สรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่าง ดร. อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กับ นาย Francois Huwart รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศของฝรั่งเศส วันที่ 10 กันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือทวิภาคีกับนาย Francois Huwart รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศของฝรั่งเศส สรุปผลได้ ดังนี้
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ที่กำลังจะมีขี้นในเดือนพฤศจิกายน 2544 ณ เมืองโดฮา ประเทศการ์ตา โดยฝรั่งเศสได้ขอให้ไทยสนับสนุนการเจรจา การค้ารอบใหม่
ฝ่ายไทยแจ้งว่าสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ และได้ให้ความเห็นว่าหากฝรั่งเศสต้องการการสนับสนุนจากประเทศกำลังพัฒนาควรพิจารณาให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นในการปฏิบัติตามพันธกรณี (Implementation)
ฝรั่งเศสได้ขอทราบความเห็นของไทยในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งไทยได้แจ้งให้ทราบว่า ไทยเห็นความสำคัญในเรื่องการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ก็เห็นว่าประเทศกำลังพัฒนามีสถานะการพัฒนาที่ต่างกับประเทศพัฒนาแล้ว เกรงว่าจะมีการใช้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า และหากประเทศกำลังพัฒนาไม่เห็นด้วยเช่นนี้ การนำเรื่องนี้เข้าเป็นวาระหนึ่งของการเจรจา WTO จะทำให้โอกาสในการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ลดลง
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ เรื่องการเตรียมการเปิดประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ที่โดฮา ไทยเห็นว่ามีสัญญาณที่ดีโดยสหภาพยุโรปมีท่าทีผ่อนปรนในเรื่องการเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรมากขึ้น ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเห็นว่ายังคงต้องรอดูผลการพิจารณาร่างปฏิญญาของรัฐมนตรีในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้
ฝ่ายฝรั่งเศสได้สอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่า ขณะนี้มีเพียงสาขา mobility of business people ที่ยังไม่มีใครรับเป็น facilitator ส่วนกิจกรรมในสาขาอื่นๆอีก 7 สาขา มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ
ในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้ยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide Memoire) เพื่อนำเสนอข้อเสนอเรื่อง Donor Country Content ในโครงการ GSP ใหม่ของ EU โดยขอให้ฝรั่งเศสในฐานะสมาชิก EU สนับสนุนให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งมีอัตราภาษีสูงได้รับสิทธิ GSP ในอัตรา 0% ในกรณีทีสินค้าปลาทูน่ากระป๋องมีมูลค่าที่เป็นส่วนของ EU เกินกว่าร้อยละ 50
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ยื่นเอกสารขอรับความช่วยเหลือจาก EU ในการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากร ผู้ประกอบการ โรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับและปฏิบัติการให้ สอดคล้องกับนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารของ EU ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือทวิภาคีกับนาย Francois Huwart รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศของฝรั่งเศส สรุปผลได้ ดังนี้
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ที่กำลังจะมีขี้นในเดือนพฤศจิกายน 2544 ณ เมืองโดฮา ประเทศการ์ตา โดยฝรั่งเศสได้ขอให้ไทยสนับสนุนการเจรจา การค้ารอบใหม่
ฝ่ายไทยแจ้งว่าสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ และได้ให้ความเห็นว่าหากฝรั่งเศสต้องการการสนับสนุนจากประเทศกำลังพัฒนาควรพิจารณาให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นในการปฏิบัติตามพันธกรณี (Implementation)
ฝรั่งเศสได้ขอทราบความเห็นของไทยในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งไทยได้แจ้งให้ทราบว่า ไทยเห็นความสำคัญในเรื่องการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ก็เห็นว่าประเทศกำลังพัฒนามีสถานะการพัฒนาที่ต่างกับประเทศพัฒนาแล้ว เกรงว่าจะมีการใช้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า และหากประเทศกำลังพัฒนาไม่เห็นด้วยเช่นนี้ การนำเรื่องนี้เข้าเป็นวาระหนึ่งของการเจรจา WTO จะทำให้โอกาสในการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ลดลง
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ เรื่องการเตรียมการเปิดประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ที่โดฮา ไทยเห็นว่ามีสัญญาณที่ดีโดยสหภาพยุโรปมีท่าทีผ่อนปรนในเรื่องการเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรมากขึ้น ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเห็นว่ายังคงต้องรอดูผลการพิจารณาร่างปฏิญญาของรัฐมนตรีในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้
ฝ่ายฝรั่งเศสได้สอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่า ขณะนี้มีเพียงสาขา mobility of business people ที่ยังไม่มีใครรับเป็น facilitator ส่วนกิจกรรมในสาขาอื่นๆอีก 7 สาขา มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ
ในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้ยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide Memoire) เพื่อนำเสนอข้อเสนอเรื่อง Donor Country Content ในโครงการ GSP ใหม่ของ EU โดยขอให้ฝรั่งเศสในฐานะสมาชิก EU สนับสนุนให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งมีอัตราภาษีสูงได้รับสิทธิ GSP ในอัตรา 0% ในกรณีทีสินค้าปลาทูน่ากระป๋องมีมูลค่าที่เป็นส่วนของ EU เกินกว่าร้อยละ 50
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ยื่นเอกสารขอรับความช่วยเหลือจาก EU ในการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากร ผู้ประกอบการ โรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับและปฏิบัติการให้ สอดคล้องกับนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารของ EU ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-