บทสรุปสำหรับนักลงทุน
เครื่องดื่มธัญพืชที่รู้จักกันทั่วไปคือ น้ำนมถั่วเหลือง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมานานและผลิตกันในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามเครื่องดื่มธัญพืชในระยะหลัง ๆ ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการขนาดเล็กเป็นการผลิตจากธัญพืชชนิดอื่นๆ เช่น จากข้าวกล้อง ข้าวโพด มอลต์ข้าวไทย และจากข้าวอ่อนที่เรียกว่าน้ำนมข้าว เริ่มมีศักยภาพและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นตามกระแสการตื่นตัวของการรักษาสุขภาพและการรับประทานอาหารจากธัญพืช ตลาดในส่วนนี้จึงถูกตอบสนองมากขึ้นทั้งจาก ผู้บริโภคที่รับประทานอาหารแบบชีวจิต และผู้บริโภคสมัยใหม่ที่ใส่ใจด้านการบำบัดสุขภาพจากอาหารธรรมชาติ
หากพิจารณาถึงตลาดน้ำนมถั่วเหลืองเดิมซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องดื่มธัญพืชจะพบว่ามีขนาดใหญ่มากและครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้น เครื่องดื่มธัญพืชก็มีศักยภาพของตลาดในทำนองเดียวกัน หากแต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนั้นตลาดหลักยังคงอยู่ในรัศมีที่ใกล้กับผู้ผลิตในเขตกรุงเทพฯ ที่ทำการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ส่วนผู้ผลิตระดับครัวเรือนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรก็มีการผลิตเครื่องดื่มธัญพืชออกสู่ตลาดด้วยเช่นกัน แต่เป็นลักษณะของการขายในงานแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งไม่อยู่ในเชิงพาณิชย์
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องดื่มธัญพืชเชิงพาณิชย์ (ยกเว้นนมถั่วเหลือง) อยู่ 5 รายโดยเป็นผู้ประกอบ-การรายเล็กทั้งสิ้น มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 10 ล้านบาท โดย 4 ราย อยู่ในเขตกรุงเทพฯ อีก 1 ราย อยู่ในจังหวัดตาก เนื่องจากการผลิตยังเป็นช่วงรณรงค์ให้ความรู้ในด้านคุณภาพของเครื่องดื่มธัญพืช ดังนั้นช่องทางการจำหน่ายของผู้ประกอบการในปัจจุบันยังคงเน้นหนักการจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตตามห้างสรรพสินค้าและร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป ส่วนในอนาคตนั้นรูปแบบของการจำหน่ายอาจอยู่ในรูปแบบของการขายตรงไปยังผู้บริโภคเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ “ยาคูลท์” ได้เนื่องจากสามารถเจาะจงผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อการบริโภคสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้อย่างแท้จริง
ด้านการลงทุนนั้นสามารถเริ่มต้นดำเนินกิจการด้วยเงินทุนประมาณ 1 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรด้านเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ประมาณ 70% และอีก 30% เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งในส่วนนี้กว่า 90% เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยเป็นค่าวัตถุดิบ เช่น ข้าวโพด ข้าวต่างๆ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายภายในประเทศทั้งสิ้น ค่าขวดบรรจุ และค่าแรงงาน ซึ่งใช้แรงงานทั่วไปในการผลิต จากการลงทุนขั้นต้น 800,000 บาท ทำการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มธัญพืช 30,000 กระป๋อง/เดือน ราคาเฉลี่ย 12 บาท/กระป๋อง ซึ่งได้รับกำไรสุทธิประมาณ 25% ของยอดขาย จะสามารถคืนทุนในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยถ้าตลอดอายุโครงการ 5 ปี ได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากัน จะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 133%ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถรับทราบข้อมูลด้านเทคนิคได้จากหน่วยงานที่สนับสนุนด้าน ข้อมูลการผลิต เช่น ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร และสถาบันค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
เครื่องดื่มธัญพืชที่รู้จักกันทั่วไปคือ น้ำนมถั่วเหลือง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมานานและผลิตกันในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามเครื่องดื่มธัญพืชในระยะหลัง ๆ ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการขนาดเล็กเป็นการผลิตจากธัญพืชชนิดอื่นๆ เช่น จากข้าวกล้อง ข้าวโพด มอลต์ข้าวไทย และจากข้าวอ่อนที่เรียกว่าน้ำนมข้าว เริ่มมีศักยภาพและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นตามกระแสการตื่นตัวของการรักษาสุขภาพและการรับประทานอาหารจากธัญพืช ตลาดในส่วนนี้จึงถูกตอบสนองมากขึ้นทั้งจาก ผู้บริโภคที่รับประทานอาหารแบบชีวจิต และผู้บริโภคสมัยใหม่ที่ใส่ใจด้านการบำบัดสุขภาพจากอาหารธรรมชาติ
หากพิจารณาถึงตลาดน้ำนมถั่วเหลืองเดิมซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องดื่มธัญพืชจะพบว่ามีขนาดใหญ่มากและครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้น เครื่องดื่มธัญพืชก็มีศักยภาพของตลาดในทำนองเดียวกัน หากแต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนั้นตลาดหลักยังคงอยู่ในรัศมีที่ใกล้กับผู้ผลิตในเขตกรุงเทพฯ ที่ทำการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ส่วนผู้ผลิตระดับครัวเรือนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรก็มีการผลิตเครื่องดื่มธัญพืชออกสู่ตลาดด้วยเช่นกัน แต่เป็นลักษณะของการขายในงานแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งไม่อยู่ในเชิงพาณิชย์
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องดื่มธัญพืชเชิงพาณิชย์ (ยกเว้นนมถั่วเหลือง) อยู่ 5 รายโดยเป็นผู้ประกอบ-การรายเล็กทั้งสิ้น มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 10 ล้านบาท โดย 4 ราย อยู่ในเขตกรุงเทพฯ อีก 1 ราย อยู่ในจังหวัดตาก เนื่องจากการผลิตยังเป็นช่วงรณรงค์ให้ความรู้ในด้านคุณภาพของเครื่องดื่มธัญพืช ดังนั้นช่องทางการจำหน่ายของผู้ประกอบการในปัจจุบันยังคงเน้นหนักการจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตตามห้างสรรพสินค้าและร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป ส่วนในอนาคตนั้นรูปแบบของการจำหน่ายอาจอยู่ในรูปแบบของการขายตรงไปยังผู้บริโภคเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ “ยาคูลท์” ได้เนื่องจากสามารถเจาะจงผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อการบริโภคสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้อย่างแท้จริง
ด้านการลงทุนนั้นสามารถเริ่มต้นดำเนินกิจการด้วยเงินทุนประมาณ 1 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรด้านเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ประมาณ 70% และอีก 30% เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งในส่วนนี้กว่า 90% เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยเป็นค่าวัตถุดิบ เช่น ข้าวโพด ข้าวต่างๆ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายภายในประเทศทั้งสิ้น ค่าขวดบรรจุ และค่าแรงงาน ซึ่งใช้แรงงานทั่วไปในการผลิต จากการลงทุนขั้นต้น 800,000 บาท ทำการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มธัญพืช 30,000 กระป๋อง/เดือน ราคาเฉลี่ย 12 บาท/กระป๋อง ซึ่งได้รับกำไรสุทธิประมาณ 25% ของยอดขาย จะสามารถคืนทุนในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยถ้าตลอดอายุโครงการ 5 ปี ได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากัน จะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 133%ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถรับทราบข้อมูลด้านเทคนิคได้จากหน่วยงานที่สนับสนุนด้าน ข้อมูลการผลิต เช่น ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร และสถาบันค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--