6/11/44 นายราเชนทร์ พจนสุนทร โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ฯ พณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอดิศัย โพธารามิก ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในใช้มาตรการแทรกแซงราคากาแฟด้วยการเปิดโครงการรับจำนำในระหว่างเดือนธันวาคม 2544 — เดือนมีนาคม 2545 ซึ่งจะมีการเสนอโครงการดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวันที่ 8 พฤศจิกายน นี้
“หลังจากที่ได้มีตัวแทนจากกลุ่มผู้ผลิตกาแฟทั้งเกษตรกร และพ่อค้าเข้ามาพบรัฐมนตรีว่าการฯ เพื่อขอความช่วยเหลือให้กระทรวงพาณิชย์เข้าแทรกแซงราคาด้วยการรับจำนำ เนื่องจากราคากาแฟในปัจจุบันนี้ตกลงอย่างมาก โดยราคาส่งออกนั้นตกจากราคาตันละประมาณ 800 เหรียญสหรัฐ เหลือเพียง 387 เหรียญ ส่วนราคาจำหน่ายของเกษตรกรนั้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 8 -10 บาท ในขณะที่ต้นทุนคือ 31 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งผลผลิตกาแฟของไทยในปีนี้คาดว่าจะผลิตได้ประมาณ 70,000 ตัน เป็นการบริโภคภายในประเทศ 35,000 ตัน ที่เหลือส่งจำหน่ายยังต่างประเทศ”
สำหรับราคารับจำนำที่กำหนดไว้นั้นกาแฟเกรด 1 ความชื้นไม่เกิน 13 % มีข้อบกพร่องไม่เกิน 7% รับจำนำในราคากิโลกรัมละ 25 บาท โดยรับจำนำในปริมาณ 21,000 ตัน ส่วนกาแฟเกรด 2 ความชื้นไม่เกิน 13 % มีข้อบกพร่องไม่เกิน 15 % รับจำนำในราคากิโลกรัมละ 21 บาท เป็นปริมาณ 14,000 ตัน
ระยะเวลารับจำนำจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544 ถึงเดือนมีนาคม 2545 และกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไว้ 2 เดือน โดยเปิดรับจำนำ ณ จุดรับจำนำของอคส. ใน 8 จังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกกาแฟ คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ประจวบคีรีขันธ์ และอุตรดิตถ์
“โครงการรับจำนำกาแฟนี้จะเปิดรับจำนำตรงจากเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์มากที่สุด โดยเกษตรกรจะต้องขอหนังสือรับรองการเป็นผู้ปลูกกาแฟจาก ธกส. หรือคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรฯระดับจังหวัดก่อนเข้าร่วมโครงการ และเมื่อเกษตรกรดำเนินการจำนำกาแฟเรียบร้อย อคส.จะออกใบประทวนสินค้าให้ซึ่งสามารถรับเงินจากธกส.ได้ภายใน 7 วัน โดยเกษตรกรจะต้องมอบสิทธิ์เพื่อจำหน่ายเมล็ดกาแฟก่อนครบกำหนดไถ่ถอนไว้ และกาแฟที่รับจำนำนี้จะนำมาเก็บรักษาไว้อย่างดีในโกดังที่กรุงเทพฯ เพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตซึ่งจะทำให้ไม่เสียราคาเมื่อส่งออก
สำหรับงบประมาณในการดำเนินการรับจำนำของธกส.นั้น ตั้งไว้ประมาณ 56 ล้านบาท สำหรับค่าดำเนินงานของ อคส. และอีก 13.6 ล้านบาท เพื่อชดเชยดอกเบี้ยและค่าดำเนินการแก่ธกส.”
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-
“หลังจากที่ได้มีตัวแทนจากกลุ่มผู้ผลิตกาแฟทั้งเกษตรกร และพ่อค้าเข้ามาพบรัฐมนตรีว่าการฯ เพื่อขอความช่วยเหลือให้กระทรวงพาณิชย์เข้าแทรกแซงราคาด้วยการรับจำนำ เนื่องจากราคากาแฟในปัจจุบันนี้ตกลงอย่างมาก โดยราคาส่งออกนั้นตกจากราคาตันละประมาณ 800 เหรียญสหรัฐ เหลือเพียง 387 เหรียญ ส่วนราคาจำหน่ายของเกษตรกรนั้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 8 -10 บาท ในขณะที่ต้นทุนคือ 31 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งผลผลิตกาแฟของไทยในปีนี้คาดว่าจะผลิตได้ประมาณ 70,000 ตัน เป็นการบริโภคภายในประเทศ 35,000 ตัน ที่เหลือส่งจำหน่ายยังต่างประเทศ”
สำหรับราคารับจำนำที่กำหนดไว้นั้นกาแฟเกรด 1 ความชื้นไม่เกิน 13 % มีข้อบกพร่องไม่เกิน 7% รับจำนำในราคากิโลกรัมละ 25 บาท โดยรับจำนำในปริมาณ 21,000 ตัน ส่วนกาแฟเกรด 2 ความชื้นไม่เกิน 13 % มีข้อบกพร่องไม่เกิน 15 % รับจำนำในราคากิโลกรัมละ 21 บาท เป็นปริมาณ 14,000 ตัน
ระยะเวลารับจำนำจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544 ถึงเดือนมีนาคม 2545 และกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไว้ 2 เดือน โดยเปิดรับจำนำ ณ จุดรับจำนำของอคส. ใน 8 จังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกกาแฟ คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ประจวบคีรีขันธ์ และอุตรดิตถ์
“โครงการรับจำนำกาแฟนี้จะเปิดรับจำนำตรงจากเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์มากที่สุด โดยเกษตรกรจะต้องขอหนังสือรับรองการเป็นผู้ปลูกกาแฟจาก ธกส. หรือคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรฯระดับจังหวัดก่อนเข้าร่วมโครงการ และเมื่อเกษตรกรดำเนินการจำนำกาแฟเรียบร้อย อคส.จะออกใบประทวนสินค้าให้ซึ่งสามารถรับเงินจากธกส.ได้ภายใน 7 วัน โดยเกษตรกรจะต้องมอบสิทธิ์เพื่อจำหน่ายเมล็ดกาแฟก่อนครบกำหนดไถ่ถอนไว้ และกาแฟที่รับจำนำนี้จะนำมาเก็บรักษาไว้อย่างดีในโกดังที่กรุงเทพฯ เพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตซึ่งจะทำให้ไม่เสียราคาเมื่อส่งออก
สำหรับงบประมาณในการดำเนินการรับจำนำของธกส.นั้น ตั้งไว้ประมาณ 56 ล้านบาท สำหรับค่าดำเนินงานของ อคส. และอีก 13.6 ล้านบาท เพื่อชดเชยดอกเบี้ยและค่าดำเนินการแก่ธกส.”
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-