1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องโดยรวมในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ในระดับสูง
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำในช่วงครึ่งแรกของเดือน แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์
ที่ 3 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทย
ขนาดใหญ่ 4 แห่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม อยู่ในระดับสูง โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือน อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องเงินบาทที่ตึงตัวขึ้นในตลาด Off-shore ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน (วันที่ 20-24 พฤศจิกายน) ประกอบกับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของธปท. ทำให้ธนาคารพาณิชย์หลายรายระมัดระวังการปล่อยเงินบาทให้กับ non-resident ส่งผลให้มีความต้องการเงินบาทเป็นจำนวนมาก เพื่อสำรองไว้สำหรับการชำระดุลระบบ BAHTNET อัตราดอกเบี้ย Overnight ในตลาด On-shore จึงปรับสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank ปรับตัวสูงสุดเท่ากับร้อยละ 5.00 ต่อปีในวันที่ 22 พฤศจิกายน และอัตราดอกเบี้ย R/P ระยะ 1 วัน มีอัตราปิดสูงสุดที่ร้อยละ 2.375 ต่อปีในวันที่ 24 พฤศจิกายน ทั้งนี้ ธปท.ได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์เกี่ยวกับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศชั่วคราวระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินจึงได้ปรับลดลงมาสู่ระดับปกติในช่วงสิ้นเดือน
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย ปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม โดยอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.80 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย R/P ระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.04 ต่อปี
ในช่วงวันที่ 1 - 25 ธันวาคม 2543 สภาพคล่องในตลาดเงินอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.58 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P ระยะ 1 วัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.20 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.75 และ 3.00 ต่อปีตามลำดับ โดยเป็นการทรงตัวอยู่ในระดับเดิมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็กยังมีแนวโน้มลดลง
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง มีแนวโน้มลดลงในช่วงเดือนมกราคม - กันยายน 2543 เนื่องจากการ เพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ตาม อัตรา ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริงปรับเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม จากการที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดลง ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริง ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.05 และ 1.30 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนตุลาคม
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ในเดือนพฤศจิกายน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อรวมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 183.4 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นอัตราการ ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2543 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 45 พันล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 0.9 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากรัฐวิสาหกิจ
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์(คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ปรับลดลงจำนวน 589.4 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 11.4 ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญและโอน สินเชื่อไป AMCs ในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ภาคเอกชนมีการชำระคืนสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจอย่างต่อเนื่อง อนึ่ง เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม สินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ลดลง 21.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 โดยเป็นการลดลงของสินเชื่อ Non-BIBF จำนวน 16.0 พันล้านบาท และเป็นการลดลงของสินเชื่อ BIBF จำนวน 4.8 พันล้านบาท
สำหรับสินเชื่อธนาคารพาณิชย์(คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่ปรับผลของการตัดหนี้สูญและการโอนสินเชื่อไป AMCs ในเดือนตุลาคม มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี (ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานข้อมูล หนี้สูญและโอนไป AMCs สำหรับเดือนพฤศจิกายน)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินมียอดคงค้างลดลงจากเดือนก่อนหน้า
ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ การลดลงของสินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐและสินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน
ปริมาณเงิน M2A และ M3 เพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากภาคเอกชนที่ระบบธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดคงค้างเท่ากับ 491 พันล้านบาท ลดลงจาก 501 พันล้านบาทในเดือนตุลาคม เป็นจำนวน 10 พันล้านบาท โดยเป็นการลดลงของเงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท.จำนวน 19 พันล้านบาท ขณะที่ เงินสดในมือประชาชนเพิ่มขึ้นจำนวน 9 พันล้านบาท
สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่
1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง 12 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องจากรัฐบาลมีการชดเชยการขาดดุลเงินสดโดยการจำหน่ายพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง นอกจากนี้พันธบัตร ภาครัฐที่ถือโดยธปท.ครบกำหนดไถ่ถอนจำนวนหนึ่ง
2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลง 11 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่ม การกู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร เพื่อใช้จ่ายตามภาระ อาวัลให้แก่ธนาคาร UOB รัตนสิน และโครงการแลกเปลี่ยน ตั๋วสัญญาใช้เงิน
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.6 ต่อปี ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 และมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 133 พันล้านบาท องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น คือ เงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินฝากในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนปรับลดลง จากการที่มีตั๋วสัญญาใช้เงินครบกำหนดในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน
สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.6 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
--ทีมวิเคราะห์การเงิน/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องโดยรวมในเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ในระดับสูง
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำในช่วงครึ่งแรกของเดือน แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์
ที่ 3 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทย
ขนาดใหญ่ 4 แห่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม อยู่ในระดับสูง โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือน อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องเงินบาทที่ตึงตัวขึ้นในตลาด Off-shore ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน (วันที่ 20-24 พฤศจิกายน) ประกอบกับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของธปท. ทำให้ธนาคารพาณิชย์หลายรายระมัดระวังการปล่อยเงินบาทให้กับ non-resident ส่งผลให้มีความต้องการเงินบาทเป็นจำนวนมาก เพื่อสำรองไว้สำหรับการชำระดุลระบบ BAHTNET อัตราดอกเบี้ย Overnight ในตลาด On-shore จึงปรับสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank ปรับตัวสูงสุดเท่ากับร้อยละ 5.00 ต่อปีในวันที่ 22 พฤศจิกายน และอัตราดอกเบี้ย R/P ระยะ 1 วัน มีอัตราปิดสูงสุดที่ร้อยละ 2.375 ต่อปีในวันที่ 24 พฤศจิกายน ทั้งนี้ ธปท.ได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์เกี่ยวกับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศชั่วคราวระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินจึงได้ปรับลดลงมาสู่ระดับปกติในช่วงสิ้นเดือน
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย ปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม โดยอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.80 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย R/P ระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.04 ต่อปี
ในช่วงวันที่ 1 - 25 ธันวาคม 2543 สภาพคล่องในตลาดเงินอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.58 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P ระยะ 1 วัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.20 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.75 และ 3.00 ต่อปีตามลำดับ โดยเป็นการทรงตัวอยู่ในระดับเดิมติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็กยังมีแนวโน้มลดลง
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง มีแนวโน้มลดลงในช่วงเดือนมกราคม - กันยายน 2543 เนื่องจากการ เพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ตาม อัตรา ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริงปรับเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม จากการที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดลง ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริง ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.05 และ 1.30 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนตุลาคม
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ในเดือนพฤศจิกายน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อรวมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 183.4 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นอัตราการ ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2543 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 45 พันล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 0.9 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากรัฐวิสาหกิจ
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์(คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ปรับลดลงจำนวน 589.4 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 11.4 ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญและโอน สินเชื่อไป AMCs ในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ภาคเอกชนมีการชำระคืนสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจอย่างต่อเนื่อง อนึ่ง เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม สินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ลดลง 21.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 โดยเป็นการลดลงของสินเชื่อ Non-BIBF จำนวน 16.0 พันล้านบาท และเป็นการลดลงของสินเชื่อ BIBF จำนวน 4.8 พันล้านบาท
สำหรับสินเชื่อธนาคารพาณิชย์(คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่ปรับผลของการตัดหนี้สูญและการโอนสินเชื่อไป AMCs ในเดือนตุลาคม มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี (ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานข้อมูล หนี้สูญและโอนไป AMCs สำหรับเดือนพฤศจิกายน)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินมียอดคงค้างลดลงจากเดือนก่อนหน้า
ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ การลดลงของสินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐและสินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน
ปริมาณเงิน M2A และ M3 เพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากภาคเอกชนที่ระบบธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดคงค้างเท่ากับ 491 พันล้านบาท ลดลงจาก 501 พันล้านบาทในเดือนตุลาคม เป็นจำนวน 10 พันล้านบาท โดยเป็นการลดลงของเงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท.จำนวน 19 พันล้านบาท ขณะที่ เงินสดในมือประชาชนเพิ่มขึ้นจำนวน 9 พันล้านบาท
สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่
1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง 12 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งเนื่องจากรัฐบาลมีการชดเชยการขาดดุลเงินสดโดยการจำหน่ายพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง นอกจากนี้พันธบัตร ภาครัฐที่ถือโดยธปท.ครบกำหนดไถ่ถอนจำนวนหนึ่ง
2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลง 11 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่ม การกู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร เพื่อใช้จ่ายตามภาระ อาวัลให้แก่ธนาคาร UOB รัตนสิน และโครงการแลกเปลี่ยน ตั๋วสัญญาใช้เงิน
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.6 ต่อปี ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 และมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 133 พันล้านบาท องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น คือ เงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินฝากในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนปรับลดลง จากการที่มีตั๋วสัญญาใช้เงินครบกำหนดในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน
สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.6 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
--ทีมวิเคราะห์การเงิน/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-