1. สถานการณ์การผลิต เปิดพื้นที่น้ำจืดนำร่องเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้ส่งแผนทบทวนการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด ให้คณะกรรมการนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้ว คาดว่าจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมเร็ว ๆ นี้ ซึ่งการทบทวนนโยบายเลี้ยงกุลาดำ ในพื้นที่น้ำจืด เป็นไปตามมติ ครม.ที่ให้กรมประมงศึกษาระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบระบบปิด ซึ่งทาง กรมประมงได้ทำการศึกษามาแล้ว 2 ปี พบว่า การเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ทำการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งแผนดังกล่าว หากคณะกรรมการนโยบายและ สิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที จากนั้น กรมประมงจะพิจารณา พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดต่อไป โดยจะพิจารณาเฉพาะราย ซึ่งผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำจะต้องมีแผนการเพาะเลี้ยงที่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กรมประมงกำหนดไว้ และคาดว่าเบื้องต้นจะเปิดให้มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดในพื้นที่นครปฐม และฉะเชิงเทรา 4 หมื่นไร่
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16-23 มีค.2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,488.56 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 649.73 ตัน สัตว์น้ำจืด 838.83 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.34 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.68 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.47 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 56.38 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 69.96 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ทพ.สุรพล ดิลกเกียรติ นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทยเปิดเผยถึงสถานการณ์ ราคากุ้งกุลาดำว่าปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกกุ้งกุลาดำมีกว่า 1 แสนล้านบาทและผลประโยชน์ ตกอยู่ในประเทศจริง ๆ กว่า 8 หมื่นล้านบาท เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องใช้วัตถุในประเทศเป็นหลัก การที่ไทยส่งออกกุ้งกุลาดำได้มากในปีก่อน เนื่องจากคู่แข่งสำคัญเช่น เอกวาดอร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก มีปัญหาโรคกุ้ง ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่เติบโตอย่างมาก แต่ในปีนี้สถานการณ์จะเปลี่ยนไป เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว ขณะที่ไทยต้องเผชิญกับประเทศคู่แข่งที่ส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมากขึ้น เช่น บราซิล เวียดนาม และอินเดีย นอกจากนี้ การที่ราคากุ้งกุลาดำปีก่อนค่อนข้างดี ทำให้มีผู้สนใจเลี้ยงจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณกุ้งในตลาดมีมาก แต่ความต้องการน้อยลง ทำให้ราคามีโอกาสตกต่ำได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 75.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 308.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 309.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ491.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 490.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
13.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.91 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 26-30 มีค.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 12 ประจำวันที่ 26-มี.ค.- 1 เม.ย. 2544--
-สส-
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้ส่งแผนทบทวนการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด ให้คณะกรรมการนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้ว คาดว่าจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมเร็ว ๆ นี้ ซึ่งการทบทวนนโยบายเลี้ยงกุลาดำ ในพื้นที่น้ำจืด เป็นไปตามมติ ครม.ที่ให้กรมประมงศึกษาระบบการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบระบบปิด ซึ่งทาง กรมประมงได้ทำการศึกษามาแล้ว 2 ปี พบว่า การเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ทำการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งแผนดังกล่าว หากคณะกรรมการนโยบายและ สิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที จากนั้น กรมประมงจะพิจารณา พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดต่อไป โดยจะพิจารณาเฉพาะราย ซึ่งผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำจะต้องมีแผนการเพาะเลี้ยงที่ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กรมประมงกำหนดไว้ และคาดว่าเบื้องต้นจะเปิดให้มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิดในพื้นที่นครปฐม และฉะเชิงเทรา 4 หมื่นไร่
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (16-23 มีค.2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,488.56 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 649.73 ตัน สัตว์น้ำจืด 838.83 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.34 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.68 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.47 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 56.38 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 69.96 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ทพ.สุรพล ดิลกเกียรติ นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทยเปิดเผยถึงสถานการณ์ ราคากุ้งกุลาดำว่าปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกกุ้งกุลาดำมีกว่า 1 แสนล้านบาทและผลประโยชน์ ตกอยู่ในประเทศจริง ๆ กว่า 8 หมื่นล้านบาท เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องใช้วัตถุในประเทศเป็นหลัก การที่ไทยส่งออกกุ้งกุลาดำได้มากในปีก่อน เนื่องจากคู่แข่งสำคัญเช่น เอกวาดอร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก มีปัญหาโรคกุ้ง ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่เติบโตอย่างมาก แต่ในปีนี้สถานการณ์จะเปลี่ยนไป เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว ขณะที่ไทยต้องเผชิญกับประเทศคู่แข่งที่ส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมากขึ้น เช่น บราซิล เวียดนาม และอินเดีย นอกจากนี้ การที่ราคากุ้งกุลาดำปีก่อนค่อนข้างดี ทำให้มีผู้สนใจเลี้ยงจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณกุ้งในตลาดมีมาก แต่ความต้องการน้อยลง ทำให้ราคามีโอกาสตกต่ำได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 75.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 308.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 309.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ491.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 490.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
13.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.91 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
90.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 26-30 มีค.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 12 ประจำวันที่ 26-มี.ค.- 1 เม.ย. 2544--
-สส-