กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวันที่ 19-21 ธันวาคม 2544 พม่าได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือ Bangladesh — India — Myanmar — Sri Lanka — Thailand Economic Cooperation (BIMST-EC) ครั้งที่ 4 คณะผู้แทนไทยในการประชุมดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดย ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรี
ประเด็นสำคัญที่ไทยต้องการผลักดันในการประชุม BIMST-EC ครั้งนี้
(1) การทบทวนปรับโครงสร้างการทำงานของ BIMST-EC ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อนการประชุม กระทรวงการต่างประเทศได้จัดประชุมหน่วยราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมสมองเกี่ยวกับการปรับโครงสร้าง BIMST-EC และได้นำผลการระดมสมองดังกล่าวจัด ทำเป็น Thailand ’s position paper on BIMST-EC institutional review เสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรี เอกสารดังกล่าวเสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการทำงานของ BIMST-EC 8 ข้อ ที่สำคัญได้แก่ การยกระดับหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นรัฐมนตรีว่าการฯ การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน และการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรของ BIMST-EC
(2) การส่งเสริมการสร้างเครือข่าย (network) และหุ้นส่วน (partnership) กับ องค์การระหว่างประเทศและประเทศผู้ให้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการขอรับความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและเงินทุนสำหรับโครงการพัฒนาต่าง ๆ
(3) การส่งเสริมให้ BIMST-EC แสดงท่าทีร่วมกันในการเจรจาต่อรองกับประเทศที่สาม ในประเด็นที่มีความสนใจและผลประโยชน์ร่วม รวมทั้งแสดงท่าทีร่วมกันในเวทีระหว่างประเทศ
(4) การผลักดันความร่วมมือในสาขาที่ไทยให้ความสนใจลำดับต้น เช่น การจัดตั้ง BIMST-EC Free Trade Area อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยา สินค้าเกษตร มาตรฐานสินค้า พลังงาน เทคโนโลยี การประมง และการท่องเที่ยว ฯลฯ
ในการประชุม BIMST-EC ครั้งที่ 4 ที่กรุงย่างกุ้งนี้ ไทยประสบความสำเร็จในประเด็นที่มุ่งผลักดันเป็นอย่างมาก สรุปผลการประชุมที่สำคัญได้ดังนี้
(1) การปรับโครงสร้าง BIMST-EC ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศเป็นรัฐมนตรีว่าการฯ การจัดประชุมระดับรัฐมนตรีในช่วงเวลาที่แน่นอน นอกจากนี้ คณะทำงานของ BIMST-EC ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมเศรษฐกิจและเอกอัคร- ราชทูตประเทศสมาชิก BIMST-EC ประจำไทย ได้รับมอบหมายให้พิจารณาจัดทำ Concept Paper เรื่องการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ BIMST-EC
(2) ที่ประชุมได้มอบหมายให้ Working Group ที่กรุงเทพ ฯ จัดลำดับความสำคัญของโครงการต่าง ๆ ของ BIMST-EC และระบุองค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงิน ประเทศผู้ให้ ที่อาจจะไปเสนอขอความสนับสนุนทางการเงิน
(3) ที่ประชุมได้รับรอง BIMST-EC logo ซึ่งไทยเป็นผู้ออกแบบ และไทยได้รับที่จะดำเนินการปรับปรุง BIMST-EC Website
(4) ที่ประชุมมีมติให้เลื่อนการจัด Visit BIMST-EC Year จากปี 2001 เป็นปี 2003 และให้มีการจัดตั้ง Marketing Task Force ในสาขาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
(5) ที่ประชุมได้แสดงจุดยืนร่วมกันในการสนับสนุนการต่อต้านการก่อการร้าย และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
(6) ที่ประชุมได้กำหนดประเทศนำในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ใหม่ โดยไทยรับเป็นประเทศนำในสาขาการประมง และในคณะทำงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน — ก๊าซธรรมชาติต่ออีก 3 ปี และรับที่จะเป็นประเทศนำใหม่ใน 3 สาขาย่อยภายใต้สาขาการค้าและการลงทุน ได้แก่ สาขาย่อยไม้ดอกไม้ประดับ สาขายาง ชา และกาแฟ และสาขาอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน
(7) ที่ประชุมเห็นควรให้เพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ BIMST-EC โดยผ่าน Economic Forum และ Business Forum
(8) ที่ประชุมมอบหมายให้สถาบัน think tank ของอินเดีย ทำการศึกษาเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์และอนาคตของ BIMST-EC ร่วมกับ think tank ในประเทศสมาชิก
กรอบความร่วมมือ BIMST-EC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า และไทย BIMST-EC ได้กำหนดความร่วมมือระหว่างกัน 6 สาขา คือ การค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว พลังงาน การคมนาคม เทคโนโลยี และการประมง เฉพาะในสาขาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน แยกเป็น 2 ด้านคือ ความร่วมมือในด้านตัวสินค้า 8 ประเภท และความร่วมมือในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน 7 ด้าน ที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศนำ (lead country) ในความร่วมมือสาขาประมง ในตัวสินค้า 3 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ยา อัญมณี และอาหารสำเร็จรูป และในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า 1 ด้าน คือ มาตรฐานสินค้า
ประเทศไทยมีส่วนสำคัญในการผลักดันกรอบความร่วมมือ BIMST-EC นี้มาตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง เนื่องจากคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือ BIMST-EC คือ
(1) เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับพม่าและประเทศในเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Look West
(2) เพื่อเป็นเวทีหารือและเจรจาเพื่อขจัดอุปสรรคต่อความร่วมมือระหว่างกัน
(3) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของกลุ่มในเวทีระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง WTO
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ด้วยเมื่อวันที่ 19-21 ธันวาคม 2544 พม่าได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือ Bangladesh — India — Myanmar — Sri Lanka — Thailand Economic Cooperation (BIMST-EC) ครั้งที่ 4 คณะผู้แทนไทยในการประชุมดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดย ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรี
ประเด็นสำคัญที่ไทยต้องการผลักดันในการประชุม BIMST-EC ครั้งนี้
(1) การทบทวนปรับโครงสร้างการทำงานของ BIMST-EC ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อนการประชุม กระทรวงการต่างประเทศได้จัดประชุมหน่วยราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมสมองเกี่ยวกับการปรับโครงสร้าง BIMST-EC และได้นำผลการระดมสมองดังกล่าวจัด ทำเป็น Thailand ’s position paper on BIMST-EC institutional review เสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรี เอกสารดังกล่าวเสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการทำงานของ BIMST-EC 8 ข้อ ที่สำคัญได้แก่ การยกระดับหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นรัฐมนตรีว่าการฯ การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน และการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรของ BIMST-EC
(2) การส่งเสริมการสร้างเครือข่าย (network) และหุ้นส่วน (partnership) กับ องค์การระหว่างประเทศและประเทศผู้ให้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการขอรับความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและเงินทุนสำหรับโครงการพัฒนาต่าง ๆ
(3) การส่งเสริมให้ BIMST-EC แสดงท่าทีร่วมกันในการเจรจาต่อรองกับประเทศที่สาม ในประเด็นที่มีความสนใจและผลประโยชน์ร่วม รวมทั้งแสดงท่าทีร่วมกันในเวทีระหว่างประเทศ
(4) การผลักดันความร่วมมือในสาขาที่ไทยให้ความสนใจลำดับต้น เช่น การจัดตั้ง BIMST-EC Free Trade Area อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยา สินค้าเกษตร มาตรฐานสินค้า พลังงาน เทคโนโลยี การประมง และการท่องเที่ยว ฯลฯ
ในการประชุม BIMST-EC ครั้งที่ 4 ที่กรุงย่างกุ้งนี้ ไทยประสบความสำเร็จในประเด็นที่มุ่งผลักดันเป็นอย่างมาก สรุปผลการประชุมที่สำคัญได้ดังนี้
(1) การปรับโครงสร้าง BIMST-EC ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับหัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศเป็นรัฐมนตรีว่าการฯ การจัดประชุมระดับรัฐมนตรีในช่วงเวลาที่แน่นอน นอกจากนี้ คณะทำงานของ BIMST-EC ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมเศรษฐกิจและเอกอัคร- ราชทูตประเทศสมาชิก BIMST-EC ประจำไทย ได้รับมอบหมายให้พิจารณาจัดทำ Concept Paper เรื่องการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ BIMST-EC
(2) ที่ประชุมได้มอบหมายให้ Working Group ที่กรุงเทพ ฯ จัดลำดับความสำคัญของโครงการต่าง ๆ ของ BIMST-EC และระบุองค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงิน ประเทศผู้ให้ ที่อาจจะไปเสนอขอความสนับสนุนทางการเงิน
(3) ที่ประชุมได้รับรอง BIMST-EC logo ซึ่งไทยเป็นผู้ออกแบบ และไทยได้รับที่จะดำเนินการปรับปรุง BIMST-EC Website
(4) ที่ประชุมมีมติให้เลื่อนการจัด Visit BIMST-EC Year จากปี 2001 เป็นปี 2003 และให้มีการจัดตั้ง Marketing Task Force ในสาขาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
(5) ที่ประชุมได้แสดงจุดยืนร่วมกันในการสนับสนุนการต่อต้านการก่อการร้าย และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
(6) ที่ประชุมได้กำหนดประเทศนำในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ใหม่ โดยไทยรับเป็นประเทศนำในสาขาการประมง และในคณะทำงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน — ก๊าซธรรมชาติต่ออีก 3 ปี และรับที่จะเป็นประเทศนำใหม่ใน 3 สาขาย่อยภายใต้สาขาการค้าและการลงทุน ได้แก่ สาขาย่อยไม้ดอกไม้ประดับ สาขายาง ชา และกาแฟ และสาขาอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน
(7) ที่ประชุมเห็นควรให้เพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ BIMST-EC โดยผ่าน Economic Forum และ Business Forum
(8) ที่ประชุมมอบหมายให้สถาบัน think tank ของอินเดีย ทำการศึกษาเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์และอนาคตของ BIMST-EC ร่วมกับ think tank ในประเทศสมาชิก
กรอบความร่วมมือ BIMST-EC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า และไทย BIMST-EC ได้กำหนดความร่วมมือระหว่างกัน 6 สาขา คือ การค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว พลังงาน การคมนาคม เทคโนโลยี และการประมง เฉพาะในสาขาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน แยกเป็น 2 ด้านคือ ความร่วมมือในด้านตัวสินค้า 8 ประเภท และความร่วมมือในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน 7 ด้าน ที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศนำ (lead country) ในความร่วมมือสาขาประมง ในตัวสินค้า 3 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ยา อัญมณี และอาหารสำเร็จรูป และในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า 1 ด้าน คือ มาตรฐานสินค้า
ประเทศไทยมีส่วนสำคัญในการผลักดันกรอบความร่วมมือ BIMST-EC นี้มาตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง เนื่องจากคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือ BIMST-EC คือ
(1) เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับพม่าและประเทศในเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Look West
(2) เพื่อเป็นเวทีหารือและเจรจาเพื่อขจัดอุปสรรคต่อความร่วมมือระหว่างกัน
(3) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของกลุ่มในเวทีระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง WTO
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-