ข่าวในประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยขณะนี้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.กล่าวถึงการปรับลดดอกเบี้ยของ ธพ.ว่า เนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องส่วนเกินในระบบค่อนข้างมาก จากธุรกิจสินเชื่อที่ติดลบ แต่ด้านเงินฝากขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5 ประกอบกับภาวะตลาดต่างประเทศอยู่ในช่วงขาลง และไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนก่อนหน้านี้ จึงเป็นแรงกดดันให้ ธพ.ต้องปรับลดดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝาก แต่ยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจไทยขณะนี้ ในส่วนของ ธปท.กำลังติดตามทิศทางดอกเบี้ยในระบบ ไม่ให้ลดต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันที่ระดับร้อยละ 2 เพื่อประกอบการพิจารณานโยบายการเงินว่าจะมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ ซึ่งจะพิจารณาจากโครงสร้างดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนหลังหักภาษีแล้ว โดยนำไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 1 มี.ค.44 หากคณะกรรมการฯ มีมติปรับลดดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 14 วัน ซึ่งเป็นดอกเบี้ยนโยบายจริง ผลกระทบที่จะมีต่อภาวะเศรษฐกิจคงต้องใช้เวลา 9-10 เดือน (มติชน 14)
2. ธปท.เลื่อนใช้มาตรฐานบัญชีใหม่เป็นวันที่ 1 ม.ค.45 ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.เสนอให้ ก.พาณิชย์ยืดเวลาการบังคับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ จากที่จะมีผลในวันที่ 1 ม.ค.44 เป็น 1 ม.ค.45 ซึ่งตามมาตรฐานฯใหม่กำหนดให้ ธพ.คิดค่าสินทรัพย์ตามราคาตลาดและคิดหลักประกันแบบเดิม รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อให้พิจารณากระแสเงินสดมากกว่าหลักประกัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า การยืดเวลาดังกล่าวจะช่วยเอื้อต่อการปรับโครงสร้างหนี้รายย่อย (เอสเอ็มอี) ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และ ธพ.ได้รับผลดีโดยไม่ต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้นให้ครบร้อยละ 100 ในส่วนหนี้ของค้างชำระตั้งแต่ 3-12 เดือน ซึ่งจะช่วยบรรเทาการตั้งสำรองของธนาคารได้มาก (ไทยโพสต์ 14)
3. ปริมาณการใช้เช็คในเดือน ม.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21 จากเดือน ธ.ค.43 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปริมาณเช็คเรียกเก็บในเดือน ม.ค.44 มีจำนวน 4.54 ล.ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 1,229,452.24 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 5.21 และ 3.62 ตามลำดับ ส่วนเช็คเรียกคืนมีจำนวน 117,591 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 12,470.80 ล.บาท โดยเป็นเช็คเรียกคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงิน 68,241 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 1.50 ของจำนวนเช็คเรียกเก็บทั้งหมด และมีมูลค่า 6,221.48 ล.บาท หรือร้อยละ 0.51 ของมูลค่าเช็คเรียกเก็บทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ 14)
4. ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.ค.44 คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือน ม.ค.44 ว่า ดัชนีฯ เกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 75.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 70.9 ในเดือน ธ.ค.43 ดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ระดับ 67.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 62.5 และดัชนีฯ เกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 102.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 98.8 ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อทิศทางการเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ คือ ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น, เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น และธปท.ยังคงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่วนปัจจัยลบ คือ ธปท.ปรับลดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ, ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น, ความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ, ปัญหาปัญหาเอ็นพีแอล, และราคาสินค้าการเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ (วัฏจักร,กรุงเทพธุรกิจ 14)
ข่าวต่างประเทศ
1. เดือน ธ.ค. 43 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 20 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 44 ก.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นที่ยังไม่ปรับตัวเลข ลดลงร้อยละ 20.7 อยู่ที่มูลค่า 688.5 พัน ล. เยน จากมูลค่า 868.6 พัน ล. เยน ในเดือน ธ.ค. 42 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจ สรอ. ที่กำลังชะลอตัวส่งผลให้การส่งออกของญี่ปุ่นขยายตัวโน้มต่ำลง ขณะเดียวกัน ในเดือน ธ.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้า ที่ไม่รวมดุลบริการและการไหลเข้าของเงินลงทุน ลดลงร้อยละ 21.4 เทียบต่อปี อยู่ที่มูลค่า 995.0 พัน ล. เยน และตลอดทั้งปี 43 ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่น อยู่ที่มูลค่า 12.69 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากปี 42 ขณะที่การเกินดุลการค้า ลดลงร้อยละ 10.2 อยู่ที่มูลค่า 12.58 ล้านล้านเยน ทั้งนี้บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศของโลกกำลังชะลอตัวลง (รอยเตอร์ 14)
2. ยอดการค้าปลีกโดยรวมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ยอดการค้าปลีกโดยรวมที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 อยู่ที่มูลค่า 273.27 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค. 43 ชี้ให้เห็นสัญญาณใหม่ที่สดใสขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หลังจากที่การใช้จ่ายซื้อสินค้าซบเซาในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมยอดการขายรถยนต์ ยอดการค้าปลีกฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ธ.ค. 43 รายงานยอดการค้าปลีกฯดังกล่าว เพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ (รอยเตอร์13)
3. การเกินดุลการค้าของเยอรมนีลดลงในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 2.1 พันล้านมาร์ก จาก 9.9 พันล้านมาร์กในเดือน ธ.ค. 42 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเกินดุลฯประมาณ 7.441 พันล้านมาร์ก โดยในเดือน ธ.ค. 43 การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากเดือน ธ.ค. 42 หรือมีมูลค่า 97.6 พันล้านมาร์ก แต่การนำเข้าสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.3 หรือมีมูลค่า 95.5 พันล้านมาร์กและตลอดทั้งปี 43 เยอรมนีเกินการค้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 109 พัน ล. มาร์ก จากมูลค่า 127.5 พัน ล. มาร์ก นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank (Christoph Hausen) กล่าวว่า มูลค่าสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นดังกล่าวเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและค่าเงินยูโรที่อ่อนลงอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์13)
4. ยอดการค้าปลีกของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 ยอดการค้าปลีกที่ปรับอัตราเงินเฟ้อ ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี ซึ่งลดลงมากกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดไว้ว่า ยอดการค้าปลีกจะลดลงเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.4 เทียบต่อปี เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าราคาน้ำมันที่โน้มต่ำลงในเดือนดังกล่าว น่าจะกระตุ้นความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์13)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 13 ก.พ. 44 42.480 (42.581)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 13 ก.พ. 44
ซื้อ 42.3311 (42.3655) ขาย 42.6292 (42.6858)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,250 (5,250) ขาย 5,350 (5,350)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.78 (24.05)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. อัตราดอกเบี้ยขณะนี้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.กล่าวถึงการปรับลดดอกเบี้ยของ ธพ.ว่า เนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องส่วนเกินในระบบค่อนข้างมาก จากธุรกิจสินเชื่อที่ติดลบ แต่ด้านเงินฝากขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5 ประกอบกับภาวะตลาดต่างประเทศอยู่ในช่วงขาลง และไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนก่อนหน้านี้ จึงเป็นแรงกดดันให้ ธพ.ต้องปรับลดดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝาก แต่ยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจไทยขณะนี้ ในส่วนของ ธปท.กำลังติดตามทิศทางดอกเบี้ยในระบบ ไม่ให้ลดต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันที่ระดับร้อยละ 2 เพื่อประกอบการพิจารณานโยบายการเงินว่าจะมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ ซึ่งจะพิจารณาจากโครงสร้างดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนหลังหักภาษีแล้ว โดยนำไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 1 มี.ค.44 หากคณะกรรมการฯ มีมติปรับลดดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 14 วัน ซึ่งเป็นดอกเบี้ยนโยบายจริง ผลกระทบที่จะมีต่อภาวะเศรษฐกิจคงต้องใช้เวลา 9-10 เดือน (มติชน 14)
2. ธปท.เลื่อนใช้มาตรฐานบัญชีใหม่เป็นวันที่ 1 ม.ค.45 ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.เสนอให้ ก.พาณิชย์ยืดเวลาการบังคับใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ จากที่จะมีผลในวันที่ 1 ม.ค.44 เป็น 1 ม.ค.45 ซึ่งตามมาตรฐานฯใหม่กำหนดให้ ธพ.คิดค่าสินทรัพย์ตามราคาตลาดและคิดหลักประกันแบบเดิม รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อให้พิจารณากระแสเงินสดมากกว่าหลักประกัน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า การยืดเวลาดังกล่าวจะช่วยเอื้อต่อการปรับโครงสร้างหนี้รายย่อย (เอสเอ็มอี) ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และ ธพ.ได้รับผลดีโดยไม่ต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้นให้ครบร้อยละ 100 ในส่วนหนี้ของค้างชำระตั้งแต่ 3-12 เดือน ซึ่งจะช่วยบรรเทาการตั้งสำรองของธนาคารได้มาก (ไทยโพสต์ 14)
3. ปริมาณการใช้เช็คในเดือน ม.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21 จากเดือน ธ.ค.43 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปริมาณเช็คเรียกเก็บในเดือน ม.ค.44 มีจำนวน 4.54 ล.ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 1,229,452.24 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 5.21 และ 3.62 ตามลำดับ ส่วนเช็คเรียกคืนมีจำนวน 117,591 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 12,470.80 ล.บาท โดยเป็นเช็คเรียกคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงิน 68,241 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 1.50 ของจำนวนเช็คเรียกเก็บทั้งหมด และมีมูลค่า 6,221.48 ล.บาท หรือร้อยละ 0.51 ของมูลค่าเช็คเรียกเก็บทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ 14)
4. ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.ค.44 คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือน ม.ค.44 ว่า ดัชนีฯ เกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 75.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 70.9 ในเดือน ธ.ค.43 ดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ระดับ 67.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 62.5 และดัชนีฯ เกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 102.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 98.8 ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อทิศทางการเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ คือ ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น, เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น และธปท.ยังคงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่วนปัจจัยลบ คือ ธปท.ปรับลดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ, ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น, ความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ, ปัญหาปัญหาเอ็นพีแอล, และราคาสินค้าการเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ (วัฏจักร,กรุงเทพธุรกิจ 14)
ข่าวต่างประเทศ
1. เดือน ธ.ค. 43 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 20 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 44 ก.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นที่ยังไม่ปรับตัวเลข ลดลงร้อยละ 20.7 อยู่ที่มูลค่า 688.5 พัน ล. เยน จากมูลค่า 868.6 พัน ล. เยน ในเดือน ธ.ค. 42 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจ สรอ. ที่กำลังชะลอตัวส่งผลให้การส่งออกของญี่ปุ่นขยายตัวโน้มต่ำลง ขณะเดียวกัน ในเดือน ธ.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้า ที่ไม่รวมดุลบริการและการไหลเข้าของเงินลงทุน ลดลงร้อยละ 21.4 เทียบต่อปี อยู่ที่มูลค่า 995.0 พัน ล. เยน และตลอดทั้งปี 43 ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่น อยู่ที่มูลค่า 12.69 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากปี 42 ขณะที่การเกินดุลการค้า ลดลงร้อยละ 10.2 อยู่ที่มูลค่า 12.58 ล้านล้านเยน ทั้งนี้บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศของโลกกำลังชะลอตัวลง (รอยเตอร์ 14)
2. ยอดการค้าปลีกโดยรวมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ยอดการค้าปลีกโดยรวมที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 อยู่ที่มูลค่า 273.27 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค. 43 ชี้ให้เห็นสัญญาณใหม่ที่สดใสขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หลังจากที่การใช้จ่ายซื้อสินค้าซบเซาในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมยอดการขายรถยนต์ ยอดการค้าปลีกฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ธ.ค. 43 รายงานยอดการค้าปลีกฯดังกล่าว เพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ (รอยเตอร์13)
3. การเกินดุลการค้าของเยอรมนีลดลงในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 2.1 พันล้านมาร์ก จาก 9.9 พันล้านมาร์กในเดือน ธ.ค. 42 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเกินดุลฯประมาณ 7.441 พันล้านมาร์ก โดยในเดือน ธ.ค. 43 การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากเดือน ธ.ค. 42 หรือมีมูลค่า 97.6 พันล้านมาร์ก แต่การนำเข้าสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.3 หรือมีมูลค่า 95.5 พันล้านมาร์กและตลอดทั้งปี 43 เยอรมนีเกินการค้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 109 พัน ล. มาร์ก จากมูลค่า 127.5 พัน ล. มาร์ก นักเศรษฐศาสตร์จาก Commerzbank (Christoph Hausen) กล่าวว่า มูลค่าสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นดังกล่าวเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและค่าเงินยูโรที่อ่อนลงอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์13)
4. ยอดการค้าปลีกของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 ยอดการค้าปลีกที่ปรับอัตราเงินเฟ้อ ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี ซึ่งลดลงมากกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดไว้ว่า ยอดการค้าปลีกจะลดลงเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.4 เทียบต่อปี เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าราคาน้ำมันที่โน้มต่ำลงในเดือนดังกล่าว น่าจะกระตุ้นความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์13)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 13 ก.พ. 44 42.480 (42.581)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 13 ก.พ. 44
ซื้อ 42.3311 (42.3655) ขาย 42.6292 (42.6858)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,250 (5,250) ขาย 5,350 (5,350)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.78 (24.05)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-