การผลิตภาคอุตสาหกรรม : ช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอลง ตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น อุตสาหกรรมที่ยัง ขยายตัวได้ค่อนข้างดี คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม :
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 9.56 เหลือเพียงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เป็นการชะลอตัวลงแทบทุกหมวดสินค้า สินค้าที่ยังขยายตัวได้ค่อนข้างดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อัญมณีและเครื่องประดับ
ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 56.5 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.2) โดยอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงเกินกว่าร้อยละ 90 คือ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษ และปิโตรเคมีขั้นต้น
ปัจจัยลบที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม คือ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทำให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากปีก่อนมาก เนื่องจากประเทศดังกล่าวเป็นตลาดหลักในการส่งออกสินค้าของไทย ประกอบกับปัจจัยด้านความต้องการภายในประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งราคาน้ำมันที่ถึงแม้ได้อ่อนตัวลงบ้าง แต่ก็ยังทรงตัวในระดับสูง จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
อุตสาหกรรมที่การผลิตยังคงเพิ่มขึ้น ได้แก่
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.6 โดยเพิ่มขึ้นตามการผลิตรถยนต์นั่งเป็นสำคัญ เนื่องจาก การขยายตัวของการจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค และนิสสัน ซันนี ที่เปิดตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน และการขยายตัวของการผลิตเพื่อเน้นส่งออกของบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขณะที่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เนื่องจากกำลังซื้อของตลาดรถยนต์พาณิชย์ยังอ่อนตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้การใช้กำลังการผลิตในหมวดนี้ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนที่ร้อยละ 42.4
หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นสำคัญ ภายหลังจากอิสราเอลย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย ประกอบกับความต้องการจากตลาดสหรัฐฯ ยังค่อนข้างสูงแม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงก็ตาม
หมวดสิ่งทอ การผลิตเพิ่มขึ้นตามการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป เส้นด้าย และผ้าผืนถัก เป็นสำคัญ เนื่องจากได้รับผลดีจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
หมวดเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการผลิตสุราที่เพิ่มถึงร้อยละ 46.3 เพราะโรงงานสุราบางยี่ขันเพิ่มการผลิตขึ้นหลังจากที่ผลิตลดลงมากในปีก่อนเนื่องจากสต๊อกสุรา อยู่ในระดับสูง ประกอบกับการผลิตเครื่องดื่มเกลือแร่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและการขยายตัวของการส่งออก ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสนี้ของหมวดเครื่องดื่มอยู่ที่ระดับร้อยละ 37.9
สำหรับหมวดอุตสาหกรรมอื่นที่ยังผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นตาม การผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ เยื่อกระดาษ และปิโตรเคมีขั้นต้น เป็นสำคัญ ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 เนื่องจากโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมและโรงกลั่นระยองปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงทั้งการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากการชะลอตัวของการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นสำคัญ หมวดอาหาร การผลิตลดลงตามผลผลิตน้ำตาล เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยที่ป้อน โรงงานน้ำตาลมีปริมาณลดลง เพราะเกิดโรคระบาด โรงงานน้ำตาลจึงปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน กอปรกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องก็ลดลงมาก เนื่องจากการส่งออกประสบปัญหาการแข่งขันสูงและได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping) ของสหรัฐอเมริกา และการตัดสิทธิ GSP ของสหภาพยุโรป ส่วนหมวดยาสูบ การผลิตลดลงมาก เนื่องจากเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตภาคอุตสาหกรรม :
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 9.56 เหลือเพียงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เป็นการชะลอตัวลงแทบทุกหมวดสินค้า สินค้าที่ยังขยายตัวได้ค่อนข้างดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อัญมณีและเครื่องประดับ
ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 56.5 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.2) โดยอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงเกินกว่าร้อยละ 90 คือ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษ และปิโตรเคมีขั้นต้น
ปัจจัยลบที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม คือ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทำให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากปีก่อนมาก เนื่องจากประเทศดังกล่าวเป็นตลาดหลักในการส่งออกสินค้าของไทย ประกอบกับปัจจัยด้านความต้องการภายในประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งราคาน้ำมันที่ถึงแม้ได้อ่อนตัวลงบ้าง แต่ก็ยังทรงตัวในระดับสูง จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
อุตสาหกรรมที่การผลิตยังคงเพิ่มขึ้น ได้แก่
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.6 โดยเพิ่มขึ้นตามการผลิตรถยนต์นั่งเป็นสำคัญ เนื่องจาก การขยายตัวของการจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค และนิสสัน ซันนี ที่เปิดตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน และการขยายตัวของการผลิตเพื่อเน้นส่งออกของบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขณะที่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เนื่องจากกำลังซื้อของตลาดรถยนต์พาณิชย์ยังอ่อนตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้การใช้กำลังการผลิตในหมวดนี้ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนที่ร้อยละ 42.4
หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นสำคัญ ภายหลังจากอิสราเอลย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย ประกอบกับความต้องการจากตลาดสหรัฐฯ ยังค่อนข้างสูงแม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงก็ตาม
หมวดสิ่งทอ การผลิตเพิ่มขึ้นตามการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป เส้นด้าย และผ้าผืนถัก เป็นสำคัญ เนื่องจากได้รับผลดีจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
หมวดเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการผลิตสุราที่เพิ่มถึงร้อยละ 46.3 เพราะโรงงานสุราบางยี่ขันเพิ่มการผลิตขึ้นหลังจากที่ผลิตลดลงมากในปีก่อนเนื่องจากสต๊อกสุรา อยู่ในระดับสูง ประกอบกับการผลิตเครื่องดื่มเกลือแร่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและการขยายตัวของการส่งออก ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสนี้ของหมวดเครื่องดื่มอยู่ที่ระดับร้อยละ 37.9
สำหรับหมวดอุตสาหกรรมอื่นที่ยังผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นตาม การผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ เยื่อกระดาษ และปิโตรเคมีขั้นต้น เป็นสำคัญ ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 เนื่องจากโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมและโรงกลั่นระยองปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงทั้งการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากการชะลอตัวของการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นสำคัญ หมวดอาหาร การผลิตลดลงตามผลผลิตน้ำตาล เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยที่ป้อน โรงงานน้ำตาลมีปริมาณลดลง เพราะเกิดโรคระบาด โรงงานน้ำตาลจึงปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน กอปรกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องก็ลดลงมาก เนื่องจากการส่งออกประสบปัญหาการแข่งขันสูงและได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping) ของสหรัฐอเมริกา และการตัดสิทธิ GSP ของสหภาพยุโรป ส่วนหมวดยาสูบ การผลิตลดลงมาก เนื่องจากเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-