เมื่อกฎหมายของกรมสรรพากร ในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มีผลบังคับใช้ ก็จะทำให้สามารถจูงใจ ให้มีผู้เข้าร่วมโครงการมากขึ้นอีก โดยมีเป้าหมายขยายให้ครอบคลุม ทั้งฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และอันดามัน ซึ่งจะทำให้ชาวประมงได้รับบริการอย่างทั่วถึง
1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 อนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เห็นชอบแนวทาง การดำเนินโครงการ จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง โดยได้มอบหมายหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมทะเบียนการค้า และกรมสรรพากร รับไปดำเนินการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อรองรับการดำเนินโครงการดังกล่าว รวมทั้งเพื่อให้มีการยกเว้นภาษีอากรต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันในโครงการถูกลง สามารถแข่งขันได้
โครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง ไม่ใช่การจำหน่ายน้ำมันทั่วไปตามปกติ แต่มีลักษณะจำกัดเฉพาะหลายประการ ได้แก่ ต้องเป็นน้ำมันที่ผลิตในประเทศเท่านั้น พื้นที่จำหน่ายจะอยู่ในบริเวณเขตต่อเนื่อง (12-24 ไมล์ทะเล) คุณภาพของน้ำมันแตกต่างจากน้ำมันที่จำหน่ายบนบกและจะต้องเติม สีเขียวและสาร Marker เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ หากถูกลักลอบนำมาจำหน่ายบนฝั่ง นอกจากนั้นน้ำมันนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีอากร และเงินเรียกเก็บเข้ากองทุนต่าง ๆ เพื่อให้ราคาน้ำมันที่จำหน่ายในโครงการฯ สามารถแข่งขันกับน้ำมัน ที่มาจากต่างประเทศได้ เรือสถานีบริการ (Tanker) ต้องเป็นเรือที่จดทะเบียนเรือไทยเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเรือที่จดทะเบียนเรือไทยจะผ่านการตรวจรับรองจากกรมเจ้าท่าแล้ว ว่ามีมาตรฐานความปลอดภัย รวมทั้งอุปกรณ์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน ทำให้ง่ายต่อการควบคุมตรวจสอบ ขณะเดียวกันเรือ Tanker ทุกลำจะต้องติดตั้งมิเตอร์ ที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งทำให้แน่ใจได้ว่าชาวประมง จะได้รับปริมาณน้ำมันอย่างครบถ้วน ตามที่ได้ตกลงซื้อขายไว้
การควบคุมตรวจสอบ มิให้มีการลักลอบนำน้ำมันดังกล่าว มาจำหน่ายบนฝั่ง ใช้วิธีการอนุญาตเป็นรายเที่ยวเรือ และมีการตรวจวัดปริมาณการส่งออกจากโรงกลั่นน้ำมัน และผนึกซีลทุกครั้ง และในระยะแรก จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำเรือทุกลำ นอกจากนั้นก่อนทำการขนถ่ายน้ำมัน เจ้าของเรือจะต้องแจ้งศูนย์เฝ้าฟัง ของ ศปนม. ทราบก่อนทุกครั้ง เพื่อรวบรวมข้อมูลการซื้อขายน้ำมัน จัดส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ทั้ง ศปนม. กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมทะเบียนการค้า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ในการตรวจสอบ ยันการซื้อขาย ระหว่างต้นทางกับปลายทางได้
โครงการจำหน่ายน้ำมัน สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องนี้ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำเนินได้เป็นปีต่อปีเท่านั้น โดยในปีแรกจะสิ้นสุดถึงเดือนธันวาคม 2544 และกำหนดให้มีการประเมินผลปลายปี โดยบุคคลภายนอก ซึ่งในทางปฏิบัติ สพช. ได้จัดให้ผู้ค้าน้ำมันในประเทศ ซึ่งเป็นผู้สูญเสียผลประโยชน์ เป็นผู้ประเมิน หากผลการประเมินพบว่าได้ผลดีก็จะได้รับการต่ออายุโครงการต่อไป แต่หากไม่ได้ผลดี โครงการนี้ก็ต้องยุติล้มเลิกไป นอกจากนี้ยังให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับ ดูแลโครงการนี้ โดยมีผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมเจ้าท่า กรมทะเบียนการค้า กรมประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สพช. เป็นคณะกรรมการ เพื่อให้การพิจารณาอนุญาต และการตรวจสอบควบคุม กระทำกันเป็นหมู่คณะ
2. การดำเนินการในปัจจุบัน
โครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง ได้เริ่มมีการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตต่อเนื่อง ตั้งแต่ 30 เมษายน 2544 จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 7 เที่ยวเรือ ปริมาณน้ำมันที่จำหน่าย 14.8 ล้านลิตร จำหน่ายให้กับเรือประมง 1,236 ลำ โดยมีบริษัทมายื่นความประสงค์ ขอจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจนถึงขณะนี้ รวมทั้งสิ้น 8 บริษัท มีจำนวนเรือสถานีบริการ 13 ลำ และคาดว่าเมื่อกฎหมายของกรมสรรพากร มีผลในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะทำให้สามารถจูงใจ ให้มีผู้เข้าร่วมโครงการมากขึ้นอีก โดยมีเป้าหมายขยายให้ครอบคลุม ทั้งฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และอันดามัน ซึ่งจะทำให้ชาวประมงได้รับบริการอย่างทั่วถึง
3. การดำเนินการในระยะต่อไป
สืบเนื่องจากในการสัมมนา ของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เพื่อแถลงข่าวความสำเร็จของโครงการ ในวันที่ 25-26 สิงหาคม 2544 ณ โรงแรมเจมส์ ชะอำ จังหวัด เพชรบุรี โดยได้เชิญรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ไปเป็นประธาน ได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดการขยายโครงการนี้ให้กว้างขวาง ครอบคลุมชายฝั่งทะเลทั้งหมดโดยเร็ว โดยเห็นว่าสาเหตุที่ขยายตัวช้า อาจเกิดจากการจำกัด มิให้เรือต่างชาติ มีส่วนร่วมในการขนส่งน้ำมัน โดยรัฐบาลอนุญาตให้เฉพาะ เรือจดทะเบียนเรือไทยเท่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการนำเรือต่างชาติ เข้ามาจดทะเบียน เป็นเรือไทยก็สูงมาก ทำให้การเข้าร่วมโครงการ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง ไม่จูงใจในการเข้าร่วมโครงการ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายโครงการ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) จึงได้สั่งการให้ สพช. รับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต่อไป ดังนั้น สพช. จึงได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า และกรมสรรพากรและตัวแทนสมาคมเรือไทย เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ และข้อดี ข้อเสียตามข้อเสนอดังกล่าว และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่วมกัน ดังนี้
3.1 กรณีค่าใช้จ่าย ค่าภาษี และค่าจดทะเบียนเรือไทย ซึ่งผู้ประกอบการอ้างว่า ต้องใช้จ่ายจำนวนสูงมากนั้น กรมศุลกากรได้ชี้แจงให้ทราบว่า เรือที่มีขนาดเกินกว่า 1,000 ตันกรอส ขึ้นไป จะเสียภาษีในอัตราศูนย์ ซึ่งเรือบรรทุกน้ำมันต่างชาติ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด มีขนาดเกินกว่า 1,000 ตันกรอสอยู่แล้ว จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ของมูลค่าเรือนั้น ที่ประชุมเห็นว่า น่าจะอยู่ในวิสัยที่ผู้ประกอบกิจการรับได้ เมื่อเทียบกับขนาดกิจการ และรายได้ ที่จะได้รับจากการประกอบกิจการนี้
3.2 ประเด็นเรื่องจำนวนเรือบรรทุกน้ำมัน ที่จดทะเบียนเรือไทย จะไม่เพียงพอ ได้รับการชี้แจงจากกรมเจ้าท่าว่า ขณะนี้จำนวนเรือบรรทุกน้ำมัน ที่จดทะเบียนเรือไทย ที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอส มีจำนวนถึง 154 ลำ ในขณะเดียวกันกรมศุลกากรได้แจ้งเพิ่มเติมว่า มีเรือต่างชาติที่เตรียมจะจดทะเบียนเรือไทย อีกจำนวนหนึ่ง ในขณะที่ความต้องการใช้เรือของโครงการนี้อยู่ในระดับ 60 ลำขึ้นไป ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นว่า ประเด็นเรื่องจำนวนเรือบรรทุกน้ำมัน ไม่เพียงพอนั้น จึงไม่ใช่ปัญหา และควรยึดระเบียบหลักเกณฑ์เดิม ที่รัฐกำหนด คือต้องเป็นเรือไทยเท่านั้น โดยหากเรือต่างชาติสนใจจะเข้าร่วมโครงการ จะต้องยื่นจดทะเบียนเรือไทยก่อน
3.3 สาเหตุที่เรือเข้าโครงการน้อย ในขณะนี้มิใช่เกิดจากจำนวนเรือ ไม่เพียงพอ แต่เป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่จำหน่าย ยังสูงกว่าน้ำมัน ที่มาจากต่างประเทศ เนื่องจากการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงทำให้ต้นทุนสูงกว่าราคาที่ควรจะเป็น ประมาณลิตรละ 60 สตางค์ ทำให้แข่งขันไม่ได้เต็มที่ ผู้ที่เข้าไปจำหน่าย น้ำมันในโครงการในขณะนี้ ก็เพื่อหวังช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดไว้ก่อน โดยยอมเสียเปรียบคู่แข่งขันจากต่างชาติ สำหรับความคืบหน้าของร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ขณะนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้นำเสนอต่อสำนักราชเลขาธิการแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2544
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-
1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 อนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เห็นชอบแนวทาง การดำเนินโครงการ จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง โดยได้มอบหมายหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมทะเบียนการค้า และกรมสรรพากร รับไปดำเนินการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อรองรับการดำเนินโครงการดังกล่าว รวมทั้งเพื่อให้มีการยกเว้นภาษีอากรต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันในโครงการถูกลง สามารถแข่งขันได้
โครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง ไม่ใช่การจำหน่ายน้ำมันทั่วไปตามปกติ แต่มีลักษณะจำกัดเฉพาะหลายประการ ได้แก่ ต้องเป็นน้ำมันที่ผลิตในประเทศเท่านั้น พื้นที่จำหน่ายจะอยู่ในบริเวณเขตต่อเนื่อง (12-24 ไมล์ทะเล) คุณภาพของน้ำมันแตกต่างจากน้ำมันที่จำหน่ายบนบกและจะต้องเติม สีเขียวและสาร Marker เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ หากถูกลักลอบนำมาจำหน่ายบนฝั่ง นอกจากนั้นน้ำมันนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีอากร และเงินเรียกเก็บเข้ากองทุนต่าง ๆ เพื่อให้ราคาน้ำมันที่จำหน่ายในโครงการฯ สามารถแข่งขันกับน้ำมัน ที่มาจากต่างประเทศได้ เรือสถานีบริการ (Tanker) ต้องเป็นเรือที่จดทะเบียนเรือไทยเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเรือที่จดทะเบียนเรือไทยจะผ่านการตรวจรับรองจากกรมเจ้าท่าแล้ว ว่ามีมาตรฐานความปลอดภัย รวมทั้งอุปกรณ์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน ทำให้ง่ายต่อการควบคุมตรวจสอบ ขณะเดียวกันเรือ Tanker ทุกลำจะต้องติดตั้งมิเตอร์ ที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งทำให้แน่ใจได้ว่าชาวประมง จะได้รับปริมาณน้ำมันอย่างครบถ้วน ตามที่ได้ตกลงซื้อขายไว้
การควบคุมตรวจสอบ มิให้มีการลักลอบนำน้ำมันดังกล่าว มาจำหน่ายบนฝั่ง ใช้วิธีการอนุญาตเป็นรายเที่ยวเรือ และมีการตรวจวัดปริมาณการส่งออกจากโรงกลั่นน้ำมัน และผนึกซีลทุกครั้ง และในระยะแรก จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำเรือทุกลำ นอกจากนั้นก่อนทำการขนถ่ายน้ำมัน เจ้าของเรือจะต้องแจ้งศูนย์เฝ้าฟัง ของ ศปนม. ทราบก่อนทุกครั้ง เพื่อรวบรวมข้อมูลการซื้อขายน้ำมัน จัดส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ทั้ง ศปนม. กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมทะเบียนการค้า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ในการตรวจสอบ ยันการซื้อขาย ระหว่างต้นทางกับปลายทางได้
โครงการจำหน่ายน้ำมัน สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องนี้ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำเนินได้เป็นปีต่อปีเท่านั้น โดยในปีแรกจะสิ้นสุดถึงเดือนธันวาคม 2544 และกำหนดให้มีการประเมินผลปลายปี โดยบุคคลภายนอก ซึ่งในทางปฏิบัติ สพช. ได้จัดให้ผู้ค้าน้ำมันในประเทศ ซึ่งเป็นผู้สูญเสียผลประโยชน์ เป็นผู้ประเมิน หากผลการประเมินพบว่าได้ผลดีก็จะได้รับการต่ออายุโครงการต่อไป แต่หากไม่ได้ผลดี โครงการนี้ก็ต้องยุติล้มเลิกไป นอกจากนี้ยังให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับ ดูแลโครงการนี้ โดยมีผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมเจ้าท่า กรมทะเบียนการค้า กรมประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สพช. เป็นคณะกรรมการ เพื่อให้การพิจารณาอนุญาต และการตรวจสอบควบคุม กระทำกันเป็นหมู่คณะ
2. การดำเนินการในปัจจุบัน
โครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง ได้เริ่มมีการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตต่อเนื่อง ตั้งแต่ 30 เมษายน 2544 จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 7 เที่ยวเรือ ปริมาณน้ำมันที่จำหน่าย 14.8 ล้านลิตร จำหน่ายให้กับเรือประมง 1,236 ลำ โดยมีบริษัทมายื่นความประสงค์ ขอจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจนถึงขณะนี้ รวมทั้งสิ้น 8 บริษัท มีจำนวนเรือสถานีบริการ 13 ลำ และคาดว่าเมื่อกฎหมายของกรมสรรพากร มีผลในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะทำให้สามารถจูงใจ ให้มีผู้เข้าร่วมโครงการมากขึ้นอีก โดยมีเป้าหมายขยายให้ครอบคลุม ทั้งฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และอันดามัน ซึ่งจะทำให้ชาวประมงได้รับบริการอย่างทั่วถึง
3. การดำเนินการในระยะต่อไป
สืบเนื่องจากในการสัมมนา ของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เพื่อแถลงข่าวความสำเร็จของโครงการ ในวันที่ 25-26 สิงหาคม 2544 ณ โรงแรมเจมส์ ชะอำ จังหวัด เพชรบุรี โดยได้เชิญรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ไปเป็นประธาน ได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดการขยายโครงการนี้ให้กว้างขวาง ครอบคลุมชายฝั่งทะเลทั้งหมดโดยเร็ว โดยเห็นว่าสาเหตุที่ขยายตัวช้า อาจเกิดจากการจำกัด มิให้เรือต่างชาติ มีส่วนร่วมในการขนส่งน้ำมัน โดยรัฐบาลอนุญาตให้เฉพาะ เรือจดทะเบียนเรือไทยเท่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการนำเรือต่างชาติ เข้ามาจดทะเบียน เป็นเรือไทยก็สูงมาก ทำให้การเข้าร่วมโครงการ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง ไม่จูงใจในการเข้าร่วมโครงการ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายโครงการ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) จึงได้สั่งการให้ สพช. รับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต่อไป ดังนั้น สพช. จึงได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า และกรมสรรพากรและตัวแทนสมาคมเรือไทย เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ และข้อดี ข้อเสียตามข้อเสนอดังกล่าว และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่วมกัน ดังนี้
3.1 กรณีค่าใช้จ่าย ค่าภาษี และค่าจดทะเบียนเรือไทย ซึ่งผู้ประกอบการอ้างว่า ต้องใช้จ่ายจำนวนสูงมากนั้น กรมศุลกากรได้ชี้แจงให้ทราบว่า เรือที่มีขนาดเกินกว่า 1,000 ตันกรอส ขึ้นไป จะเสียภาษีในอัตราศูนย์ ซึ่งเรือบรรทุกน้ำมันต่างชาติ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด มีขนาดเกินกว่า 1,000 ตันกรอสอยู่แล้ว จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ของมูลค่าเรือนั้น ที่ประชุมเห็นว่า น่าจะอยู่ในวิสัยที่ผู้ประกอบกิจการรับได้ เมื่อเทียบกับขนาดกิจการ และรายได้ ที่จะได้รับจากการประกอบกิจการนี้
3.2 ประเด็นเรื่องจำนวนเรือบรรทุกน้ำมัน ที่จดทะเบียนเรือไทย จะไม่เพียงพอ ได้รับการชี้แจงจากกรมเจ้าท่าว่า ขณะนี้จำนวนเรือบรรทุกน้ำมัน ที่จดทะเบียนเรือไทย ที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอส มีจำนวนถึง 154 ลำ ในขณะเดียวกันกรมศุลกากรได้แจ้งเพิ่มเติมว่า มีเรือต่างชาติที่เตรียมจะจดทะเบียนเรือไทย อีกจำนวนหนึ่ง ในขณะที่ความต้องการใช้เรือของโครงการนี้อยู่ในระดับ 60 ลำขึ้นไป ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นว่า ประเด็นเรื่องจำนวนเรือบรรทุกน้ำมัน ไม่เพียงพอนั้น จึงไม่ใช่ปัญหา และควรยึดระเบียบหลักเกณฑ์เดิม ที่รัฐกำหนด คือต้องเป็นเรือไทยเท่านั้น โดยหากเรือต่างชาติสนใจจะเข้าร่วมโครงการ จะต้องยื่นจดทะเบียนเรือไทยก่อน
3.3 สาเหตุที่เรือเข้าโครงการน้อย ในขณะนี้มิใช่เกิดจากจำนวนเรือ ไม่เพียงพอ แต่เป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่จำหน่าย ยังสูงกว่าน้ำมัน ที่มาจากต่างประเทศ เนื่องจากการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงทำให้ต้นทุนสูงกว่าราคาที่ควรจะเป็น ประมาณลิตรละ 60 สตางค์ ทำให้แข่งขันไม่ได้เต็มที่ ผู้ที่เข้าไปจำหน่าย น้ำมันในโครงการในขณะนี้ ก็เพื่อหวังช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดไว้ก่อน โดยยอมเสียเปรียบคู่แข่งขันจากต่างชาติ สำหรับความคืบหน้าของร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ขณะนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้นำเสนอต่อสำนักราชเลขาธิการแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2544
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-