ชุมพร
เศรษฐกิจของจังหวัดชุมพรในช่วงครึ่งแรกปีนี้ชะลอตัวลง เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสัตว์น้ำ ออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลกระทบให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องชะลอตามไปด้วย อย่างไรก็ตามทางด้านการลงทุนของภาคเอกชน เริ่มกระเตื้องขึ้นและภาครัฐบาลมีการใช้จ่ายมากขึ้น
ภาคการเกษตร
ยางพารา ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลยางผลัดใบและมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้เกษตรกร ชาวสวนยาง กรีดยางได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ราคายางแผ่นดิบที่เกษตรกรจำหน่ายได้สูงขึ้น โดยยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ที่เกษตรกรจำหน่ายได้ในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.05 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.1
ปาล์มน้ำมัน ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลผลิต แต่ในช่วงเดือนมิถุนายนผลผลิตฤดูกาลใหม่เริ่ม ทยอยออกสู่ตลาด มากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นปาล์มขนาดเล็ก คุณภาพเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำ ขณะเดียวกันโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ มีน้ำมันอยู่ในสต็อคมาก จึงชะลอการซื้อ ทำให้ราคารับซื้อ ผลปาล์มสดในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.26 บาท เทียบกับเฉลี่ย กิโลกรัมละ 4.29 บาทในระยะเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 47.3
ประมง การทำประมงทะเลอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวลง เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในน่านน้ำลดลง และต้นทุนในการดำเนินงาน สูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงองค์การสะพานปลาในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 8,672 เมตริกตัน มูลค่า 71.0 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อนลดลง ร้อยละ 22.6 และ 11.8 ตามลำดับ
นอกภาคการเกษตร
สาขาอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ปริมาณวัตถุดิบมีน้อยลง โดยผลปาล์มสดที่ป้อนเข้าโรงงานในช่วง 4 เดือนมีจำนวน 188,564.7 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.1 ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตลดลงด้วย โดยมีปริมาณ 34,666.8 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 29.1 ส่วน อุตสาหกรรมปลาป่นอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ จะเห็นได้จากปริมาณปลาเป็ดที่นำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ขององค์การสะพานปลาในช่วงครึ่งแรกมีจำนวนทั้งสิ้น 3,327 เมตริกตัน มูลค่า 8.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.3 และ 32.6 ตามลำดับ
สาขาการค้า การค้าโดยทั่วไปอยู่ในภาวะที่เงียบเหงา เนื่องจากผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรลดต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีอำนาจซื้อน้อยลง จะเห็นได้จากยอดการจำหน่าย รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลและ รถจักรยานยนต์ลดลง ทั้งนี้จากข้อมูลการจดทะเบียนใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,325 คัน และ 3,406 คัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 และ 21.8 ตามลำดับ ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมีจำนวน 306 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.1 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจาก ดอกเบี้ยเงินฝาก อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ประชาชนได้มีการถอนเงินฝากนำมาใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับทาง ตัวแทนผู้จำหน่ายรถยนต์ได้มี การจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขาย โดยให้มีระยะเวลาการผ่อนชำระนานขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีมูลค่าส่งออก 181.9 ล้านบาท เทียบกับ 105.8 ล้านบาท ในระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.9 เป็นการส่งออก สัตว์น้ำ 166.9 ล้านบาท และอาหารบรรจุกระป๋อง 14.9 ล้านบาท
สาขาการลงทุน การก่อสร้างขยายตัวสูงขึ้น โดยพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างในเขตเทศบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 20,795 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 34.5 เนื่องจากมีพื้นที่ ก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ขณะเดียวกันการจดทะเบียน ธุรกิจนิติบุคคลใหม ่มีจำนวน 50 ราย ทุนจดทะเบียน 113.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.6 และ 58.7 ตามลำดับ ในจำนวนนี้เป็น กิจการที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป 3 ราย ได้แก่ กิจการค้ารถยนต์ 2 ราย ทุนจดทะเบียน 30.0 ล้านบาท และกิจการค้ายาง 1 ราย ทุนจดทะเบียน 10.0 ล้านบาท
ส่วนกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมี 3 ราย เงินลงทุน 277.5 ล้านบาท ว่าจ้างคนงานไทย 848 คน เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งมี 1 ราย เงินลงทุน 61.0 ล้านบาท ว่าจ้างคนงานไทย 59 คน กิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนได้แก่ กิจการน้ำมันปาล์ม 2 ราย เงินลงทุน 178.0 ล้านบาท ว่าจ้างคนงาน 132 คน และกิจการอื่น ๆ 1 ราย เงินลงทุน 99.5 ล้านบาท ว่าจ้างคนงาน 716 คน
สาขาการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ผ่านสำนักงานคลังจังหวัดชุมพรในช่วงครึ่งแรกปีนี้ขยายตัวขึ้น โดยมียอดรวม 2,186.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ขณะเดียวกันรายได้จากการจัดเก็บภาษีมีจำนวนทั้งสิ้น 216.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.7 ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากภาษีสรรพากร
สาขาการเงินการธนาคาร ในช่วงครึ่งแรกปีนี้การระดมเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายตัว เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงมี สภาพคล่อง จึงยังไม่เน้นระดมเงินฝาก โดยยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้มีจำนวน 13,102.3 ล้านบาท ลดลงจากสิ้น ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 สำหรับการปล่อยสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ยังคง มีนโยบายเน้นการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหา และระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น เงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนเดียวกันมีจำนวน 9,878.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.2 ส่วนใหญ่เป็นการลดลง ของสินเชื่อค้าปลีกค้าส่ง และสินเชื่อบริโภคส่วนบุคคล
ทางด้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินในจังหวัดชุมพร ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ทำการปรับปรุงสำเร็จ 2,379 ราย จำนวนเงิน 3,126 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 493 ราย จำนวนเงิน 1,085 ล้านบาท
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดชุมพร ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 คาดว่าเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพรชะลอตัว เนื่องจากราคายางพาราคงทรงตัว ขณะที่ปาล์มน้ำมันผลผลิตจะ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจาก ที่ออกมากในช่วงไตรมาสที่ 2 นอกจากนี้ไม้ผลที่จะออกในไตรมาสที่สามได้รับความเสียหายจาก ภาวะฝนตกชุก คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับ การประมงประสบปัญหาต้นทุนการดำเนินงาน สูงขึ้น อย่างไรก็ตามการ ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ น่าจะกระตุ้นให้มีการลงทุน และการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคมากขึ้น ตลอดจนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ของสถาบันการเงินมีความคืบหน้ามากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
เศรษฐกิจของจังหวัดชุมพรในช่วงครึ่งแรกปีนี้ชะลอตัวลง เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสัตว์น้ำ ออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลกระทบให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องชะลอตามไปด้วย อย่างไรก็ตามทางด้านการลงทุนของภาคเอกชน เริ่มกระเตื้องขึ้นและภาครัฐบาลมีการใช้จ่ายมากขึ้น
ภาคการเกษตร
ยางพารา ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลยางผลัดใบและมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้เกษตรกร ชาวสวนยาง กรีดยางได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ราคายางแผ่นดิบที่เกษตรกรจำหน่ายได้สูงขึ้น โดยยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ที่เกษตรกรจำหน่ายได้ในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.05 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.1
ปาล์มน้ำมัน ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลผลิต แต่ในช่วงเดือนมิถุนายนผลผลิตฤดูกาลใหม่เริ่ม ทยอยออกสู่ตลาด มากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นปาล์มขนาดเล็ก คุณภาพเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำ ขณะเดียวกันโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ มีน้ำมันอยู่ในสต็อคมาก จึงชะลอการซื้อ ทำให้ราคารับซื้อ ผลปาล์มสดในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.26 บาท เทียบกับเฉลี่ย กิโลกรัมละ 4.29 บาทในระยะเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 47.3
ประมง การทำประมงทะเลอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวลง เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในน่านน้ำลดลง และต้นทุนในการดำเนินงาน สูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงองค์การสะพานปลาในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 8,672 เมตริกตัน มูลค่า 71.0 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อนลดลง ร้อยละ 22.6 และ 11.8 ตามลำดับ
นอกภาคการเกษตร
สาขาอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ปริมาณวัตถุดิบมีน้อยลง โดยผลปาล์มสดที่ป้อนเข้าโรงงานในช่วง 4 เดือนมีจำนวน 188,564.7 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.1 ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตลดลงด้วย โดยมีปริมาณ 34,666.8 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 29.1 ส่วน อุตสาหกรรมปลาป่นอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวลงเช่นกัน เนื่องจากประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ จะเห็นได้จากปริมาณปลาเป็ดที่นำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ขององค์การสะพานปลาในช่วงครึ่งแรกมีจำนวนทั้งสิ้น 3,327 เมตริกตัน มูลค่า 8.9 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.3 และ 32.6 ตามลำดับ
สาขาการค้า การค้าโดยทั่วไปอยู่ในภาวะที่เงียบเหงา เนื่องจากผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรลดต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีอำนาจซื้อน้อยลง จะเห็นได้จากยอดการจำหน่าย รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลและ รถจักรยานยนต์ลดลง ทั้งนี้จากข้อมูลการจดทะเบียนใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,325 คัน และ 3,406 คัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 และ 21.8 ตามลำดับ ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมีจำนวน 306 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.1 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจาก ดอกเบี้ยเงินฝาก อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ประชาชนได้มีการถอนเงินฝากนำมาใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับทาง ตัวแทนผู้จำหน่ายรถยนต์ได้มี การจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขาย โดยให้มีระยะเวลาการผ่อนชำระนานขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีมูลค่าส่งออก 181.9 ล้านบาท เทียบกับ 105.8 ล้านบาท ในระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.9 เป็นการส่งออก สัตว์น้ำ 166.9 ล้านบาท และอาหารบรรจุกระป๋อง 14.9 ล้านบาท
สาขาการลงทุน การก่อสร้างขยายตัวสูงขึ้น โดยพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้างในเขตเทศบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 20,795 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 34.5 เนื่องจากมีพื้นที่ ก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ขณะเดียวกันการจดทะเบียน ธุรกิจนิติบุคคลใหม ่มีจำนวน 50 ราย ทุนจดทะเบียน 113.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.6 และ 58.7 ตามลำดับ ในจำนวนนี้เป็น กิจการที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป 3 ราย ได้แก่ กิจการค้ารถยนต์ 2 ราย ทุนจดทะเบียน 30.0 ล้านบาท และกิจการค้ายาง 1 ราย ทุนจดทะเบียน 10.0 ล้านบาท
ส่วนกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมี 3 ราย เงินลงทุน 277.5 ล้านบาท ว่าจ้างคนงานไทย 848 คน เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งมี 1 ราย เงินลงทุน 61.0 ล้านบาท ว่าจ้างคนงานไทย 59 คน กิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนได้แก่ กิจการน้ำมันปาล์ม 2 ราย เงินลงทุน 178.0 ล้านบาท ว่าจ้างคนงาน 132 คน และกิจการอื่น ๆ 1 ราย เงินลงทุน 99.5 ล้านบาท ว่าจ้างคนงาน 716 คน
สาขาการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ผ่านสำนักงานคลังจังหวัดชุมพรในช่วงครึ่งแรกปีนี้ขยายตัวขึ้น โดยมียอดรวม 2,186.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ขณะเดียวกันรายได้จากการจัดเก็บภาษีมีจำนวนทั้งสิ้น 216.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.7 ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากภาษีสรรพากร
สาขาการเงินการธนาคาร ในช่วงครึ่งแรกปีนี้การระดมเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายตัว เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงมี สภาพคล่อง จึงยังไม่เน้นระดมเงินฝาก โดยยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้มีจำนวน 13,102.3 ล้านบาท ลดลงจากสิ้น ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 สำหรับการปล่อยสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ยังคง มีนโยบายเน้นการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหา และระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น เงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนเดียวกันมีจำนวน 9,878.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.2 ส่วนใหญ่เป็นการลดลง ของสินเชื่อค้าปลีกค้าส่ง และสินเชื่อบริโภคส่วนบุคคล
ทางด้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินในจังหวัดชุมพร ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ทำการปรับปรุงสำเร็จ 2,379 ราย จำนวนเงิน 3,126 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 493 ราย จำนวนเงิน 1,085 ล้านบาท
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดชุมพร ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 คาดว่าเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพรชะลอตัว เนื่องจากราคายางพาราคงทรงตัว ขณะที่ปาล์มน้ำมันผลผลิตจะ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจาก ที่ออกมากในช่วงไตรมาสที่ 2 นอกจากนี้ไม้ผลที่จะออกในไตรมาสที่สามได้รับความเสียหายจาก ภาวะฝนตกชุก คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับ การประมงประสบปัญหาต้นทุนการดำเนินงาน สูงขึ้น อย่างไรก็ตามการ ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ น่าจะกระตุ้นให้มีการลงทุน และการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคมากขึ้น ตลอดจนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ของสถาบันการเงินมีความคืบหน้ามากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-