- APEC ก่อตั้งขึ้นจากการประชุมคณะรัฐมนตรีของประเทศในแถบเอเซีย-แปซิฟิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เพื่อตอบสนองต่อภาวะการพึ่งพาทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคและของโลก
- APEC มีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 7 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน จีนไทเป ฮ่องกง ปาปัวนิวกีนี เม็กซิโก ชิลี เปรู และรัสเซีย
- วัตถุประสงค์
- เพื่อลดอุปสรรค และอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปโดยเสรี และสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ GATT
- หลักการความร่วมมือในกรอบ APEC
- เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจตามความสมัครใจ ยึดหลักฉันทามติและการมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ สังคม และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก
- เป้าหมายของการเปิดเสรี
- ประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้วเปิดเสรีภายในปี 2010 (พ.ศ. 2553)
- ประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนาเปิดเสรีภายในปี 2020 (พ.ศ. 2563)
- การเปิดเสรีของไทยภายใต้ APEC
1. แผนการดำเนินงานของแต่ละประเทศ (Individual Action Plan : IAPs) ในการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ซึ่งสมาชิกพัฒนาแล้วจะเปิดเสรี ในปี 2010 (พ.ศ. 2553) สมาชิกกำลังพัฒนา ปี 2020 (พ.ศ. 2563)
- ไทยกำหนดแผนงานแต่ละช่วงไว้กว้าง ๆ ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการหรือจำเป็นต้องทำอยู่แล้ว เช่น การลดภาษีสินค้า IT การเพิ่มปริมาณการนำเข้ากากถั่วเหลือง นมผง การปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ เป็นต้น
2. แผนการดำเนินงานร่วมของสมาชิก (Collective Action Plan : CAPs)
- CAPs มีคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ภายใต้ APEC ครอบคลุม 15 สาขา เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 1997 (พ.ศ. 2540)
- พันธกรณี เน้นการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ประสบการณ์และร่วมมือทางเศรษฐกิจ และวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อลดอุปสรรค และปรับปรุงการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน เพื่อสมาชิกได้มีแนวทางในการเปิดเสรีในสาขาที่เกี่ยวข้องตามความพร้อมและระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิก
3. การเปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขาตามความสมัครใจ (Early Voluntary Sectoral Liberalization หรือ EVSL) ใน 15 สาขา ได้แก่ สินค้าและบริการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ปลาและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ พลังงาน ของเล่น อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ การจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วมในสินค้าโทรคมนาคม เมล็ดพืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องบินพลเรือน ปุ๋ย ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ และรถยนต์ ไทยจะดำเนินการ 9 สาขาแรกก่อน
4. ความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ดำเนินงานเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบการค้าไร้เอกสาร (paperless trading) และจัดทำแผนงานสนับสนุนวิสาหกิจขนาดเล็ก-กลาง ให้ใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5. โครงการระบบอาหารของ APEC (APEC Food System) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของภูมิภาค ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การกระจายเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปอาหาร และการส่งเสริมการค้าอาหาร
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregional Economic Cooperation : GMS-EC)
- ความเป็นมา
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ (มณฑลยูนาน) และไทย
- วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุน และการบริการ โดยได้ร่วมมือกันใน 8 สาขา คือ คมนาคมขนส่ง พลังงาน สื่อสารโทรคมนาคมพัฒนาทรัพยากรบุคคล ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม การลงทุน และการอำนวยความสะดวกทางการค้า ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
- สถานะปัจจุบัน
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนมกราคม 2543 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ให้ความเห็นชอบกิจกรรมของคณะทำงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ดังนี้
1) จัดตั้งหน่วยงานประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในแต่ละประเทศสมาชิก
2) ศึกษากฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ระเบียบพิธีการทางศุลกากร
3) ดำเนินโครงการนำร่องในการอำนวยความสะดวกทางการค้าในเขตพื้นที่เศรษฐกิจ East-West Corridor
4) ความร่วมมือด้านศุลกากร
5) การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางการค้าระหว่างกัน
6) ขยายความตกลงทางการค้าทวิภาคีที่มีอยู่แล้วให้เป็นความตกลงทางการค้าในระดับอนุภูมิภาค
7) ความร่วมมือด้านการเกษตร เรื่องการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต และมาตรฐานสุขอนามัยพืช สัตว์ และสินค้าประมง
8) จัดตั้งกลไกการยุติข้อพิพาททางการค้า
9) สร้างระบบการชำระเงิน เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติ
? แนวทางการดำเนินงาน
1) ประชุมคณะทำงานด้านอำนวยความสะดวกทางการค้า ณ นครคุนหมิง ในเดือนเมษายน 2544 พิจารณาความคืบหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ
2) จัดประชุม GMS Mid-Term Reveice Meeting ครั้งแรกในเดือนเมษายน 2544 เพื่อทบทวนการดำเนินงานความร่วมมือ 8 สาขา
3) ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรี ครั้งที่ 10 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนมิถุนายน 2544 เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานความร่วมมือ 8 สาขา
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle:IMT-GT)
- ความเป็นมา
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2536 โดยมีพื้นที่ความร่วมมือ ประกอบด้วย ภาคเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย (อาเจตห์สุมาตราเหนือและตะวันตก) 4 รัฐตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย (เคดาห์ เปอร์ลิส เปรัก และปีนัง) และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย (สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล)
- วัตถุประสงค์
เพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 10 สาขา คือ คมนาคมขนส่งทางบกและทางน้ำ พลังงาน เกษตรและประมง อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว การค้าและศุลกากร การเงินและการลงทุน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการเคลื่อนย้ายแรงงาน การคมนาคมขนส่งทางอากาศ และการสื่อสารโทรคมนาคม
- สถานะปัจจุบัน
1) การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา การดำเนินงานไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
2) จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตามแนวทางพัฒนาใหม่ คือ การพัฒนาพื้นที่จังหวัดสงขลา ปีนัง และเมดาน ตามยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่ Infrastructure Development, In-situ Development, Open Market Operation : Special Telecommunication Zone,Sectoral Development : Tourism Development, Cross Sectoral : The Development of Human Resource และ Development of the Hinterlands ทั้งนี้ จะนำเสนอที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสพิจารณาก่อนเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 ในเดือนมีนาคม 2544 ให้การรับรองต่อไป
โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุทวีป (Bangladesh-India-Myanmar-Srilanka Thailand Economic Cooperation : BIMST-EC)
- ความเป็นมา
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุทวีป ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อปี 2540 ประกอบด้วย 5 ประเทศ คือ บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย
- วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค โดยร่วมมือกันใน 6 สาขา ได้แก่ การค้าและการลงทุน เทคโนโลยี คมนาคมขนส่ง พลังงาน ท่องเที่ยว และประมง
- สถานะปัจจุบัน
1) การประชุมรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมกราคม 2543 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศเพื่อจัดทำ Concept Paper ความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีภายใต้กรอบ BIMST-EC
2) การประชุมผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย จัดทำ Concept Paper เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการให้สิทธิพิเศษทางการค้า 2 แนวทาง คือ
- Positive List Approach : เป็นแนวทางที่ใช้ดำเนินการเพื่อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษทางการค้า ประเทศสมาชิกจะมีการเจรจาทวิภาคี เพื่อขอลดหย่อนภาษีระหว่างกันในลักษณะรายสินค้า หรือรายสาขา
- Negative List Approach : เป็นแนวทางนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรี โดยประเทศสมาชิกตกลงที่จะยกเลิกมาตรการภาษี และมิใช่ภาษีระหว่างกัน ยกเว้นสินค้าใน Negative List การลดภาษีจะเน้นไปตามระยะเวลาที่กำหนดตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับ Local Content และแหล่งกำเนิดสินค้า ทั้งนี้ที่ประชุมได้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาข้อดีและข้อเสียของแนวทางดังกล่าวด้วย
3) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีสาระสำคัญ ดังนี้
- เห็นชอบตามข้อเสนอของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรี BIMST-EC
- สนับสนุนการจัดตั้ง e-BIMST-EC ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อสร้างเครือข่ายข้อมูลของ BIMST-EC โดยให้อินเดียเป็นประเทศนำ
- ให้มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า เพิ่มขึ้นจากปีละครั้งเป็นปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นประมาณเดือนสิงหาคม/กันยายน 2544 ณ ประเทศบังคลาเทศ
องค์การการค้าโลก (WTO)
- องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 มีสมาชิกเริ่มแรก 81 ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก 140 ประเทศ ประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้งของ WTO ลำดับที่ 59 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537
- วัตถุประสงค์
1) เพื่อสนับสนุนให้มีการค้าเสรีระหว่างสมาชิก
2) เพื่อดูแลให้สมาชิกดำเนินการตามข้อตกลงทางการค้าที่มีต่อกัน
3) เป็นคนกลางในการตัดสินข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสมาชิก
- หลักการสำคัญ ๆ
- เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกทั้งในรูปของมาตรการภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร
- การใช้มาตรการ กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการค้าโดยไม่เลือกปฏิบัติกับประเทศสมาชิก กล่าวคือ การปฏิบัติต่อสินค้าจากทุกประเทศเท่าเทียมกัน (Most-Favored Nation Treatment : MFN) และการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าเท่าเทียมกับสินค้าภายในประเทศ (National Treatment)
- เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และหากไม่สามารถตกลงกันได้ จะจัดตั้งคณะผู้พิจารณา (Penel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้
ข้อเสนอแนะ
- ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี (Special and Differential Treatment : S&D) ผ่อนผันให้ประเทศกำลังพัฒนาจำกัดการนำเข้าได้หากมีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพดุลการค้า รวมทั้งมีระยะเวลาและข้อผูกพันที่ยืดหยุ่นมากกว่า
- พันธกรณีของไทยภายใต้ WTO
1) การเปิดตลาด
1.1 การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (รวมสินค้าประมง) โดยประเทศไทยต้องลดภาษีศุลกากร สินค้าอุตสาหกรรมลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 28 จำนวน 3,153 รายการ (พิกัด 6-7 หลัก) ภายใน 5 ปี รวมทั้งจะต้องผูกพันอัตราภาษีที่ได้ลดแล้วแต่เนื่องจากอัตราภาษีที่ประกาศลดส่วนใหญ่สูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจริงในปัจจุบัน มีเพียง 854 รายการเท่านั้นที่จะต้องปรับลดภาษีลงให้สอดคล้องกับที่ผูกพัน
1.2 การเปิดตลาดสินค้าเกษตร (ไม่รวมสินค้าประมง) ประเทศไทย
มีพันธกรณี ดังนี้
- ลดภาษีศุลกากรสินค้าเกษตรลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 24 จำนวน 738 รายการ ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2547)
- ลดภาษีอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรลงจาก 22,000 ล้านบาท เหลือ19,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2547)
1.3 สิ่งทอและเสื้อผ้า ให้เปิดเสรีโดยยกเลิกการจำกัดการนำเข้าทั้งหมดภายใน 10 ปี ประเทศไทยไม่มีข้อจำกัดด้านปริมาณการนำเข้าสิ่งทอ
1.4 สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามความตกลง ITA-1 ไทยมีข้อผูกพันต้องลดภาษีศุลกากรสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศเหลือร้อยละ 0 จำนวน 157 รายการภายใน 3 ปี และ 32 รายการ ภายใน 8 ปี
2) กฎระเบียบการค้า
การปรับปรุงและกำหนดกฎระเบียบการค้าที่สำคัญ ได้แก่
- มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และจัดตั้งหน่วยงานประสานงานและตอบข้อซักถามภายใต้การดำเนินงานของ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
- มีการปรับปรุงกฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมทางการค้า และป้องกันการเอาเปรียบจากต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงใน WTO โดยการประกาศใช้ พ.ร.บ.ต่อต้านการทุ่มตลาด และตอบโต้การอุดหนุน ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
3) เรื่องใหม่ ๆ
3.1 การเปิดเสรีการค้าบริการ (GATS) ประเทศไทยผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ ครอบคลุมเรื่องการเข้าสู่ตลาด (Market Access) และการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) รวม 10 สาขา ได้แก่ บริการธุรกิจ การสื่อสารคมนาคม การก่อสร้างและวิศวกรรม การจัดจำหน่ายด้านสิ่งแวดล้อม การเงิน การศึกษา นันทนาการ วัฒนธรรมและการกีฬา การท่องเที่ยว และการขนส่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 ยกเว้นบริการด้านการเงินในธุรกิจธนาคาร และเงินทุนจะมีผลผูกพันตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2542 และบริการด้านโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานจะเปิดเสรีในปี 2549 โดยการเปิดเสรีผูกพันเพียงเท่าที่กฎหมายในแต่ละสาขาบริการที่เกี่ยวข้องให้อำนาจไว้เท่านั้น
3.2 การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPs) ประเทศไทยมีข้อผูกพันต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า รวมทั้งออกกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับความตกลง เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ พ.ร.บ. คุ้มครองการออกแบบวงจรรวม พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช และ พ.ร.บ. คุ้มครองความลับทางการค้า
3.3 มาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIMs) ประเทศไทยต้องยกเลิกมาตรการลงทุนที่มีผลเท่ากับการกีดกันการนำเข้า คือ มาตรการกำหนดให้ใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิตสินค้าหรือที่เรียกว่า Local Content Requirement ภายใน 5 ปี (พ.ศ. 2542)
3.4 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทยมีข้อผูกพันจะไม่เรียกเก็บภาษีศุลกากรกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการค้าจนกว่าที่ประชุมองค์การการค้าโลกมีมติเป็นอื่น
จุดอ่อนจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย
- จุดแข็งของเศรษฐกิจไทย
- ประเทศไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากมีโครงสร้างการผลิตหลากหลาย
ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร
การท่องเที่ยวและบริการ เป็นต้น
- ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย เปิดกว้าง ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสถาบันครอบครัว ทำให้สามารถปรับตัวได้ง่ายภายใต้กระแสต่าง ๆ ที่แปรเปลี่ยนไป รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศ
- ที่ตั้งของประเทศเป็นภูมิยุทธศาสตร์ที่ดี เพราะเป็นศูนย์เชื่อมโยงจีน อินโดจีนอาเซียนและเอเซียใต้เข้าด้วยกัน และมีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในระหว่างภูมิภาค
- มีระบบบริหารการจัดการ และการปกครอง ตลอดจนความมีเสถียรภาพของรัฐบาล รวมถึงมีโครงสร้างกฎหมายที่โปร่งใส เป็นธรรม ล้วนแต่เอื้ออำนวยต่อการสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง มีคุณภาพ และอย่างยั่งยืน สามารถประสานประโยชน์ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ในประชาคมโลก
- จุดอ่อนของเศรษฐกิจไทย
- ขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของไทยมีแนวโน้มลดลง และอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเซีย 10 ประเทศ ดังจะเห็นได้จากการศึกษาของ IMD (International Institute for Management Development) พบว่าขีดความสามารถของไทย ในการแข่งขันด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจภายในประเทศปี 2539 อยู่ในลำดับที่ 12 และลดมาอยู่ในลำดับที่ 37 ในปี 2543 และอยู่ในลำดับต่ำกว่า ญี่ปุ่น (6) สิงคโปร์ (8) ไต้หวัน (17) จีน (18) เกาหลี (20) มาเลเซีย (26) ฮ่องกง (27) แต่สูงกว่าฟิลิปปินส์ (41) และ อินโดนีเซีย (45) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี 2543 ไทยอยู่ในลำดับที่ 47 เป็นลำดับ สุดท้ายของกลุ่มที่สำรวจ 47 ประเทศ ลดมาจากลำดับที่ 44 ในปี 2539 ด้านการเงิน จากลำดับที่ 26 ในปี 2539 เป็นลำดับที่ 38 ในปี 2543 และอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าสิงคโปร์ (10) ฮ่องกง (11) ญี่ปุ่น (22) ไต้หวัน (26) มาเลเซีย (29) เกาหลี (34) ฟิลิปปินส์ (35) แต่สูงกว่าจีน (44) และอินโดนีเซีย (43)
- ขีดความสามารถในการส่งออกสินค้าลดลงและมีแนวโน้มเสียเปรียบประเทศคู่แข่งในระยะยาว ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนการส่งออก ของไทยในตลาดโลก มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 1.11 ในปี 2538 ลดเหลือร้อยละ 1.04 ในปี 2542 เนื่องจากไทยเริ่มเสียเปรียบในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านค่าจ้างแรงงาน เสียเปรียบประเทศจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดียซึ่งมีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าไทย ด้านเทคโนโลยี เสียเปรียบมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการพัฒนามากกว่าไทย นอกจากนี้แล้ว เงื่อนไขทางการค้าขององค์การต่าง ๆ ส่งผลให้มีการส่งออกลดลงอีกด้วย
- การต้องพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง จากสถิติธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในปี 2542-2543 มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90ของการลงทุนทั้งหมดในประเทศไทย
- ต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยมีสัดส่วนการนำเข้าต่อ GDP เพิ่มขึ้นตลอด จากร้อยละ 40.6 ในปี 2540 เพิ่มเป็นร้อยละ 49.7 ในปี 2543 สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ เป็นเชื้อเพลิงยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น
- ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เนื่องจากขาดการวิจัยและพัฒนา
- โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การขนส่ง การสื่อสาร การพลังงาน มีไม่เพียงพอเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
- การขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพหลายสาขา เช่น วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ช่างเทคนิค เป็นต้น
- ทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัดและหายากขึ้น
- ความไม่ซื่อสัตย์ของข้าราชการบางกลุ่ม ก่อให้เกิดปัญหาคอรัปชั่นส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวม ตลอดจนความขัดแย้งของคนในสังคมมีมากขึ้น
แนวทางการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
- การปฏิรูปเศรษฐกิจภายใน
- การปรับโครงสร้างการผลิตอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต การตลาด การบริการ และการจัดการ รวมทั้งพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในระยะยาว
- ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน
- แก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากลมากขึ้น เช่น
* การออกกฎหมายเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ได้แก่ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยมุ่งเน้นการลดอุปสรรคหรือเครื่องกีดขวางการลงทุนจากต่างชาติที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ไทยอยู่ในฐานะที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงการสงวนธุรกิจบางอย่างไว้ให้คนไทยเพื่อให้เกิดความสมดุลด้วย
* กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมทางการค้าและป้องกันการเอาเปรียบจากต่างประเทศ ได้แก่ พ.ร.บ.ต่อต้านการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
* กฎหมายที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ได้แก่ พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 เพื่อยกระดับมาตรฐานการบัญชี
* การออกกฎหมายและจัดเตรียมกลไกต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการและผู้บริโภค เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ การปรับปรุงกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
- เสริมสร้างการบริหารการจัดการในภาคการธนาคาร การเงิน กฎหมาย และธุรกิจให้เข้มแข็ง
- บริหารการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
- เร่งรัดพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมในภูมิภาค ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางทะเล และทางสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
- ประสิทธิภาพขององค์กรของรัฐและเอกชน
- ต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ- ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในสังคมและระบบเศรษฐกิจมากขึ้น โดยรัฐอำนวยความสะดวกในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ เช่น สาธารณสุข การสื่อสารโทรคมนาคม
- ควรมีการประสานความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อบริหารจัดการทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยการเสริมสร้างความเป็นธรรมและโปร่งใส และร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
- ความมีการประสานเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อผลประโยชน์ในการเข้าไปทำการค้าและลงทุน
- การเตรียมพร้อมสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ในสังคมเศรษฐกิจยุคใหม่ รัฐควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการค้าและการลงทุนมากขึ้น โดยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น การเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคม การออกกฎหมายรองรับการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยต้องเร่งดำเนินการดังนี้
- กำหนดแผนงานทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจน
- กำจัดอุปสรรคทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎระเบียบพิธีการศุลกากร ฯลฯ
- ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างความแข่งแกร่งของระบบเศรษฐกิจโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากนี้ภาคเอกชนก็มีส่วนสำคัญที่จะต้องพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการดำเนินธุรกิจให้ทันกับกระแสโลก
บทบาทของราชการในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
- ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและกำจัดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ และเสริมสร้างขีดความสามารถให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยการปรับทิศทางการดำเนินงานให้มีความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- เน้นการประสานงานและดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน และหน่วยงานภาครัฐกับเอกชน ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน และทุกฝ่ายจะต้องรวมพลังเพื่อดำเนินการให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
- ควรให้การสนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและลดภาระของภาครัฐ ทั้งนี้ จะต้องมีระบบหรือกลไกดูแลการดำเนินงานของเอกชนมิให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภคมากเกินไป
- ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณภาพของบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจยุคใหม่
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
- APEC มีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 7 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน จีนไทเป ฮ่องกง ปาปัวนิวกีนี เม็กซิโก ชิลี เปรู และรัสเซีย
- วัตถุประสงค์
- เพื่อลดอุปสรรค และอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปโดยเสรี และสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ GATT
- หลักการความร่วมมือในกรอบ APEC
- เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจตามความสมัครใจ ยึดหลักฉันทามติและการมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ สังคม และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก
- เป้าหมายของการเปิดเสรี
- ประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้วเปิดเสรีภายในปี 2010 (พ.ศ. 2553)
- ประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนาเปิดเสรีภายในปี 2020 (พ.ศ. 2563)
- การเปิดเสรีของไทยภายใต้ APEC
1. แผนการดำเนินงานของแต่ละประเทศ (Individual Action Plan : IAPs) ในการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ซึ่งสมาชิกพัฒนาแล้วจะเปิดเสรี ในปี 2010 (พ.ศ. 2553) สมาชิกกำลังพัฒนา ปี 2020 (พ.ศ. 2563)
- ไทยกำหนดแผนงานแต่ละช่วงไว้กว้าง ๆ ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการหรือจำเป็นต้องทำอยู่แล้ว เช่น การลดภาษีสินค้า IT การเพิ่มปริมาณการนำเข้ากากถั่วเหลือง นมผง การปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ เป็นต้น
2. แผนการดำเนินงานร่วมของสมาชิก (Collective Action Plan : CAPs)
- CAPs มีคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ภายใต้ APEC ครอบคลุม 15 สาขา เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 1997 (พ.ศ. 2540)
- พันธกรณี เน้นการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ประสบการณ์และร่วมมือทางเศรษฐกิจ และวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อลดอุปสรรค และปรับปรุงการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน เพื่อสมาชิกได้มีแนวทางในการเปิดเสรีในสาขาที่เกี่ยวข้องตามความพร้อมและระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิก
3. การเปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขาตามความสมัครใจ (Early Voluntary Sectoral Liberalization หรือ EVSL) ใน 15 สาขา ได้แก่ สินค้าและบริการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ปลาและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ พลังงาน ของเล่น อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ การจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วมในสินค้าโทรคมนาคม เมล็ดพืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องบินพลเรือน ปุ๋ย ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ และรถยนต์ ไทยจะดำเนินการ 9 สาขาแรกก่อน
4. ความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ดำเนินงานเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบการค้าไร้เอกสาร (paperless trading) และจัดทำแผนงานสนับสนุนวิสาหกิจขนาดเล็ก-กลาง ให้ใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5. โครงการระบบอาหารของ APEC (APEC Food System) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของภูมิภาค ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การกระจายเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปอาหาร และการส่งเสริมการค้าอาหาร
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregional Economic Cooperation : GMS-EC)
- ความเป็นมา
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ (มณฑลยูนาน) และไทย
- วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุน และการบริการ โดยได้ร่วมมือกันใน 8 สาขา คือ คมนาคมขนส่ง พลังงาน สื่อสารโทรคมนาคมพัฒนาทรัพยากรบุคคล ท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม การลงทุน และการอำนวยความสะดวกทางการค้า ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
- สถานะปัจจุบัน
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนมกราคม 2543 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ให้ความเห็นชอบกิจกรรมของคณะทำงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ดังนี้
1) จัดตั้งหน่วยงานประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในแต่ละประเทศสมาชิก
2) ศึกษากฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ระเบียบพิธีการทางศุลกากร
3) ดำเนินโครงการนำร่องในการอำนวยความสะดวกทางการค้าในเขตพื้นที่เศรษฐกิจ East-West Corridor
4) ความร่วมมือด้านศุลกากร
5) การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางการค้าระหว่างกัน
6) ขยายความตกลงทางการค้าทวิภาคีที่มีอยู่แล้วให้เป็นความตกลงทางการค้าในระดับอนุภูมิภาค
7) ความร่วมมือด้านการเกษตร เรื่องการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต และมาตรฐานสุขอนามัยพืช สัตว์ และสินค้าประมง
8) จัดตั้งกลไกการยุติข้อพิพาททางการค้า
9) สร้างระบบการชำระเงิน เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติ
? แนวทางการดำเนินงาน
1) ประชุมคณะทำงานด้านอำนวยความสะดวกทางการค้า ณ นครคุนหมิง ในเดือนเมษายน 2544 พิจารณาความคืบหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ
2) จัดประชุม GMS Mid-Term Reveice Meeting ครั้งแรกในเดือนเมษายน 2544 เพื่อทบทวนการดำเนินงานความร่วมมือ 8 สาขา
3) ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรี ครั้งที่ 10 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนมิถุนายน 2544 เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานความร่วมมือ 8 สาขา
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle:IMT-GT)
- ความเป็นมา
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2536 โดยมีพื้นที่ความร่วมมือ ประกอบด้วย ภาคเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย (อาเจตห์สุมาตราเหนือและตะวันตก) 4 รัฐตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย (เคดาห์ เปอร์ลิส เปรัก และปีนัง) และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย (สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล)
- วัตถุประสงค์
เพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 10 สาขา คือ คมนาคมขนส่งทางบกและทางน้ำ พลังงาน เกษตรและประมง อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว การค้าและศุลกากร การเงินและการลงทุน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการเคลื่อนย้ายแรงงาน การคมนาคมขนส่งทางอากาศ และการสื่อสารโทรคมนาคม
- สถานะปัจจุบัน
1) การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา การดำเนินงานไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
2) จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตามแนวทางพัฒนาใหม่ คือ การพัฒนาพื้นที่จังหวัดสงขลา ปีนัง และเมดาน ตามยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่ Infrastructure Development, In-situ Development, Open Market Operation : Special Telecommunication Zone,Sectoral Development : Tourism Development, Cross Sectoral : The Development of Human Resource และ Development of the Hinterlands ทั้งนี้ จะนำเสนอที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสพิจารณาก่อนเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 ในเดือนมีนาคม 2544 ให้การรับรองต่อไป
โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุทวีป (Bangladesh-India-Myanmar-Srilanka Thailand Economic Cooperation : BIMST-EC)
- ความเป็นมา
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุทวีป ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อปี 2540 ประกอบด้วย 5 ประเทศ คือ บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย
- วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค โดยร่วมมือกันใน 6 สาขา ได้แก่ การค้าและการลงทุน เทคโนโลยี คมนาคมขนส่ง พลังงาน ท่องเที่ยว และประมง
- สถานะปัจจุบัน
1) การประชุมรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมกราคม 2543 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศเพื่อจัดทำ Concept Paper ความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีภายใต้กรอบ BIMST-EC
2) การประชุมผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย จัดทำ Concept Paper เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินการให้สิทธิพิเศษทางการค้า 2 แนวทาง คือ
- Positive List Approach : เป็นแนวทางที่ใช้ดำเนินการเพื่อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษทางการค้า ประเทศสมาชิกจะมีการเจรจาทวิภาคี เพื่อขอลดหย่อนภาษีระหว่างกันในลักษณะรายสินค้า หรือรายสาขา
- Negative List Approach : เป็นแนวทางนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรี โดยประเทศสมาชิกตกลงที่จะยกเลิกมาตรการภาษี และมิใช่ภาษีระหว่างกัน ยกเว้นสินค้าใน Negative List การลดภาษีจะเน้นไปตามระยะเวลาที่กำหนดตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับ Local Content และแหล่งกำเนิดสินค้า ทั้งนี้ที่ประชุมได้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาข้อดีและข้อเสียของแนวทางดังกล่าวด้วย
3) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 มีสาระสำคัญ ดังนี้
- เห็นชอบตามข้อเสนอของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรี BIMST-EC
- สนับสนุนการจัดตั้ง e-BIMST-EC ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อสร้างเครือข่ายข้อมูลของ BIMST-EC โดยให้อินเดียเป็นประเทศนำ
- ให้มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า เพิ่มขึ้นจากปีละครั้งเป็นปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นประมาณเดือนสิงหาคม/กันยายน 2544 ณ ประเทศบังคลาเทศ
องค์การการค้าโลก (WTO)
- องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 มีสมาชิกเริ่มแรก 81 ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก 140 ประเทศ ประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้งของ WTO ลำดับที่ 59 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537
- วัตถุประสงค์
1) เพื่อสนับสนุนให้มีการค้าเสรีระหว่างสมาชิก
2) เพื่อดูแลให้สมาชิกดำเนินการตามข้อตกลงทางการค้าที่มีต่อกัน
3) เป็นคนกลางในการตัดสินข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสมาชิก
- หลักการสำคัญ ๆ
- เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกทั้งในรูปของมาตรการภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร
- การใช้มาตรการ กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการค้าโดยไม่เลือกปฏิบัติกับประเทศสมาชิก กล่าวคือ การปฏิบัติต่อสินค้าจากทุกประเทศเท่าเทียมกัน (Most-Favored Nation Treatment : MFN) และการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าเท่าเทียมกับสินค้าภายในประเทศ (National Treatment)
- เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และหากไม่สามารถตกลงกันได้ จะจัดตั้งคณะผู้พิจารณา (Penel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้
ข้อเสนอแนะ
- ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี (Special and Differential Treatment : S&D) ผ่อนผันให้ประเทศกำลังพัฒนาจำกัดการนำเข้าได้หากมีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพดุลการค้า รวมทั้งมีระยะเวลาและข้อผูกพันที่ยืดหยุ่นมากกว่า
- พันธกรณีของไทยภายใต้ WTO
1) การเปิดตลาด
1.1 การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (รวมสินค้าประมง) โดยประเทศไทยต้องลดภาษีศุลกากร สินค้าอุตสาหกรรมลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 28 จำนวน 3,153 รายการ (พิกัด 6-7 หลัก) ภายใน 5 ปี รวมทั้งจะต้องผูกพันอัตราภาษีที่ได้ลดแล้วแต่เนื่องจากอัตราภาษีที่ประกาศลดส่วนใหญ่สูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจริงในปัจจุบัน มีเพียง 854 รายการเท่านั้นที่จะต้องปรับลดภาษีลงให้สอดคล้องกับที่ผูกพัน
1.2 การเปิดตลาดสินค้าเกษตร (ไม่รวมสินค้าประมง) ประเทศไทย
มีพันธกรณี ดังนี้
- ลดภาษีศุลกากรสินค้าเกษตรลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 24 จำนวน 738 รายการ ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2547)
- ลดภาษีอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรลงจาก 22,000 ล้านบาท เหลือ19,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2547)
1.3 สิ่งทอและเสื้อผ้า ให้เปิดเสรีโดยยกเลิกการจำกัดการนำเข้าทั้งหมดภายใน 10 ปี ประเทศไทยไม่มีข้อจำกัดด้านปริมาณการนำเข้าสิ่งทอ
1.4 สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามความตกลง ITA-1 ไทยมีข้อผูกพันต้องลดภาษีศุลกากรสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศเหลือร้อยละ 0 จำนวน 157 รายการภายใน 3 ปี และ 32 รายการ ภายใน 8 ปี
2) กฎระเบียบการค้า
การปรับปรุงและกำหนดกฎระเบียบการค้าที่สำคัญ ได้แก่
- มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และจัดตั้งหน่วยงานประสานงานและตอบข้อซักถามภายใต้การดำเนินงานของ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
- มีการปรับปรุงกฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมทางการค้า และป้องกันการเอาเปรียบจากต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงใน WTO โดยการประกาศใช้ พ.ร.บ.ต่อต้านการทุ่มตลาด และตอบโต้การอุดหนุน ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
3) เรื่องใหม่ ๆ
3.1 การเปิดเสรีการค้าบริการ (GATS) ประเทศไทยผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ ครอบคลุมเรื่องการเข้าสู่ตลาด (Market Access) และการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) รวม 10 สาขา ได้แก่ บริการธุรกิจ การสื่อสารคมนาคม การก่อสร้างและวิศวกรรม การจัดจำหน่ายด้านสิ่งแวดล้อม การเงิน การศึกษา นันทนาการ วัฒนธรรมและการกีฬา การท่องเที่ยว และการขนส่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 ยกเว้นบริการด้านการเงินในธุรกิจธนาคาร และเงินทุนจะมีผลผูกพันตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2542 และบริการด้านโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานจะเปิดเสรีในปี 2549 โดยการเปิดเสรีผูกพันเพียงเท่าที่กฎหมายในแต่ละสาขาบริการที่เกี่ยวข้องให้อำนาจไว้เท่านั้น
3.2 การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPs) ประเทศไทยมีข้อผูกพันต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า รวมทั้งออกกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับความตกลง เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ พ.ร.บ. คุ้มครองการออกแบบวงจรรวม พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช และ พ.ร.บ. คุ้มครองความลับทางการค้า
3.3 มาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIMs) ประเทศไทยต้องยกเลิกมาตรการลงทุนที่มีผลเท่ากับการกีดกันการนำเข้า คือ มาตรการกำหนดให้ใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิตสินค้าหรือที่เรียกว่า Local Content Requirement ภายใน 5 ปี (พ.ศ. 2542)
3.4 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทยมีข้อผูกพันจะไม่เรียกเก็บภาษีศุลกากรกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการค้าจนกว่าที่ประชุมองค์การการค้าโลกมีมติเป็นอื่น
จุดอ่อนจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย
- จุดแข็งของเศรษฐกิจไทย
- ประเทศไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากมีโครงสร้างการผลิตหลากหลาย
ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร
การท่องเที่ยวและบริการ เป็นต้น
- ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย เปิดกว้าง ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสถาบันครอบครัว ทำให้สามารถปรับตัวได้ง่ายภายใต้กระแสต่าง ๆ ที่แปรเปลี่ยนไป รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศ
- ที่ตั้งของประเทศเป็นภูมิยุทธศาสตร์ที่ดี เพราะเป็นศูนย์เชื่อมโยงจีน อินโดจีนอาเซียนและเอเซียใต้เข้าด้วยกัน และมีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในระหว่างภูมิภาค
- มีระบบบริหารการจัดการ และการปกครอง ตลอดจนความมีเสถียรภาพของรัฐบาล รวมถึงมีโครงสร้างกฎหมายที่โปร่งใส เป็นธรรม ล้วนแต่เอื้ออำนวยต่อการสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง มีคุณภาพ และอย่างยั่งยืน สามารถประสานประโยชน์ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ในประชาคมโลก
- จุดอ่อนของเศรษฐกิจไทย
- ขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของไทยมีแนวโน้มลดลง และอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเซีย 10 ประเทศ ดังจะเห็นได้จากการศึกษาของ IMD (International Institute for Management Development) พบว่าขีดความสามารถของไทย ในการแข่งขันด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจภายในประเทศปี 2539 อยู่ในลำดับที่ 12 และลดมาอยู่ในลำดับที่ 37 ในปี 2543 และอยู่ในลำดับต่ำกว่า ญี่ปุ่น (6) สิงคโปร์ (8) ไต้หวัน (17) จีน (18) เกาหลี (20) มาเลเซีย (26) ฮ่องกง (27) แต่สูงกว่าฟิลิปปินส์ (41) และ อินโดนีเซีย (45) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี 2543 ไทยอยู่ในลำดับที่ 47 เป็นลำดับ สุดท้ายของกลุ่มที่สำรวจ 47 ประเทศ ลดมาจากลำดับที่ 44 ในปี 2539 ด้านการเงิน จากลำดับที่ 26 ในปี 2539 เป็นลำดับที่ 38 ในปี 2543 และอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าสิงคโปร์ (10) ฮ่องกง (11) ญี่ปุ่น (22) ไต้หวัน (26) มาเลเซีย (29) เกาหลี (34) ฟิลิปปินส์ (35) แต่สูงกว่าจีน (44) และอินโดนีเซีย (43)
- ขีดความสามารถในการส่งออกสินค้าลดลงและมีแนวโน้มเสียเปรียบประเทศคู่แข่งในระยะยาว ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนการส่งออก ของไทยในตลาดโลก มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 1.11 ในปี 2538 ลดเหลือร้อยละ 1.04 ในปี 2542 เนื่องจากไทยเริ่มเสียเปรียบในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านค่าจ้างแรงงาน เสียเปรียบประเทศจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดียซึ่งมีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าไทย ด้านเทคโนโลยี เสียเปรียบมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการพัฒนามากกว่าไทย นอกจากนี้แล้ว เงื่อนไขทางการค้าขององค์การต่าง ๆ ส่งผลให้มีการส่งออกลดลงอีกด้วย
- การต้องพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง จากสถิติธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในปี 2542-2543 มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90ของการลงทุนทั้งหมดในประเทศไทย
- ต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยมีสัดส่วนการนำเข้าต่อ GDP เพิ่มขึ้นตลอด จากร้อยละ 40.6 ในปี 2540 เพิ่มเป็นร้อยละ 49.7 ในปี 2543 สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ เป็นเชื้อเพลิงยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น
- ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เนื่องจากขาดการวิจัยและพัฒนา
- โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การขนส่ง การสื่อสาร การพลังงาน มีไม่เพียงพอเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
- การขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพหลายสาขา เช่น วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ช่างเทคนิค เป็นต้น
- ทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัดและหายากขึ้น
- ความไม่ซื่อสัตย์ของข้าราชการบางกลุ่ม ก่อให้เกิดปัญหาคอรัปชั่นส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวม ตลอดจนความขัดแย้งของคนในสังคมมีมากขึ้น
แนวทางการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
- การปฏิรูปเศรษฐกิจภายใน
- การปรับโครงสร้างการผลิตอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต การตลาด การบริการ และการจัดการ รวมทั้งพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในระยะยาว
- ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน
- แก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากลมากขึ้น เช่น
* การออกกฎหมายเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ได้แก่ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยมุ่งเน้นการลดอุปสรรคหรือเครื่องกีดขวางการลงทุนจากต่างชาติที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ไทยอยู่ในฐานะที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงการสงวนธุรกิจบางอย่างไว้ให้คนไทยเพื่อให้เกิดความสมดุลด้วย
* กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมทางการค้าและป้องกันการเอาเปรียบจากต่างประเทศ ได้แก่ พ.ร.บ.ต่อต้านการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
* กฎหมายที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ได้แก่ พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 เพื่อยกระดับมาตรฐานการบัญชี
* การออกกฎหมายและจัดเตรียมกลไกต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการและผู้บริโภค เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ การปรับปรุงกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
- เสริมสร้างการบริหารการจัดการในภาคการธนาคาร การเงิน กฎหมาย และธุรกิจให้เข้มแข็ง
- บริหารการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
- เร่งรัดพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมในภูมิภาค ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางทะเล และทางสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
- ประสิทธิภาพขององค์กรของรัฐและเอกชน
- ต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ- ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในสังคมและระบบเศรษฐกิจมากขึ้น โดยรัฐอำนวยความสะดวกในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ เช่น สาธารณสุข การสื่อสารโทรคมนาคม
- ควรมีการประสานความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อบริหารจัดการทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยการเสริมสร้างความเป็นธรรมและโปร่งใส และร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
- ความมีการประสานเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อผลประโยชน์ในการเข้าไปทำการค้าและลงทุน
- การเตรียมพร้อมสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ในสังคมเศรษฐกิจยุคใหม่ รัฐควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการค้าและการลงทุนมากขึ้น โดยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น การเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคม การออกกฎหมายรองรับการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยต้องเร่งดำเนินการดังนี้
- กำหนดแผนงานทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจน
- กำจัดอุปสรรคทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎระเบียบพิธีการศุลกากร ฯลฯ
- ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างความแข่งแกร่งของระบบเศรษฐกิจโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากนี้ภาคเอกชนก็มีส่วนสำคัญที่จะต้องพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการดำเนินธุรกิจให้ทันกับกระแสโลก
บทบาทของราชการในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
- ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและกำจัดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ และเสริมสร้างขีดความสามารถให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยการปรับทิศทางการดำเนินงานให้มีความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- เน้นการประสานงานและดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน และหน่วยงานภาครัฐกับเอกชน ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน และทุกฝ่ายจะต้องรวมพลังเพื่อดำเนินการให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
- ควรให้การสนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและลดภาระของภาครัฐ ทั้งนี้ จะต้องมีระบบหรือกลไกดูแลการดำเนินงานของเอกชนมิให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภคมากเกินไป
- ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณภาพของบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจยุคใหม่
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-