อนาคตของการค้าและสิ่งแวดล้อม -------------------------------------------------------------------------------- นับตั้งแต่ยุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก การสลายตัวของสหภาพโซเวียตและในช่วงเวลาที่ความแข็งแกร่ง ทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเซียลดถอยลง อาจกล่าว ได้ว่านโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศมหาอำนาจ ตะวันตก เช่นสหรัฐฯ และ สหภาพยุโรป สามารถเป็นเครื่องชี้ แนวทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกได้เป็นอย่างดีในการประชุม ระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก และการฉลองครบรอบ 50 ปี ของระบบการค้าพหุภาคี ที่เจนีวา ระหว่างวันที่ 18 - 20 พฤษภาคม 2541 ที่เพิ่งผ่านมาไม่นานนี้ ได้มีถ้อยแถลงของ ผู้นำหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนทรพจน์ของ ประธานาธิบดีคลินตันแห่งสหรัฐฯ ซึ่งได้แฝงแนวนโยบายทาง เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของสหรัฐฯ ไว้หลายประการ อันอาจมีผลกระทบกับกฎเกณฑ์ทางการค้า ของโลกและการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนา โดยทั่วไปและของประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งควรจับตามอง อย่างใกล้ชิด และเตรียมตัวเพื่อรับสถานการณ์ให้พร้อม ประธานาธิดีคลินตันได้กล่าวสุนทรพจน์เนื่องในโอกาสฉลอง ครบรอบ 50 ปี ของระบบการค้าพหุภาคี เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2541โดยได้มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ผ่านสถานี CNN ไปทั่วโลก สาระสำคัญของสุนทรพจน์ฯโดยสรุปก็คือสหรัฐฯ ได้เชิญชวนให้ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกเปิดเสรีทาง การค้า ทั้งในด้านการค้าสินค้าและการค้าบริการให้มากขึ้น โดยให้เหตุผลว่าการเปิดเสรีดังกล่าวจะเป็นผลทำให้ความ เป็นอยู่และสวัสดิการของประชาชนในทุกประเทศดีขึ้นและใน การเปิดเสรีนี้ประเทศสมาชิกฯ ควรตระหนักด้วยว่าโลกาภิวัฒน์ เป็นข้อเท็จจริงของชีวิตในปัจจุบันที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ (Globalization is not a policy choice-it is a fact) และด้วยเหตุดังกล่าวจึงควรพร้อมใจกันเปิดเสรีทางการค้า ด้านใหม่ๆ เช่นการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce) การค้าบริการด้านวิชาชีพ (professional services) และ ฯลฯ แต่ทั้งนี้การเปิดเสรีดังกล่าวจะต้องคำนึงการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม (environmental protection) การคุ้มครองผู้บริโภค (consumer protection) การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) นอกจากนี้ ควรเริ่มกำหนดกฎเกณฑ์ ในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (biotecnology) และมาตรฐานด้าน แรงงาน (labour standards) ตลอดจนควรปรับกฎเกณฑ์ของ องค์การการค้าโลกให้สามารถรองรับกับสถานะความเป็นจริง ของโลกและการเปิดเสรีเหล่านี้ด้วย อาทิ ควรมีความโปร่งใส (transparency) มากขึ้น โดยการเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดา สามารถแสดงความคิดเห็นไปยังองค์การฯได้โดยตรงโดยไม่ ่ต้องผ่านรัฐบาล ซึ่งรวมถึงการเสนอคำให้การ (amicus briefs) ไปยังคณะพิจารณา (panels) ในกรณีพิพาทต่างๆภายใต้องค์การฯ นอกจากนี้ คำตัดสินของคณะพิจารณาฯ ควรได้รับการเปิดเผยให้ สาธารณะชนได้รับทราบและวิพากษ์วิจารณ์ได้โดยไม่ชักช้าเหมือน เช่นที่เคยเป็นมาในอดีตในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าและสิ่งแวดล้อม มีประเด็นที่มีความสำคัญซึ่งควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือประธานาธิบดีคลินตันได้กล่าวในตอนหนึ่งว่ากฎเกณฑ์ ทางการค้าระหว่างประเทศจะต้องอนุญาตให้ชาติอธิปไตย (sovereign nations) กำหนดมาตรฐานเพื่อให้ความคุ้มครอง สุขอนามัย (health) และความปลอดภัย (safety) (แก่คน สัตว์ และพืช) ตลอดจนการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) แม้ว่ามาตรฐาน ดังกล่าวจะสูงกว่ามาตรฐานระหว่างประเทศ (international standards) ก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากอารัมภบท (preamble) ของความตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลกได้ระบุไว้ตอนหนึ่ง ว่าการเปิดเสรีทางการค้าจะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองและ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย (...a commitment to preserve the environment and to increase the capacity of doing so....) ทั้งนี้ โดยจงใจไม่ได้กล่าวถึงข้อความตอน ต่อไปของอารัมภบทเดียวกันนี้ที่ว่า การดำเนินการดังกล่าว จะต้องเป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องกับความจำเป็นและระดับ การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย (...in a manner consistent with their respectrive needs and concerns at different levels of economic development,...) ประเด็นที่ควรให้ความสนใจเป็น พิเศษก็คือการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้ความคุ้มครองกับความ หลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ปรากฏ ในความตกลงใดๆ ภายใต้องค์การการค้าโลกหลักการสำคัญ ของการให้ความคุ้มครองทางชีวภาพก็คือ การให้ความคุ้มครอง พันธุ์พืชและสัตว์ซึ่งในทางทฤษฎีไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ภายใน เขตอาณา(jurisdiction) ของประเทศใด ในขณะที่ GATT Article XX(b) (จากการตีความของคณะพิจารณาที่ผ่านมา)ให้ความ คุ้มครองกับชีวิตและสุขอนามัยของคน สัตว์ และ พืช ภายใน เขตอาณาของประเทศผู้ดำเนินมาตรการเท่านั้น ดังนั้น สุนทรพจน์ ของประธานาธิบดีคลินตัน จึงมีขอบเขตคลอบคลุมถึงการ คุ้มครองชีวิตสัตว์และพืชเกินไปจากที่ระบุไว้ใน GATT Article XX(b) อนึ่ง หากมีการเจรจาตกลงในอนาคตอนุญาต ให้ประเทศสมาชิกฯ ให้ความคุ้มครองกับความหลากหลายทาง ชีวภาพภายใต้ GATT Article XX(b) หรือภายใต้บทบัญญัต ิของความตกลงอื่นใดภายใต้องค์การการค้าโลก ได้มีโอกาส ที่จะเป็นไปได้ว่าประเทศสมาชิกฯ ผู้ดำเนินมาตรการอาจสามารถ ที่จะกำหนดมาตรฐานภายในประเทศของตนเพื่อให้ความคุ้มครอง แก่พันธุ์พืชและสัตว์ซึ่งอยู่ในเขตอาณาของประเทศอื่นได้ประเด็น ดังกล่าวข้างต้นนี้ได้รับการยกขึ้นมากล่าวอ้างแล้วโดยสหรัฐฯ ในกรณีพิพาทเรื่องการห้ามนำเข้ากุ้งระหว่าง อินเดีย มาเลเซีย ปากีสถาน และ ไทย กับ สหรัฐฯ โดยสหรัฐฯได้กล่าวอ้างว่าเต่า ซึ่งอยู่ในเขตอาณาของสหรัฐฯ เป็นเต่าพันธุ์เดียวกันกับเต่า ซึ่งอยู่ในเขตอาณาของประเทศผู้ร้องเรียน ดังนั้น แม้ว่าเต่า ซึ่งอยู่ในเขตอาณาของสหรัฐฯ จะไม่เดินทางไกลถึงขนาดเข้ามา อยู่ในเขตอาณาของประเทศผู้ร้องเรียน แต่สหรัฐฯก็สามารถ ที่จะให้ความคุ้มครองกับเต่าพันธุ์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้เพื่อให้ความ คุ้มครองกับความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างไรก็ดี คณะพิจารณาฯ ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของสหรัฐฯ เพราะแม้อาจจะถือได้ว่าเต่าพันธุ์ ดังกล่าวเป็นทรัพยากรร่วมของโลก (shared global resource) แต่การปฏิบัติจัดการกับทรัพยากรนั้นก็จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ความร่วมมือระหว่างประเทศ ไม่ใช่การดำเนินมาตรการฝ่ายเดียว ดังเช่นที่ได้กำหนดไว้ใน Article 5 ของ1992 Convention on Biological Diversity อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าองค์การซึ่งไม่ใช ่ภาครัฐบาล (NGOs)ทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายองค์การได้ขานรับ สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีคลินตันโดยฉับพลัน โดยได้มีการ ออกข่าว (press releases) ให้ความสนับสนุนสุนทรพจน์ดังกล่าว อย่างเต็มที่ อาทิ The Royal Society for the Prevention of Cruelty to Animals(RSPCA) และ The Eurogroup for Animal Welfare (Eurogroup) ได้แสดงความห่วงใยที่กฎเกณฑ์ต่างๆ ขององค์การ การค้าโลกได้เป็นอุปสรรคในการดำเนินมาตรการเพื่อจุดประสงค์ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (social and environmental goals) ความล่าช้าและอุปสรรคของการเจรจาในคณะกรรมาธิการด้าน การค้าและสิ่งแวดล้อม(Committc on Trade and Environment (CTE)) รามทั้งสนับสนุนข้อเสนอของ Sir Leon Brittan (EU Commissioner) ที่ให้มีการเจรจาในระดับสูงเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน CTE โดยเร็วและที่สำคัญได้เสนอให้มีการพิจารณานำแนวความคิดเกี่ยวกับ กระบวนและวิธีการผลิต (Process and Production Methods (PPMs)) เข้ามาเป็นองค์ประกอบของ GATT Article XX นอกจากนี้ U.S. Environmental Leaders in Geneva ได้มีถ้อยแถลงสนับสนุนสุนทรพจน์ และข้อเสนอแนะของประธานาธิบดีคลินตัน พร้อมทั้งได้เรียกร้อง ให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนออย่างจริงจัง ไม่ใช่เป็นเพียงคำพูด (Until the President enforces his stated commitment to protect the environment with strong action to change the course of current international trading systems, Americans will not support any future trade initiatives. U.S. government action must begin this week, at the Ministerial meeting in Geneva. Four more years of inaction will not do) ตลอดจนได้เรียกร้องให้มีการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญ (Eminent Person Group) เพื่อให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่อง ขององค์การการค้าโลกในเรื่องนี้ ให้องค์การฯ ให้ความสำคัญกับ สิ่งแวดล้อมเท่าเทียมกับการค้า และให้เปิดระบบการระงับข้อพิพาท ขององค์การฯ ให้สาธารณะชนเข้ามามีส่วนร่วม ประเด็นที่ควร ให้ความสนใจเป็นพิเศษได้แก่ข้อเสนอของ RSPCA ที่ให้นำ PPMs เข้ามาเป็นองค์ประกอบของ GATT Article XX ทั้งนี้ เนื่องจาก ในปัจจุบัน GATT ใช้บังคับกับการค้าสินค้าในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์ (products) เท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึง PPMs ด้วย อนึ่ง ความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกเกี่ยวกับมาตรการด้านสุขอนามัย (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) (SPS)) และความตกลงเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสินค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade) แม้ว่าจะมีข้อพิจารณา ด้าน PPMs เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ PPMs นั้น ก็จะต้องมีผลทำให้คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ (product characteristics) เปลี่ยนแปลงไปจึงจะทำให้ความตกลงทั้งสองมีผลใช้บังคับ เช่น การจับ กุ้งโดยใช้ TEDs หรือ ไม่ใช้ TEDs ไม่ได้มีผลทำให้คุณลักษณะของ กุ้งเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงไม่อยู่ในขอบเขตการบังคับใช้ของ ความตกลงทั้งสองดังนั้น หากมีการนำ PPMs เข้ามาเป็นองค์ประกอบ ของ GATT Article XX ด้วย โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกหนึ่งใด ก็สามารถที่จะกำหนดมาตรฐานด้าน SPS หรือ TBT ของตน ในเชิงบังคับให้ประเทศอื่นต้องปฏิบัติตามหากประสงค์ที่ส่งสินค้า ไปขายในประเทศตนได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ประเทศที่มีอำนาจทาง เศรษฐกิจสูงและมีตลาดใหญ่ก็จะอยู่ในฐานะที่จะใช้ประโยชน์จาก PPMs นี้ ได้ดีกว่าประเทศสมาชิกฯ อื่นตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น สุนทรพจน ์ของประธานาธิบดีคลินตัน และท่าทีของสหภาพยุโรป ตลอดจน NGOs ในด้านสิ่งแวดล้อมจึงอาจนับได้ว่าเป็นเครื่องชี้ที่สำคัญประการหนึ่งของ อนาคตของการค้าและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายรวม ทั้งประเทศไทยซึ่งผลิตสินค้าเกษตรเป็นหลัก แต่ต้องพึ่งพาตลาด ของประเทศเหล่านี้มาก จะต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ให้ด อนึ่ง จากน้ำหนักของสุนทรพจน์และท่าทีที่แข็งกร้าวของ NGOs ในด้านสิ่งแวดล้อมประเด็นเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม คงจะเป็น ประเด็นสำคัญของการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก และเป็นกฎเกณฑ์ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างยากที่จะต้านทานได้ ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-