ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวไม่กระทบเอ็นพีแอลของ ธ.พาณิชย์ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่หนี้ที่ไม่ก่อให้
เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธ.พาณิชย์ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่ง ธปท. ไม่รู้สึกเป็นห่วงแต่อย่างใด และ
ยังเชื่อว่าเป้าหมายที่ ธปท. ต้องการให้เอ็นพีแอลในปี 49 ลดลงเหลือร้อยละ 2 ของสินเชื่อรวมจะเป็นไปได้แน่
นอน โดยเอ็นพีแอลในระบบประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ในกระบวนการของศาลแล้ว ส่วนที่เหลือ ธ.พาณิชย์ได้มีการกัน
สำรองหลังจากหักมูลค่าหลักประกันไว้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่ง ธปท. มองว่าฐานะของ ธ.พาณิชย์ไม่มีความ
เสี่ยงแม้ปีนี้อาจจะทำกำไรได้ลดลง แต่มีแนวโน้มว่า ธ.พาณิชย์ยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น สำหรับกรณีที่ ธ.
ไทยพาณิชย์ระบุว่ามีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากหนี้ที่อยู่ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเปลี่ยนสถานะเป็นหนี้ปกติแล้ว แต่
เมื่อ ธปท. เข้ามาตรวจสอบด้วยเกณฑ์คุณภาพได้สั่งจัดชั้นหนี้กลุ่มนี้บางส่วนกลับมาเป็นเอ็นพีแอลรอบใหม่ (Re-
entry) นั้น ธปท. พิจารณาโดยดูถึงความสามารถของการทำรายได้เพื่อนำมาชำระหนี้ในอนาคตที่แม้ลูกหนี้ยังชำระ
ดอกเบี้ยได้อยู่ แต่หากไม่เห็นโอกาสที่จะชำระเงินต้นได้ในอนาคตก็จำเป็นต้องนำกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้ง ด้าน
นายทำนอง ดาศรี ผอ.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. กล่าวว่า เอ็นพีแอลที่เป็น Re-entry มีแนวโน้มลดลง
อย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงเหลือประมาณ 13,000 ล้านบาท จากปี 47 ที่เฉลี่ยแต่ละไตรมาสจะ
มี Re-entry 17,000 — 19,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีหนี้บางประเภทที่ต้องจับตาเพราะเกรงว่าอาจจะ
กลายเป็นเอ็นพีแอลใหม่ได้ เช่น เอ็นพีแอลจากสินเชื่อส่วนบุคคลที่ปัจจุบันมีการขยายตัวสูงมาก ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือน
เม.ย.48 ธ.พาณิชย์ทั้งระบบมีเอ็นพีแอล 574,047 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.90 ของสินเชื่อ ขณะที่สถาบันการ
เงินทั้งระบบมีเอ็นพีแอล 596,193 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.68 ของสินเชื่อ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังทบทวนรายละเอียดโครงการเมกะโปรเจ็กป้องกันผลกระทบต่อเศรษฐกิจ นายศุภรัตน์
ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กเปิดเผยว่า ได้หารือ
ถึงกรอบการลงทุนและรายละเอียดของโครงการลงทุนกันอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนเสนอเข้าที่ประชุม
ครม. ในวันอังคารหน้า โดยกรอบการลงทุนขณะนี้ยังอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านบาท ส่วนรายละเอียดการลงทุนใน
โครงการต่าง ๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้ง โดยต้องประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจหลายด้าน
รวมถึงการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย สำหรับโครงการลงทุนที่ได้กำหนดกรอบไว้เบื้องต้นนั้นอาจมีการปรับเปลี่ยนได้
ตามความเหมาะสม โดยการลงทุนในปี 49 ตัวเลขเงินลงทุนจะไม่เท่าเดิมที่กำหนดไว้ 3.39 แสนล้านบาท ซึ่ง
ต้องปรับไปตามความพร้อมและความต้องการใช้เงินลงทุน ส่วนเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั้นมาจากหลาย
ปัจจัย ไม่ใช่สาเหตุเพราะการลงทุนเมกะโปรเจ็กอย่างเดียว ซึ่งถ้ากระบทต่อดุลบัญชีเดินสะพัดก็ต้องปรับและไปดูทั้ง
เรื่องของการใช้จ่าย อะไรที่จะทำให้สมดุลในระยะสั้นและระยะยาว อย่างไรก็ตาม จะพยายามรักษาไม่ให้ดุลบัญชี
เดินสะพัดขาดดุลเกินร้อยละ 2 ต่อจีดีพีตามกรอบเดิม ด้าน ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวเพิ่มเติมว่า อยู่ระหว่างการ
พิจารณารายละเอียดโครงการลงทุน เพื่อนำมาจัดลำดับโครงการลงทุนให้เหมาะสมกับการไฟแนนซ์เงินทุนในแต่ละ
ปี สำหรับการระดมทุนในการลงทุนระยะ 5 ปี ได้กำหนดแนวทางเบื้องต้นว่าจะมาจาก งปม. ร้อยละ 38.5 หรือ
6.55 แสนล้านบาท เงินรายได้รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.5 หรือ 2.47 แสนล้านบาท เงินกู้ทั้งในและต่าง
ประเทศ ร้อยละ 36.9 หรือ 6.28 แสนล้านบาท และการระดมทุนด้วยวิธีการอื่น ๆ อีก ร้อยละ 10.1 หรือ
1.72 แสนล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังเตรียมออกซามูไรบอนด์ 48,000 ล้านเยน ขายให้นักลงทุนญี่ปุ่น รายงานข่าวจาก ก.
คลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 15-16 มิ.ย.นี้ ก.คลังจะจัดทำโรดโชว์เพื่อขายพันธบัตรรัฐบาลไทยสกุลเงินเยน หรือ
ซามูไรบอนด์ จำนวน 48,000 ล้านเยน หรือ 16,000 ล้านบาท เพื่อขายให้กับนักลงทุนในประเทศญี่ปุ่นในวันที่
17 มิ.ย.นี้ เพื่อนำเงินที่ได้มารีไฟแนนซ์หรือปรับปรุงพันธบัตรเดิมที่กำลังจะครบกำหนดอายุไถ่ถอนในปี 48 โดยถือ
ว่าเป็นการออกซามูไรบอนด์ครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี 44 ซึ่งจะทำให้ลดภาระอัตราดอกเบี้ยได้ 1,050 ล้าน
บาท ทั้งนี้ ซามูไรบอนด์ดังกล่าวมีอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยยังไม่กำหนดขึ้นอยู่กับภาวะตลาด ซึ่งการออกซามูไร
บอนด์เป็นไปตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี งปม. 48 ที่ ก.คลังและ ครม. ได้เห็นชอบก่อนหน้านี้แล้ว
ไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้อีกแต่อย่างใด แต่เป็นการบริหารจัดการหนี้สาธารณะของประเทศให้มีภาระน้อยที่สุด
ซึ่งล่าสุดในเดือน มี.ค.48 ยอดหนี้สาธารณะมีจำนวน 3.13 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.50 ของจีดีพี
แบ่งเป็นหนี้ต่างประเทศ 6.25 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.99 และหนี้ในประเทศ 2.50 ล้านล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 80.01 (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ภาคอุตสาหกรรมเริ่มลดกำลังการผลิตรอดูทิศทางเศรษฐกิจ นายนิลสุวรรณ ลีลารัศมี รอง
เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาคการผลิตในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเริ่มลดกำลัง
การผลิตลงเพื่อรอดูทิศทางของตลาดสินค้าโดยรวมที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัวตามกำลังซื้อของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของการปรับประมาณการภาวะ
เศรษฐกิจของประเทศที่หลายฝ่ายมองว่าจะมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 4.5 — 5.0 เท่านั้น แต่คาดว่า
สถานการณ์ดังกล่าวไม่ร้ายแรงเท่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 39-40 โดยเหตุการณ์ขณะนี้เป็นเพียงผู้ประกอบ
การอยู่ระหว่างการปรับตัวเพื่อรอให้ราคาน้ำมันผันผวนน้อยลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทุกกลุ่มจะต้องเร่งปรับตัวให้ทัน
กับภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ และให้ทันกับนโยบายของรัฐบาลใน
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับ 12 ประเทศ ในช่วง 3 ปี ซึ่งสิ่งสำคัญคือ ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมใน
การใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเอฟทีเอให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาด
ย่อมที่ปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่า 1 แสนราย หรือกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ประกอบการทั้งหมดที่ยังไม่มีความเข้าใจในข้อ
ตกลงดังกล่าว ทำให้เสียประโยชน์ในการส่งออก (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ —12 รายงานจาก
นิวยอร์ก เมื่อ 7 มิ.ย.48 ABC News and the Washington Post เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้
บริโภค สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุด 5 มิ.ย.48 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ —12 เทียบกับระดับ —13 ในสัปดาห์ก่อน
หน้า เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มีความกังวลว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
อาจมีการเปลี่ยนแปลงในต้นฤดูร้อนนี้ เนื่องจากเป็นฤดูที่ต้นทุนน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ จากการสำรวจสถานีบริการ
น้ำมันของ the U.S. Energy Information Administration ในสัปดาห์นี้พบว่าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 1.9
เซ็นต์ อยู่ที่ราคา 2.12 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอน อนึ่ง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นเครื่องชี้วัดมุมมองทั่วไปด้าน
การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. ขณะที่นักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า
โดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายอยู่ แม้ว่าจะให้ความเห็นในแบบสำรวจว่าสถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงก็
ตาม (รอยเตอร์)
2. สินเชื่อผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นเพียง 1.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 7 มิ.ย.48 ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยว่า สินเชื่อผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน เม.
ย.48 เพิ่มขึ้นเพียงจำนวน 1.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากสินเชื่อบัตรเครดิตลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2
ส่งผลให้ยอดสินเชื่อผู้บริโภคคงค้างโดยรวมในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 2.131 ล้านล้านดอลลาร์
สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ทั้งนี้ สินเชื่อผู้บริโภคในเดือน เม.ย.48 ลดลงจากเดือน มี.ค.48 ที่
เพิ่มขึ้นจำนวน 6.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (จากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่าเพิ่มขึ้น 5.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ขณะ
ที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นจำนวน 7.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดย
nonrevolving credit หรือสินเชื่อสำหรับรถยนต์ เรือโดยสาร การศึกษา และการพักผ่อนท่องเที่ยว ในเดือน
เม.ย. เพิ่มขึ้น 1.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นถึง 7.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน ส่วน
revolving credit ซึ่งรวมถึงสินเชื่อและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตในเดือน เม.ย.48 ลดลงจำนวน 426 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่ลดลง 569 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนแต่คาดว่า
เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะชะลอตัวลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7 มิ.ย.48 ตัวเลขเบื้องต้นของรัฐบาล
แสดงให้เห็นว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อน หลังจากลด
ลง 2 เดือนติดต่อกัน และเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ โดย
ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของภาคการก่อสร้างที่ผลผลิตชะลอตัวลงจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในเดือน ก.พ.
และ มี.ค.48 ที่ผ่านมา โดยผลผลิตภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.6 จากเดือนก่อน ในขณะที่ผลผลิตโรง
งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน มี.ค.48 อย่างไรก็ดี ตัวเลขเบื้องต้นคำสั่งซื้อสินค้า
โรงงานเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.48 ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ในเดือน เม.ย.48 ลดลงเกินกว่าที่คาด
ไว้ จากความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอตัวลง ในขณะที่เยอรมนีหวังพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวผลักดันให้เศรษฐกิจ
ขยายตัวเมื่อการบริโภคในประเทศซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของ GDP ได้รับผลกระทบจากอัตราการว่างงานที่
ยังอยู่ในระดับสูงทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลง นักวิเคราะห์จึงคาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะชะลอตัว
ลงโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสแรกปีนี้ (รอยเตอร์)
4. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม รายงาน
จากลอนดอนเมื่อ 7 มิ.ย.48 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า คณะ
กรรมการนโยบายการเงินจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอังกฤษไว้ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 4.75 ต่อเนื่องเป็นเดือน
ที่ 10 ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ เนื่องจากปัจจัยหลักคือการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
โดยยอดขายปลีกในเดือน พ.ค.48 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาบ้านในเดือน พ.ค.ก็ลดลง
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ราคาบ้านเฉลี่ย(อัตราต่อปี)ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในระดับสูงและสะท้อนภาพการ
ขยายตัวอย่างมากของตลาดที่อยู่อาศัยอังกฤษ ชะลอตัวลงมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ทำให้มีการคาดหมายจากนัก
เศรษฐศาสตร์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินอาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในช่วงปลายปี ซึ่งอาจ
จะเป็นเดือน พ.ย.48 นี้ แต่ก็ยังคงมีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งที่คาดว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน
ส.ค.นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 มิ.ย. 48 7 มิ.ย .48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.532 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.3584/40.6391 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2. 4000 — 2.4375 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 682.15/16.73 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 48.52 48.18 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.54*/18.19** 22.54*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 7 มิ.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวไม่กระทบเอ็นพีแอลของ ธ.พาณิชย์ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่หนี้ที่ไม่ก่อให้
เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธ.พาณิชย์ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่ง ธปท. ไม่รู้สึกเป็นห่วงแต่อย่างใด และ
ยังเชื่อว่าเป้าหมายที่ ธปท. ต้องการให้เอ็นพีแอลในปี 49 ลดลงเหลือร้อยละ 2 ของสินเชื่อรวมจะเป็นไปได้แน่
นอน โดยเอ็นพีแอลในระบบประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ในกระบวนการของศาลแล้ว ส่วนที่เหลือ ธ.พาณิชย์ได้มีการกัน
สำรองหลังจากหักมูลค่าหลักประกันไว้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่ง ธปท. มองว่าฐานะของ ธ.พาณิชย์ไม่มีความ
เสี่ยงแม้ปีนี้อาจจะทำกำไรได้ลดลง แต่มีแนวโน้มว่า ธ.พาณิชย์ยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น สำหรับกรณีที่ ธ.
ไทยพาณิชย์ระบุว่ามีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากหนี้ที่อยู่ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเปลี่ยนสถานะเป็นหนี้ปกติแล้ว แต่
เมื่อ ธปท. เข้ามาตรวจสอบด้วยเกณฑ์คุณภาพได้สั่งจัดชั้นหนี้กลุ่มนี้บางส่วนกลับมาเป็นเอ็นพีแอลรอบใหม่ (Re-
entry) นั้น ธปท. พิจารณาโดยดูถึงความสามารถของการทำรายได้เพื่อนำมาชำระหนี้ในอนาคตที่แม้ลูกหนี้ยังชำระ
ดอกเบี้ยได้อยู่ แต่หากไม่เห็นโอกาสที่จะชำระเงินต้นได้ในอนาคตก็จำเป็นต้องนำกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้ง ด้าน
นายทำนอง ดาศรี ผอ.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. กล่าวว่า เอ็นพีแอลที่เป็น Re-entry มีแนวโน้มลดลง
อย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงเหลือประมาณ 13,000 ล้านบาท จากปี 47 ที่เฉลี่ยแต่ละไตรมาสจะ
มี Re-entry 17,000 — 19,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีหนี้บางประเภทที่ต้องจับตาเพราะเกรงว่าอาจจะ
กลายเป็นเอ็นพีแอลใหม่ได้ เช่น เอ็นพีแอลจากสินเชื่อส่วนบุคคลที่ปัจจุบันมีการขยายตัวสูงมาก ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือน
เม.ย.48 ธ.พาณิชย์ทั้งระบบมีเอ็นพีแอล 574,047 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.90 ของสินเชื่อ ขณะที่สถาบันการ
เงินทั้งระบบมีเอ็นพีแอล 596,193 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.68 ของสินเชื่อ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังทบทวนรายละเอียดโครงการเมกะโปรเจ็กป้องกันผลกระทบต่อเศรษฐกิจ นายศุภรัตน์
ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กเปิดเผยว่า ได้หารือ
ถึงกรอบการลงทุนและรายละเอียดของโครงการลงทุนกันอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนเสนอเข้าที่ประชุม
ครม. ในวันอังคารหน้า โดยกรอบการลงทุนขณะนี้ยังอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านบาท ส่วนรายละเอียดการลงทุนใน
โครงการต่าง ๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้ง โดยต้องประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจหลายด้าน
รวมถึงการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย สำหรับโครงการลงทุนที่ได้กำหนดกรอบไว้เบื้องต้นนั้นอาจมีการปรับเปลี่ยนได้
ตามความเหมาะสม โดยการลงทุนในปี 49 ตัวเลขเงินลงทุนจะไม่เท่าเดิมที่กำหนดไว้ 3.39 แสนล้านบาท ซึ่ง
ต้องปรับไปตามความพร้อมและความต้องการใช้เงินลงทุน ส่วนเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั้นมาจากหลาย
ปัจจัย ไม่ใช่สาเหตุเพราะการลงทุนเมกะโปรเจ็กอย่างเดียว ซึ่งถ้ากระบทต่อดุลบัญชีเดินสะพัดก็ต้องปรับและไปดูทั้ง
เรื่องของการใช้จ่าย อะไรที่จะทำให้สมดุลในระยะสั้นและระยะยาว อย่างไรก็ตาม จะพยายามรักษาไม่ให้ดุลบัญชี
เดินสะพัดขาดดุลเกินร้อยละ 2 ต่อจีดีพีตามกรอบเดิม ด้าน ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวเพิ่มเติมว่า อยู่ระหว่างการ
พิจารณารายละเอียดโครงการลงทุน เพื่อนำมาจัดลำดับโครงการลงทุนให้เหมาะสมกับการไฟแนนซ์เงินทุนในแต่ละ
ปี สำหรับการระดมทุนในการลงทุนระยะ 5 ปี ได้กำหนดแนวทางเบื้องต้นว่าจะมาจาก งปม. ร้อยละ 38.5 หรือ
6.55 แสนล้านบาท เงินรายได้รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.5 หรือ 2.47 แสนล้านบาท เงินกู้ทั้งในและต่าง
ประเทศ ร้อยละ 36.9 หรือ 6.28 แสนล้านบาท และการระดมทุนด้วยวิธีการอื่น ๆ อีก ร้อยละ 10.1 หรือ
1.72 แสนล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังเตรียมออกซามูไรบอนด์ 48,000 ล้านเยน ขายให้นักลงทุนญี่ปุ่น รายงานข่าวจาก ก.
คลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 15-16 มิ.ย.นี้ ก.คลังจะจัดทำโรดโชว์เพื่อขายพันธบัตรรัฐบาลไทยสกุลเงินเยน หรือ
ซามูไรบอนด์ จำนวน 48,000 ล้านเยน หรือ 16,000 ล้านบาท เพื่อขายให้กับนักลงทุนในประเทศญี่ปุ่นในวันที่
17 มิ.ย.นี้ เพื่อนำเงินที่ได้มารีไฟแนนซ์หรือปรับปรุงพันธบัตรเดิมที่กำลังจะครบกำหนดอายุไถ่ถอนในปี 48 โดยถือ
ว่าเป็นการออกซามูไรบอนด์ครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี 44 ซึ่งจะทำให้ลดภาระอัตราดอกเบี้ยได้ 1,050 ล้าน
บาท ทั้งนี้ ซามูไรบอนด์ดังกล่าวมีอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยยังไม่กำหนดขึ้นอยู่กับภาวะตลาด ซึ่งการออกซามูไร
บอนด์เป็นไปตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี งปม. 48 ที่ ก.คลังและ ครม. ได้เห็นชอบก่อนหน้านี้แล้ว
ไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้อีกแต่อย่างใด แต่เป็นการบริหารจัดการหนี้สาธารณะของประเทศให้มีภาระน้อยที่สุด
ซึ่งล่าสุดในเดือน มี.ค.48 ยอดหนี้สาธารณะมีจำนวน 3.13 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.50 ของจีดีพี
แบ่งเป็นหนี้ต่างประเทศ 6.25 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.99 และหนี้ในประเทศ 2.50 ล้านล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 80.01 (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ภาคอุตสาหกรรมเริ่มลดกำลังการผลิตรอดูทิศทางเศรษฐกิจ นายนิลสุวรรณ ลีลารัศมี รอง
เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาคการผลิตในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเริ่มลดกำลัง
การผลิตลงเพื่อรอดูทิศทางของตลาดสินค้าโดยรวมที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัวตามกำลังซื้อของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของการปรับประมาณการภาวะ
เศรษฐกิจของประเทศที่หลายฝ่ายมองว่าจะมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 4.5 — 5.0 เท่านั้น แต่คาดว่า
สถานการณ์ดังกล่าวไม่ร้ายแรงเท่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 39-40 โดยเหตุการณ์ขณะนี้เป็นเพียงผู้ประกอบ
การอยู่ระหว่างการปรับตัวเพื่อรอให้ราคาน้ำมันผันผวนน้อยลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทุกกลุ่มจะต้องเร่งปรับตัวให้ทัน
กับภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ และให้ทันกับนโยบายของรัฐบาลใน
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับ 12 ประเทศ ในช่วง 3 ปี ซึ่งสิ่งสำคัญคือ ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมใน
การใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเอฟทีเอให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาด
ย่อมที่ปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่า 1 แสนราย หรือกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ประกอบการทั้งหมดที่ยังไม่มีความเข้าใจในข้อ
ตกลงดังกล่าว ทำให้เสียประโยชน์ในการส่งออก (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ —12 รายงานจาก
นิวยอร์ก เมื่อ 7 มิ.ย.48 ABC News and the Washington Post เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้
บริโภค สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุด 5 มิ.ย.48 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ —12 เทียบกับระดับ —13 ในสัปดาห์ก่อน
หน้า เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มีความกังวลว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
อาจมีการเปลี่ยนแปลงในต้นฤดูร้อนนี้ เนื่องจากเป็นฤดูที่ต้นทุนน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ จากการสำรวจสถานีบริการ
น้ำมันของ the U.S. Energy Information Administration ในสัปดาห์นี้พบว่าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 1.9
เซ็นต์ อยู่ที่ราคา 2.12 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอน อนึ่ง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นเครื่องชี้วัดมุมมองทั่วไปด้าน
การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. ขณะที่นักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า
โดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายอยู่ แม้ว่าจะให้ความเห็นในแบบสำรวจว่าสถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงก็
ตาม (รอยเตอร์)
2. สินเชื่อผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นเพียง 1.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 7 มิ.ย.48 ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยว่า สินเชื่อผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน เม.
ย.48 เพิ่มขึ้นเพียงจำนวน 1.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากสินเชื่อบัตรเครดิตลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2
ส่งผลให้ยอดสินเชื่อผู้บริโภคคงค้างโดยรวมในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 2.131 ล้านล้านดอลลาร์
สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ทั้งนี้ สินเชื่อผู้บริโภคในเดือน เม.ย.48 ลดลงจากเดือน มี.ค.48 ที่
เพิ่มขึ้นจำนวน 6.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (จากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่าเพิ่มขึ้น 5.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ขณะ
ที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นจำนวน 7.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดย
nonrevolving credit หรือสินเชื่อสำหรับรถยนต์ เรือโดยสาร การศึกษา และการพักผ่อนท่องเที่ยว ในเดือน
เม.ย. เพิ่มขึ้น 1.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นถึง 7.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน ส่วน
revolving credit ซึ่งรวมถึงสินเชื่อและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตในเดือน เม.ย.48 ลดลงจำนวน 426 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่ลดลง 569 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนแต่คาดว่า
เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะชะลอตัวลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7 มิ.ย.48 ตัวเลขเบื้องต้นของรัฐบาล
แสดงให้เห็นว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อน หลังจากลด
ลง 2 เดือนติดต่อกัน และเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ โดย
ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของภาคการก่อสร้างที่ผลผลิตชะลอตัวลงจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในเดือน ก.พ.
และ มี.ค.48 ที่ผ่านมา โดยผลผลิตภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.6 จากเดือนก่อน ในขณะที่ผลผลิตโรง
งานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน มี.ค.48 อย่างไรก็ดี ตัวเลขเบื้องต้นคำสั่งซื้อสินค้า
โรงงานเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.48 ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ในเดือน เม.ย.48 ลดลงเกินกว่าที่คาด
ไว้ จากความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอตัวลง ในขณะที่เยอรมนีหวังพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวผลักดันให้เศรษฐกิจ
ขยายตัวเมื่อการบริโภคในประเทศซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของ GDP ได้รับผลกระทบจากอัตราการว่างงานที่
ยังอยู่ในระดับสูงทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลง นักวิเคราะห์จึงคาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะชะลอตัว
ลงโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสแรกปีนี้ (รอยเตอร์)
4. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม รายงาน
จากลอนดอนเมื่อ 7 มิ.ย.48 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า คณะ
กรรมการนโยบายการเงินจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอังกฤษไว้ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 4.75 ต่อเนื่องเป็นเดือน
ที่ 10 ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ เนื่องจากปัจจัยหลักคือการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
โดยยอดขายปลีกในเดือน พ.ค.48 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาบ้านในเดือน พ.ค.ก็ลดลง
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ราคาบ้านเฉลี่ย(อัตราต่อปี)ที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในระดับสูงและสะท้อนภาพการ
ขยายตัวอย่างมากของตลาดที่อยู่อาศัยอังกฤษ ชะลอตัวลงมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ทำให้มีการคาดหมายจากนัก
เศรษฐศาสตร์ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินอาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในช่วงปลายปี ซึ่งอาจ
จะเป็นเดือน พ.ย.48 นี้ แต่ก็ยังคงมีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งที่คาดว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน
ส.ค.นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 มิ.ย. 48 7 มิ.ย .48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.532 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.3584/40.6391 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2. 4000 — 2.4375 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 682.15/16.73 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,100/8,200 8,100/8,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 48.52 48.18 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.54*/18.19** 22.54*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 7 มิ.ย. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--