ฉบับที่ 116 / 2543
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนตุลาคม 2543 (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบัน
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.8 โดยมีแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อจากปัจจัยทางด้านต้นทุน อาทิ ราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนลง ส่วนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2543
การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า คณะกรรมการฯ เห็นว่า
1. สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกและความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น จึงได้ปรับข้อสมมติราคาน้ำมันโลกเพิ่มขึ้นตามเป็นเฉลี่ย 29 ดอลลาร์/บาร์เรลในไตรมาส 4 ของปี 2543 และเฉลี่ย 28 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2544 (จากเดิมที่ใช้เฉลี่ย 25 ดอลลาร์/บาร์เรล)
2. ค่าเงินยูโรที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ได้ส่งผลให้ราคาส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. ของสหภาพยุโรปลดลงและจะช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในตลาดโลก โดยเฉพาะดัชนีราคาสินค้าอุตสาหกรรมและดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมัน
3. ในปี 2543-2544 เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีโอกาสที่จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.7 และ 4.2 ตามลำดับ จากเดิมที่เคยประเมินไว้ที่ร้อยละ 4.2 และ 3.9 (อ้างอิงจากประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
4. ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะปรับตัวลงอย่างรุนแรงมีน้อยลง
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังมีความอ่อนตัวอยู่บ้าง โดยอัตราการเพิ่มของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศเริ่มชะลอตัว ส่วนการเพิ่มตัวของการลงทุนภาคเอกชน นั้น เป็นไปอย่างช้าๆ
จากการประมาณการเดิมเมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2543 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.5 ด้วยความเป็นไปได้ (Probability) ร้อยละ 72 แต่ในเดือนนี้ได้ปรับการประมาณการเล็กน้อย โดยโอกาสที่จะอยู่ในช่วงล่างของช่วงประมาณการเดิมระหว่างร้อยละ 4.5 - 5 ได้เพิ่มสูงกว่าเดิม จากที่เคยประมาณไว้ที่ร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 61 ส่วนความเป็นไปได้ที่จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 5 - 5.5 ลดลง จากเดิมที่มีโอกาสร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 10
สำหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2544 ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2543 เห็นว่ามีโอกาสจะอยู่ระหว่างร้อยละ 4 - 6 ด้วยความเป็นไปได้ (Probability) ร้อยละ 65 นั้น ในเดือนนี้ คาดว่าโอกาสที่จะอยู่ระหว่างร้อยละ 4 - 5.5 มีความแน่นอนมากกว่าเดิม โดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 57 จากเดิมที่ร้อยละ 52 ขณะที่ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเกินร้อยละ 5.5 ได้ปรับตัวลดลงจากเดิมคาดไว้ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 6
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มต่ำที่เคยคาดไว้ โดยในปี 2543 โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.5 - 1 ต่อปีมีสูงถึงร้อยละ 94 เทียบกับที่ประมาณการเดิมในเดือนกรกฎาคมที่มีโอกาสเพียงร้อยละ 36 สะท้อนว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาสินค้าหมวดอื่นไม่มากดังที่เคยคาดไว้
ส่วนในปี 2544 โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2 ต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 26 เทียบกับร้อยละ 14 ที่ประมาณไว้ในเดือนกรกฎาคม ทำให้คณะกรรมการฯ ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยทั้งปี สำหรับปี 2544 ให้มีช่วงกว้างขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 1.5 - 3 ต่อปีจากที่เคยประมาณไว้ที่ร้อยละ 2 - 3 ต่อปี
คณะกรรมการฯ เห็นว่า ในช่วงปลายปี 2544 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะสูงขึ้นเกินกว่ากรอบบนของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งกำหนดไว้ที่ร้อยละ 3.5 โดยมีสาเหตุเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 และความเป็นไปได้ที่จะเกินอัตราดังกล่าวแม้จะสูงถึงร้อยละ 65 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 แต่จะโน้มลดลงไปเป็นลำดับในไตรมาสถัดไป
แนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน
จากการประเมินภาวะเศรษฐกิจและประมาณการแนวโน้มเงินเฟ้อข้างต้น คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.5 เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของประเทศ ด้วยเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานส่วนใหญ่ยังคงอยู่ภายใต้เป้าหมายที่กำหนดไว้ และการที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนและแข็งแกร่งนั้น อุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนภาคเอกชน จะต้องฟื้นตัวมากขึ้นกว่านี้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเพื่อนำไปสู่การขยายตัวของสินเชื่อและเศรษฐกิจต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับที่ 3 ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/26 ตุลาคม 2543--
-ยก-
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนตุลาคม 2543 (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบัน
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.8 โดยมีแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อจากปัจจัยทางด้านต้นทุน อาทิ ราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนลง ส่วนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2543
การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า คณะกรรมการฯ เห็นว่า
1. สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกและความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น จึงได้ปรับข้อสมมติราคาน้ำมันโลกเพิ่มขึ้นตามเป็นเฉลี่ย 29 ดอลลาร์/บาร์เรลในไตรมาส 4 ของปี 2543 และเฉลี่ย 28 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2544 (จากเดิมที่ใช้เฉลี่ย 25 ดอลลาร์/บาร์เรล)
2. ค่าเงินยูโรที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ได้ส่งผลให้ราคาส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. ของสหภาพยุโรปลดลงและจะช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในตลาดโลก โดยเฉพาะดัชนีราคาสินค้าอุตสาหกรรมและดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมัน
3. ในปี 2543-2544 เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีโอกาสที่จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.7 และ 4.2 ตามลำดับ จากเดิมที่เคยประเมินไว้ที่ร้อยละ 4.2 และ 3.9 (อ้างอิงจากประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ)
4. ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะปรับตัวลงอย่างรุนแรงมีน้อยลง
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังมีความอ่อนตัวอยู่บ้าง โดยอัตราการเพิ่มของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศเริ่มชะลอตัว ส่วนการเพิ่มตัวของการลงทุนภาคเอกชน นั้น เป็นไปอย่างช้าๆ
จากการประมาณการเดิมเมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2543 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.5 ด้วยความเป็นไปได้ (Probability) ร้อยละ 72 แต่ในเดือนนี้ได้ปรับการประมาณการเล็กน้อย โดยโอกาสที่จะอยู่ในช่วงล่างของช่วงประมาณการเดิมระหว่างร้อยละ 4.5 - 5 ได้เพิ่มสูงกว่าเดิม จากที่เคยประมาณไว้ที่ร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 61 ส่วนความเป็นไปได้ที่จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 5 - 5.5 ลดลง จากเดิมที่มีโอกาสร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 10
สำหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2544 ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2543 เห็นว่ามีโอกาสจะอยู่ระหว่างร้อยละ 4 - 6 ด้วยความเป็นไปได้ (Probability) ร้อยละ 65 นั้น ในเดือนนี้ คาดว่าโอกาสที่จะอยู่ระหว่างร้อยละ 4 - 5.5 มีความแน่นอนมากกว่าเดิม โดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 57 จากเดิมที่ร้อยละ 52 ขณะที่ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเกินร้อยละ 5.5 ได้ปรับตัวลดลงจากเดิมคาดไว้ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 6
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มต่ำที่เคยคาดไว้ โดยในปี 2543 โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.5 - 1 ต่อปีมีสูงถึงร้อยละ 94 เทียบกับที่ประมาณการเดิมในเดือนกรกฎาคมที่มีโอกาสเพียงร้อยละ 36 สะท้อนว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาสินค้าหมวดอื่นไม่มากดังที่เคยคาดไว้
ส่วนในปี 2544 โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2 ต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 26 เทียบกับร้อยละ 14 ที่ประมาณไว้ในเดือนกรกฎาคม ทำให้คณะกรรมการฯ ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยทั้งปี สำหรับปี 2544 ให้มีช่วงกว้างขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 1.5 - 3 ต่อปีจากที่เคยประมาณไว้ที่ร้อยละ 2 - 3 ต่อปี
คณะกรรมการฯ เห็นว่า ในช่วงปลายปี 2544 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะสูงขึ้นเกินกว่ากรอบบนของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งกำหนดไว้ที่ร้อยละ 3.5 โดยมีสาเหตุเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 และความเป็นไปได้ที่จะเกินอัตราดังกล่าวแม้จะสูงถึงร้อยละ 65 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 แต่จะโน้มลดลงไปเป็นลำดับในไตรมาสถัดไป
แนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน
จากการประเมินภาวะเศรษฐกิจและประมาณการแนวโน้มเงินเฟ้อข้างต้น คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.5 เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของประเทศ ด้วยเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานส่วนใหญ่ยังคงอยู่ภายใต้เป้าหมายที่กำหนดไว้ และการที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนและแข็งแกร่งนั้น อุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนภาคเอกชน จะต้องฟื้นตัวมากขึ้นกว่านี้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเพื่อนำไปสู่การขยายตัวของสินเชื่อและเศรษฐกิจต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับที่ 3 ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/26 ตุลาคม 2543--
-ยก-