กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (27 มีนาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในการมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลก สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงนาย Bill Richardson รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา นาง Rosaric Green รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนิเซีย และ Shelman Bin Khalifa al-khalifa ผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีบาห์เรน แสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์เกี่ยวกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันว่าจะส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเซียและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกกิจของโลกโดยรวม การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นนอกจากจะนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลงแล้ว ยังเป็นการเร่งรัดให้มีการหาแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่จะมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันลดลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม ราคาน้ำมันที่ต่ำลงมากจะนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยและยังทำให้มีการสำรวจและการผลิตน้ำมันทั่วโลก ลดลงด้วย ดังนั้นจึงเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ ทั้งประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้บริโภคที่จะร่วมมือกันทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีเสถียรภาพมากขึ้น กล่าวคือไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายสุรินทร์ฯ ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือในระหว่างการพบ-หารือสองฝ่ายกับ หัวหน้าคณะผู้แทน/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศต่างๆ ทั้งที่เป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC) หรือกลุ่มประเทศที่มิใช่ผู้ผลิตน้ำมัน (non-OPEC) ในช่วงของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ครั้งที่ 10 (ระหว่าง 12-19 กุมภาพันธ์ 2543) และในโอกาสการเยือนประเทศต่าง ๆ โดยได้แสดงความห่วงกังวลดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งแสดงความสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขปัญหาสถานการณ์ราคาน้ำมันด้วย--จบ--
วันนี้ (27 มีนาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในการมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลก สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงนาย Bill Richardson รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา นาง Rosaric Green รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนิเซีย และ Shelman Bin Khalifa al-khalifa ผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีบาห์เรน แสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์เกี่ยวกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันว่าจะส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเซียและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกกิจของโลกโดยรวม การที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นนอกจากจะนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลงแล้ว ยังเป็นการเร่งรัดให้มีการหาแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่จะมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันลดลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม ราคาน้ำมันที่ต่ำลงมากจะนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยและยังทำให้มีการสำรวจและการผลิตน้ำมันทั่วโลก ลดลงด้วย ดังนั้นจึงเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ ทั้งประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้บริโภคที่จะร่วมมือกันทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีเสถียรภาพมากขึ้น กล่าวคือไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายสุรินทร์ฯ ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือในระหว่างการพบ-หารือสองฝ่ายกับ หัวหน้าคณะผู้แทน/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศต่างๆ ทั้งที่เป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC) หรือกลุ่มประเทศที่มิใช่ผู้ผลิตน้ำมัน (non-OPEC) ในช่วงของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ครั้งที่ 10 (ระหว่าง 12-19 กุมภาพันธ์ 2543) และในโอกาสการเยือนประเทศต่าง ๆ โดยได้แสดงความห่วงกังวลดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งแสดงความสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขปัญหาสถานการณ์ราคาน้ำมันด้วย--จบ--