ข่าวในประเทศ
1. สถานการณ์ค่าเงินบาทและนโยบายอัตราดอกเบี้ย นายเชษฐทวี เจริญพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 43 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากนักลงทุนต่างประเทศนำค่าเงินไปผูกติดกับค่าเงินในภูมิภาคนี้ คือ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ที่มีปัญหาการเมือง เมื่อค่าเงินเปโซและรูเปียอ่อนตัวลงก็ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงตามไปด้วย ซึ่งปกติแล้วค่าเงินบาทไม่มีปัญหาและมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง รวมถึงการที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าค่าเงินบาทจะอ่อนลงมาอยู่ที่ประมาณ 47-48 บาท/ดอลลาร์ ก็เป็นแรงกดดันให้ได้รับผลกระทบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่ากังวล เนื่องจากเป็นผลกระทบจากปัจจัยภายนอก คาดว่าอีก 2-3 วัน ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 40 บาท/ดอลลาร์ได้ ขณะเดียวกันนายพิสิฐ ลี้อาธรรม รมช.คลังกล่าวว่า ธปท.ไม่ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยพยุงให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น เพราะจะกระทบต่อผู้กู้รายย่อยและรายใหญ่ และเชื่อว่าเศรษฐกิจในปี 43 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 เนื่องจากการส่งออกขยายตัวสูง ส่วนการนำเข้ายังอยู่ในระดับปกติ (วัฏจักร,ไทยรัฐ 13)
2. แนวทางพิจารณาการขาย ธ.นครหลวงไทย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินกล่าวว่า ในวันที่ 13 ต.ค.43 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ จะพิจารณาเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา ธ.นครหลวงไทย ที่ได้มีการเสนอมาก่อนหน้านี้ ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ (1) การแยกหนี้ดีและเสียออกจากกัน และโอนหนี้เสียไปไว้ในบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ส่วนหนี้ดีโอนมาไว้กับ ธ.ไทยธนาคาร (2) โอนหนี้เสียไว้ที่เอเอ็มซี และให้ ธ.นครหลวงไทยบริหารหนี้ดีเอง (3) ไม่มีการแยกหนี้ดีและหนี้เสียออกจากกัน โดยให้ ธ.นครหลวงไทยบริหารเองทั้งหมด หากเกิดความเสียหายทางการจะชดเชยให้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเช่นเดียวกับ ธ.ไทยธนาคาร ทั้งนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ จะคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดและดำเนินการอย่างรอบคอบ เมื่อสรุปเลือกแนวทางใดแล้วจะเสนอ รมว.คลังเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป (วัฏจักร 13)
3. ธพ.ยังไม่สามารถขยายสินเชื่อได้เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ แหล่งข่าวจากสมาคมธนาคารไทยกล่าวถึงกรณีมีข้อเสนอให้ ธปท.ผ่อนปรนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขพิจารณาการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้นว่า ข้อจำกัดในการปล่อยสินเชื่อในปัจจุบันนั้นเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำมีจำนวนน้อยมากในระบบ ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีลดลง โดยเห็นได้จากจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ยังน่าเป็นห่วง ที่ถึงแม้จะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมากเหมือนช่วงเกิดวิกฤติอย่างรุนแรงก็ตาม นอกจากนี้ ธพ.ทุกแห่งต้องนำระบบการพิจารณาความเสี่ยงเข้ามาใช้ สืบเนื่องจากประเทศไทยได้เข้าโครงการขอความช่วยเหลือทางวิชาการและทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็มิใช่ประเด็นที่ทำให้ ธพ.ปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ถือว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดแล้ว (ผู้จัดการรายวัน 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. ราคาสินค้านำเข้าของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค. 43 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันเบนซินที่สูงขึ้นอย่างมากโดยราคาน้ำมันเบนซินนำเข้าในเดือน ก.ย.43 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.1 หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ในเดือน ก.พ. 43 แต่หากไม่รวมราคาน้ำมันเบนซินนำเข้า ราคาสินค้านำเข้าในเดือน ก.ย. ลดลงร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์ 12)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 43 ก. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ยังไม่ปรับตัวเลข อยู่ที่มูลค่า 985.2 พัน ล. เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 จากระยะเดียวกันของปี42 ที่มีมูลค่า 739.9 พัน ล. เยน ขณะที่ การเกินดุลการค้า อยู่ที่มูลค่า 781.8 พัน ล. เยน ลดลงร้อยละ 6.8 จากมูลค่า 838.7 พัน ล. เยน เนื่องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.3 ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบต่อปี Takehiro Saato นักเศรษฐศาสตร์ของ Morgan Stanley กล่าวว่า การส่งออกของญี่ปุ่นน่าจะลดลงในไตรมาสที่ 3 ปี 43 เมื่อเทียบกับ 2 ไตรมาสก่อนที่ผ่านมา และอาจจะลดลงอีกต่อไป เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ทั้งนี้ การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงกว่าการส่งออกมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่ญี่ปุ่นพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน (รอยเตอร์ 12)
3. ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 43 Jerry Jordan ประธาน ธ. กลาง สรอ. แห่ง คลีฟแลนด์ เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 จากระยะเดียวกันของปี 42 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ17 ปี เจ้าหน้าที่ของ ธ. กลาง เชื่อว่าประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งช่วยตรึงอัตราเงินเฟ้อในช่วงเดือนที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าอัตราการว่างงานอยู่ในอัตราต่ำสุดในรอบ 30ปี และเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะที่ขยายตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทั้ง 2 ประการก็ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์บางคนมีความกังวลว่าอาจจะกระตุ้นให้เงินเฟ้อสูงขึ้นได้ (รอยเตอร์ 12)
4. การให้สินเชื่อของ ธพ. ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 4 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่12 ต.ค. 43 ธ. กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 การให้สินเชื่อของ ธพ. ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 4 จากระยะเดียวกันของปี42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4.3 ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 33 ขณะเดียวกัน การให้สินเชื่อของ ธพ. ต่างประเทศ ก็ลดลงร้อยละ 1.6 จากที่ลดลงร้อยละ 10.9 (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12ต.ค. 43 43.267 (43.073)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 ต.ค. 43
ซื้อ 43.0191 (42.8612) ขาย 43.3267 (43.1688)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,600 (5,500) ขาย 5,700 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 32.60 (30.13)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สถานการณ์ค่าเงินบาทและนโยบายอัตราดอกเบี้ย นายเชษฐทวี เจริญพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 43 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากนักลงทุนต่างประเทศนำค่าเงินไปผูกติดกับค่าเงินในภูมิภาคนี้ คือ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ที่มีปัญหาการเมือง เมื่อค่าเงินเปโซและรูเปียอ่อนตัวลงก็ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงตามไปด้วย ซึ่งปกติแล้วค่าเงินบาทไม่มีปัญหาและมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง รวมถึงการที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าค่าเงินบาทจะอ่อนลงมาอยู่ที่ประมาณ 47-48 บาท/ดอลลาร์ ก็เป็นแรงกดดันให้ได้รับผลกระทบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่ากังวล เนื่องจากเป็นผลกระทบจากปัจจัยภายนอก คาดว่าอีก 2-3 วัน ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 40 บาท/ดอลลาร์ได้ ขณะเดียวกันนายพิสิฐ ลี้อาธรรม รมช.คลังกล่าวว่า ธปท.ไม่ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยพยุงให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น เพราะจะกระทบต่อผู้กู้รายย่อยและรายใหญ่ และเชื่อว่าเศรษฐกิจในปี 43 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 เนื่องจากการส่งออกขยายตัวสูง ส่วนการนำเข้ายังอยู่ในระดับปกติ (วัฏจักร,ไทยรัฐ 13)
2. แนวทางพิจารณาการขาย ธ.นครหลวงไทย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินกล่าวว่า ในวันที่ 13 ต.ค.43 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ จะพิจารณาเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา ธ.นครหลวงไทย ที่ได้มีการเสนอมาก่อนหน้านี้ ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ (1) การแยกหนี้ดีและเสียออกจากกัน และโอนหนี้เสียไปไว้ในบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ส่วนหนี้ดีโอนมาไว้กับ ธ.ไทยธนาคาร (2) โอนหนี้เสียไว้ที่เอเอ็มซี และให้ ธ.นครหลวงไทยบริหารหนี้ดีเอง (3) ไม่มีการแยกหนี้ดีและหนี้เสียออกจากกัน โดยให้ ธ.นครหลวงไทยบริหารเองทั้งหมด หากเกิดความเสียหายทางการจะชดเชยให้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเช่นเดียวกับ ธ.ไทยธนาคาร ทั้งนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ จะคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดและดำเนินการอย่างรอบคอบ เมื่อสรุปเลือกแนวทางใดแล้วจะเสนอ รมว.คลังเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป (วัฏจักร 13)
3. ธพ.ยังไม่สามารถขยายสินเชื่อได้เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ แหล่งข่าวจากสมาคมธนาคารไทยกล่าวถึงกรณีมีข้อเสนอให้ ธปท.ผ่อนปรนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขพิจารณาการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้นว่า ข้อจำกัดในการปล่อยสินเชื่อในปัจจุบันนั้นเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำมีจำนวนน้อยมากในระบบ ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีลดลง โดยเห็นได้จากจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ยังน่าเป็นห่วง ที่ถึงแม้จะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมากเหมือนช่วงเกิดวิกฤติอย่างรุนแรงก็ตาม นอกจากนี้ ธพ.ทุกแห่งต้องนำระบบการพิจารณาความเสี่ยงเข้ามาใช้ สืบเนื่องจากประเทศไทยได้เข้าโครงการขอความช่วยเหลือทางวิชาการและทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็มิใช่ประเด็นที่ทำให้ ธพ.ปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ถือว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดแล้ว (ผู้จัดการรายวัน 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. ราคาสินค้านำเข้าของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค. 43 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันเบนซินที่สูงขึ้นอย่างมากโดยราคาน้ำมันเบนซินนำเข้าในเดือน ก.ย.43 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.1 หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ในเดือน ก.พ. 43 แต่หากไม่รวมราคาน้ำมันเบนซินนำเข้า ราคาสินค้านำเข้าในเดือน ก.ย. ลดลงร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์ 12)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 43 ก. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ยังไม่ปรับตัวเลข อยู่ที่มูลค่า 985.2 พัน ล. เยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 จากระยะเดียวกันของปี42 ที่มีมูลค่า 739.9 พัน ล. เยน ขณะที่ การเกินดุลการค้า อยู่ที่มูลค่า 781.8 พัน ล. เยน ลดลงร้อยละ 6.8 จากมูลค่า 838.7 พัน ล. เยน เนื่องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.3 ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบต่อปี Takehiro Saato นักเศรษฐศาสตร์ของ Morgan Stanley กล่าวว่า การส่งออกของญี่ปุ่นน่าจะลดลงในไตรมาสที่ 3 ปี 43 เมื่อเทียบกับ 2 ไตรมาสก่อนที่ผ่านมา และอาจจะลดลงอีกต่อไป เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ทั้งนี้ การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการนำเข้าสูงกว่าการส่งออกมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่ญี่ปุ่นพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน (รอยเตอร์ 12)
3. ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 43 Jerry Jordan ประธาน ธ. กลาง สรอ. แห่ง คลีฟแลนด์ เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 จากระยะเดียวกันของปี 42 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ17 ปี เจ้าหน้าที่ของ ธ. กลาง เชื่อว่าประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งช่วยตรึงอัตราเงินเฟ้อในช่วงเดือนที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าอัตราการว่างงานอยู่ในอัตราต่ำสุดในรอบ 30ปี และเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะที่ขยายตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทั้ง 2 ประการก็ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์บางคนมีความกังวลว่าอาจจะกระตุ้นให้เงินเฟ้อสูงขึ้นได้ (รอยเตอร์ 12)
4. การให้สินเชื่อของ ธพ. ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 4 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่12 ต.ค. 43 ธ. กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 การให้สินเชื่อของ ธพ. ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 4 จากระยะเดียวกันของปี42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4.3 ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 33 ขณะเดียวกัน การให้สินเชื่อของ ธพ. ต่างประเทศ ก็ลดลงร้อยละ 1.6 จากที่ลดลงร้อยละ 10.9 (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12ต.ค. 43 43.267 (43.073)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 ต.ค. 43
ซื้อ 43.0191 (42.8612) ขาย 43.3267 (43.1688)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,600 (5,500) ขาย 5,700 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 32.60 (30.13)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-