1.การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ
โลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และจากการสอบถามผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม พบว่า ผลิตภัณฑ์ไก่มีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มคำสั่งซื้อ
โดยเฉพาะจากตลาดหลัก คือเอเชีย และสหภาพยุโรป สำหรับสินค้ากุ้งและอาหารทะเลแปรรูปมีการผลิตเพิ่มขึ้นในลักษณะที่มีการแปรรูปสินค้าเพื่อ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับตลาดนำเข้า ทั้งนี้ การผลิตสินค้าอาหารจะมีแนวโน้มเป็นการผลิตเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้บริโภคจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดลักษณะของสินค้ามากขึ้น
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ภาวะการตลาดภายในประเทศสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ยังไม่คึกคักมากนัก ทั้งที่ภาครัฐพยายามผลักดัน
นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น นโยบายพักชำระหนี้เกษตรกร นโยบายกองทุนหมู่บ้าน และนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้เกิดการ
ใช้จ่ายและการบริโภคสินค้าของประชาชนในประเทศมากขึ้น แต่จากความผันผวนของราคาน้ำมัน และการอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้ผู้บริโภค
บางส่วนชะลอการจับจ่ายใช้สอยในสินค้าฟุ่มเฟือย และบริโภคสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ภาวะการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงลดลง กล่าวคือ มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น
1,473.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 23.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 6.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทยที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย จีน ไต้หวัน
และสหภาพยุโรป มีการขยายตัวลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามกลุ่มประเภทสินค้าอาหารแล้ว พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
ได้แก่
อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์แปรรูป มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมีมูลค่าส่งออกรวม 1,135.6 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.69 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีการเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 9.59 ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารทะเล
ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ปูกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ทูน่าแปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นการนำเข้า
เพิ่มขึ้นจากตลาดส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญ คือ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และ สหภาพยุโรป ส่วนตลาดสหรัฐฯ
ซึ่งเป็นตลาดหลักแห่งเดียวที่มีการนำเข้าลดลง
ผักผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูป มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 208.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ลดลงร้อยละ 10.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ลดลงร้อยละ 4.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากการประสบปัญหาจากการที่ประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มทวีความรุนแรง
ในการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการด้านสุขอนามัยของประเทศในแถบ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน
และญี่ปุ่น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูปของไทยมีการส่งออก ลดลง โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรดเข้มข้นบรรจุกระป๋อง และ
ผักผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐและภาคเอกชนได้พยายามเร่งประชาสัมพันธ์สินค้าทั้งในตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดยมีการขยาย
การส่งออกผักกระป๋องและแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นที่สำคัญ คือ ข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง
หน่อไม้กระป๋อง และผักดองด้วยน้ำส้มอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 222.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นประเภทสัตว์ปีกแปรรูป ได้แก่ ไก่สด
แช่เย็นแช่แข็ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน) เป็ดสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 14.29) และไก่แปรรูป (ร้อยละ 8.05)
ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการระบาดของโรควัวบ้าและโรคปากเท้าเปื่อย ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนหันมานิยมบริโภคเนื้อสัตว์ปีกแทน โดยเฉพาะ
ตลาดในแถบสหภาพยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี และฝรั่งเศส รวมทั้งตลาดในแถบเอเชีย เช่น ฮ่องกง อินโดนีเซีย
สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ได้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกแปรรูปเพิ่มขึ้น ยกเว้นตลาดญี่ปุ่นที่มีการนำเข้าลดลงเล็กน้อย
หลังจากตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย VRE (Vancomycin Resistant Enterococi) ในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ของไทย ทำให้ญี่ปุ่นเข้มงวดในการนำเข้า
เนื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น และหันมานำเข้าจากแหล่งอื่นทดแทน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากธัญพืชและแป้ง มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 264.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.01 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.39 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นผลมาจากการนำเข้าของญี่ปุ่น ซึ่ง
เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ขนมปังกรอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป
ที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด รวมทั้งมีการขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปยังตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และเอเชียด้วย สำหรับผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลังก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการของไทยได้มีการปรับและพัฒนาระบบการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานที่ทาง
สหภาพยุโรปได้กำหนดไว้ โดยมีตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ เนเธอร์แลนด์
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ น้ำตาลทรายและกากน้ำตาลทราย (ลดลงร้อยละ 38.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน) เนื่องจากปริมาณผลผลิต
ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ เครื่องเทศและสมุนไพร (ลดลงร้อยละ 25) ซุปและอาหารปรุงแต่ง (ลดลงร้อยละ 26.09)
สิ่งปรุงรส (ลดลงร้อยละ 5.78) เนื่องจากมีความต้องการซื้อจากต่างประเทศลดลง สำหรับนมและผลิตภัณฑ์นม มีมูลค่าการ ส่งออกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 74.59 เนื่องจากผู้ผลิตได้มีการพัฒนาสายการผลิต (Product Lines)ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค และขยายฐานการส่งออก
ตารางที่ 1. มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สินค้า ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี 2543 ปี 2544 ปี 2544 เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1. สินค้าประมง 1,256.0 956.8 1,135.6 18.69 -9.59
1.1 อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 643.6 720.5 862.2 19.67 33.97
1.2 อาหารทะเลกระป๋อง 555.2 178.3 203.8 14.30 -63.29
1.3 อาหารทะเลแปรรูป 57.2 58.0 69.6 20.00 21.68
2. สินค้าพืชผักผลไม้แปรรูป 219.3 233.2 208.4 -10.63 -4.97
2.1 ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง 59.5 59.3 44.4 -25.13 -25.38
2.2 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 98.5 112.7 99.7 -11.54 1.22
2.3 ผักสดแช่เย็นแช่แข็ง 19.5 24.8 22.6 -8.87 15.90
2.4 ผักกระป๋องและแปรรูป 41.8 36.4 41.7 14.56 -0.24
3. สินค้าปศุสัตว์แปรรูป 160.3 186.4 222.4 19.31 38.74
4. สินค้าแปรรูปจากธัญพืชและแป้ง 212.4 222.0 264.2 19.01 24.39
5. สินค้าอื่นๆ 190.7 323.8 228.8 -29.34 19.98
รวม 1,573.5 1,922.2 1,473.4 -23.35 -6.36
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากรท
การนำเข้า
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 มีการนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 721.7 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ10.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในกลุ่ม
สัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็ง มีมูลค่านำเข้า 273.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นของกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 164.48) สำหรับกลุ่มสัตว์และพืช มีมูลค่านำเข้า 254.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นของกากพืชน้ำมัน (ร้อยละ 34.07) ปลาป่นและสัตว์อื่นป่น (ร้อยละ 54.76)
และอาหารสัตว์ (ร้อยละ 18.70) ส่วนในกลุ่มอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 193.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.92 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นของธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป (ร้อยละ 9.36) ผักผลไม้และของปรุงแต่งจากผักผลไม้ (ร้อยละ
12.83) โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มีการนำเข้าลดลงเพียงอย่างเดียว คือ ผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 8.37
ตารางที่ 2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหาร (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สินค้า ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี 2543 ปี 2543 ปี 2544 เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1. สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 460.7 466.4 527.9 13.19 14.59
1.1 สัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็ง 207.0 242.6 273.4 12.70 32.08
1.2 สัตว์และพืช 253.7 223.8 254.5 13.72 0.32
2. สินค้าอุปโภคบริโภค 159.4 188.3 193.8 2.92 21.58
2.1 ผลิตภัณฑ์นม 58.1 76.5 70.1 -8.37 20.65
2.2 ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป 67.7 70.5 77.1 9.36 13.88
2.3 ผักผลไม้และของปรุงแต่งจากผักผลไม้ 33.6 41.3 46.6 12.83 38.69
รวม 620.1 654.7 721.7 10.23 16.38
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. นโยบายและมาตรการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร
1) ครม. มีมติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 เห็นชอบในเรื่อง การจัดสรรน้ำตาลทรายดิบ โควตา ข. ฤดูการผลิตปี 2544/2545
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ดำเนินการตามแนวทางเดิมที่องค์กรชาวไร่อ้อยเสนอในการจัดสรร
น้ำตาลทรายดิบที่ผลิตได้จำนวน 800,000 ตัน โดยให้บริษัทฯ จำหน่ายออกนอกประเทศ จำนวน 400,000 ตัน ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 400,000
ตัน ให้ขายคืนโรงงาน
2) จากการประชุม 5 กระทรวง คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ
กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 ได้มีมติร่วมกันให้มีการจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานสินค้าอาหารแห่งชาติ โดยจะรวบรวมงาน
ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าอาหาร มาไว้ในหน่วยงานเดียว (Single Agency) เพื่อลดปัญหาการประสานงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และช่วย
ลดขั้นตอนในการดำเนินการของภาคเอกชน โดยสำนักงานฯ จะทำหน้าที่ดูแลออกกฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าอาหาร ดำเนินการตรวจสอบ
อาหาร และออกใบรับรอง โดยจะมีการแบ่งงานไม่ให้ซ้ำซ้อนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมทั้งการให้ข้อมูลต่างๆ กับ
ภาคเอกชน และทำหน้าที่ในการต่อรองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องเทคนิคในการกำหนดมาตรฐานอาหาร ซึ่งคาดว่าจะจัดตั้งเสร็จภายใน
เดือนกันยายน 2545
4. สรุป
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 นี้ คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่า
จะเกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ก็ตาม แต่ก็เป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถเพิ่มการส่งออกได้
เนื่องจากประเทศต่างๆ ได้เริ่มกักตุนอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว รวมทั้งสินค้าอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เช่น ปลา
กระป๋อง ผักผลไม้กระป๋อง เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการของไทยควรศึกษาและหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มและ
สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น ฟิลิปปินส์ คู่แข่งการส่งออก
สับปะรดกระป๋องและแช่เย็นแช่แข็ง น้ำสับปะรดกระป๋อง ผลไม้อบแห้ง ผักสดแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง อินโดนีเซีย คู่แข่งการส่งออกสับปะรด
และน้ำสับปะรดกระป๋อง ผักผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องเทศและสมุนไพร และอาหารทะเลแช่แข็ง (กุ้งและปูกระป๋อง) จีน คู่แข่งการ
ส่งออกสินค้าเกือบทุกชนิดของไทย เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่ำ อินเดียและบังคลาเทศ คู่แข่งสำคัญในการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแข็ง
มาเลเซีย คู่แข่งการส่งออกทูน่ากระป๋อง ผักผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง และผลไม้กระป๋อง ซึ่งประเทศคู่แข่งต่างๆ ดังกล่าว ได้พยายาม
พัฒนาการผลิตสินค้าอาหารให้ได้เท่าเทียมกับสินค้าของไทย แต่ในราคาที่ต่ำกว่าสินค้าอาหารของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ
โลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และจากการสอบถามผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม พบว่า ผลิตภัณฑ์ไก่มีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มคำสั่งซื้อ
โดยเฉพาะจากตลาดหลัก คือเอเชีย และสหภาพยุโรป สำหรับสินค้ากุ้งและอาหารทะเลแปรรูปมีการผลิตเพิ่มขึ้นในลักษณะที่มีการแปรรูปสินค้าเพื่อ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น ซึ่งการผลิตส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับตลาดนำเข้า ทั้งนี้ การผลิตสินค้าอาหารจะมีแนวโน้มเป็นการผลิตเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้บริโภคจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดลักษณะของสินค้ามากขึ้น
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ภาวะการตลาดภายในประเทศสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ยังไม่คึกคักมากนัก ทั้งที่ภาครัฐพยายามผลักดัน
นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น นโยบายพักชำระหนี้เกษตรกร นโยบายกองทุนหมู่บ้าน และนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้เกิดการ
ใช้จ่ายและการบริโภคสินค้าของประชาชนในประเทศมากขึ้น แต่จากความผันผวนของราคาน้ำมัน และการอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้ผู้บริโภค
บางส่วนชะลอการจับจ่ายใช้สอยในสินค้าฟุ่มเฟือย และบริโภคสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ภาวะการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารมีการเปลี่ยนแปลงลดลง กล่าวคือ มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น
1,473.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 23.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 6.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทยที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย จีน ไต้หวัน
และสหภาพยุโรป มีการขยายตัวลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามกลุ่มประเภทสินค้าอาหารแล้ว พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
ได้แก่
อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์แปรรูป มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมีมูลค่าส่งออกรวม 1,135.6 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.69 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีการเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 9.59 ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารทะเล
ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ปูกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ทูน่าแปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นการนำเข้า
เพิ่มขึ้นจากตลาดส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญ คือ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และ สหภาพยุโรป ส่วนตลาดสหรัฐฯ
ซึ่งเป็นตลาดหลักแห่งเดียวที่มีการนำเข้าลดลง
ผักผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูป มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 208.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ลดลงร้อยละ 10.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ลดลงร้อยละ 4.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากการประสบปัญหาจากการที่ประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มทวีความรุนแรง
ในการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการด้านสุขอนามัยของประเทศในแถบ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน
และญี่ปุ่น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูปของไทยมีการส่งออก ลดลง โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรดเข้มข้นบรรจุกระป๋อง และ
ผักผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐและภาคเอกชนได้พยายามเร่งประชาสัมพันธ์สินค้าทั้งในตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดยมีการขยาย
การส่งออกผักกระป๋องและแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นที่สำคัญ คือ ข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง
หน่อไม้กระป๋อง และผักดองด้วยน้ำส้มอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 222.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นประเภทสัตว์ปีกแปรรูป ได้แก่ ไก่สด
แช่เย็นแช่แข็ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน) เป็ดสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 14.29) และไก่แปรรูป (ร้อยละ 8.05)
ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการระบาดของโรควัวบ้าและโรคปากเท้าเปื่อย ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนหันมานิยมบริโภคเนื้อสัตว์ปีกแทน โดยเฉพาะ
ตลาดในแถบสหภาพยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เยอรมนี และฝรั่งเศส รวมทั้งตลาดในแถบเอเชีย เช่น ฮ่องกง อินโดนีเซีย
สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ได้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกแปรรูปเพิ่มขึ้น ยกเว้นตลาดญี่ปุ่นที่มีการนำเข้าลดลงเล็กน้อย
หลังจากตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย VRE (Vancomycin Resistant Enterococi) ในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ของไทย ทำให้ญี่ปุ่นเข้มงวดในการนำเข้า
เนื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น และหันมานำเข้าจากแหล่งอื่นทดแทน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากธัญพืชและแป้ง มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 264.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.01 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.39 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นผลมาจากการนำเข้าของญี่ปุ่น ซึ่ง
เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ขนมปังกรอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป
ที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด รวมทั้งมีการขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปยังตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และเอเชียด้วย สำหรับผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลังก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการของไทยได้มีการปรับและพัฒนาระบบการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานที่ทาง
สหภาพยุโรปได้กำหนดไว้ โดยมีตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ เนเธอร์แลนด์
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ น้ำตาลทรายและกากน้ำตาลทราย (ลดลงร้อยละ 38.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน) เนื่องจากปริมาณผลผลิต
ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ เครื่องเทศและสมุนไพร (ลดลงร้อยละ 25) ซุปและอาหารปรุงแต่ง (ลดลงร้อยละ 26.09)
สิ่งปรุงรส (ลดลงร้อยละ 5.78) เนื่องจากมีความต้องการซื้อจากต่างประเทศลดลง สำหรับนมและผลิตภัณฑ์นม มีมูลค่าการ ส่งออกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 74.59 เนื่องจากผู้ผลิตได้มีการพัฒนาสายการผลิต (Product Lines)ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค และขยายฐานการส่งออก
ตารางที่ 1. มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สินค้า ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี 2543 ปี 2544 ปี 2544 เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1. สินค้าประมง 1,256.0 956.8 1,135.6 18.69 -9.59
1.1 อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 643.6 720.5 862.2 19.67 33.97
1.2 อาหารทะเลกระป๋อง 555.2 178.3 203.8 14.30 -63.29
1.3 อาหารทะเลแปรรูป 57.2 58.0 69.6 20.00 21.68
2. สินค้าพืชผักผลไม้แปรรูป 219.3 233.2 208.4 -10.63 -4.97
2.1 ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง 59.5 59.3 44.4 -25.13 -25.38
2.2 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 98.5 112.7 99.7 -11.54 1.22
2.3 ผักสดแช่เย็นแช่แข็ง 19.5 24.8 22.6 -8.87 15.90
2.4 ผักกระป๋องและแปรรูป 41.8 36.4 41.7 14.56 -0.24
3. สินค้าปศุสัตว์แปรรูป 160.3 186.4 222.4 19.31 38.74
4. สินค้าแปรรูปจากธัญพืชและแป้ง 212.4 222.0 264.2 19.01 24.39
5. สินค้าอื่นๆ 190.7 323.8 228.8 -29.34 19.98
รวม 1,573.5 1,922.2 1,473.4 -23.35 -6.36
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากรท
การนำเข้า
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2544 มีการนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 721.7 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ10.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในกลุ่ม
สัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็ง มีมูลค่านำเข้า 273.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นของกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (ร้อยละ 164.48) สำหรับกลุ่มสัตว์และพืช มีมูลค่านำเข้า 254.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นของกากพืชน้ำมัน (ร้อยละ 34.07) ปลาป่นและสัตว์อื่นป่น (ร้อยละ 54.76)
และอาหารสัตว์ (ร้อยละ 18.70) ส่วนในกลุ่มอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 193.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.92 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นของธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป (ร้อยละ 9.36) ผักผลไม้และของปรุงแต่งจากผักผลไม้ (ร้อยละ
12.83) โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มีการนำเข้าลดลงเพียงอย่างเดียว คือ ผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 8.37
ตารางที่ 2. มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหาร (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สินค้า ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี 2543 ปี 2543 ปี 2544 เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาสก่อน ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
1. สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 460.7 466.4 527.9 13.19 14.59
1.1 สัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็ง 207.0 242.6 273.4 12.70 32.08
1.2 สัตว์และพืช 253.7 223.8 254.5 13.72 0.32
2. สินค้าอุปโภคบริโภค 159.4 188.3 193.8 2.92 21.58
2.1 ผลิตภัณฑ์นม 58.1 76.5 70.1 -8.37 20.65
2.2 ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป 67.7 70.5 77.1 9.36 13.88
2.3 ผักผลไม้และของปรุงแต่งจากผักผลไม้ 33.6 41.3 46.6 12.83 38.69
รวม 620.1 654.7 721.7 10.23 16.38
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. นโยบายและมาตรการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร
1) ครม. มีมติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 เห็นชอบในเรื่อง การจัดสรรน้ำตาลทรายดิบ โควตา ข. ฤดูการผลิตปี 2544/2545
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ดำเนินการตามแนวทางเดิมที่องค์กรชาวไร่อ้อยเสนอในการจัดสรร
น้ำตาลทรายดิบที่ผลิตได้จำนวน 800,000 ตัน โดยให้บริษัทฯ จำหน่ายออกนอกประเทศ จำนวน 400,000 ตัน ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 400,000
ตัน ให้ขายคืนโรงงาน
2) จากการประชุม 5 กระทรวง คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ
กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 ได้มีมติร่วมกันให้มีการจัดตั้งสำนักงานมาตรฐานสินค้าอาหารแห่งชาติ โดยจะรวบรวมงาน
ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าอาหาร มาไว้ในหน่วยงานเดียว (Single Agency) เพื่อลดปัญหาการประสานงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และช่วย
ลดขั้นตอนในการดำเนินการของภาคเอกชน โดยสำนักงานฯ จะทำหน้าที่ดูแลออกกฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าอาหาร ดำเนินการตรวจสอบ
อาหาร และออกใบรับรอง โดยจะมีการแบ่งงานไม่ให้ซ้ำซ้อนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมทั้งการให้ข้อมูลต่างๆ กับ
ภาคเอกชน และทำหน้าที่ในการต่อรองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องเทคนิคในการกำหนดมาตรฐานอาหาร ซึ่งคาดว่าจะจัดตั้งเสร็จภายใน
เดือนกันยายน 2545
4. สรุป
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 นี้ คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่า
จะเกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ก็ตาม แต่ก็เป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถเพิ่มการส่งออกได้
เนื่องจากประเทศต่างๆ ได้เริ่มกักตุนอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว รวมทั้งสินค้าอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เช่น ปลา
กระป๋อง ผักผลไม้กระป๋อง เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการของไทยควรศึกษาและหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มและ
สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น ฟิลิปปินส์ คู่แข่งการส่งออก
สับปะรดกระป๋องและแช่เย็นแช่แข็ง น้ำสับปะรดกระป๋อง ผลไม้อบแห้ง ผักสดแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง อินโดนีเซีย คู่แข่งการส่งออกสับปะรด
และน้ำสับปะรดกระป๋อง ผักผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องเทศและสมุนไพร และอาหารทะเลแช่แข็ง (กุ้งและปูกระป๋อง) จีน คู่แข่งการ
ส่งออกสินค้าเกือบทุกชนิดของไทย เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่ำ อินเดียและบังคลาเทศ คู่แข่งสำคัญในการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแข็ง
มาเลเซีย คู่แข่งการส่งออกทูน่ากระป๋อง ผักผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง และผลไม้กระป๋อง ซึ่งประเทศคู่แข่งต่างๆ ดังกล่าว ได้พยายาม
พัฒนาการผลิตสินค้าอาหารให้ได้เท่าเทียมกับสินค้าของไทย แต่ในราคาที่ต่ำกว่าสินค้าอาหารของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--