เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนกรกฎาคม 2544 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย เป็นผลจากการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ชะลอตัว รวมทั้งการส่งออกที่หดตัวลงเป็นเดือนที่สี่ อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน จำนวนเงินลงทุนของโรงงาน อุตสาหกรรมตั้งใหม่เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สอง การใช้จ่ายภาครัฐเร่งตัวขึ้น จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และอัตราเงินเฟ้อหรือระดับราคาชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามราคาน้ำมันที่ลดลง
ภาคเกษตร ภาพรวมราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยพืชผลเกษตรสำคัญที่ออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคม 2544 ได้แก่ ข้าวนาปรัง ราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้นไม่เกิน 14-15% สูงขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 และร้อยละ 6.5 เป็นเมตริกตันละ 4,133 บาท เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ประกอบกับพ่อค้าส่งออกเร่งรับซื้อข้าวเข้าสต็อกเพื่อรอการส่งมอบให้กับต่างประเทศ ส่วน ลำไย ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นเดือนแรกคาดว่าผลผลิตลำไยของภาคเหนือในปีนี้จะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 48.2 เหลือ 174,371 เมตริกตัน เนื่องจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย ส่งผลให้ราคารับซื้อลำไยคละสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัวครึ่ง เป็นกิโลกรัมละ 22.22 บาท สำหรับ หอมแดง รุ่นแล้งเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ราคารับซื้อหอมแดงแห้งใหญ่เกรดคละกิโลกรัมละ 16.81 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 และร้อยละ 33.9 ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลง
นอกภาคเกษตร ในเดือนกรกฎาคม 2544 ภาคอุตสาหกรรม หดตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกมูลค่าการส่งออกของสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 7.0 เหลือ 74.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. (3,370.8 ล้านบาท) เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศลดลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเซีย อุตสาหกรรมผลิตเพื่อใช้ในประเทศหดตัวลงตามปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศ ปริมาณการผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 7.0 เหลือ 7,528.5 เมตริกตัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ระยะเดียวกันปีก่อน ภาคบริการ ภาวะการท่องเที่ยวชะลอตัวตามความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง
การใช้จ่ายภาคเอกชน ยังแสดงทิศทางที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนโดยเครื่องชี้สำคัญคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าเดือนกรกฎาคม 2544 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 เป็น 262.9 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.9 ระยะเดียวกันปีก่อน แต่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการเร่งรัดจัดเก็บ สำหรับ ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีข้อมูลเพียงเดือนมิถุนายน ปรากฏว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 เป็น 16,237 คัน ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.6 เหลือ 2,349 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง ภาพรวมการลงทุนเพื่อการผลิตปรับตัวดีขึ้นขณะที่การลงทุนเพื่อการก่อสร้างยังคงซบเซา อย่างไรก็ดี สัญญาณการลงทุนก่อสร้างแสดงทิศทางที่ดีขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน 2544 พื้นที่รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 เป็น 51,994 ตารางเมตร เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ระยะเดียวกัน ปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย การลงทุนเพื่อการผลิตปรับตัวดีขึ้น โดย เงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่จำนวน 38 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบสองเท่าตัวเป็น 404.2 ล้านบาท คาดว่าสามารถรองรับแรงงานได้ทั้งสิ้น 1,063 คน สำหรับความสนใจลงทุนผลิตเพื่อส่งออกมีสัญญาณชะลอตัวเช่นเดียวกับเดือนก่อนโดยในเดือนกรกฎาคม 2544 เงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน เพียง 1 โครงการ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 89.2 เหลือ 47.0 ล้านบาท เป็นโครงการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเพื่อการส่งออก
ฐานะการคลัง ในเดือนกรกฎาคม 2544 เงินในงบประมาณขาดดุล 8,620.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 8,100.9 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน จากการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ โดยรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เป็น 9,645.2 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายประจำที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.2 เป็น 6,368.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในรายจ่ายหมวดรายจ่ายอื่นและงบกลางที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 70.9 และร้อยละ 13.5 เป็น 178.8 ล้านบาท และ 1,116.5 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3 เป็น 3,276.9 ล้านบาท จากรายจ่ายในหมวดเงินอุดหนุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เป็น 1,406.4 ล้านบาท ทางด้าน รายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 เป็น 1,025.2 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.1 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษี โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เป็น 129.6 ล้านบาท ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 เป็น 262.9 ล้านบาท
การค้าต่างประเทศ มูลค่า การส่งออก ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.9 เหลือ 98.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาท4,456.8 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3) โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 7.0 เหลือ 74.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.1 ระยะเดียวกันปีก่อน จากความต้องการของต่างประเทศที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยลดลงมากในสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการส่งออกผ่านชายแดนลดลงร้อยละ 33.3 เหลือ 10.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากทางการพม่ายังเข้มงวดกับการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย แม้ว่าได้ทำการเปิดด่านการค้าชายแดนด้านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2544 แล้วก็ตาม
ทางด้าน การนำเข้า มูลค่าลดลงร้อยละ 10.6 เหลือ 76.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่ลดลงจากการนำเข้าวัตถุดิบของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ โดยลดลงร้อยละ 15.1 เหลือ 70.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 6.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 8.3 ระยะเดียวกัน ปีก่อน ส่วนหนึ่งจากการนำเข้าแร่สังกะสีผ่านพิธีการศุลกากรที่ด่านศุลกากรแม่สอด และการนำเข้าเมล็ดทานตะวันและอะไหล่ไฟแช็กจากประเทศจีน(ตอนใต้)
สำหรับ ดุลการค้า เกินดุล 21.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับ 29.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน(ในรูปเงินบาท เกินดุล 961.6 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,169.2 ล้านบาทระยะเดียวกันปีก่อน)ระดับราคา สินค้าสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากเดือน ก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 2.5 ส่วนใหญ่เกิดจากราคาสินค้าหมวดพาหนะและการขนส่งและการ สื่อสารที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง สำหรับหมวดสินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.6 ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มผักและผลไม้ที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 10.6 เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดน้อยลง กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 5.2 จากปริมาณผลผลิตที่ลดลง ส่วนราคาสินค้าใน หมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ตามราคาสินค้าหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้นร้อยละ 6.3 จากการปรับเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีสรรพสามิต รองลงมาคือ ราคาสินค้าในหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 2.8 จากราคาค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
ภาคการเงิน สินเชื่อ ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในเขตภาคเหนือ ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 171,977.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.0 ของเดือนก่อน เนื่องจากธนาคารบางแห่งโอนสินเชื่อไปบริหารที่ส่วนกลาง และการตัดหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์ โดยลดลงมากที่จังหวัดลำพูน นครสวรรค์ อุทัยธานี และเชียงราย ส่วน เงินฝาก มียอดคงค้างทั้งสิ้น 276,538.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ใกล้เคียงกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากประชาชนยังขาดความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจจึงระมัดระวังการใช้จ่าย รวมทั้งยังไม่มีการขยายการลงทุนใหม่ จึงนำเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดกำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน ตาก และพิษณุโลก
ในเดือนกรกฎาคม 2544 มี ปริมาณเช็คเรียกเก็บ ผ่านสำนักหักบัญชีทั้งสิ้น 401,216 ฉบับ มูลค่า 25,483.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.8 และร้อยละ 15.7 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดพะเยา อุตรดิตถ์ แพร่ และอุทัยธานี ทางด้าน ปริมาณเช็คคืน มีจำนวน 7,691 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 0.2 เหลือ 378.9 ล้านบาท สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บใกล้เคียงกับเดือนก่อนคือ ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
ภาคเกษตร ภาพรวมราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยพืชผลเกษตรสำคัญที่ออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคม 2544 ได้แก่ ข้าวนาปรัง ราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้นไม่เกิน 14-15% สูงขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 และร้อยละ 6.5 เป็นเมตริกตันละ 4,133 บาท เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ประกอบกับพ่อค้าส่งออกเร่งรับซื้อข้าวเข้าสต็อกเพื่อรอการส่งมอบให้กับต่างประเทศ ส่วน ลำไย ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นเดือนแรกคาดว่าผลผลิตลำไยของภาคเหนือในปีนี้จะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 48.2 เหลือ 174,371 เมตริกตัน เนื่องจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย ส่งผลให้ราคารับซื้อลำไยคละสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัวครึ่ง เป็นกิโลกรัมละ 22.22 บาท สำหรับ หอมแดง รุ่นแล้งเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ราคารับซื้อหอมแดงแห้งใหญ่เกรดคละกิโลกรัมละ 16.81 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 และร้อยละ 33.9 ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลง
นอกภาคเกษตร ในเดือนกรกฎาคม 2544 ภาคอุตสาหกรรม หดตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกมูลค่าการส่งออกของสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 7.0 เหลือ 74.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. (3,370.8 ล้านบาท) เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศลดลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเซีย อุตสาหกรรมผลิตเพื่อใช้ในประเทศหดตัวลงตามปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศ ปริมาณการผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 7.0 เหลือ 7,528.5 เมตริกตัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ระยะเดียวกันปีก่อน ภาคบริการ ภาวะการท่องเที่ยวชะลอตัวตามความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง
การใช้จ่ายภาคเอกชน ยังแสดงทิศทางที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนโดยเครื่องชี้สำคัญคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าเดือนกรกฎาคม 2544 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 เป็น 262.9 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.9 ระยะเดียวกันปีก่อน แต่ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการเร่งรัดจัดเก็บ สำหรับ ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีข้อมูลเพียงเดือนมิถุนายน ปรากฏว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 เป็น 16,237 คัน ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.6 เหลือ 2,349 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง ภาพรวมการลงทุนเพื่อการผลิตปรับตัวดีขึ้นขณะที่การลงทุนเพื่อการก่อสร้างยังคงซบเซา อย่างไรก็ดี สัญญาณการลงทุนก่อสร้างแสดงทิศทางที่ดีขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน 2544 พื้นที่รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 เป็น 51,994 ตารางเมตร เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ระยะเดียวกัน ปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย การลงทุนเพื่อการผลิตปรับตัวดีขึ้น โดย เงินลงทุนของโรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่จำนวน 38 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบสองเท่าตัวเป็น 404.2 ล้านบาท คาดว่าสามารถรองรับแรงงานได้ทั้งสิ้น 1,063 คน สำหรับความสนใจลงทุนผลิตเพื่อส่งออกมีสัญญาณชะลอตัวเช่นเดียวกับเดือนก่อนโดยในเดือนกรกฎาคม 2544 เงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน เพียง 1 โครงการ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 89.2 เหลือ 47.0 ล้านบาท เป็นโครงการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเพื่อการส่งออก
ฐานะการคลัง ในเดือนกรกฎาคม 2544 เงินในงบประมาณขาดดุล 8,620.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 8,100.9 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน จากการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ โดยรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เป็น 9,645.2 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายประจำที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.2 เป็น 6,368.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในรายจ่ายหมวดรายจ่ายอื่นและงบกลางที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 70.9 และร้อยละ 13.5 เป็น 178.8 ล้านบาท และ 1,116.5 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3 เป็น 3,276.9 ล้านบาท จากรายจ่ายในหมวดเงินอุดหนุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เป็น 1,406.4 ล้านบาท ทางด้าน รายได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 เป็น 1,025.2 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.1 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษี โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เป็น 129.6 ล้านบาท ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 เป็น 262.9 ล้านบาท
การค้าต่างประเทศ มูลค่า การส่งออก ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.9 เหลือ 98.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาท4,456.8 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3) โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 7.0 เหลือ 74.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.1 ระยะเดียวกันปีก่อน จากความต้องการของต่างประเทศที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยลดลงมากในสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการส่งออกผ่านชายแดนลดลงร้อยละ 33.3 เหลือ 10.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากทางการพม่ายังเข้มงวดกับการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย แม้ว่าได้ทำการเปิดด่านการค้าชายแดนด้านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2544 แล้วก็ตาม
ทางด้าน การนำเข้า มูลค่าลดลงร้อยละ 10.6 เหลือ 76.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่ลดลงจากการนำเข้าวัตถุดิบของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ โดยลดลงร้อยละ 15.1 เหลือ 70.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 6.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 8.3 ระยะเดียวกัน ปีก่อน ส่วนหนึ่งจากการนำเข้าแร่สังกะสีผ่านพิธีการศุลกากรที่ด่านศุลกากรแม่สอด และการนำเข้าเมล็ดทานตะวันและอะไหล่ไฟแช็กจากประเทศจีน(ตอนใต้)
สำหรับ ดุลการค้า เกินดุล 21.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับ 29.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน(ในรูปเงินบาท เกินดุล 961.6 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,169.2 ล้านบาทระยะเดียวกันปีก่อน)ระดับราคา สินค้าสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากเดือน ก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 2.5 ส่วนใหญ่เกิดจากราคาสินค้าหมวดพาหนะและการขนส่งและการ สื่อสารที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง สำหรับหมวดสินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.6 ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มผักและผลไม้ที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 10.6 เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดน้อยลง กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 5.2 จากปริมาณผลผลิตที่ลดลง ส่วนราคาสินค้าใน หมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ตามราคาสินค้าหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้นร้อยละ 6.3 จากการปรับเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีสรรพสามิต รองลงมาคือ ราคาสินค้าในหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 2.8 จากราคาค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
ภาคการเงิน สินเชื่อ ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในเขตภาคเหนือ ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 171,977.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.0 ของเดือนก่อน เนื่องจากธนาคารบางแห่งโอนสินเชื่อไปบริหารที่ส่วนกลาง และการตัดหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์ โดยลดลงมากที่จังหวัดลำพูน นครสวรรค์ อุทัยธานี และเชียงราย ส่วน เงินฝาก มียอดคงค้างทั้งสิ้น 276,538.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ใกล้เคียงกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากประชาชนยังขาดความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจจึงระมัดระวังการใช้จ่าย รวมทั้งยังไม่มีการขยายการลงทุนใหม่ จึงนำเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดกำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน ตาก และพิษณุโลก
ในเดือนกรกฎาคม 2544 มี ปริมาณเช็คเรียกเก็บ ผ่านสำนักหักบัญชีทั้งสิ้น 401,216 ฉบับ มูลค่า 25,483.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.8 และร้อยละ 15.7 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดพะเยา อุตรดิตถ์ แพร่ และอุทัยธานี ทางด้าน ปริมาณเช็คคืน มีจำนวน 7,691 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 0.2 เหลือ 378.9 ล้านบาท สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บใกล้เคียงกับเดือนก่อนคือ ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-