กรุงเทพฯ--24 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ว่า หนังสือพิมพ์ Sheng Huo ของมณฑลหูหนาน ฉบับวันที่ 21 ธันวาคม 2543 ได้รายงานเกี่ยวกับบริษัท Long Ping Hi-Tech Co. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทผลิต และวิจัยพัฒนาธัญพืชในมณฑลหูหนาน และเป็นสถาบันวิจัยด้านการเกษตรที่มีชื่อเสียงของจีน ดังนี้
1. บริษัท Long Ping Hi-Tech Co Ltd ได้นำชื่อของนักวิจัย คือ นาย Yuan Long Ping ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสมของจีน” มาตั้งเป็นชื่อบริษัท แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการที่วิสาหกิจในจีนตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและการสร้างชื่อของสินค้าให้เป็นที่รู้จัก
2. โครงการที่สำคัญของบริษัทเกี่ยวข้องกับงานวิจัยและการพัฒนาพันธุ์พืช ได้แก่โครงการพัฒนาเมล็ดธัญพืช ผัก และพืชน้ำมันพันธุ์ผสมคุณภาพสูง โครงการพัฒนายากำจัดศัตรูพืชที่มีความเข้มข้นสูงแต่มีพิษต่ำ โครงการพัฒนาปุ๋ยคุณภาพสูง ฯลฯ อนึ่ง รัฐบาลกลางของจีนได้กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10 ว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรต่อไปเพื่อให้จีนมีธัญพืชเพียงพอสำหรับการบริโภค ขณะเดียวกันก็สนับสนุนการปรับโครงสร้างทางการเกษตร และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร นาย Yuan Long Ping กล่าวว่า จีนกำลังพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ซึ่งให้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งจากผลการวิจัย ขณะนี้สามารถให้ผลผลิตมากกว่าเดิมร้อยละ 20 ในปี 2542 ผลผลิตข้าวของจีนมีปริมาณทั้งสิ้น 194.7 ล้านตัน เทียบกับที่เคยผลิตได้ในปี 2493 จำนวน 56.87 ล้านตัน ปัจจัยหลักที่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่การชลประทาน การพัฒนาเทคนิคการปลูก และการให้ความหลากหลายของเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาทางเทคโนโลยี การที่รัฐบาลกลางส่งเสริมการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ (seed genetics) และสาธิตให้เห็นถึงผลดีของการพัฒนาพันธุ์ ทำให้ชาวนาจีนลดความเคลือบแคลงใจในเมล็ดพืชพันธุ์ผสมและเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น
3. ทางการมณฑลหูหนานเคยให้ข้อมูลว่า หูหนานผลิตข้าวได้มากที่สุดเป็นดับหนึ่งของจีน และจากการติดตามข่าวของสถานกงสุลใหญ่ฯ พบว่า ปัจจุบันมณฑลหูหนานได้พัฒนาข้าวพันธุ์ผสมชื่อ “ข้าวพันธุ์เหนือไทย” และพันธุ์ข้าวอื่นๆ ซึ่งทำให้ข้าวของหูหนานมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ และบางพันธุ์สามารถปลูกได้ 3 ครั้งต่อปี แม้จะเป็นที่ยอมรับว่าข้าวของจีนยังมีคุณภาพสู้ข้าวหอมมะลิไทยไม่ได้ แต่ปัจจุบันข้าวที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์ดังกล่าวก็เป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศจีน
4. การพัฒนาพันธุ์ข้าวของจีนและพันธุ์พืชผลเกษตรต่างๆ จะมีผลให้คุณภาพและปริมาณพืชผลเกษตรของจีนสูงขึ้น ทั้งนี้ เมื่อพอเพียงต่ออุปทานภายในประเทศแล้ว จีนก็จะสามารถกลายเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญต่อไป ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ตลาดพืชผลเกษตรของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวคุณภาพสูง เช่น ข้าวหอมมะลิของไทยในจีนจะหดตัวลงต่อไป อีกทั้งจีนอาจเพิ่มพูนส่วนแบ่งตลาดสินค้าเกษตรในประเทศที่สามต่อไปได้ในอนาคต
5. การส่งออกข้าวของไทยไปตลาดจีนยังอยู่ในระบบควบคุมโควต้าจากปักกิ่ง ซึ่งมีการแบ่งโควต้าให้เพียง 6 เมือง ได้แก่ ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น และฉงซิ่ง และตลอด 2 ปีที่ผ่านมาปริมาณการนำเข้าข้าวจากไทยลดลงเป็นลำดับ อย่างไรก็ดี ภายหลังจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกแล้ว ตลาดข้าวจีนจะต้องเปิดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไทยจะต้องเตรียมยุทธศาสตร์เพื่อแสวงประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
6. เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ใคร่ขอประชาสัมพันธ์ให้ชาวเกษตรกรหรือผู้ประกอบการในเรื่องนี้ให้มีการเตรียมความพร้อมและปรับตัว โดยเฉพาะการเตรียมยุทธศาสตร์ทางการตลาดภายหลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก และแม้จะเป็นที่ยอมรับว่าข้าวพันธุ์ผสมของจีนยังมีคุณภาพสู้ข้าวหอมมะลิของไทยไม่ได้ แต่ไทยก็ควรที่จะรักษาคุณภาพพันธุ์ข้าวของไทยไว้ โดยเฉพาะการรักษามาตรฐานข้าวเพื่อการส่งออก อาทิ การควบคุมการปลอมปนข้าว การควบคุมขั้นตอนในการผลิตและจำหน่าย เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ว่า หนังสือพิมพ์ Sheng Huo ของมณฑลหูหนาน ฉบับวันที่ 21 ธันวาคม 2543 ได้รายงานเกี่ยวกับบริษัท Long Ping Hi-Tech Co. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทผลิต และวิจัยพัฒนาธัญพืชในมณฑลหูหนาน และเป็นสถาบันวิจัยด้านการเกษตรที่มีชื่อเสียงของจีน ดังนี้
1. บริษัท Long Ping Hi-Tech Co Ltd ได้นำชื่อของนักวิจัย คือ นาย Yuan Long Ping ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสมของจีน” มาตั้งเป็นชื่อบริษัท แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการที่วิสาหกิจในจีนตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและการสร้างชื่อของสินค้าให้เป็นที่รู้จัก
2. โครงการที่สำคัญของบริษัทเกี่ยวข้องกับงานวิจัยและการพัฒนาพันธุ์พืช ได้แก่โครงการพัฒนาเมล็ดธัญพืช ผัก และพืชน้ำมันพันธุ์ผสมคุณภาพสูง โครงการพัฒนายากำจัดศัตรูพืชที่มีความเข้มข้นสูงแต่มีพิษต่ำ โครงการพัฒนาปุ๋ยคุณภาพสูง ฯลฯ อนึ่ง รัฐบาลกลางของจีนได้กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10 ว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรต่อไปเพื่อให้จีนมีธัญพืชเพียงพอสำหรับการบริโภค ขณะเดียวกันก็สนับสนุนการปรับโครงสร้างทางการเกษตร และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร นาย Yuan Long Ping กล่าวว่า จีนกำลังพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ซึ่งให้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งจากผลการวิจัย ขณะนี้สามารถให้ผลผลิตมากกว่าเดิมร้อยละ 20 ในปี 2542 ผลผลิตข้าวของจีนมีปริมาณทั้งสิ้น 194.7 ล้านตัน เทียบกับที่เคยผลิตได้ในปี 2493 จำนวน 56.87 ล้านตัน ปัจจัยหลักที่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่การชลประทาน การพัฒนาเทคนิคการปลูก และการให้ความหลากหลายของเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาทางเทคโนโลยี การที่รัฐบาลกลางส่งเสริมการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ (seed genetics) และสาธิตให้เห็นถึงผลดีของการพัฒนาพันธุ์ ทำให้ชาวนาจีนลดความเคลือบแคลงใจในเมล็ดพืชพันธุ์ผสมและเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น
3. ทางการมณฑลหูหนานเคยให้ข้อมูลว่า หูหนานผลิตข้าวได้มากที่สุดเป็นดับหนึ่งของจีน และจากการติดตามข่าวของสถานกงสุลใหญ่ฯ พบว่า ปัจจุบันมณฑลหูหนานได้พัฒนาข้าวพันธุ์ผสมชื่อ “ข้าวพันธุ์เหนือไทย” และพันธุ์ข้าวอื่นๆ ซึ่งทำให้ข้าวของหูหนานมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ และบางพันธุ์สามารถปลูกได้ 3 ครั้งต่อปี แม้จะเป็นที่ยอมรับว่าข้าวของจีนยังมีคุณภาพสู้ข้าวหอมมะลิไทยไม่ได้ แต่ปัจจุบันข้าวที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์ดังกล่าวก็เป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศจีน
4. การพัฒนาพันธุ์ข้าวของจีนและพันธุ์พืชผลเกษตรต่างๆ จะมีผลให้คุณภาพและปริมาณพืชผลเกษตรของจีนสูงขึ้น ทั้งนี้ เมื่อพอเพียงต่ออุปทานภายในประเทศแล้ว จีนก็จะสามารถกลายเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญต่อไป ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ตลาดพืชผลเกษตรของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวคุณภาพสูง เช่น ข้าวหอมมะลิของไทยในจีนจะหดตัวลงต่อไป อีกทั้งจีนอาจเพิ่มพูนส่วนแบ่งตลาดสินค้าเกษตรในประเทศที่สามต่อไปได้ในอนาคต
5. การส่งออกข้าวของไทยไปตลาดจีนยังอยู่ในระบบควบคุมโควต้าจากปักกิ่ง ซึ่งมีการแบ่งโควต้าให้เพียง 6 เมือง ได้แก่ ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น และฉงซิ่ง และตลอด 2 ปีที่ผ่านมาปริมาณการนำเข้าข้าวจากไทยลดลงเป็นลำดับ อย่างไรก็ดี ภายหลังจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกแล้ว ตลาดข้าวจีนจะต้องเปิดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไทยจะต้องเตรียมยุทธศาสตร์เพื่อแสวงประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
6. เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ใคร่ขอประชาสัมพันธ์ให้ชาวเกษตรกรหรือผู้ประกอบการในเรื่องนี้ให้มีการเตรียมความพร้อมและปรับตัว โดยเฉพาะการเตรียมยุทธศาสตร์ทางการตลาดภายหลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก และแม้จะเป็นที่ยอมรับว่าข้าวพันธุ์ผสมของจีนยังมีคุณภาพสู้ข้าวหอมมะลิของไทยไม่ได้ แต่ไทยก็ควรที่จะรักษาคุณภาพพันธุ์ข้าวของไทยไว้ โดยเฉพาะการรักษามาตรฐานข้าวเพื่อการส่งออก อาทิ การควบคุมการปลอมปนข้าว การควบคุมขั้นตอนในการผลิตและจำหน่าย เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-