมเบิร์ก 10.34
ฟรังก์ - เบลเยียม 40.34
หมายเหตุ : กำหนดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2541 และคงที่ตลอดไป
อัตราแลกเปลี่ยนเริ่มแรกของการซื้อขาย 1 EUR = 1.6675 USD
การร่วมใช้เงินสกุลยูโรทำให้เกิดโครงสร้างระบบธนาคารกลางยุโรปโดยมีลักษณะระบบเครือข่ายธนาคารกลาง (European
System of Central Bank : ESCB) ประกอบด้วย ธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางของชาติที่เข้าร่วมทั้ง 11 ประเทศ ธนาคาร
กลางยุโรป จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2541 ทำหน้าที่บริหารนโยบายการเงินแทนธนาคารกลางในแต่ละประเทศ โดยกลุ่มประเทศสมาชิกต้อง
โอนสินทรัพย์ต่างประเทศที่ไม่รวมสกุลเงินประเทศสมาชิกให้แก่ธนาคารกลางยุโรป 50 พันล้านยูโร
การตัดสินใจกำหนดนโยบายทางการเงินของกลุ่มประเทศ EMU กระทำโดย Governing Council ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ
2 ชุด ได้แก่ Executive Board จำนวน 6 คน ดำรงตำแหน่งวาระละ 8 ปี แต่งตั้งโดย European Council และผู้ว่าธนาคารกลางของ
กลุ่มประเทศสมาชิก และส่วนที่สองเป็นผู้ว่าธนาคารกลางประเทศสมาชิก 11 ประเทศ
การลงคะแนนเสียงของคณะกรรมการทั้งสองชุดใช้วิธี one man, one vote เน้นเสียงข้างมากและประธานสามารถลงคะแนน
เสียงชี้ขาดในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าคณะกรรมการในชุดผู้ว่าการธนาคารกลางแต่ละประเทศจะมีคะแนนเสียงเท่ากัน แต่ใน
Executive Board มีเพียง 6 ที่นั่งและส่วนใหญ่จะเป็นตัวแทนของประเทศที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นอาจทำให้นโยบายการเงินมีความโอนเอียง
สอดคล้องกับประเทศใหญ่มากกว่า
หน้าที่หลักของ Governing Council จะทำหน้าที่กำหนดนโยบายการเงิน รวมถึงเป้าหมายทางการเงินในระยะปานกลาง อัตรา
ดอกเบี้ย และ supply of reserve โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาระดับของราคา (price stability) โดยตั้งเป้ารักษาอัตราเงินเฟ้อให้
ต่ำกว่าร้อยละ 2 และดำเนินนโยบายการเงินระยะกลางโดยใช้ทั้งปริมาณเงิน M3 และอัตราเงินเฟ้อร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ
เพื่อดำเนินนโยบายทางการเงิน (ตารางที่ 6)
ตารางที่ 6 การดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB)
การปล่อยสภาพคล่อง การดูดสภาพคล่อง ความถี่ อายุ วิธีการ
Open market Operation ซื้อธุรกรรม รายอาทิตย์ 2 สัปดาห์ ประมูล
ตลาดซื้อคืน
การ refinancing ระยะยาว Reverse Transactions รายเดือน 3 เดือน ประมูล
Fine-tuning operation Reverse Transactions Reverse Transactions ตามความเหมาะสม ตามความเหมาะสม ประมูลกรณีพิเศษ
Foreign exchange, Swaps Foreign exchange, Swaps ข้อตกลงทวิภาคี
การซื้อ Outright การฝากประจำ/การขาย outright ตามความเหมาะสม ข้อตกลงทวิภาคี
Structural operations Reverse Transactions การออกตราสารหนี้ ปกติ/กรณีพิเศษ ข้ามคืน (overnight) ข้อตกลงทวิภาคี
การซื้อ Outright การขาย outright ตามความเหมาะสม
Standard Facilities Reverse Transactions การฝากเงิน ตามการพิจารณาของบริษัทคู่ค้า ข้ามคืน (overnight)
Marginal Lending facility
Deposit facility ข้ามคืน (overnight)
ที่มา : เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ “บทบาทของเงินสกุลยูโร”, ธนาคารแห่งประเทศไทย.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
กีดกั้นระหว่างกัน สามารถเคลื่อนย้ายประชากร สินค้า บริการ และเงินทุนอย่างเสรี สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุน
ในระยะยาวจะส่งผลให้ระบบการผลิต การตลาด ตลอดจนการบริหารงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดการประหยัดจากขนาดการผลิต (Economy
of scale) แนวโน้มต้นทุนในการผลิตสินค้าในสหภาพยุโรปจึงลดลง นอกจากจะเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกแล้ว ผลกระทบภายใน
สหภาพยุโรปเกิดการแข่งขันด้านราคา ทำให้รายได้แท้จริง (real income) ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น การบริโภคจะเพิ่มขึ้นจากผลทางด้านรายได้
(income effect) โดยอาจเป็นการเพิ่มการบริโภคสินค้าที่ผลิตภายในกลุ่มประเทศสมาชิกหรือสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศนอกกลุ่มตามผลทาง
ด้านการทดแทน (substitution effect) ถ้าเป็นกรณีของสินค้าประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ผู้บริโภคจะหันไปซื้อสินค้าที่ผลิตภายในสหภาพ
ยุโรปมากขึ้นและลดการซื้อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม เนื่องจากราคาโดยเปรียบเทียบของสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มลดลงมากกว่า
และกลุ่มประเทศสมาชิกนิยมค้าขายกันเองเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ไม่แข่งขันกับสินค้าในสหภาพยุโรป (หรือมีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่า)
โอกาสที่สินค้าดังกล่าวจะขยายตลาดได้ก็มีมากขึ้นเพราะสหภาพยุโรปเป็นตลาดขนาดใหญ่และไม่มีอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก
การพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินในสหภาพยุโรปยังทำให้กลุ่มประเทศนี้มีความเข้มแข็งและมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น
สหภาพยุโรปมีมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อหลักการค้าเสรี เช่น การใช้มาตรการป้องกันการทุ่มตลาด มาตรการด้านทรัพย์
สินทางปัญญา การกำหนดมาตรฐานสูงในด้านการผลิต การจัดการธุรกิจ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเคารพสิทธิมนุษยชน และสิทธิแรงงาน เพื่อ
ปกป้องผลประโยชน์ในด้านการค้าให้กับกลุ่มประเทศสมาชิก รวมทั้งใช้การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ที่ไม่เท่าเทียมกันแก่ประเทศคู่ค้า ซึ่ง
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศที่ส่งสินค้าเข้าสู่สหภาพยุโรป
2.2 ผลของการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก: การใช้เงินสกุลยูโร
กลุ่มประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (EMU) โดยสามารถนำเงินสกุลยูโรมาใช้
อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 (1999) หลังจากที่ได้เตรียมการและดำเนินการตามขั้นตอนภายใต้สนธิสัญญา Maastricht
(1992) มาเป็นเวลากว่า 7 ปี โดยมีกลุ่มประเทศสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี
ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์
โปรตุเกส และสเปน การเข้าร่วมใช้เงินสกุลยูโรโดยประเทศสมาชิกต้องผ่านเงื่อนไข (Convergence Criteria) ซึ่งเป็นเกณฑ์
เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามมีเพียง 2 ประเทศ ได้แก่ ลักเซมเบิร์ก และฟินแลนด์ เท่านั้นที่สามารถผ่านเงื่อนไขได้ครบ
ทั้ง 5 ข้อส่วนประเทศอื่นๆ มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขการเข้าร่วมใช้เงินสกุลยูโรลดหลั่นกันตามลำดับ
ประเทศในสหภาพยุโรปที่ยังไม่เข้าร่วมการใช้เงินสกุลยูโร ได้แก่ สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และสวีเดน ที่แม้ว่าจะมีคุณสมบัติครบ
ตามเงื่อนไข แต่ขอเลื่อนกำหนดเวลาการใช้เงินสกุลยูโรออกไปโดยอ้างเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ส่วนกรีซต้องการเข้าร่วมแต่ไม่
ผ่านเงื่อนไขเนื่องจากขาดดุลงบประมาณเกินที่กำหนด อย่างไรก็ตามคาดว่าสหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และสวีเดน คงจะเข้าร่วมการใช้เงินสกุล
ยูโรเช่นกันหากเงินสกุลยูโรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ส่วนกรีซยังต้องใช้เวลาเพื่อปรับระบบเศรษฐกิจให้เข้าตามเงื่อนไข คาดว่า
ภายในปี 2545 (2002) ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 15 ประเทศจะสามารถรวมตัวกันทางการเงินได้อย่างสมบูรณ์
สาเหตุที่ทำให้กลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 11 ประเทศ ยอมรับการใช้สกุลเงินเดียวกัน เนื่องจากต้องการพัฒนาความสามารถใน
การแข่งขันโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา การใช้เงินสกุลเดียวกันจะช่วยให้การรวมตัวทางเศรษฐ
ตารางที่ 5 อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินท้องถิ่นในกลุ่ม EMU เทียบกับสกุลเงินยูโร
สกุลเงิน ต่อ 1 ยูโร สกุลเงิน ต่อ 1 ยูโร
มาร์ค - เยอรมนี 1.9558 ชิลลิ่ง - ออสเตรีย 13.76
ฟรังก์ - ฝรั่งเศส 6.5596 เอสคูโด - โปรตุเกส 200.48
ลีร์ - อิตาลี 1936.3 มาร์ค - ฟินแลนด์ 5.9457
เปเซตา - สเปน 166.39 พันท์ - ไอร์แลนด์ 0.7876
กิลเดอร์ - เนเธอร์แลนด์ 2.2037 ฟรังค์ - ลักเซมเบิร์ก 10.34
ฟรังก์ - เบลเยียม 40.34
หมายเหตุ : กำหนดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2541 และคงที่ตลอดไป
อัตราแลกเปลี่ยนเริ่มแรกของการซื้อขาย 1 EUR = 1.6675 USD
การร่วมใช้เงินสกุลยูโรทำให้เกิดโครงสร้างระบบธนาคารกลางยุโรปโดยมีลักษณะระบบเครือข่ายธนาคารกลาง (European
System of Central Bank : ESCB) ประกอบด้วย ธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางของชาติที่เข้าร่วมทั้ง 11 ประเทศ ธนาคาร
กลางยุโรป จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2541 ทำหน้าที่บริหารนโยบายการเงินแทนธนาคารกลางในแต่ละประเทศ โดยกลุ่มประเทศสมาชิกต้อง
โอนสินทรัพย์ต่างประเทศที่ไม่รวมสกุลเงินประเทศสมาชิกให้แก่ธนาคารกลางยุโรป 50 พันล้านยูโร
การตัดสินใจกำหนดนโยบายทางการเงินของกลุ่มประเทศ EMU กระทำโดย Governing Council ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ
2 ชุด ได้แก่ Executive Board จำนวน 6 คน ดำรงตำแหน่งวาระละ 8 ปี แต่งตั้งโดย European Council และผู้ว่าธนาคารกลางของ
กลุ่มประเทศสมาชิก และส่วนที่สองเป็นผู้ว่าธนาคารกลางประเทศสมาชิก 11 ประเทศ
การลงคะแนนเสียงของคณะกรรมการทั้งสองชุดใช้วิธี one man, one vote เน้นเสียงข้างมากและประธานสามารถลงคะแนน
เสียงชี้ขาดในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าคณะกรรมการในชุดผู้ว่าการธนาคารกลางแต่ละประเทศจะมีคะแนนเสียงเท่ากัน แต่ใน
Executive Board มีเพียง 6 ที่นั่งและส่วนใหญ่จะเป็นตัวแทนของประเทศที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นอาจทำให้นโยบายการเงินมีความโอนเอียง
สอดคล้องกับประเทศใหญ่มากกว่า
หน้าที่หลักของ Governing Council จะทำหน้าที่กำหนดนโยบายการเงิน รวมถึงเป้าหมายทางการเงินในระยะปานกลาง อัตรา
ดอกเบี้ย และ supply of reserve โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาระดับของราคา (price stability) โดยตั้งเป้ารักษาอัตราเงินเฟ้อให้
ต่ำกว่าร้อยละ 2 และดำเนินนโยบายการเงินระยะกลางโดยใช้ทั้งปริมาณเงิน M3 และอัตราเงินเฟ้อร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ
เพื่อดำเนินนโยบายทางการเงิน (ตารางที่ 6)
ตารางที่ 6 การดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB)
การปล่อยสภาพคล่อง การดูดสภาพคล่อง ความถี่ อายุ วิธีการ
Open market Operation ซื้อธุรกรรม รายอาทิตย์ 2 สัปดาห์ ประมูล
ตลาดซื้อคืน
การ refinancing ระยะยาว Reverse Transactions รายเดือน 3 เดือน ประมูล
Fine-tuning operation Reverse Transactions Reverse Transactions ตามความเหมาะสม ตามความเหมาะสม ประมูลกรณีพิเศษ
Foreign exchange, Swaps Foreign exchange, Swaps ข้อตกลงทวิภาคี
การซื้อ Outright การฝากประจำ/การขาย outright ตามความเหมาะสม ข้อตกลงทวิภาคี
Structural operations Reverse Transactions การออกตราสารหนี้ ปกติ/กรณีพิเศษ ข้ามคืน (overnight) ข้อตกลงทวิภาคี
การซื้อ Outright การขาย outright ตามความเหมาะสม
Standard Facilities Reverse Transactions การฝากเงิน ตามการพิจารณาของบริษัทคู่ค้า ข้ามคืน (overnight)
Marginal Lending facility
Deposit facility ข้ามคืน (overnight)
ที่มา : เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ “บทบาทของเงินสกุลยูโร”, ธนาคารแห่งประเทศไทย.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-