1.สถานการณ์สินค้า
1.1สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญปลาดุกบิ๊กอุย : เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยจังหวัดร้อยเอ็ดประสบปัญหาราคาตกต่ำ
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรได้ออกทำการสำรวจสภาพการเพาะเลี้ยงและการจำหน่ายปลาดุกบิ๊กอุยของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ อ.เมือง อ.จังหาร อ. เกษตรวิสัย อ. จตุรพักตร์พิมาน อ. อาจสามารถ อ. โพนทอง เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าปลาดุกขนาด 7 - 10 ตัว/กิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรขายได้ที่ปากบ่อประมาณกิโลกรัมละ 25 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับกิโลกรัมละ 30 บาท ในปลายปีที่ผ่านมาหรือลดลงร้อยละ 17 โดยต้นทุนการผลิตกิโลกรัมละ 24-25 และหากราคาต่ำกว่านี้เกษตรกรจะประสบกับภาวะขาดทุนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ สำหรับสาเหตุที่ราคาปลาดุกตกต่ำเนื่องจาก
1. มีการนำปลาดุกจากภาคกลางไปจำหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ดในราคากิโลกรัมละ 24 บาท การที่ปลาดุกจากภาคกลางสามารถขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าเนื่องจาก การเลี้ยงปลาดุกในภาคกลางใช้เศษอาหารและไส้ไก่ซึ่งหาได้ง่ายและราคาถูกกว่าอาหารเม็ดปลาดุกสำเร็จรูปที่เกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ดใช้ในการเลี้ยง 2. การส่งเสริมของหน่วยงานราชการ เช่น กรมประมง อบต. กระทรวงศึกษาธิการ ให้เกษตรกรกลุ่มแม่บ้านทำเกษตรยังชีพ หรือทำการเกษตรพอเพียงในหมู่บ้าน ตามโครงการพระราชดำริ ปรากฎว่าการส่งเสริมดังกล่าวประสบผลสำเร็จระดับหนึ่งทำให้เกษตรกรมีปลาบริโภคได้ตลอดปี และบางรายสามารถทำการเลี้ยงต่อและจำหน่ายส่วนที่เหลือภายในหมู่บ้านได้ด้วย ดังนั้นความต้องการปลาดุกในท้องตลาดจึงลดลง ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาดุกด้วย
3. ปัจจุบันนอกจากปลาดุกแล้วยังมีสัตว์น้ำจืดอื่นๆ เช่น ปลาช่อน ปลานิล ปลาตะเพียน จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยงมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกมากขึ้น ข้อคิดเห็น
1. ทางราชการควรส่งเสริมให้เกษตรกร ทำการผลิตอาหารเม็ดใช้เองโดยให้มีเครื่องอัดเม็ดอาหารปลาประจำหมู่บ้านเพื่อลดต้นทุนการผลิต
2. ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองราคา
3. ส่งเสริมให้มีการแปรรูปปลาดุกเพื่อเพิ่มมูลค่า
4. ให้มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
มันสำปะหลัง : โอกาสการใช้มันสำปะหลังเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้พยากรณ์ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2544 (ตค.2543-กย.2544) คาดว่าจะมีปริมาณค่อนข้างมากซึ่งใกล้เคียงกับปีนี้ คือประมาณ 18-19 ล้านตันหัวมันสด และจากการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านราคาพบว่า ราคาหัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ในปี 2544 จะตกต่ำเช่นเดียวกับปีนี้ อันเป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรปตาม Agenda 2000 ที่จะลดราคาประกันธัญพืชทุกชนิดลงในอัตราร้อยละ 7.50 ต่อปี ระหว่างปี 2543/44-2544/45 ส่งผลให้ราคาส่งออกมันอัดเม็ดมีแนวโน้มลดลงเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับธัญพืชภายในของสหภาพยุโรปได้
จากการที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการติดตามการใช้มันสำปะหลังจากเกษตรกรและโรงงานอาหารสัตว์ พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะให้มีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ภายในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำลงได้ รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ผลการติดตามพอสรุปได้ดังนี้
1. คุณภาพมันเส้นมันอัดเม็ด ประกาศกระทรวงพาณิชย์ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2534 กำหนดมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อส่งออกค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ เปอร์เซนต์แป้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โดยน้ำหนัก มีเส้นใยของหัวมันสำปะหลังไม่เกินร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ดินทรายไม่เกินร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก ซึ่งคุณภาพมันอัดเม็ด ระดับนี้ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ในประเทศไทยที่มีสภาพภูมิอากาศร้อน โดยมันเส้นที่จะใช้เลี้ยงสัตว์ในไทยต้องเป็นมันเส้นที่มีคุณภาพดี กล่าวคือ
- แป้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
- โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2
- ความชื้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 13
- เยื่อใยไม่มากกว่าร้อยละ 4
2. โครงการส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ โดย รศ.อุทัย คันโธ หัวหน้าศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์และภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้มันสำปะหลังในการเลี้ยงสัตว์และการทำมันเส้นให้สะอาด ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการติดตามข้อมูลในโครงการฯ ดังกล่าว ปรากฏว่า
1) การใช้มันเส้นเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์เมื่อปรับโปรตีนโดยการเพิ่มกากถั่วเหลืองหรืออื่น ๆ ให้สูงขึ้น รวมทั้งเพิ่มโปรตีนสังเคราะห์ให้เหมาะสมในแต่ละชนิดของสัตว์ ซึ่งจะทำให้อัตราการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ และคุณภาพของซากไม่แตกต่างจากการใช้ข้าวโพดและปลายข้าว
2) ทัศนคติของบุคคลบางกลุ่ม เช่น เกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ค้าสัตว์ ฯลฯ ยังคงมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้มันสำปะหลังว่าจะทำให้คุณภาพของซากต่ำ เป็นต้น แนวทางการดำเนินงาน
เพื่อเร่งให้มีการขยายการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้มากยิ่งขึ้น ควรดำเนินการดังนี้ <
1. เผยแพร่ผลการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ โดยการประชาสัมพันธ์ ทัศนศึกษาดูงานในสถานที่มีการใช้มันสำปะหลังเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
2. เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้กว้างขวางและแพร่หลายยิ่งขึ้น
3. ส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกร เช่น สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร ฯลฯ รวมทั้งเอกชน ได้แก่ ลานมันเส้น จัดทำโครงการส่งเสริมการทำมันเส้นให้สะอาด โดย เกษตรกรจะต้องปรับปรุงคุณภาพหัวมันสดโดยการตัดเหง้า ส่วนลานมันจะต้องมีการปรับขบวนการผลิตเพื่อให้สิ่งเจือปน เช่น ทราย และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ลดลง
4. ปรับปรุงประกาศมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อส่งออกให้มีคุณภาพสูงขึ้นทั้งเปอร์เซนต์ แป้ง เส้นใย และสิ่งเจือปน ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
1. การใช้มันสำปะหลังในการเลี้ยงสัตว์จะเพิ่มมากขึ้นจากปีละ 0.4-0.5 ล้านตันมันเส้น เป็นปีละ 1-2 ล้านตันมันเส้น และคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อันจะช่วยลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศลงได้
2. การส่งออกมันเส้นที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดจะขยายปริมาณได้มากขึ้น
3. การใช้มันเส้นที่มีคุณภาพเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ จะช่วยลดปัญหาการเกิดอัลฟาทอกซินในอาหารสัตว์ กองทุนอ้อย : คณะกรรมการ ธ.ก.ส. เห็นชอบให้ความช่วยเหลือกองทุนอ้อยฯ
สืบเนื่องจากการที่ชาวไร่อ้อยได้ชุมนุมขอทราบคำตอบจากรัฐบาลในการหาแหล่งเงินกู้ในวงเงินประมาณ 5,320 ล้านบาท เพื่อนำไปให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้ต่อในอัตราตันละ 100 บาท นั้น คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 ได้มีมติรับทราบผลการหารือเบื้องต้นของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต่ำ ฤดูการผลิตปี 2542/43 โดยให้กระทรวงการคลัง ประสานงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์-การเกษตร พิจารณาจัดสรรเงินจำนวน 5,320 ล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายเพิ่มเป็นค่าอ้อยขั้นต้นให้กับชาวไร่อ้อยในอัตราตันอ้อยละ 100 บาท ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติไว้แล้ว และให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าว โดยให้มีการพิจารณาปรับปรุงรายได้ของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อแสดงให้เห็นว่า กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย มีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถใช้คืนเงินกู้ที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมีภาระต้องรับผิดชอบได้ ทั้งนี้ ให้นำผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยมาใช้ ประกอบการพิจารณาด้วย และเมื่อได้ข้อยุติแล้ว ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2543
สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ได้มีมติเห็นชอบให้การช่วยเหลือทางการเงินเพื่อเพิ่มราคาอ้อยฤดูการผลิต 2542/43 โดยผ่านกองทุนอ้อยฯ ในวงเงินไม่เกิน 5,320 ล้านบาท โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีก่อนที่ ธ.ก.ส. จะเข้ารับซื้อลดเช็คเพิ่มราคาอ้อยจากเกษตรกรชาวไร่ ดังนี้
1. ให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) และคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมกันกำหนดมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่กองทุนฯ จนเพียงพอต่อการชำระหนี้แก่ ธ.ก.ส. ให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในตารางการชำระหนี้ที่ ธ.ก.ส. กำหนด โดยให้กองทุนฯ ชำระหนี้แก่ ธ.ก.ส. ก่อนเจ้าหนี้อื่น
2. เมื่อดำเนินการตามข้อ 1. แล้ว และต่อมาปรากฏว่ากองทุนฯ มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้แก่ ธ.ก.ส. ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ให้ กอน. และกองทุนฯ ร่วมกันดำเนินการให้มีผลในการจัดสรรรายได้จากค่าอ้อยที่ชาวไร่อ้อยส่งเข้าโรงงานในโอกาสแรกที่ดำเนินการได้ มาชดเชยเพื่อชำระหนี้แก่ ธ.ก.ส. ในส่วนที่ขาดไปในแต่ละงวดการชำระหนี้โดยถือเป็นการเรียกเก็บเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย 3. ในกรณีที่กองทุนฯ ผิดนัดไม่สามารถชำระหนี้ให้ ธ.ก.ส. ได้ตามกำหนด ธ.ก.ส. จะนำดอกเบี้ยงวดที่ผิดนัดทบเข้าเป็นเงินต้น และกองทุนฯ จะต้องชำระดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่ผิดนัดให้แก่ ธ.ก.ส. เท่ากับลูกหนี้ผิดนัดโดยทั่วไป
4. ในกรณีที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่สามารถกำกับควบคุมให้มีการปฏิบัติตามมาตราการที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น จนทำให้ ธ.ก.ส.ได้รับความเสียหาย รัฐบาลจะต้องชดเชยความเสียหายให้แก่ ธ.ก.ส.
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 15 - 21 พ.ค. 2543--
-สส-
1.1สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญปลาดุกบิ๊กอุย : เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยจังหวัดร้อยเอ็ดประสบปัญหาราคาตกต่ำ
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรได้ออกทำการสำรวจสภาพการเพาะเลี้ยงและการจำหน่ายปลาดุกบิ๊กอุยของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ อ.เมือง อ.จังหาร อ. เกษตรวิสัย อ. จตุรพักตร์พิมาน อ. อาจสามารถ อ. โพนทอง เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าปลาดุกขนาด 7 - 10 ตัว/กิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรขายได้ที่ปากบ่อประมาณกิโลกรัมละ 25 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับกิโลกรัมละ 30 บาท ในปลายปีที่ผ่านมาหรือลดลงร้อยละ 17 โดยต้นทุนการผลิตกิโลกรัมละ 24-25 และหากราคาต่ำกว่านี้เกษตรกรจะประสบกับภาวะขาดทุนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ สำหรับสาเหตุที่ราคาปลาดุกตกต่ำเนื่องจาก
1. มีการนำปลาดุกจากภาคกลางไปจำหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ดในราคากิโลกรัมละ 24 บาท การที่ปลาดุกจากภาคกลางสามารถขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าเนื่องจาก การเลี้ยงปลาดุกในภาคกลางใช้เศษอาหารและไส้ไก่ซึ่งหาได้ง่ายและราคาถูกกว่าอาหารเม็ดปลาดุกสำเร็จรูปที่เกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ดใช้ในการเลี้ยง 2. การส่งเสริมของหน่วยงานราชการ เช่น กรมประมง อบต. กระทรวงศึกษาธิการ ให้เกษตรกรกลุ่มแม่บ้านทำเกษตรยังชีพ หรือทำการเกษตรพอเพียงในหมู่บ้าน ตามโครงการพระราชดำริ ปรากฎว่าการส่งเสริมดังกล่าวประสบผลสำเร็จระดับหนึ่งทำให้เกษตรกรมีปลาบริโภคได้ตลอดปี และบางรายสามารถทำการเลี้ยงต่อและจำหน่ายส่วนที่เหลือภายในหมู่บ้านได้ด้วย ดังนั้นความต้องการปลาดุกในท้องตลาดจึงลดลง ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาดุกด้วย
3. ปัจจุบันนอกจากปลาดุกแล้วยังมีสัตว์น้ำจืดอื่นๆ เช่น ปลาช่อน ปลานิล ปลาตะเพียน จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยงมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกมากขึ้น ข้อคิดเห็น
1. ทางราชการควรส่งเสริมให้เกษตรกร ทำการผลิตอาหารเม็ดใช้เองโดยให้มีเครื่องอัดเม็ดอาหารปลาประจำหมู่บ้านเพื่อลดต้นทุนการผลิต
2. ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองราคา
3. ส่งเสริมให้มีการแปรรูปปลาดุกเพื่อเพิ่มมูลค่า
4. ให้มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
มันสำปะหลัง : โอกาสการใช้มันสำปะหลังเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้พยากรณ์ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2544 (ตค.2543-กย.2544) คาดว่าจะมีปริมาณค่อนข้างมากซึ่งใกล้เคียงกับปีนี้ คือประมาณ 18-19 ล้านตันหัวมันสด และจากการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านราคาพบว่า ราคาหัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ในปี 2544 จะตกต่ำเช่นเดียวกับปีนี้ อันเป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรปตาม Agenda 2000 ที่จะลดราคาประกันธัญพืชทุกชนิดลงในอัตราร้อยละ 7.50 ต่อปี ระหว่างปี 2543/44-2544/45 ส่งผลให้ราคาส่งออกมันอัดเม็ดมีแนวโน้มลดลงเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับธัญพืชภายในของสหภาพยุโรปได้
จากการที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการติดตามการใช้มันสำปะหลังจากเกษตรกรและโรงงานอาหารสัตว์ พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะให้มีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ภายในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำลงได้ รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ผลการติดตามพอสรุปได้ดังนี้
1. คุณภาพมันเส้นมันอัดเม็ด ประกาศกระทรวงพาณิชย์ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2534 กำหนดมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อส่งออกค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ เปอร์เซนต์แป้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โดยน้ำหนัก มีเส้นใยของหัวมันสำปะหลังไม่เกินร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ดินทรายไม่เกินร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก ซึ่งคุณภาพมันอัดเม็ด ระดับนี้ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ในประเทศไทยที่มีสภาพภูมิอากาศร้อน โดยมันเส้นที่จะใช้เลี้ยงสัตว์ในไทยต้องเป็นมันเส้นที่มีคุณภาพดี กล่าวคือ
- แป้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
- โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2
- ความชื้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 13
- เยื่อใยไม่มากกว่าร้อยละ 4
2. โครงการส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ โดย รศ.อุทัย คันโธ หัวหน้าศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์และภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้มันสำปะหลังในการเลี้ยงสัตว์และการทำมันเส้นให้สะอาด ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการติดตามข้อมูลในโครงการฯ ดังกล่าว ปรากฏว่า
1) การใช้มันเส้นเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์เมื่อปรับโปรตีนโดยการเพิ่มกากถั่วเหลืองหรืออื่น ๆ ให้สูงขึ้น รวมทั้งเพิ่มโปรตีนสังเคราะห์ให้เหมาะสมในแต่ละชนิดของสัตว์ ซึ่งจะทำให้อัตราการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ และคุณภาพของซากไม่แตกต่างจากการใช้ข้าวโพดและปลายข้าว
2) ทัศนคติของบุคคลบางกลุ่ม เช่น เกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ค้าสัตว์ ฯลฯ ยังคงมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้มันสำปะหลังว่าจะทำให้คุณภาพของซากต่ำ เป็นต้น แนวทางการดำเนินงาน
เพื่อเร่งให้มีการขยายการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้มากยิ่งขึ้น ควรดำเนินการดังนี้ <
1. เผยแพร่ผลการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ โดยการประชาสัมพันธ์ ทัศนศึกษาดูงานในสถานที่มีการใช้มันสำปะหลังเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
2. เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้กว้างขวางและแพร่หลายยิ่งขึ้น
3. ส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกร เช่น สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร ฯลฯ รวมทั้งเอกชน ได้แก่ ลานมันเส้น จัดทำโครงการส่งเสริมการทำมันเส้นให้สะอาด โดย เกษตรกรจะต้องปรับปรุงคุณภาพหัวมันสดโดยการตัดเหง้า ส่วนลานมันจะต้องมีการปรับขบวนการผลิตเพื่อให้สิ่งเจือปน เช่น ทราย และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ลดลง
4. ปรับปรุงประกาศมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อส่งออกให้มีคุณภาพสูงขึ้นทั้งเปอร์เซนต์ แป้ง เส้นใย และสิ่งเจือปน ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
1. การใช้มันสำปะหลังในการเลี้ยงสัตว์จะเพิ่มมากขึ้นจากปีละ 0.4-0.5 ล้านตันมันเส้น เป็นปีละ 1-2 ล้านตันมันเส้น และคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อันจะช่วยลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศลงได้
2. การส่งออกมันเส้นที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดจะขยายปริมาณได้มากขึ้น
3. การใช้มันเส้นที่มีคุณภาพเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ จะช่วยลดปัญหาการเกิดอัลฟาทอกซินในอาหารสัตว์ กองทุนอ้อย : คณะกรรมการ ธ.ก.ส. เห็นชอบให้ความช่วยเหลือกองทุนอ้อยฯ
สืบเนื่องจากการที่ชาวไร่อ้อยได้ชุมนุมขอทราบคำตอบจากรัฐบาลในการหาแหล่งเงินกู้ในวงเงินประมาณ 5,320 ล้านบาท เพื่อนำไปให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้ต่อในอัตราตันละ 100 บาท นั้น คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 ได้มีมติรับทราบผลการหารือเบื้องต้นของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต่ำ ฤดูการผลิตปี 2542/43 โดยให้กระทรวงการคลัง ประสานงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์-การเกษตร พิจารณาจัดสรรเงินจำนวน 5,320 ล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายเพิ่มเป็นค่าอ้อยขั้นต้นให้กับชาวไร่อ้อยในอัตราตันอ้อยละ 100 บาท ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติไว้แล้ว และให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายพิจารณาจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าว โดยให้มีการพิจารณาปรับปรุงรายได้ของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อแสดงให้เห็นว่า กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย มีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถใช้คืนเงินกู้ที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมีภาระต้องรับผิดชอบได้ ทั้งนี้ ให้นำผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยมาใช้ ประกอบการพิจารณาด้วย และเมื่อได้ข้อยุติแล้ว ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2543
สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ได้มีมติเห็นชอบให้การช่วยเหลือทางการเงินเพื่อเพิ่มราคาอ้อยฤดูการผลิต 2542/43 โดยผ่านกองทุนอ้อยฯ ในวงเงินไม่เกิน 5,320 ล้านบาท โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีก่อนที่ ธ.ก.ส. จะเข้ารับซื้อลดเช็คเพิ่มราคาอ้อยจากเกษตรกรชาวไร่ ดังนี้
1. ให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) และคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมกันกำหนดมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่กองทุนฯ จนเพียงพอต่อการชำระหนี้แก่ ธ.ก.ส. ให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในตารางการชำระหนี้ที่ ธ.ก.ส. กำหนด โดยให้กองทุนฯ ชำระหนี้แก่ ธ.ก.ส. ก่อนเจ้าหนี้อื่น
2. เมื่อดำเนินการตามข้อ 1. แล้ว และต่อมาปรากฏว่ากองทุนฯ มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้แก่ ธ.ก.ส. ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ให้ กอน. และกองทุนฯ ร่วมกันดำเนินการให้มีผลในการจัดสรรรายได้จากค่าอ้อยที่ชาวไร่อ้อยส่งเข้าโรงงานในโอกาสแรกที่ดำเนินการได้ มาชดเชยเพื่อชำระหนี้แก่ ธ.ก.ส. ในส่วนที่ขาดไปในแต่ละงวดการชำระหนี้โดยถือเป็นการเรียกเก็บเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย 3. ในกรณีที่กองทุนฯ ผิดนัดไม่สามารถชำระหนี้ให้ ธ.ก.ส. ได้ตามกำหนด ธ.ก.ส. จะนำดอกเบี้ยงวดที่ผิดนัดทบเข้าเป็นเงินต้น และกองทุนฯ จะต้องชำระดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่ผิดนัดให้แก่ ธ.ก.ส. เท่ากับลูกหนี้ผิดนัดโดยทั่วไป
4. ในกรณีที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่สามารถกำกับควบคุมให้มีการปฏิบัติตามมาตราการที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น จนทำให้ ธ.ก.ส.ได้รับความเสียหาย รัฐบาลจะต้องชดเชยความเสียหายให้แก่ ธ.ก.ส.
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 15 - 21 พ.ค. 2543--
-สส-