นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้เปิดเผยว่าระบบการจัดสรรโควตาสินค้าสิ่งทอของไทยที่ส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลง มีการใช้มาเป็นระยะเวลานานแม้จะได้มีการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์การค้าเป็นระยะๆแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีปัญหาหลายประการ เช่น
(1) การจัดสรรตามระเบียบเดิมไม่สร้างแรงส่งเสริมหรือผลักดันเพียงพอที่จะให้มีการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง สินค้า Brand name และการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพิ่มขึ้นหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ เมื่อการค้าสิ่งทอเข้าสู่ระบบการค้าเสรีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)สมรรถนะในการแข่งขันของสินค้าสิ่งทอของไทยในตลาดโลกจะมีปัญหาและจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
(2) ระเบียบเดิมกำหนดให้การโอนโควตาจะต้องคืนโควตาให้กรมการค้าต่างประเทศบางส่วน ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าของโควตาพยายามส่งออกตามปริมาณที่ได้รับ แต่กลับปรากฏว่ามักมีการหลีกเลี่ยงการโอนโควตาตามระเบียบซึ่งเป็นช่องทางให้เกิดการลักลอบใช้โควตา การสวมสิทธิ์ เสือนอนกิน การซื้อขายโควตา และการปลอมแปลงหนังสือรับรองการส่งออก เป็นต้น
กระทรวงพาณิชย์ ต้องการให้การส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาประสิทธิภาพรูปแบบการผลิตและใช้ประโยชน์จากปริมาณโควตาที่ต่างประเทศให้แก่ไทยอย่างสูงสุด รวมทั้งเตรียมการรองรับภาวะการค้าเสรีสิ่งทอภายใต้องค์การการค้าโลก(WTO) ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 2548 จึงจำเป็นต้องแก้ไขระเบียบ หลักเกณฑ์สำคัญให้สามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เป้าหมายสำคัญ
1.1 ใช้ประโยชน์สูงสุดจากปริมาณโควตาที่ได้รับการจัดสรรจากประเทศผู้นำเข้า
1.2 ส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน
1.3 เสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันระหว่างประเทศ
1.4 ดึงดูดการพัฒนาเทคโนโลยีและการลงทุน
1.5 สร้างผู้ส่งออกรายใหม่ ๆ ให้มีโอกาสเติบโต
1.6 สร้างความเป็นธรรมต่อระบบระหว่างผู้ผลิตผู้ส่งออก
1.7 ขจัดการเป็นเสือนอนกินของผู้ครอบครองโควตาที่ไม่มีการผลิตการส่งออกที่แท้จริง
1.8 สร้างแรงจูงใจแก่ผู้ที่ตั้งใจส่งออก
1.9 ปรับปรุงระบบการจัดสรรให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส และสุจริตยิ่งขึ้น
1.10 ให้การคุ้มครองสิทธิและตระหนักในบทบาทของผู้ผลิตและส่งออกในอดีตที่ผ่านมา
2. ลักษณะสำคัญของระเบียบใหม่
2.1 ผลักดันให้มีการใช้โควตาสินค้ารายการที่ความต้องการต่ำ (Cold Category)
2.2 ใช้บางส่วนของรายการที่มีความต้องการสูง (Hot Category) เป็นสิ่งจูงใจให้ขยายการส่งออกรายการที่มีความต้องการต่ำ (Cold Category)
2.3 จูงใจให้มีการคืนโควตาที่ไม่ใช้ประโยชน์หรือที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้ทันเวลา เพื่อให้สามารถนำมาจัดสรรอย่างถูกต้องให้กับผู้ต้องการใช้โควตาอย่างแท้จริง
2.4 เพิ่มโควตาส่วนกลางให้สูงขึ้น สำหรับผู้ส่งออกที่มีอยู่เดิมและรายใหม่ที่สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
3. วิธีการ
3.1 จำแนกรายการสินค้าตามความต้องการใช้โควตา ซึ่งเดิมไม่ได้จำแนกไว้ โดยแบ่งรายการสินค้าตามระดับความต้องการใช้โควตาเป็น 3 ระดับ คือ
- รายการที่มีระดับการใช้โควตาสูง (Critical Category) คือ รายการที่มีการใช้โควตาเกินกว่าร้อยละ 85 ขึ้นไป
- รายการที่มีระดับการใช้โควตาปานกลาง (Semi — Critical Category) คือ รายการที่มีการใช้โควตาเกินกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 85
- รายการที่มีระดับการใช้โควตาต่ำ (Cold Category) คือ รายการที่มีการใช้โควตาต่ำกว่าร้อยละ 50 ลงมา
3.2 กำหนดโควตาเป็น 4 ประเภท โดยนำระดับการใช้โควตาสูง ปานกลาง และต่ำ มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดประเภทโควตา ดังนี้
3.2.1 โควตาหลัก ได้เปลี่ยนแปลงการจัดสรรจากเดิม โดยนำโควตารายการที่มีระดับการใช้โควตาสูงในอัตราร้อยละ 85 ของปริมาณตามข้อตกลงของปีที่ผ่านมาบวกอัตราเพิ่ม(Growth Rate)ของปีที่จัดสรร และโควตารายการที่มีระดับการใช้โควตาปานกลางตามข้อตกลงของปีที่ผ่านมา มาจัดสรรให้ตามประวัติการส่งออก ทั้งนี้ เนื่องจากระเบียบเดิมได้จัดสรรโควตาสินค้ารายการที่มีความต้องการสูงให้เต็มปริมาณตามข้อตกลง ทำให้ไม่มีโควตาคงเหลือเพื่อนำมาจัดสรรเป็นโควตากองกลาง ก่อให้เกิดปัญหากับผู้ส่งออกที่ต้องการลงทุนหรือผลิตสินค้ารายการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง แต่ไม่มีโควตารายการดังกล่าว จึงเป็นการปิดกั้นการขยายการลงทุนและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต อย่างไรก็ตามการนำโควตารายการที่มีระดับการใช้โควตาสูงมาจัดสรรโควตาหลักในระเบียบใหม่นั้น ได้ใช้ฐานในการคำนวณโดยนำปริมาณตามข้อตกลงของปีที่ผ่านมารวมกับอัตราเพิ่ม(Growth Rate) ประมาณร้อยละ 6 ของปีที่จัดสรร มาจัดสรรเป็นโควตาหลักร้อยละ 85 ของปริมาณดังกล่าว ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคิดเป็นปริมาณโควตาที่จะนำมาจัดสรรประมาณร้อยละ 92 ของปริมาณที่จัดสรรเดิม
3.2.2 โควตาส่งเสริม ได้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- โควตาส่งเสริมการส่งออก ได้จำแนกวัตถุประสงค์ในการจัดสรรให้ชัดเจนโดยจะจัดสรรให้กับสินค้าที่มี Value Added ผู้เข้าร่วมกิจกรรมขยายตลาดนอกโควตา ผู้ที่ได้พัฒนาคุณภาพสินค้าจนเป็นที่รู้จักของตลาดต่างประเทศ (Brand Name) และผู้ที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ เช่น PM Award
- โควตาส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดหลักเกณฑ์ ในการจัดสรรโควตาไว้ในระเบียบใหม่ให้ชัดเจนซึ่งระเบียบเดิมไม่ได้กำหนดไว้
3.2.3 โควตากองกลาง เดิมได้จัดสรรโดยวิธีหารเฉลี่ยตามจำนวนคำขอรับจัดสรรโควตาทำให้ปริมาณที่ได้รับจัดสรรแต่ละรายไม่เพียงพอที่จะส่งออกได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งวิธีการดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ส่งออกที่มีความต้องการใช้โควตาในการส่งออกจริง ดังนั้นระเบียบใหม่จึงได้เปลี่ยนวิธีการจัดสรรดังกล่าวมาเป็นวิธีการประมูล ถึงแม้ว่าวิธีการประมูลจะเป็นการเพิ่มต้นทุน แต่เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่าเป็นการลดต้นทุนในการซื้อขายโควตาวิธีหนึ่ง
3.2.4 โควตาเร่งรัด เพื่อเป็นการส่งเสริมและจูงใจให้มีการส่งออกสินค้ารายการที่มีความต้องการใช้โควตาต่ำเพิ่มขึ้น จึงได้มีการจัดสรรโควตาเร่งรัด โดยนำรายการที่มีระดับการใช้โควตาต่ำมาจัดสรรให้ตามคำขอหนังสือรับรองการส่งออกโดยระบบมาก่อนได้ก่อน (First Come, First served) และเมื่อได้มีการส่งออกตามหนังสือรับรองการส่งออกดังกล่าวแล้ว จะนำประวัติการส่งออกมาจัดสรรเป็นรางวัลให้แก่ผู้ส่งออกรายนั้นในปีถัดไปด้วย
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า
(1) ระเบียบนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป
(2) คาดว่าผลของการปรับปรุงระเบียบในครั้งนี้ จะเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกให้สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่น ๆ ได้ รวมทั้งจะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ระบบการค้าเสรีภายใต้องค์การค้าโลก (WTO) อีกทั้งจะมีส่วนสนับสนุนเร่งรัดการส่งออกสินค้าสิ่งทอไทยให้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
(3) ขจัดข้อครหาว่าเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับต่าง ๆ ได้ประโยชน์จากการจัดสรรโควตาไม่โปร่งใส ระเบียบใหม่จึงได้กำหนดไม่ให้อำนาจรัฐมนตรีฯในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสรรโควตาให้ผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตในกรณีที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ
--กรมการค้าต่างประเทศ มกราคม 2543--
-อน-
(1) การจัดสรรตามระเบียบเดิมไม่สร้างแรงส่งเสริมหรือผลักดันเพียงพอที่จะให้มีการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง สินค้า Brand name และการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพิ่มขึ้นหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ เมื่อการค้าสิ่งทอเข้าสู่ระบบการค้าเสรีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)สมรรถนะในการแข่งขันของสินค้าสิ่งทอของไทยในตลาดโลกจะมีปัญหาและจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
(2) ระเบียบเดิมกำหนดให้การโอนโควตาจะต้องคืนโควตาให้กรมการค้าต่างประเทศบางส่วน ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าของโควตาพยายามส่งออกตามปริมาณที่ได้รับ แต่กลับปรากฏว่ามักมีการหลีกเลี่ยงการโอนโควตาตามระเบียบซึ่งเป็นช่องทางให้เกิดการลักลอบใช้โควตา การสวมสิทธิ์ เสือนอนกิน การซื้อขายโควตา และการปลอมแปลงหนังสือรับรองการส่งออก เป็นต้น
กระทรวงพาณิชย์ ต้องการให้การส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีความสามารถในการแข่งขัน โดยการพัฒนาประสิทธิภาพรูปแบบการผลิตและใช้ประโยชน์จากปริมาณโควตาที่ต่างประเทศให้แก่ไทยอย่างสูงสุด รวมทั้งเตรียมการรองรับภาวะการค้าเสรีสิ่งทอภายใต้องค์การการค้าโลก(WTO) ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 2548 จึงจำเป็นต้องแก้ไขระเบียบ หลักเกณฑ์สำคัญให้สามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เป้าหมายสำคัญ
1.1 ใช้ประโยชน์สูงสุดจากปริมาณโควตาที่ได้รับการจัดสรรจากประเทศผู้นำเข้า
1.2 ส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน
1.3 เสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันระหว่างประเทศ
1.4 ดึงดูดการพัฒนาเทคโนโลยีและการลงทุน
1.5 สร้างผู้ส่งออกรายใหม่ ๆ ให้มีโอกาสเติบโต
1.6 สร้างความเป็นธรรมต่อระบบระหว่างผู้ผลิตผู้ส่งออก
1.7 ขจัดการเป็นเสือนอนกินของผู้ครอบครองโควตาที่ไม่มีการผลิตการส่งออกที่แท้จริง
1.8 สร้างแรงจูงใจแก่ผู้ที่ตั้งใจส่งออก
1.9 ปรับปรุงระบบการจัดสรรให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใส และสุจริตยิ่งขึ้น
1.10 ให้การคุ้มครองสิทธิและตระหนักในบทบาทของผู้ผลิตและส่งออกในอดีตที่ผ่านมา
2. ลักษณะสำคัญของระเบียบใหม่
2.1 ผลักดันให้มีการใช้โควตาสินค้ารายการที่ความต้องการต่ำ (Cold Category)
2.2 ใช้บางส่วนของรายการที่มีความต้องการสูง (Hot Category) เป็นสิ่งจูงใจให้ขยายการส่งออกรายการที่มีความต้องการต่ำ (Cold Category)
2.3 จูงใจให้มีการคืนโควตาที่ไม่ใช้ประโยชน์หรือที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้ทันเวลา เพื่อให้สามารถนำมาจัดสรรอย่างถูกต้องให้กับผู้ต้องการใช้โควตาอย่างแท้จริง
2.4 เพิ่มโควตาส่วนกลางให้สูงขึ้น สำหรับผู้ส่งออกที่มีอยู่เดิมและรายใหม่ที่สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
3. วิธีการ
3.1 จำแนกรายการสินค้าตามความต้องการใช้โควตา ซึ่งเดิมไม่ได้จำแนกไว้ โดยแบ่งรายการสินค้าตามระดับความต้องการใช้โควตาเป็น 3 ระดับ คือ
- รายการที่มีระดับการใช้โควตาสูง (Critical Category) คือ รายการที่มีการใช้โควตาเกินกว่าร้อยละ 85 ขึ้นไป
- รายการที่มีระดับการใช้โควตาปานกลาง (Semi — Critical Category) คือ รายการที่มีการใช้โควตาเกินกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 85
- รายการที่มีระดับการใช้โควตาต่ำ (Cold Category) คือ รายการที่มีการใช้โควตาต่ำกว่าร้อยละ 50 ลงมา
3.2 กำหนดโควตาเป็น 4 ประเภท โดยนำระดับการใช้โควตาสูง ปานกลาง และต่ำ มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดประเภทโควตา ดังนี้
3.2.1 โควตาหลัก ได้เปลี่ยนแปลงการจัดสรรจากเดิม โดยนำโควตารายการที่มีระดับการใช้โควตาสูงในอัตราร้อยละ 85 ของปริมาณตามข้อตกลงของปีที่ผ่านมาบวกอัตราเพิ่ม(Growth Rate)ของปีที่จัดสรร และโควตารายการที่มีระดับการใช้โควตาปานกลางตามข้อตกลงของปีที่ผ่านมา มาจัดสรรให้ตามประวัติการส่งออก ทั้งนี้ เนื่องจากระเบียบเดิมได้จัดสรรโควตาสินค้ารายการที่มีความต้องการสูงให้เต็มปริมาณตามข้อตกลง ทำให้ไม่มีโควตาคงเหลือเพื่อนำมาจัดสรรเป็นโควตากองกลาง ก่อให้เกิดปัญหากับผู้ส่งออกที่ต้องการลงทุนหรือผลิตสินค้ารายการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง แต่ไม่มีโควตารายการดังกล่าว จึงเป็นการปิดกั้นการขยายการลงทุนและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต อย่างไรก็ตามการนำโควตารายการที่มีระดับการใช้โควตาสูงมาจัดสรรโควตาหลักในระเบียบใหม่นั้น ได้ใช้ฐานในการคำนวณโดยนำปริมาณตามข้อตกลงของปีที่ผ่านมารวมกับอัตราเพิ่ม(Growth Rate) ประมาณร้อยละ 6 ของปีที่จัดสรร มาจัดสรรเป็นโควตาหลักร้อยละ 85 ของปริมาณดังกล่าว ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคิดเป็นปริมาณโควตาที่จะนำมาจัดสรรประมาณร้อยละ 92 ของปริมาณที่จัดสรรเดิม
3.2.2 โควตาส่งเสริม ได้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- โควตาส่งเสริมการส่งออก ได้จำแนกวัตถุประสงค์ในการจัดสรรให้ชัดเจนโดยจะจัดสรรให้กับสินค้าที่มี Value Added ผู้เข้าร่วมกิจกรรมขยายตลาดนอกโควตา ผู้ที่ได้พัฒนาคุณภาพสินค้าจนเป็นที่รู้จักของตลาดต่างประเทศ (Brand Name) และผู้ที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ เช่น PM Award
- โควตาส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดหลักเกณฑ์ ในการจัดสรรโควตาไว้ในระเบียบใหม่ให้ชัดเจนซึ่งระเบียบเดิมไม่ได้กำหนดไว้
3.2.3 โควตากองกลาง เดิมได้จัดสรรโดยวิธีหารเฉลี่ยตามจำนวนคำขอรับจัดสรรโควตาทำให้ปริมาณที่ได้รับจัดสรรแต่ละรายไม่เพียงพอที่จะส่งออกได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งวิธีการดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ส่งออกที่มีความต้องการใช้โควตาในการส่งออกจริง ดังนั้นระเบียบใหม่จึงได้เปลี่ยนวิธีการจัดสรรดังกล่าวมาเป็นวิธีการประมูล ถึงแม้ว่าวิธีการประมูลจะเป็นการเพิ่มต้นทุน แต่เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่าเป็นการลดต้นทุนในการซื้อขายโควตาวิธีหนึ่ง
3.2.4 โควตาเร่งรัด เพื่อเป็นการส่งเสริมและจูงใจให้มีการส่งออกสินค้ารายการที่มีความต้องการใช้โควตาต่ำเพิ่มขึ้น จึงได้มีการจัดสรรโควตาเร่งรัด โดยนำรายการที่มีระดับการใช้โควตาต่ำมาจัดสรรให้ตามคำขอหนังสือรับรองการส่งออกโดยระบบมาก่อนได้ก่อน (First Come, First served) และเมื่อได้มีการส่งออกตามหนังสือรับรองการส่งออกดังกล่าวแล้ว จะนำประวัติการส่งออกมาจัดสรรเป็นรางวัลให้แก่ผู้ส่งออกรายนั้นในปีถัดไปด้วย
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า
(1) ระเบียบนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป
(2) คาดว่าผลของการปรับปรุงระเบียบในครั้งนี้ จะเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกให้สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่น ๆ ได้ รวมทั้งจะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ระบบการค้าเสรีภายใต้องค์การค้าโลก (WTO) อีกทั้งจะมีส่วนสนับสนุนเร่งรัดการส่งออกสินค้าสิ่งทอไทยให้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
(3) ขจัดข้อครหาว่าเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับต่าง ๆ ได้ประโยชน์จากการจัดสรรโควตาไม่โปร่งใส ระเบียบใหม่จึงได้กำหนดไม่ให้อำนาจรัฐมนตรีฯในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสรรโควตาให้ผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตในกรณีที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ
--กรมการค้าต่างประเทศ มกราคม 2543--
-อน-