ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคอยู่ในระดับสูงกว่าของประเทศ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อยกว่า ขณะเดียวกันการผลิตภาคเกษตรได้รับผลดีจากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะปีที่ผ่านมา คาดว่าปีนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคจะสูงประมาณ ร้อยละ 5.5 โดยภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.0 และภาค นอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.8 ขณะที่เงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีนี้สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นผลจากราคาอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 2.3 ส่วนหมวดอื่นที่ไม่รวมอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ จากการสำรวจผู้ประกอบการในภาคตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีก่อน ปรากฏว่าระดับความเชื่อมั่นทางธุรกิจสูงขึ้นเป็นลำดับ จนสูงเกินระดับเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ เมื่อเดือน ธันวาคม ปีก่อน และสูงสุดเมื่อเดือนมกราคม ปีนี้ แต่กลับลดลงอีกในเดือนถัด ๆ มาจนต่ำกว่าร้อยละ 50 อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นในอำนาจซื้อของประชาชน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่อ่อนลง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลกลดลง แต่ยังคาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นอีกในอนาคต ส่วนข้อเสนอผู้ประกอบการ รัฐบาลควรแก้ไขราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเร่งแสวงหาตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรแปรรูป ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจอย่างจริงจัง สนับสนุนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจ และควรมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้าและบริการที่จำเป็น
การบริโภคภาคเอกชน พิจารณาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม พบว่าสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2543 เมื่อเทียบกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บได้ลดลงในช่วงกลางปี 2542 ซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงอัตราภาษี จากร้อยละ 10 ลงเหลือร้อยละ 7 ห้างสรรพสินค้าในจังหวัดหลักขยายเวลาให้บริการแก่ลูกค้า ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมไปซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น
การผลิตภาคเกษตร ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาสภาพลมฟ้าอากาศเอื้ออำนวย ทำให้การผลิตพืชผลสำคัญของภาคได้ผลดี แต่ราคาที่เกษตรกรได้รับกลับลดลง เนื่องจากปีก่อนราคาอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะมันสำปะหลัง อ้อย ข้าวเปลือกเหนียว สำหรับการผลิตด้านปศุสัตว์ และประมงมีศักยภาพที่จะขยายการผลิตสูงมาก โดยเฉพาะโคนม ไก่พื้นเมือง ปลากินพืช
การผลิตนอกภาคเกษตร ผู้ประกอบการเริ่มลงทุนขยายการผลิตมากขึ้น เห็นได้จากการปริมาณการใช้ไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและบริการสูงขึ้นอย่างน่าสังเกต ประกอบกับความต้องการแรงงานมีสูงขึ้น ขณะที่มีผู้ยื่นความจำนงสมัครงานกับหน่วยงานจัดหางานของรัฐกลับลดลง ส่วนผู้เดินทางไปทำงานในต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น ทำให้มีเงินโอนจากต่างประเทศกลับมาในภาคในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 33.60 โดยเฉลี่ยในปี 2543 มีเงินโอนกลับจากต่างประเทศเดือนละ 2,500 ล้านบาท เทียบกับเดือนละ 1,900 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
การเงินการธนาคาร อัตราดอกเบี้ยยังคงลดลงทำให้เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในภาคไม่ขยายตัว โดยเฉพาะสินเชื่อที่ลดลงส่วนหนึ่งเกิดจากการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปบริหารที่สำนักงานใหญ่ แม้ว่าการปรับโครงสร้างหนี้สามารถดำเนินการได้ระดับหนึ่ง โดยทำให้สินทรัพย์จัดชั้นลดลงจาก114,980 ลานบาท เมื่อสินเดือนมิถุนายน ศกก่อน ลดลงร้อยละ12.0 เหลือ 101,181 ล้านบาทเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม ศกนี้ โดยจังหวัดนครราชสีมาทรัพย์สินจัดชั้นลดลงมากที่สุด ถึงร้อยละ 22.8
ด้านเงินฝากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ไม่กระตือรือล้นที่จะหาเงินฝากมากขึ้น มีเพียงการรักษาลูกค้ารายเดิมไว้เท่านั้น
การจัดเก็บภาษีอากร ในภาคในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 ลดลงร้อยละ 29.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การจัดเก็บภาษีลดลงเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตลดลง ร้อยละ 43 เนื่องจากการปีนี้ผู้รับสัมปทานโรงงานสุราลดการผลิตทำให้จัดเก็บภาษีสุราลดลง ขณะที่การจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากการขยายกำลังการผลิตของโรงงานที่จังหวัดนครราชสีมา การจัดเก็บภาษีสรรพากรลดลงเกือบทุกหมวด เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ โดยเพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้ม ลดลงเรื่อยๆตั้งแต่ปลายปี 2541
การค้าชายแดนไทย-ลาว มูลค่าการค้าระหว่างกันขยายตัวสูงทั้งการนำเข้าและส่งออก โดยเฉพาะการส่งออก 5 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากลาวยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยจำนวนมาก แม้ว่าทางการลาวจะพยายามเข้มงวดการนำเข้าสินค้าที่ลาวผลิตได้เอง และสินค้าฟุ่มเฟือย ขณะเดียวกันลาวส่งไม้แปรรูปออกจำนวนมาทั้งที่ส่งมาขายไทยและส่งต่อไปยังประเทศที่สาม เป็นที่สังเกตว่าลาวมีการนำเข้าสินค้าผ่านแดนไทยเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะสินค้าประเภทสุราและบุหรี่ ที่วางขายในร้านค้าปลอดภาษี
มีประเด็นเศรษฐกิจอีสานในระยะต่อไป ยังมีปัจจัยที่จะมีผลต่อการประมาณเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่
1. ผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม แม้ว่าโดยปรกติแล้วการเกิดน้ำท่วมเป็นผลดีต่อการผลิตมากกว่าผลเสีย เนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรในที่ดอนจะได้รับผลดี และหากน้ำลดเร็วจะยิ่งเป็นผลดีแก่พื้นที่เกษตรในที่ลุ่มด้วย
2. .การดำเนินการด้านการอำนวยสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาค
3. การขยายตัวธุรกิจบางด้าน ได้แก่ธุรกิจรับจำนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ขยายตัวค่อนข้างมาก ธุรกิจรับซื้อและจำหน่ายรถยนต์มือสอง ธุรกิจ Internet และการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ขาย และธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
4. การติดตามสถานการณ์และป้องปรามเกี่ยวกับการขยายตัวธุรกิจแชร์ลูกโซ่ และการหลอกลวงจากต่างประเทศโดยโทรสารเสนอให้กู้ยืมหรือร่วมลงทุนแก่นักธุรกิจในภาค
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 520 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) ลดลงจากสิ้นปีก่อน 5 สำนักงาน
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดเงินฝากคงค้าง 234,171.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 5.0 ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 231,568.7 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 1.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการกู้เงินบางส่วนไปชำระคืนเงินกู้กิจการวิเทศธนกิจ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ำกว่าในต่างประเทศ ประกอบกับการโอนหนี้ที่มีปัญหาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้และการตัดหนี้สูญ ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 98.9 จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 105.5
? ธนาคารพาณิชย์
จากข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีเงินฝากคงค้าง 234,171.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 5.0 แต่ลดลงร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนทางด้านสินเชื่อ มียอดคงค้าง 231,568.7 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 1.6 และลดลงร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 98.9
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 160.9 รองลงมาได้แก่ ร้อยเอ็ด ร้อยละ 130.8 อุบลราชธานี ร้อยละ 127.4
หนองคายมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคฯ คิดเป็นร้อยละ 74.9 รองลงมาได้แก่ นครราชสีมา ร้อยละ 79.1 และชัยภูมิ ร้อยละ 81.8
จากการสอบถามธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ พบว่าส่วนใหญ่ยังคงใช้นโยบายที่ไม่กระตุ้นในด้านเงินฝาก เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับธนาคาร แต่จะมีธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ที่ยังคงเน้นเฉพาะการรักษาฐานะเงินฝากระยะยาวเพื่อเป็นการรักษาลูกค้าเก่าเอาไว้ คาดว่า ณ สิ้นปีนี้เงินฝากคงค้างในภาคฯ จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 5.0
เช่นเดียวกันทางด้านสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังไม่ดำเนินนโยบายกระตุ้นสินเชื่อทั่วไปมากนัก แต่จะมีการให้สินเชื่อส่วนบุคคลในส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น จึงยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานใหญ่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ให้อำนาจสาขาสามารถอนุมัติเงินกู้ดังกล่าวได้เอง สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีการปล่อยสินเชื่อเฉพาะบางรายที่มีผลประกอบการดี โดยจะคำนึงถึงด้านคุณภาพของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ธนาคารส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของการติดตามหนี้สินและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นหลัก และต่อไปธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มในการหารายได้จากค่าธรรมเนียมมากขึ้น
สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในลักษณะโครงการหมู่บ้านจัดสรรและโครงการ ก่อสร้างที่ไม่ใช่งานรับเหมาก่อสร้างของภาครัฐบาลนั้น ธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวัง รวมทั้งอำนาจการอนุมัติสินเชื่อเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ที่ส่วนกลาง แต่จะมีธนาคารบางแห่งที่กระจายอำนาจการอนุมัติสินเชื่อกลับมาที่สาขาบ้างแล้ว และคาดว่า ณ สิ้นปีนี้สินเชื่อคงค้างในภาคฯ จะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.5
ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สินเชื่ออุตสาหกรรมยังขยายตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อ ในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนสินเชื่อประเภทอื่นลดลง ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนมียอดคงค้าง 91,804.8 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.6 ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงร้อยละ 2.3 จากสิ้นปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 94,010.6 ล้านบาท รองลงมาเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล 42,171.5 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 18.2) ลดลงร้อยละ 3.8 จากสิ้นปีก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 43,816.0 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม 32,220.0 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 13.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากสิ้นปีก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 30,871.0 ล้านบาท
สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง 21,940.4 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 9.4) ลดลงร้อยละ 0.9 จากสิ้นปีก่อนที่มียอดสินเชื่อ 22,029.1 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการบริการ 18,657.3 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 8.1) ลดลงร้อยละ 1.6 จาก 18,964.9 ล้านบาท ณ สิ้นปีก่อน และสินเชื่อเพื่อการเกษตร 10,073.5 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 4.4) ลดลงร้อยละ 3.8 จากสิ้นปีก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 10,473.3 ล้านบาท
สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ ณ สิ้นมิถุนายนปีนี้ลดลงจากร้อยละ 105.5 เมื่อสิ้นปีก่อนมาเป็น 98.9 เนื่องจากเงินฝากเพิ่มขึ้นในขณะที่สินเชื่อยังคงลดลง
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปภายในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับลดลงในช่วงไตรมาส 2 เนื่องจากสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินของทางการที่ยังคงดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ต่อไป
ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.25-4.50 ต่อปี ในขณะที่ช่วงปลายปีก่อนอยู่ระหว่างร้อยละ 3.50-5.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.25-4.50 ต่อปี ในขณะที่สิ้นปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 3.50-5.25 สำหรับด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไปอยู่ระหว่างร้อยละ 11.25-13.00 ต่อปี ลดลงจากช่วงปลายปีก่อน จากระหว่างร้อยละ 11.50-14.50 ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 8.00-9.75 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 8.50-10.50 ต่อปี
สำหรับเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ ครึ่งแรก ของปีนี้มีเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 15,535.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากครึ่งหลังของปีก่อนร้อยละ 8.6 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.4 จากการที่มีผู้ไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีก่อน เป็นผลมาจากการสนับสนุนทั้งภาครัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และภาคเอกชนให้การสนับสนุนด้านเงินกู้ยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทาง ประกอบกับในด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ทำให้ปริมาณเงินโอนกลับมาสูงขึ้น
- ธนาคารออมสิน
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สาขาธนาคารออมสินในภาค 131 สำนักงานรับฝากเงิน 26,758.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รับฝากเงิน 26,273.4 ล้านบาท ขณะที่มีการถอนเงิน 24,651.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24,461.6 ล้านบาท ทำให้มีเงินฝากคงค้าง 33,043.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 29,327.3 ล้านบาท
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2543 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 39,071.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนให้กู้ 34,129.9 ล้านบาท ด้านการรับชำระคืน 34,005.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 30,174.1 ล้านบาท เนื่องจากมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ โดยเกษตรกรที่ชำระหนี้คืนภายในวันที่ 31 มีนาคม 2543 ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ยอดสินเชื่อคงค้าง 75,507.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนยอดคงค้าง 68,604.3 ล้านบาท
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 2,648.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,412.0 ล้านบาท โดยเงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำคงค้าง 1,989.8 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,626.9 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำโดยเฉพาะเงินฝากประจำ 2 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยจูงใจมากกว่าเงินฝากประเภทอื่น ทำให้มีลูกค้านำเงินมาฝากเพิ่มขึ้นมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเดิมของธนาคารที่เปลี่ยนมาฝากบัญชีเงินฝากประจำแทน
ส่วนสินเชื่อคงค้าง 26,147.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คงค้าง 26,792.9 ล้านบาท เนื่องจากการงดปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินเปล่า ประกอบกับยังไม่มีโครงการบ้านจัดสรรโครงการใหม่
- บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในภาคฯปล่อยกู้ 80โครงการ เป็นเงิน 1,191.2 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ปล่อยกู้ 54 โครงการ เป็นเงิน 640.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 และร้อยละ 85.9 ตามลำดับ เนื่องจากยังคงเน้นการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง
- บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอนุมัติวงเงินในการปล่อยสินเชื่อทั้งปี 950.0 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1-2 % ต่อปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ปล่อยเงินกู้ 32 โครงการ เป็นเงิน 142.5 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปล่อยกู้ 11 โครงการ เป็นเงิน 25.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวและห้าเท่าตัว ตามลำดับ เนื่องจากนโยบายเร่งรัดการปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่องโดยเริ่มในช่วงไตรมาสที่สอง ประกอบกับการลดอัตราดอกเบี้ย MLR เหลือร้อยละ 7 ต่อปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543 และการเร่งส่งเสริมการประชาสัมพันธ์องค์กร ทำให้ลูกค้ารู้จักและมาใช้บริการมากขึ้น
การคลัง
ในช่วง 6 เดือนปีนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และอากรขาเข้า ได้ทั้งสิ้น 6,983.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งจัดเก็บได้ 9,937.3ล้านบาท เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลง ขณะที่อากรขาเข้าจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น
- ภาษีสรรพากร
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สำนักงานสรรพากรจังหวัดในภาคจัดเก็บภาษีอากรได้ทั้งสิ้น 4,177.0 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4,970.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพากรลดลงเกือบทุกหมวด ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีสรรพากรหมวดสำคัญที่จัดเก็บได้ลดลงได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก) จัดเก็บได้ 1,212.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 1,418.7 ล้านบาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษี โดยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิ 50,000 บาทแรก
ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 527.1 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 913.6 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 42.3 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,223.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,441.0 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 และยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากยอดรายรับของผู้ประกอบการขนาดย่อมที่มีรายรับเกินกว่า 6 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี เมื่อเดือนเมษายนปีก่อนซึ่งเคยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 1.5
สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 703.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จัดเก็บได้ 644.8 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายระยะเวลาในการชำระภาษีเงินได้ตามแบบ ภงด.51 งวดครึ่งหลังของ ปี 2542 ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2543
- ภาษีสรรพสามิต
ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ สำนักงานสรรพสามิตในภาคจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ทั้งสิ้น 2,772.2 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4,943.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุรา 2,384.0 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 86.0 ของภาษีสรรพสามิตทั้งหมด) ลดลงถึงร้อยละ 50.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 4,764.6 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทที่ได้รับสัมปทานโรงงานสุรายังมีสินค้าค้างสต็อกอยู่เป็นจำนวนมาก
เป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่ม 365.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 131.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 158.0 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครราชสีมา ขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มในจังหวัดขอนแก่นกลับลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค
- ภาษีศุลกากร
ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บอากรขาเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ได้ทั้งสิ้น 34.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจัดเก็บได้ 23.9 ล้านบาท เนื่องจากมีการนำเข้าไม้แปรรูปและไม้อัดเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคสูงขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าดัชนีสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 2.3 แต่ดัชนีสินค้าหมวดอื่นที่มิใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 2.5
ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงเกือบทุกประเภท โดยราคาอาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงมากที่สุดลดลงร้อยละ 8.5 ผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 6.8 ไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 6.4 เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ลดลงร้อยละ 3.7 ส่วนราคาข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
ดัชนีราคาหมวดอื่นที่มิใช่อาหาร เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารมากที่สุด (ร้อยละ 6.8) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ (ร้อยละ 2.6) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (ร้อยละ 2.4) หมวดเครื่องนุ่งห่ม (ร้อยละ 0.6) ตามลำดับ
ดัชนีราคาขายส่งลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากดัชนีสินค้าหมวดเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหารลดลงร้อยละ 4.8 (ราคาอาหารสัตว์ลดลงมากที่สุดลดลงร้อยละ 11.6 อาหารลดลงร้อยละ 7.3 และสินค้าเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 1.9) ส่วนดัชนีสินค้า อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0
ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสูงขึ้นถึงร้อยละ 40.4 และสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สูงขึ้น ร้อยละ 2.3 แต่ราคาวัสดุก่อสร้าง เคมีและผลิตภัณฑ์เคมีลดลงร้อยละ 2.4 และหนังสัตว์และ ผลิตภัณฑ์หนังลดลงร้อยละ 0.9
การจ้างงาน
สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานผลการสำรวจภาวะการว่างงานของประชากรเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2543 พบว่า สถานการณ์การว่างงานเริ่มดีขึ้น สะท้อนถึงผลของมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาค ที่มีการว่างงานสูงสุดของประเทศ 770,891 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 ของกำลังแรงงานทั้งหมดในภาค
จากรายงานของศูนย์ข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคมปีนี้ มีผู้ยื่นความจำนงสมัครงานทั้งสิ้น 21,194 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 22.1 ขณะที่มีตำแหน่งงานว่าง 28,974 อัตรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.0 ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตมีความต้องการแรงงานมากที่สุด รองลงมาได้แก่อุตสาหกรรม การขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคารและโรงแรม แต่มีการบรรจุงาน 8,573 คน ลดลงร้อยละ 17.2 ประเภทอุตสาหกรรมที่มีการบรรจุงานมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิต ขายส่ง และขายปลีก และอุตสาหกรรมที่มีการบรรจุงานน้อยที่สุดคือ อุตสาหกรรมการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา
ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 63,366 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับการผลิต คนงานหรือกรรมกร ช่างเครื่องกล งานก่อสร้างและงานบริการ โดยประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานมากที่สุดได้แก่ ประเทศไต้หวัน คิดเป็นร้อยละ 70 ของแรงงานที่เดินทางไป ต่างประเทศทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และอิสราเอล ตามลำดับ
จังหวัดที่มีแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดได้แก่ จังหวัดอุดรธานี นครราชสีมา และขอนแก่น
ภาวะสินค้าเกษตรกรรม
การผลิตพืชผลเกษตรส่วนใหญ่จะเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวลงแล้ว และผลผลิตที่ออก สู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาผลผลิตลดลง สำหรับแนวโน้มผลผลิตคาดว่าจะดีขึ้น เนื่องจากในช่วงเดือนพฤษภาคมมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ และปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ข้าว
ผลผลิตข้าวออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผลผลิตมาก แต่ตลาดมีความต้องการลดน้อยลง
เปลือกเจ้า 10% ราคาขายส่งเฉลี่ยครึ่งแรกของปีนี้เกวียนละ 4,877 บาท ลดลง ร้อยละ 14.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 5,683 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,278 บาท ลดลงร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,678 บาท
ข้าวสารเจ้า 10% ราคาขายส่งเฉลี่ยกระสอบละ 1,066 บาท ลดลงร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 1,116 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 907 บาท ลดลงร้อยละ 11.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 1,026 บาท
- มันสำปะหลัง
ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นคุณภาพดีขึ้น เนื่องจากการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์ดีมากขึ้น แต่ราคาผลผลิตลดลงเนื่องจากปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความต้องการทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศลดลง ราคาราคาขายส่งเฉลี่ยหกเดือนแรก หัวมันกิโลกรัมละ 0.71 บาท ลดลงร้อยละ 26.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 0.97 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.58 บาท ลดลงร้อยละ 25.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 2.12 บาท มันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.08 บาท ลดลงร้อยละ 23.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 2.73 บาท
- ข้าวโพด
ผลผลิตข้าวโพดใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ราคาผลผลิตสูงขึ้น โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.83 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 4.15 บาท เนื่องจากความต้องการของโรงงานอาหารสัตว์มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
- ปอ
ผลผลิตปอลดลง เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกแล้วหันไปปลูกพืชอื่นที่คิดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า ราคาขายส่งปอเฉลี่ยในช่วงหกเดือนแรกเพิ่มขึ้น โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.67 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 5.37 บาท
- อ้อยโรงงาน
ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น ราคาผลผลิตยังลดลงตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก ขณะที่รัฐบาลยอมให้แยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาน้ำตาลที่บริโภคในประเทศ ทำให้ราคาน้ำตาลทรายที่จำหน่ายในประเทศสูงขึ้น โดยกำหนดราคารับซื้อที่โรงงานตันละ 450 บาท และรัฐบาลได้เข้าแทรกแซงโดยการให้เงินสนับสนุนตันละ 100 บาท รวมราคาที่เกษตรกรได้รับตันละ 550 บาท แต่อย่างไรก็ตามราคาดังกล่าวยังไม่เป็นที่พอใจของเกษตรกร
การลงทุนภาคเอกชน
- การส่งเสริมการลงทุน
กิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มี 31 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี 19 โครงการ ทำให้เกิดการจ้างงาน 11,039 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.5 แต่ใช้เงินลงทุน 1,903.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 93.9 เนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปีก่อนมีโครงการขนาดใหญ่ลงทุนในภาค จะเห็นได้ว่า โครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็ก และใช้แรงงานเป็นหลัก
เมื่อพิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรม กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมเบาประเภทกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่เหลือได้แก่ กิจการเจียระไนพลอย กิจการผลิตของประดับตกแต่ง
อันดับ 2 ได้แก่ หมวดเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก เป็นกิจการผลิตกระสอบพลาสติก กิจการผลิตสีน้ำมัน
โครงการลงทุนเกือบทั้งหมดอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาถึง 20 โครงการ เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ใช้เงินลงทุน 1,482.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.2
กิจการที่น่าสนใจ ได้แก่
1. กิจการผลิตสีน้ำและสีน้ำมัน ของบริษัท เอช ที เอ็ม นอร์ทอีสต์ จำกัด เงินลงทุน 11.7 ล้านบาท การจ้างงาน 13 คน จังหวัดนครราชสีมา
2. กิจการผลิตมอเตอร์สำหรับผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ของบริษัท เจวีซี คอมโพรเน้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 110 ล้านบาท การจ้างงาน 300 คน จังหวัดนครราชสีมา
3. กิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของบริษัท ไทยทอย จำกัด เงินลงทุน 80.5 ล้านบาท การจ้างงาน 150 คน จังหวัดนครราชสีมา
4. กิจการผลิตท่อเหล็กสแตนเลส ของนายสุรเดช ศานติวรธรรม เงินลงทุน 165 ล้านบาท การจ้างงาน 78 คน จังหวัดนครราชสีมา
5. กิจการผลิตชิ้นส่วนรองเท้า รองเท้า เสื้อผ้า อุปกรณ์เสริมสำหรับเต้นรำ ของบริษัท พอยต์ รูสส์ จำกัด เงินลงทุน 40 ล้านบาท การจ้างงาน 311 คน จังหวัดอุดรธานี
6. กิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป (เสื้อถักไหมพรม) ส่งออก (ฮ่องกง-ออสเตรเลียร่วมทุนกัน) ของ Mr. Lau Yen Eric เงินลงทุน 38.8 ล้านบาท การจ้างงาน 1,210 คน จังหวัดชัยภูมิ
ภาคการก่อสร้าง
การก่อสร้างภาคเอกชนเริ่มกระเตื้องตั้งแต่ต้นปี การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ยังเป็นการก่อสร้างหลักของภาครัฐซึ่งมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนการก่อสร้างสำนักงานส่วนราชการ สะพาน สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ยังมีอยู่ประปรายตามโครงการต่อเนื่องจากปีก่อน
ช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในภาค 349,540 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมากที่สุด (สัดส่วนร้อยละ 60) สำหรับการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ (สัดส่วนร้อยละ 20.5) มีเฉพาะในจังหวัดใหญ่ ๆ ของภาค ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และอุดรธานี ตามลำดับ การก่อสร้างบริการที่เห็น ได้ชัด ได้แก่ การก่อสร้างหอพัก ห้างสรรพสินค้าที่จังหวัดอุบลราชธานี (สัดส่วนร้อยละ 14.2)
ความต้องการบ้านพักอาศัยราคาประมาณ 1-3 ล้านบาท ยังขยายตัว โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ของภาคได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดขอนแก่น เนื่องจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เอื้ออำนวย ราคาขายที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพียงพอ อัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะจากคนวัยทำงานที่ต้องการที่อยู่ใหม่ คนไทยที่แต่งงานกับชาวต่างประเทศ ในส่วนผู้ประกอบการ เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียนจากระบบสถาบันการเงิน จึงไม่สามารถสร้างบ้านได้ทันกับความต้องการของลูกค้า ต้องทยอยสร้างตามกำลังเงินทุนที่มีอยู่ โดยผู้ประกอบการที่ยังดำเนินการต่อไปได้ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ คือ การทำโครงการที่มีขนาดเล็กลงประมาณ 20-30 ยูนิต อีกทั้งได้ทำแผนการตลาดโดยปรับราคาลง การกระจายทำเลของโครงการ การเปิดตัวโครงการใหม่พร้อมแผนส่งเสริมการขาย
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 3.6 เป็นการลดลงทุกประเภทวัสดุก่อสร้าง
- การซื้อขายที่ดิน
ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนปีนี้ มูลค่าการซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6,884.7 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.0 โดยมีธุรกรรมการซื้อขายที่ดิน 39,927 ราย ลดลงร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยจังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี ตามลำดับ
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวผ่านด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 เดือนแรกยังขยายตัวสูง โดยมูลค่าการค้า 7,170.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 จากระยะเดียวกัน ของปีก่อน มูลค่าการค้า 5,370.0 ล้านบาท แยกเป็นการส่งออก 5,594.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 การนำเข้า 1,576.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.3
- การส่งออก
การส่งออก 5,594.3 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งออก 4,496.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 เป็นสินค้าหมวดอุปโภคบริโภค 2,289.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 (สินค้าที่สำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 542.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.1 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 949.8 ลดลงร้อยละ 8.6 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 503.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.7) หมวดสินค้าทุน 1,218.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 (สินค้าที่สำคัญได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 888.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 221.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.3 สินค้าอื่นได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 763.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1) หมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 408.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.4 สินค้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าผืน 189.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.0 อุปกรณ์ตัดเย็บ 98.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 กระดาษและกระดาษแข็ง 21.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3
- การนำเข้า
การนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือลาว โดยการส่งเสริมการนำเข้าสินค้าลาวเพื่อช่วยลดปัญหาการขาดดุล
การนำเข้า 1,576.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.3 สินค้าที่สำคัญได้แก่ ไม้และ ผลิตภัณฑ์ไม้ 1,361.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว (ร้อยละ 111.2) สินแร่ 43.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เศษโลหะ 11.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.6
- การค้าผ่านแดน
ประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากประเทศที่สามผ่านแดนไทย 3,432.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 45.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อนลาวนำเข้า 6,313.3 ล้านบาท เนื่องจากการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เพียง 172.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 91.7 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 143.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 90.2 วัสดุก่อสร้าง 60.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.7 แต่มีการนำเข้าสุรา 475.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า ขณะเดียวกันลาวส่งออกผ่านไทยไปประเทศที่สาม 1,857.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.8 เนื่องจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 1,076.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.0 ไม้แปรรูป 186.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เฟอร์นิเจอร์ 16.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.9 แต่ส่งออกเมล็ดกาแฟดิบ 352.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 70.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8
ปัญหาการค้าชายแดนไทย-ลาว
1. การเข้า-ออกประเทศ สปป.ลาว ยังไม่สะดวกเท่าที่ควร
2. ลาวมีเป้าหมายที่จะลดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ ทำให้มีการจำกัดโควต้า นำเข้า นอกจากนี้ยังมีมาตรการด้านอื่น ๆ ที่ควบคุมการนำเข้าทางอ้อม เช่น การขออนุญาตมีขั้นตอนมาก และล่าช้า
3. การคมนาคมยังไม่สะดวก ค่าขนส่ง และค่าบริการในการนำเข้าและส่งออก ค่อนข้างสูง
4. การค้านอกระบบส่งผลกระทบต่อผู้ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของไทยที่อยู่ใน สปป.ลาว เนื่องจากสินค้าที่ลักลอบนำเข้ามีต้นทุนต่ำกว่า ตัวแทนจำหน่ายที่ถูกต้องในระบบไม่สามารถแข่งขันได้ ส่งผลให้ตัวแทนจำหน่ายลดความสนใจในสินค้าไทยลง
5. ความตกลงขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย-สปป.ลาว ยังมีปัญหา เพราะปัจจุบันลาวสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคอยู่ในระดับสูงกว่าของประเทศ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อยกว่า ขณะเดียวกันการผลิตภาคเกษตรได้รับผลดีจากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะปีที่ผ่านมา คาดว่าปีนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคจะสูงประมาณ ร้อยละ 5.5 โดยภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.0 และภาค นอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.8 ขณะที่เงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีนี้สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นผลจากราคาอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 2.3 ส่วนหมวดอื่นที่ไม่รวมอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ จากการสำรวจผู้ประกอบการในภาคตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีก่อน ปรากฏว่าระดับความเชื่อมั่นทางธุรกิจสูงขึ้นเป็นลำดับ จนสูงเกินระดับเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ เมื่อเดือน ธันวาคม ปีก่อน และสูงสุดเมื่อเดือนมกราคม ปีนี้ แต่กลับลดลงอีกในเดือนถัด ๆ มาจนต่ำกว่าร้อยละ 50 อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นในอำนาจซื้อของประชาชน ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่อ่อนลง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลกลดลง แต่ยังคาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นอีกในอนาคต ส่วนข้อเสนอผู้ประกอบการ รัฐบาลควรแก้ไขราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเร่งแสวงหาตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรแปรรูป ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจอย่างจริงจัง สนับสนุนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจ และควรมีมาตรการในการควบคุมราคาสินค้าและบริการที่จำเป็น
การบริโภคภาคเอกชน พิจารณาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม พบว่าสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2543 เมื่อเทียบกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บได้ลดลงในช่วงกลางปี 2542 ซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงอัตราภาษี จากร้อยละ 10 ลงเหลือร้อยละ 7 ห้างสรรพสินค้าในจังหวัดหลักขยายเวลาให้บริการแก่ลูกค้า ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมไปซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น
การผลิตภาคเกษตร ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาสภาพลมฟ้าอากาศเอื้ออำนวย ทำให้การผลิตพืชผลสำคัญของภาคได้ผลดี แต่ราคาที่เกษตรกรได้รับกลับลดลง เนื่องจากปีก่อนราคาอยู่ในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะมันสำปะหลัง อ้อย ข้าวเปลือกเหนียว สำหรับการผลิตด้านปศุสัตว์ และประมงมีศักยภาพที่จะขยายการผลิตสูงมาก โดยเฉพาะโคนม ไก่พื้นเมือง ปลากินพืช
การผลิตนอกภาคเกษตร ผู้ประกอบการเริ่มลงทุนขยายการผลิตมากขึ้น เห็นได้จากการปริมาณการใช้ไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและบริการสูงขึ้นอย่างน่าสังเกต ประกอบกับความต้องการแรงงานมีสูงขึ้น ขณะที่มีผู้ยื่นความจำนงสมัครงานกับหน่วยงานจัดหางานของรัฐกลับลดลง ส่วนผู้เดินทางไปทำงานในต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น ทำให้มีเงินโอนจากต่างประเทศกลับมาในภาคในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 33.60 โดยเฉลี่ยในปี 2543 มีเงินโอนกลับจากต่างประเทศเดือนละ 2,500 ล้านบาท เทียบกับเดือนละ 1,900 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
การเงินการธนาคาร อัตราดอกเบี้ยยังคงลดลงทำให้เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในภาคไม่ขยายตัว โดยเฉพาะสินเชื่อที่ลดลงส่วนหนึ่งเกิดจากการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปบริหารที่สำนักงานใหญ่ แม้ว่าการปรับโครงสร้างหนี้สามารถดำเนินการได้ระดับหนึ่ง โดยทำให้สินทรัพย์จัดชั้นลดลงจาก114,980 ลานบาท เมื่อสินเดือนมิถุนายน ศกก่อน ลดลงร้อยละ12.0 เหลือ 101,181 ล้านบาทเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม ศกนี้ โดยจังหวัดนครราชสีมาทรัพย์สินจัดชั้นลดลงมากที่สุด ถึงร้อยละ 22.8
ด้านเงินฝากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ไม่กระตือรือล้นที่จะหาเงินฝากมากขึ้น มีเพียงการรักษาลูกค้ารายเดิมไว้เท่านั้น
การจัดเก็บภาษีอากร ในภาคในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 ลดลงร้อยละ 29.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การจัดเก็บภาษีลดลงเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตลดลง ร้อยละ 43 เนื่องจากการปีนี้ผู้รับสัมปทานโรงงานสุราลดการผลิตทำให้จัดเก็บภาษีสุราลดลง ขณะที่การจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากการขยายกำลังการผลิตของโรงงานที่จังหวัดนครราชสีมา การจัดเก็บภาษีสรรพากรลดลงเกือบทุกหมวด เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ โดยเพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้ม ลดลงเรื่อยๆตั้งแต่ปลายปี 2541
การค้าชายแดนไทย-ลาว มูลค่าการค้าระหว่างกันขยายตัวสูงทั้งการนำเข้าและส่งออก โดยเฉพาะการส่งออก 5 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากลาวยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยจำนวนมาก แม้ว่าทางการลาวจะพยายามเข้มงวดการนำเข้าสินค้าที่ลาวผลิตได้เอง และสินค้าฟุ่มเฟือย ขณะเดียวกันลาวส่งไม้แปรรูปออกจำนวนมาทั้งที่ส่งมาขายไทยและส่งต่อไปยังประเทศที่สาม เป็นที่สังเกตว่าลาวมีการนำเข้าสินค้าผ่านแดนไทยเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะสินค้าประเภทสุราและบุหรี่ ที่วางขายในร้านค้าปลอดภาษี
มีประเด็นเศรษฐกิจอีสานในระยะต่อไป ยังมีปัจจัยที่จะมีผลต่อการประมาณเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่
1. ผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม แม้ว่าโดยปรกติแล้วการเกิดน้ำท่วมเป็นผลดีต่อการผลิตมากกว่าผลเสีย เนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรในที่ดอนจะได้รับผลดี และหากน้ำลดเร็วจะยิ่งเป็นผลดีแก่พื้นที่เกษตรในที่ลุ่มด้วย
2. .การดำเนินการด้านการอำนวยสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาค
3. การขยายตัวธุรกิจบางด้าน ได้แก่ธุรกิจรับจำนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ขยายตัวค่อนข้างมาก ธุรกิจรับซื้อและจำหน่ายรถยนต์มือสอง ธุรกิจ Internet และการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ขาย และธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
4. การติดตามสถานการณ์และป้องปรามเกี่ยวกับการขยายตัวธุรกิจแชร์ลูกโซ่ และการหลอกลวงจากต่างประเทศโดยโทรสารเสนอให้กู้ยืมหรือร่วมลงทุนแก่นักธุรกิจในภาค
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 520 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 55 สำนักงาน) ลดลงจากสิ้นปีก่อน 5 สำนักงาน
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดเงินฝากคงค้าง 234,171.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 5.0 ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 231,568.7 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 1.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการกู้เงินบางส่วนไปชำระคืนเงินกู้กิจการวิเทศธนกิจ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ำกว่าในต่างประเทศ ประกอบกับการโอนหนี้ที่มีปัญหาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้และการตัดหนี้สูญ ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 98.9 จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 105.5
? ธนาคารพาณิชย์
จากข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีเงินฝากคงค้าง 234,171.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 5.0 แต่ลดลงร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนทางด้านสินเชื่อ มียอดคงค้าง 231,568.7 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 1.6 และลดลงร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 98.9
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 160.9 รองลงมาได้แก่ ร้อยเอ็ด ร้อยละ 130.8 อุบลราชธานี ร้อยละ 127.4
หนองคายมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคฯ คิดเป็นร้อยละ 74.9 รองลงมาได้แก่ นครราชสีมา ร้อยละ 79.1 และชัยภูมิ ร้อยละ 81.8
จากการสอบถามธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ พบว่าส่วนใหญ่ยังคงใช้นโยบายที่ไม่กระตุ้นในด้านเงินฝาก เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับธนาคาร แต่จะมีธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ที่ยังคงเน้นเฉพาะการรักษาฐานะเงินฝากระยะยาวเพื่อเป็นการรักษาลูกค้าเก่าเอาไว้ คาดว่า ณ สิ้นปีนี้เงินฝากคงค้างในภาคฯ จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 5.0
เช่นเดียวกันทางด้านสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังไม่ดำเนินนโยบายกระตุ้นสินเชื่อทั่วไปมากนัก แต่จะมีการให้สินเชื่อส่วนบุคคลในส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น จึงยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานใหญ่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ให้อำนาจสาขาสามารถอนุมัติเงินกู้ดังกล่าวได้เอง สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีการปล่อยสินเชื่อเฉพาะบางรายที่มีผลประกอบการดี โดยจะคำนึงถึงด้านคุณภาพของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ธนาคารส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของการติดตามหนี้สินและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นหลัก และต่อไปธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มในการหารายได้จากค่าธรรมเนียมมากขึ้น
สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในลักษณะโครงการหมู่บ้านจัดสรรและโครงการ ก่อสร้างที่ไม่ใช่งานรับเหมาก่อสร้างของภาครัฐบาลนั้น ธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวัง รวมทั้งอำนาจการอนุมัติสินเชื่อเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ที่ส่วนกลาง แต่จะมีธนาคารบางแห่งที่กระจายอำนาจการอนุมัติสินเชื่อกลับมาที่สาขาบ้างแล้ว และคาดว่า ณ สิ้นปีนี้สินเชื่อคงค้างในภาคฯ จะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.5
ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สินเชื่ออุตสาหกรรมยังขยายตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อ ในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนสินเชื่อประเภทอื่นลดลง ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนมียอดคงค้าง 91,804.8 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.6 ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงร้อยละ 2.3 จากสิ้นปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 94,010.6 ล้านบาท รองลงมาเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล 42,171.5 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 18.2) ลดลงร้อยละ 3.8 จากสิ้นปีก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 43,816.0 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม 32,220.0 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 13.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากสิ้นปีก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 30,871.0 ล้านบาท
สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง 21,940.4 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 9.4) ลดลงร้อยละ 0.9 จากสิ้นปีก่อนที่มียอดสินเชื่อ 22,029.1 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการบริการ 18,657.3 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 8.1) ลดลงร้อยละ 1.6 จาก 18,964.9 ล้านบาท ณ สิ้นปีก่อน และสินเชื่อเพื่อการเกษตร 10,073.5 ล้านบาท (สัดส่วนร้อยละ 4.4) ลดลงร้อยละ 3.8 จากสิ้นปีก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 10,473.3 ล้านบาท
สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ ณ สิ้นมิถุนายนปีนี้ลดลงจากร้อยละ 105.5 เมื่อสิ้นปีก่อนมาเป็น 98.9 เนื่องจากเงินฝากเพิ่มขึ้นในขณะที่สินเชื่อยังคงลดลง
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปภายในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับลดลงในช่วงไตรมาส 2 เนื่องจากสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินของทางการที่ยังคงดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ต่อไป
ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.25-4.50 ต่อปี ในขณะที่ช่วงปลายปีก่อนอยู่ระหว่างร้อยละ 3.50-5.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.25-4.50 ต่อปี ในขณะที่สิ้นปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 3.50-5.25 สำหรับด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าทั่วไปอยู่ระหว่างร้อยละ 11.25-13.00 ต่อปี ลดลงจากช่วงปลายปีก่อน จากระหว่างร้อยละ 11.50-14.50 ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 8.00-9.75 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 8.50-10.50 ต่อปี
สำหรับเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ ครึ่งแรก ของปีนี้มีเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 15,535.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากครึ่งหลังของปีก่อนร้อยละ 8.6 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.4 จากการที่มีผู้ไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีก่อน เป็นผลมาจากการสนับสนุนทั้งภาครัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และภาคเอกชนให้การสนับสนุนด้านเงินกู้ยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทาง ประกอบกับในด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ทำให้ปริมาณเงินโอนกลับมาสูงขึ้น
- ธนาคารออมสิน
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สาขาธนาคารออมสินในภาค 131 สำนักงานรับฝากเงิน 26,758.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รับฝากเงิน 26,273.4 ล้านบาท ขณะที่มีการถอนเงิน 24,651.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24,461.6 ล้านบาท ทำให้มีเงินฝากคงค้าง 33,043.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 29,327.3 ล้านบาท
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2543 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 39,071.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนให้กู้ 34,129.9 ล้านบาท ด้านการรับชำระคืน 34,005.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 30,174.1 ล้านบาท เนื่องจากมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ โดยเกษตรกรที่ชำระหนี้คืนภายในวันที่ 31 มีนาคม 2543 ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ยอดสินเชื่อคงค้าง 75,507.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนยอดคงค้าง 68,604.3 ล้านบาท
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 2,648.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,412.0 ล้านบาท โดยเงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำคงค้าง 1,989.8 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,626.9 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำโดยเฉพาะเงินฝากประจำ 2 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยจูงใจมากกว่าเงินฝากประเภทอื่น ทำให้มีลูกค้านำเงินมาฝากเพิ่มขึ้นมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเดิมของธนาคารที่เปลี่ยนมาฝากบัญชีเงินฝากประจำแทน
ส่วนสินเชื่อคงค้าง 26,147.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คงค้าง 26,792.9 ล้านบาท เนื่องจากการงดปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินเปล่า ประกอบกับยังไม่มีโครงการบ้านจัดสรรโครงการใหม่
- บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในภาคฯปล่อยกู้ 80โครงการ เป็นเงิน 1,191.2 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ปล่อยกู้ 54 โครงการ เป็นเงิน 640.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 และร้อยละ 85.9 ตามลำดับ เนื่องจากยังคงเน้นการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง
- บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอนุมัติวงเงินในการปล่อยสินเชื่อทั้งปี 950.0 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1-2 % ต่อปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ปล่อยเงินกู้ 32 โครงการ เป็นเงิน 142.5 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปล่อยกู้ 11 โครงการ เป็นเงิน 25.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวและห้าเท่าตัว ตามลำดับ เนื่องจากนโยบายเร่งรัดการปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่องโดยเริ่มในช่วงไตรมาสที่สอง ประกอบกับการลดอัตราดอกเบี้ย MLR เหลือร้อยละ 7 ต่อปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543 และการเร่งส่งเสริมการประชาสัมพันธ์องค์กร ทำให้ลูกค้ารู้จักและมาใช้บริการมากขึ้น
การคลัง
ในช่วง 6 เดือนปีนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และอากรขาเข้า ได้ทั้งสิ้น 6,983.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งจัดเก็บได้ 9,937.3ล้านบาท เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลง ขณะที่อากรขาเข้าจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น
- ภาษีสรรพากร
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สำนักงานสรรพากรจังหวัดในภาคจัดเก็บภาษีอากรได้ทั้งสิ้น 4,177.0 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4,970.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพากรลดลงเกือบทุกหมวด ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีสรรพากรหมวดสำคัญที่จัดเก็บได้ลดลงได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก) จัดเก็บได้ 1,212.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 1,418.7 ล้านบาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษี โดยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิ 50,000 บาทแรก
ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 527.1 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 913.6 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 42.3 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,223.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,441.0 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 และยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากยอดรายรับของผู้ประกอบการขนาดย่อมที่มีรายรับเกินกว่า 6 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี เมื่อเดือนเมษายนปีก่อนซึ่งเคยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 1.5
สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 703.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จัดเก็บได้ 644.8 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายระยะเวลาในการชำระภาษีเงินได้ตามแบบ ภงด.51 งวดครึ่งหลังของ ปี 2542 ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2543
- ภาษีสรรพสามิต
ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ สำนักงานสรรพสามิตในภาคจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ทั้งสิ้น 2,772.2 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4,943.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุรา 2,384.0 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 86.0 ของภาษีสรรพสามิตทั้งหมด) ลดลงถึงร้อยละ 50.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 4,764.6 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทที่ได้รับสัมปทานโรงงานสุรายังมีสินค้าค้างสต็อกอยู่เป็นจำนวนมาก
เป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่ม 365.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 131.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 158.0 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครราชสีมา ขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มในจังหวัดขอนแก่นกลับลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค
- ภาษีศุลกากร
ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บอากรขาเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ได้ทั้งสิ้น 34.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจัดเก็บได้ 23.9 ล้านบาท เนื่องจากมีการนำเข้าไม้แปรรูปและไม้อัดเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคสูงขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าดัชนีสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 2.3 แต่ดัชนีสินค้าหมวดอื่นที่มิใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 2.5
ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงเกือบทุกประเภท โดยราคาอาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงมากที่สุดลดลงร้อยละ 8.5 ผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 6.8 ไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 6.4 เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ลดลงร้อยละ 3.7 ส่วนราคาข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
ดัชนีราคาหมวดอื่นที่มิใช่อาหาร เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารมากที่สุด (ร้อยละ 6.8) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ (ร้อยละ 2.6) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (ร้อยละ 2.4) หมวดเครื่องนุ่งห่ม (ร้อยละ 0.6) ตามลำดับ
ดัชนีราคาขายส่งลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากดัชนีสินค้าหมวดเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหารลดลงร้อยละ 4.8 (ราคาอาหารสัตว์ลดลงมากที่สุดลดลงร้อยละ 11.6 อาหารลดลงร้อยละ 7.3 และสินค้าเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 1.9) ส่วนดัชนีสินค้า อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0
ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสูงขึ้นถึงร้อยละ 40.4 และสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สูงขึ้น ร้อยละ 2.3 แต่ราคาวัสดุก่อสร้าง เคมีและผลิตภัณฑ์เคมีลดลงร้อยละ 2.4 และหนังสัตว์และ ผลิตภัณฑ์หนังลดลงร้อยละ 0.9
การจ้างงาน
สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานผลการสำรวจภาวะการว่างงานของประชากรเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2543 พบว่า สถานการณ์การว่างงานเริ่มดีขึ้น สะท้อนถึงผลของมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาค ที่มีการว่างงานสูงสุดของประเทศ 770,891 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 ของกำลังแรงงานทั้งหมดในภาค
จากรายงานของศูนย์ข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคมปีนี้ มีผู้ยื่นความจำนงสมัครงานทั้งสิ้น 21,194 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 22.1 ขณะที่มีตำแหน่งงานว่าง 28,974 อัตรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.0 ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตมีความต้องการแรงงานมากที่สุด รองลงมาได้แก่อุตสาหกรรม การขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคารและโรงแรม แต่มีการบรรจุงาน 8,573 คน ลดลงร้อยละ 17.2 ประเภทอุตสาหกรรมที่มีการบรรจุงานมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิต ขายส่ง และขายปลีก และอุตสาหกรรมที่มีการบรรจุงานน้อยที่สุดคือ อุตสาหกรรมการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา
ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 63,366 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับการผลิต คนงานหรือกรรมกร ช่างเครื่องกล งานก่อสร้างและงานบริการ โดยประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานมากที่สุดได้แก่ ประเทศไต้หวัน คิดเป็นร้อยละ 70 ของแรงงานที่เดินทางไป ต่างประเทศทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และอิสราเอล ตามลำดับ
จังหวัดที่มีแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดได้แก่ จังหวัดอุดรธานี นครราชสีมา และขอนแก่น
ภาวะสินค้าเกษตรกรรม
การผลิตพืชผลเกษตรส่วนใหญ่จะเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวลงแล้ว และผลผลิตที่ออก สู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาผลผลิตลดลง สำหรับแนวโน้มผลผลิตคาดว่าจะดีขึ้น เนื่องจากในช่วงเดือนพฤษภาคมมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ และปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ข้าว
ผลผลิตข้าวออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผลผลิตมาก แต่ตลาดมีความต้องการลดน้อยลง
เปลือกเจ้า 10% ราคาขายส่งเฉลี่ยครึ่งแรกของปีนี้เกวียนละ 4,877 บาท ลดลง ร้อยละ 14.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 5,683 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,278 บาท ลดลงร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 4,678 บาท
ข้าวสารเจ้า 10% ราคาขายส่งเฉลี่ยกระสอบละ 1,066 บาท ลดลงร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 1,116 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 907 บาท ลดลงร้อยละ 11.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกระสอบละ 1,026 บาท
- มันสำปะหลัง
ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นคุณภาพดีขึ้น เนื่องจากการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์ดีมากขึ้น แต่ราคาผลผลิตลดลงเนื่องจากปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความต้องการทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศลดลง ราคาราคาขายส่งเฉลี่ยหกเดือนแรก หัวมันกิโลกรัมละ 0.71 บาท ลดลงร้อยละ 26.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 0.97 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.58 บาท ลดลงร้อยละ 25.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 2.12 บาท มันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.08 บาท ลดลงร้อยละ 23.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 2.73 บาท
- ข้าวโพด
ผลผลิตข้าวโพดใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ราคาผลผลิตสูงขึ้น โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.83 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 4.15 บาท เนื่องจากความต้องการของโรงงานอาหารสัตว์มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
- ปอ
ผลผลิตปอลดลง เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกแล้วหันไปปลูกพืชอื่นที่คิดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า ราคาขายส่งปอเฉลี่ยในช่วงหกเดือนแรกเพิ่มขึ้น โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.67 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 5.37 บาท
- อ้อยโรงงาน
ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น ราคาผลผลิตยังลดลงตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก ขณะที่รัฐบาลยอมให้แยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาน้ำตาลที่บริโภคในประเทศ ทำให้ราคาน้ำตาลทรายที่จำหน่ายในประเทศสูงขึ้น โดยกำหนดราคารับซื้อที่โรงงานตันละ 450 บาท และรัฐบาลได้เข้าแทรกแซงโดยการให้เงินสนับสนุนตันละ 100 บาท รวมราคาที่เกษตรกรได้รับตันละ 550 บาท แต่อย่างไรก็ตามราคาดังกล่าวยังไม่เป็นที่พอใจของเกษตรกร
การลงทุนภาคเอกชน
- การส่งเสริมการลงทุน
กิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มี 31 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มี 19 โครงการ ทำให้เกิดการจ้างงาน 11,039 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.5 แต่ใช้เงินลงทุน 1,903.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 93.9 เนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปีก่อนมีโครงการขนาดใหญ่ลงทุนในภาค จะเห็นได้ว่า โครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็ก และใช้แรงงานเป็นหลัก
เมื่อพิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรม กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมเบาประเภทกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่เหลือได้แก่ กิจการเจียระไนพลอย กิจการผลิตของประดับตกแต่ง
อันดับ 2 ได้แก่ หมวดเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก เป็นกิจการผลิตกระสอบพลาสติก กิจการผลิตสีน้ำมัน
โครงการลงทุนเกือบทั้งหมดอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาถึง 20 โครงการ เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ใช้เงินลงทุน 1,482.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.2
กิจการที่น่าสนใจ ได้แก่
1. กิจการผลิตสีน้ำและสีน้ำมัน ของบริษัท เอช ที เอ็ม นอร์ทอีสต์ จำกัด เงินลงทุน 11.7 ล้านบาท การจ้างงาน 13 คน จังหวัดนครราชสีมา
2. กิจการผลิตมอเตอร์สำหรับผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ของบริษัท เจวีซี คอมโพรเน้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 110 ล้านบาท การจ้างงาน 300 คน จังหวัดนครราชสีมา
3. กิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของบริษัท ไทยทอย จำกัด เงินลงทุน 80.5 ล้านบาท การจ้างงาน 150 คน จังหวัดนครราชสีมา
4. กิจการผลิตท่อเหล็กสแตนเลส ของนายสุรเดช ศานติวรธรรม เงินลงทุน 165 ล้านบาท การจ้างงาน 78 คน จังหวัดนครราชสีมา
5. กิจการผลิตชิ้นส่วนรองเท้า รองเท้า เสื้อผ้า อุปกรณ์เสริมสำหรับเต้นรำ ของบริษัท พอยต์ รูสส์ จำกัด เงินลงทุน 40 ล้านบาท การจ้างงาน 311 คน จังหวัดอุดรธานี
6. กิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป (เสื้อถักไหมพรม) ส่งออก (ฮ่องกง-ออสเตรเลียร่วมทุนกัน) ของ Mr. Lau Yen Eric เงินลงทุน 38.8 ล้านบาท การจ้างงาน 1,210 คน จังหวัดชัยภูมิ
ภาคการก่อสร้าง
การก่อสร้างภาคเอกชนเริ่มกระเตื้องตั้งแต่ต้นปี การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนน ยังเป็นการก่อสร้างหลักของภาครัฐซึ่งมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนการก่อสร้างสำนักงานส่วนราชการ สะพาน สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ยังมีอยู่ประปรายตามโครงการต่อเนื่องจากปีก่อน
ช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในภาค 349,540 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมากที่สุด (สัดส่วนร้อยละ 60) สำหรับการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ (สัดส่วนร้อยละ 20.5) มีเฉพาะในจังหวัดใหญ่ ๆ ของภาค ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และอุดรธานี ตามลำดับ การก่อสร้างบริการที่เห็น ได้ชัด ได้แก่ การก่อสร้างหอพัก ห้างสรรพสินค้าที่จังหวัดอุบลราชธานี (สัดส่วนร้อยละ 14.2)
ความต้องการบ้านพักอาศัยราคาประมาณ 1-3 ล้านบาท ยังขยายตัว โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ของภาคได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดขอนแก่น เนื่องจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เอื้ออำนวย ราคาขายที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพียงพอ อัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะจากคนวัยทำงานที่ต้องการที่อยู่ใหม่ คนไทยที่แต่งงานกับชาวต่างประเทศ ในส่วนผู้ประกอบการ เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียนจากระบบสถาบันการเงิน จึงไม่สามารถสร้างบ้านได้ทันกับความต้องการของลูกค้า ต้องทยอยสร้างตามกำลังเงินทุนที่มีอยู่ โดยผู้ประกอบการที่ยังดำเนินการต่อไปได้ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ คือ การทำโครงการที่มีขนาดเล็กลงประมาณ 20-30 ยูนิต อีกทั้งได้ทำแผนการตลาดโดยปรับราคาลง การกระจายทำเลของโครงการ การเปิดตัวโครงการใหม่พร้อมแผนส่งเสริมการขาย
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 3.6 เป็นการลดลงทุกประเภทวัสดุก่อสร้าง
- การซื้อขายที่ดิน
ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนปีนี้ มูลค่าการซื้อขายที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6,884.7 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.0 โดยมีธุรกรรมการซื้อขายที่ดิน 39,927 ราย ลดลงร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยจังหวัดนครราชสีมามีการซื้อขายที่ดินสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานี ตามลำดับ
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวผ่านด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 เดือนแรกยังขยายตัวสูง โดยมูลค่าการค้า 7,170.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 จากระยะเดียวกัน ของปีก่อน มูลค่าการค้า 5,370.0 ล้านบาท แยกเป็นการส่งออก 5,594.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 การนำเข้า 1,576.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.3
- การส่งออก
การส่งออก 5,594.3 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งออก 4,496.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 เป็นสินค้าหมวดอุปโภคบริโภค 2,289.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 (สินค้าที่สำคัญได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 542.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.1 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 949.8 ลดลงร้อยละ 8.6 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 503.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.7) หมวดสินค้าทุน 1,218.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 (สินค้าที่สำคัญได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 888.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 221.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.3 สินค้าอื่นได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 763.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1) หมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 408.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.4 สินค้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าผืน 189.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.0 อุปกรณ์ตัดเย็บ 98.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 กระดาษและกระดาษแข็ง 21.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3
- การนำเข้า
การนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือลาว โดยการส่งเสริมการนำเข้าสินค้าลาวเพื่อช่วยลดปัญหาการขาดดุล
การนำเข้า 1,576.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.3 สินค้าที่สำคัญได้แก่ ไม้และ ผลิตภัณฑ์ไม้ 1,361.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว (ร้อยละ 111.2) สินแร่ 43.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เศษโลหะ 11.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.6
- การค้าผ่านแดน
ประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากประเทศที่สามผ่านแดนไทย 3,432.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 45.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อนลาวนำเข้า 6,313.3 ล้านบาท เนื่องจากการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เพียง 172.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 91.7 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 143.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 90.2 วัสดุก่อสร้าง 60.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.7 แต่มีการนำเข้าสุรา 475.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า ขณะเดียวกันลาวส่งออกผ่านไทยไปประเทศที่สาม 1,857.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.8 เนื่องจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 1,076.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.0 ไม้แปรรูป 186.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.9 เฟอร์นิเจอร์ 16.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.9 แต่ส่งออกเมล็ดกาแฟดิบ 352.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.2 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 70.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8
ปัญหาการค้าชายแดนไทย-ลาว
1. การเข้า-ออกประเทศ สปป.ลาว ยังไม่สะดวกเท่าที่ควร
2. ลาวมีเป้าหมายที่จะลดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ ทำให้มีการจำกัดโควต้า นำเข้า นอกจากนี้ยังมีมาตรการด้านอื่น ๆ ที่ควบคุมการนำเข้าทางอ้อม เช่น การขออนุญาตมีขั้นตอนมาก และล่าช้า
3. การคมนาคมยังไม่สะดวก ค่าขนส่ง และค่าบริการในการนำเข้าและส่งออก ค่อนข้างสูง
4. การค้านอกระบบส่งผลกระทบต่อผู้ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของไทยที่อยู่ใน สปป.ลาว เนื่องจากสินค้าที่ลักลอบนำเข้ามีต้นทุนต่ำกว่า ตัวแทนจำหน่ายที่ถูกต้องในระบบไม่สามารถแข่งขันได้ ส่งผลให้ตัวแทนจำหน่ายลดความสนใจในสินค้าไทยลง
5. ความตกลงขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย-สปป.ลาว ยังมีปัญหา เพราะปัจจุบันลาวสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-